เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ถนนราชดำเนิน
ถนนราชดำเนิน
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ตรา
ทน.นครศรีธรรมราชตั้งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทน.นครศรีธรรมราช
ทน.นครศรีธรรมราช
ที่ตั้งของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ทน.นครศรีธรรมราชตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.นครศรีธรรมราช
ทน.นครศรีธรรมราช
ทน.นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย)
พิกัด: 8°26′11″N 99°57′47″E / 8.43639°N 99.96306°E / 8.43639; 99.96306พิกัดภูมิศาสตร์: 8°26′11″N 99°57′47″E / 8.43639°N 99.96306°E / 8.43639; 99.96306
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีกณพ เกตุชาติ
พื้นที่
 • ทั้งหมด22.56 ตร.กม. (8.71 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด104,354 คน
 • ความหนาแน่น4,625.62 คน/ตร.กม. (11,980.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03800102
สนามบินท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ถนนราชดำเนิน ตำบลคลัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
เว็บไซต์www.nakhoncity.org
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็นเทศบาลนครที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเมืองที่เจริญเติบโตมายาวนาน และได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของภาคใต้ เทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้รับการยกฐานะเมื่อปี พ.ศ. 2537 มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 ประมาณ 104,354 คน[1] บนเนื้อที่ 22.56 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่ตั้งศาลากลางของจังหวัด และจัดเป็นเมืองขนาดใหญ่ลำดับต้น ๆ ของภาคใต้ที่มีความสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันของประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

เทศบาลนครนครศรีธรรมราชเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มแรกได้ประกาศจัดตั้งเป็น "สุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช" ขึ้น เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งสุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2456[2] มีเนื้อที่ 3.00 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าวัง ตำบลคลัง ตำบลประตูไชยเหนือ และตำบลพระเสื้อเมือง โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2474 ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2474[3] มีเนื้อที่ 3.20 ตารางกิโลเมตร โดยขยายพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลท่าซัก[4]

ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็น "เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2478[5][6] โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2508[7] มีเนื้อที่ 11.72 ตารางกิโลเมตร โดยขยายพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของหมู่ที่ 10 ตำบลท่าเรือ บางส่วนของหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ตำบลศาลามีชัย บางส่วนของหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ตำบลนา บางส่วนของหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4 ตำบลปากนคร บางส่วนของหมู่ที่ 5 ตำบลปากพูน และบางส่วนของหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4 ตำบลท่าซัก[8] และได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2536[9] มีพื้นที่ 22.56 ตารางกิโลเมตร โดยขยายพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลโพธิ์เสด็จ และบางส่วนของหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ตำบลนาเคียน

ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็น "เทศบาลนครนครศรีธรรมราช" เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2478[10][11]

ประชากร[แก้]

ปัจจุบันเทศบาลนครนครศรีธรรมราชมีประชากรทั้งหมด 104,354 คน แบ่งเป็น ชาย 49,460 คน หญิง 54,894 คน

ประชากรเทศบาลนครนครศรีธรรมราชรายปี
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564
ตำบลในเมือง 46,538 46,249 45,960 45,308 44,965 44,520 44,279 44,024 43,678 43,327 42,844 42,398 41,988 41,665
ตำบลคลัง 19,701 19,474 19,503 19,211 18,888 18,562 18,395 18,161 17,835 17,568 17,295 17,040 15,957 15,727
ตำบลท่าวัง 17,991 18,145 18,134 18,075 17,953 17,818 17,651 17,520 17,380 17,346 17,078 16,854 16,647 16,506
ตำบลโพธิ์เสด็จ 23,460 23,551 24,198 24,430 24,566 24,732 24,828 24,973 24,893 24,952 24,776 24,664 24,625 24,548
ตำบลนาเคียน 1,067 1,088 1,112 1,119 1,108 1,145 1,169 1,166 1,162 1,161 1,199 1,196 1,199 1,206
รวม 108,757 108,507 108,907 108,143 107,480 106,777 106,322 105,844 104,948 104,354 103,192 102,152 100,416 99,652
อ้างอิง: [12]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

รายชื่อประธานสุขาภิบาล และนายกเทศมนตรี[แก้]

สุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช
ชื่อ-สกุล วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1. พระยาศิริธรรมบริรักษ์ (เย็น สุวรรณปัทมะ) 13 สิงหาคม พ.ศ. 2456 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2458
2. พระยาประชากิจกรจักร์ (ทับ มหาเปารยะ) 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2462
3. พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) 5 มีนาคม พ.ศ. 2462 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2474
4. พระยาสุรพลพิพิธ (เป้า สุมนดิษฐ์) 26 มิถุนายน พ.ศ. 2474 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2475
5. พระยาบุรีสราธิการ (โจ้ กนิษฐรัต) 29 มีนาคม พ.ศ. 2475 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476
6. พระอรรถนิพนธ์ปรีชา (ประเสริฐ อรรถนิพนธ์ปรีชา) 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477
7. พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม (เต่า ศตะกูรมะ) 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478
เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช
ชื่อ-สกุล วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1. นายสวาท มิตรกูล 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2480
2. พระยาคณาศัยสุนทร (สา สุวรรณสาร) 1 มกราคม พ.ศ. 2481 - 28 เมษายน พ.ศ. 2483
3. จำเริญ ลิมปิชาติ 29 เมษายน พ.ศ. 2483 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487
4. ร.ต.มงคล รัตนวิจิตร 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2489
5. ขุนบูรณวาท (พร้อย ณ นคร) 28 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2490
6. นายปลื้ม กมุกะมกุล 4 สิงหาคม พ.ศ. 2492 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
7. นายอุส่าห์ มิตรกูล 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2496
8. ขุนบูรณวาท (พร้อย ณ นคร) 10 มิถุนายน พ.ศ. 2496 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2501
9. นายไสว สวัสดิสาร 9 มิถุนายน พ.ศ. 2501 - 4 กันยายน พ.ศ. 2504
10. นายเหรียญ สร้อยสนธิ์ 12 กันยายน พ.ศ. 2504 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511
11. นายอุส่าห์ มิตรกูล 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511
12. นายนอง ปานชู 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512
13. นายไสว สวัสดิสาร 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
14. นายอนันต์ สงวนนาม 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2515
15. นายบุญส่ง กิจวิบูลย์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2515 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
16. นายจรัส เสือทอง 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2523
17. นายบุญส่ง กิจวิบูลย์ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2523 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2524
18. ร.ต.อนุกูล สุภาไชยกิจ 25 มีนาคม พ.ศ. 2524 - 27 เมษายน พ.ศ. 2524
19. นายบุญส่ง กิจวิบูลย์ 27 เมษายน พ.ศ. 2524 - 24 สิงหาคม พ.ศ. 2528
20. นายสมนึก เกตุชาติ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2528 -
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ชื่อ-สกุล วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1. นายสมนึก เกตุชาติ พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550
8 มิถุนายน พ.ศ. 2550 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
2. ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554 - 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
19 มิถุนายน พ.ศ. 2558 - 31 มกราคม พ.ศ. 2564

ตามคำสั่งหัวหน้าคสช.[13]
3. ดร.กณพ เกตุชาติ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

ชุมชน[แก้]

เทศบาลนครนครศรีธรรมราช แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 67 ชุมชน ดังนี้

  1. ตำบลในเมือง จำนวน 21 ชุมชน
  2. ตำบลคลัง จำนวน มี 11 ชุมชน
  3. ตำบลท่าวัง จำนวน มี 14 ชุมชน
  4. ตำบลโพธิ์เสด็จ จำนวน มี 20 ชุมชน (บางส่วนของหมู่ที่ 1,2,3,7,9)
  5. ตำบลนาเคียน จำนวน มี 1 ชุมชน (บางส่วนของหมู่ที่ 3,4)

สภาพภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 33.6
(92.5)
35.4
(95.7)
38.0
(100.4)
37.7
(99.9)
37.1
(98.8)
37.8
(100)
38.5
(101.3)
37.6
(99.7)
37.7
(99.9)
35.8
(96.4)
35.4
(95.7)
32.6
(90.7)
38.5
(101.3)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.7
(85.5)
31.1
(88)
32.7
(90.9)
33.8
(92.8)
33.5
(92.3)
33.5
(92.3)
33.3
(91.9)
33.3
(91.9)
32.7
(90.9)
31.4
(88.5)
29.6
(85.3)
29.2
(84.6)
31.98
(89.57)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 25.8
(78.4)
26.6
(79.9)
27.7
(81.9)
28.5
(83.3)
28.3
(82.9)
28.3
(82.9)
28.0
(82.4)
27.9
(82.2)
27.5
(81.5)
26.9
(80.4)
26.1
(79)
25.8
(78.4)
27.28
(81.11)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 21.8
(71.2)
21.8
(71.2)
22.3
(72.1)
23.4
(74.1)
23.9
(75)
23.8
(74.8)
23.3
(73.9)
23.3
(73.9)
23.1
(73.6)
23.0
(73.4)
22.9
(73.2)
22.5
(72.5)
22.93
(73.27)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 17.2
(63)
17.2
(63)
17.8
(64)
18.6
(65.5)
20.2
(68.4)
20.6
(69.1)
19.4
(66.9)
19.6
(67.3)
20.0
(68)
20.2
(68.4)
19.2
(66.6)
19.2
(66.6)
17.2
(63)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 174
(6.85)
42
(1.65)
45
(1.77)
94
(3.7)
170
(6.69)
95
(3.74)
108
(4.25)
97
(3.82)
161
(6.34)
338
(13.31)
643
(25.31)
414
(16.3)
2,381
(93.74)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 10 4 3 7 14 10 10 11 13 17 20 17 136
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[14]

การศึกษา[แก้]

สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช[แก้]

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน[แก้]

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน[แก้]

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา[แก้]

สถาบันอุดมศึกษา[แก้]

สาธารณสุข[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

แยกตลาดแขก ถนนราชดำเนิน
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 ทุ่งท่าลาด

การคมนาคม[แก้]

ทางถนน[แก้]

  • ถนนและการเดินทางภายในเขตเทศบาล
    • ถนนราชดำเนิน เป็นถนนสายหลักในย่านตัวเมืองนครศรีธรรมราช สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ได้ขยายถนนราชดำเนินใหม่ เพื่อให้มีนาดใหญ่และสะดวกมากขึ้น โดยใช้อิฐจากกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ที่รื้อออกมาทำเป็นพื้นถนนราชดำเนิน ถนนราชดำเนิน เป็นถนนขนาด 4-6 ช่องทางเดินรถ ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร ถนนราชดำเนิน เริ่มตั้งแต่ทางเข้า ค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 ไปจนถึง สี่แยกหัวถนน ถนนราชดำเนิน เป็นถนนที่สำคัญเป็นถนนแห่งอารยธรรม ประวัติศาสตร์ แหล่งธุรกิจ แหล่งการค้า ถนนเส้นนี้ ผ่านย่านธุรกิจท่าวัง ศูนย์ราชการ ศาลากลางจังหวัด วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งถนนสายนี้เคยมีโครงการนำสายไฟลงดินเป็นระบบเคเบิล "โครงการถนนสายวัฒนธรรม" ซึ่งจะดำเนินตั้งแต่สนามหน้าเมือง ไปยังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
    • ถนนอ้อมค่าย ถนนสายนี้เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ (บางช่วงมีความกว้าง 8 ช่องทางเดินรถ) เป็นถนนที่ผู้เดินทางส่วนใหญ่ใช้ในการเลี่ยงจากการเข้าใน ค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 ถนนเส้นนี้สิ้นสุดลงที่โรงพยาบาลนครินทร์ มีความยาวโดยประมาณ 6 กิโลเมตร
    • ถนนพัฒนาการคูขวาง เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ ถนนสายนี้ถ้าย้อนกลับไปประมาณ 10 ปีก่อน ถนนเส้นนี้จะเป็นถนนเปลี่ยวๆสายหนึ่ง แต่สำหรับในปัจจุบัน เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง ถนนสายนี้นับได้ว่าเป็นถนนสายสำคัญและเป็นถนนเศรษฐกิจของเขตเทศบาล เพราะเป็นถนนที่มีศูนย์ธุรกิจ สำนักงาน ศูนย์การค้าตั้งอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ห้างโรบินสัน โอเชี่ยน ห้างเทสโก้ โลตัส เป็นต้น ถนนสายนี้ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ไปสิ้นสุด ณ สามแยกนาหลวง ผู้ที่รีบร้อนโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางนี้
    • ถนนเทิดพระเกียรติ เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ ถนนสายนี้เป็นคล้ายๆ ถนนเลี่ยงเมืองนครศรีธรรมราช เพราะส่วนใหญ่คนขับรถที่เบื่อหน่าย กับรถติดบริเวณหน้าห้างโรบินสัน โอเชี่ยน หันมาใช้เส้นทางนี้ ถนนเส้นนี้ได้รับการบำรุงซ่อมแซมหลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ถนนสายนี้ได้รับการซ่อมแซมและทำใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันเป็นบริเวณชานเมือง ผู้ที่ขับรถผ่านถนนสายนี้ สามารถชมทิวทัศน์ของทัศนียภาพแห่งพระบรมธาตุเจดีย์ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งฉากข้างหลังยังเป็นเทือกเขาหลวง หรือ "เทือกเขานครศรีธรรมราช" อีกด้วย ถนนสายนี้เทศบาลมีความประสงค์ที่จะทำการขยายเมืองออกมาอีกด้วย ถนนสายนี้ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร
    • ถนนกะโรม เป็นถนนขนาด 6 ช่องทางเดินรถ ถนนสายนี้เป็นถนนย่านธุรกิจอีกแห่งหนึ่งของเทศบาล เพราะเป็นที่ตั้งของแหล่งธุรกิจมากมาย อีกทั้งยังเป็นเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว ที่โด่งดังของเมืองนคร ไม่ว่าจะเป็น น้ำตกกรุงชิง พระตำหนักเมืองนคร เขาหลวง น้ำตกพรหมโลก เป็นต้น ถนนสายนี้เป็นถนนคอนกรีต ซึ่งมีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร นับได้ว่าเป็นถนนสายเดียวที่กว้างที่สุดในเขตเทศบาล
    • ถนนปากนคร เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ ถนนเส้นนี้เริ่มตั้งแต่สี่แยกท่าวัง ไปจนถึงเทศบาลตำบลปากนคร มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
    • ถนนศรีธามา เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ ถนนเส้นนี้เริ่มตั้งแต่บริเวณหลังกำแพงเมือง ไปยังทิศใต้บริเวณชุมชนประตูไชยสิทธิ์
    • ถนนศรีธรรมโศก เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ ซึ่งเริ่มจากชุมชนประตูไชยสิทธิ์ไปยังถึงสี่แยกประตูขาว
    • ถนนศรีปราชญ์ เป็นถนนขนาด 2 ช่องทางเดินรถ ซึ่งเริ่มจากสี่แยกประตูขาวไปจนถึงแยกบูรณาราม
    • ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง เป็นถนนขนาด 2 ช่องทางเดินรถ เริ่มจากถนนศรีธามา อ้อมถนนราชดำเนิน ไปออกทางไป อำเภอพระพรหม
    • ถนนเทวบุรี (โพธิ์เสด็จ) เป็นถนนขนาด 2 ช่องทางเดินรถ เป็นที่ตั้งของสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นเส้นทางลัดเลาะจากศาลากลางจังหวัด ไปยังตลาดหัวอิฐ และถนนกะโรม
    • ถนนชลประทาน เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ เริ่มจากชุมชนสะพานยาว ไปจนถึงถนนสนามบิน นครศรีธรรมราช
    • ถนนประตูลอด เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ เป็นแหล่งการค้าและการแข่งขันทางด้านธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม เชื่อมต่อกับถนนพัฒนาการคูขวาง
    • ถนนมณีวัตร เป็นถนนขนาด 2 ช่องทางเดินรถ ขณะนี้เป็นถนนที่กำลังเติบโตทางด้านการแข่งขันทางด้านการก่อสร้างอาคาร และ บ้านพัก
    • ถนนเอกนคร เป็นถนนขนาด 2 ช่องทางเดินรถ เป็นแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่ของเมืองนคร
    • และอีกมากมาย
  • สะพานและคลองในเขตเทศบาล
    • สะพานราเมศร์วรสินธู-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองราเมศร์
    • สะพานราเมศร์วรสินธู-ถนนอ้อมค่าย-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองราเมศร์
    • สะพานนครน้อย-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองหน้าเมือง
    • สะพานนครน้อย-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองหน้าเมือง
    • สะพานนครน้อย-ถนนเทิดพระเกียรติ ข้ามคลองหน้าเมือง
    • สะพานนครน้อย-ถนนศรีธรรมราช ข้ามคลองหน้าเมือง
    • สะพานท่าเรียน-ถนนกะโรม ข้ามคลองท่าเรียน
    • สะพานป่าเหล้า-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองป่าเหล้า
    • สะพานป่าเหล้า-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองป่าเหล้า
    • สะพานป่าเหล้า-ถนนเทิดพระเกียรติ ข้ามคลองป่าเหล้า
    • สะพานป่าเหล้า-ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานสวนหลวง-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานสวนหลวง-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานสวนหลวง-ถนนเฉลิมพระเกียรติ ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานสวนหลวง-ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานคูพาย-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานคูพาย-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานคูพาย-ถนนเทิดพระเกียรติ ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานคูพาย-ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานยาว-ถนนสะพานยาว ข้ามคลองท่าเรียน
  • ทางหลวงที่สำคัญ
    • ทางหลวง 401 นครศรีธรรมราช - สุราษฎร์ธานี
    • ทางหลวง 403 นครศรีธรรมราช - ทุ่งสง - ตรัง - กันตัง
    • ทางหลวง 408 นครศรีธรรมราช - หัวไทร - สงขลา
    • ทางหลวง 4016 นครศรีธรรมราช - นบพิตำ
    • ทางหลวง 4015 นครศรีธรรมราช - ลานสกา - จันดี - สุราษฎร์ธานี (บ้านส้อง)
    • ทางหลวง 4013 นครศรีธรรมราช - ปากพนัง
    • ทางหลวง 4103 ถนนเลี่ยงเมืองนครศรีธรรมราช ทางทิศตะวันตก
    • ทางหลวง 4012 นครศรีธรรมราช - ท่าแพ
รถโดยสารในเขตเทศบาล
  • สายหัวถนน-สนามกีฬา
  • สายสนามหน้าเมือง-ค่ายวชิราวุธ
  • สายท่าแพ-สนามหน้าเมือง
  • สายวิทยาลัยนาฏศิลป์-ห้างโลตัส-ห้างโรบินสัน-ท่าแพ
  • สายห้างโรบินสัน-ท่าวัง
  • สายบขส.-สถานีรถไฟ-ห้างโรบินสัน-ห้างโลตัส-สี่แยกหัวถนน
  • สายม.ราชภัฏ
  • สายน้ำแคบ
รถตู้โดยสารประจำทางปรับอากาศ
ทางรถประจำทางปรับอากาศ จากสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • นครศรีธรรมราช - กระบี่
  • นครศรีธรรมราช- ภูเก็ต
  • นครศรีธรรมราช- สุราษฎร์ธานี
  • นครศรีธรรมราช - เกาะสมุย
  • นครศรีธรรมราช- ระนอง
  • นครศรีธรรมราช- หาดใหญ่
  • นครศรีธรรมราช- สงขลา
  • นครศรีธรรมราช - พัทลุง
  • นครศรีธรรมราช- สุไหงโก-ลก
  • นครศรีธรรมราช - บ้านส้อง
  • นครศรีธรรมราช- สุไหงโกลก
  • นครศรีธรรมราช- ทุ่งสง
  • นครศรีธรรมราช- ปากพนัง
  • นครศรีธรรมราช- ดอนสัก -ท่าเรือเฟอรี่
  • นครศรีธรรมราช- ยะลา
  • นครศรีธรรมราช- ตรัง
  • กรุงเทพฯ- นครศรีธรรมราช
  • กรุงเทพฯ- นครศรีธรรมราช - ปากพนัง

ทางราง[แก้]

ทางรถไฟ

ทางอากาศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "พระราชบัญญัติจัดตั้งสุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2456" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-22. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
  3. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2474
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2475
  5. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2478" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-22. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2484
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2508" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
  8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2509
  9. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2536" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-28. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
  10. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2537" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
  11. http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/30319/6/Pradit_tip_ch2.pdf ประวัติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
  12. จำนวนประชากรและบ้าน โดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
  13. "คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑/๒๕๕๗ เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-31. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
  14. "Climate Normals for Nakhon Si Thammarat". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]