เหรียญชัยสมรภูมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหรียญชัยสมรภูมิ

เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย
อักษรย่อช.ส.
ประเภทเหรียญบำเหน็จกล้าหาญ
วันสถาปนา3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484
ประเทศไทย ราชอาณาจักรไทย
จำนวนสำรับไม่จำกัด
ผู้สมควรได้รับบุคคลผู้ที่กระทำการรบ
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ประธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเหรียญกล้าหาญ
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ
รองมาเหรียญพิทักษ์เสรีชน

เหรียญชัยสมรภูมิ เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2484 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ใช้อักษรย่อว่า ช.ส. โดยสร้างตามพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2484[1] เพื่อพระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ หรือผู้ที่กระทำหน้าที่อย่างทหารหรือตำรวจ ที่ได้รับคำสั่งจากหน่วยทหารหรือตำรวจให้ไปทำการรบ และได้เคลื่อนที่ไปปฏิบัติการแล้วการพระราชทานกรรมสิทธิ์และการเรียกคืนเช่นเดียวกับเหรียญกล้าหาญ เหรียญนี้ไม่มีประกาศนียบัตร แต่ประกาศนามผู้ได้รับพระราชทานในราชกิจจานุเบกษา

ลักษณะของเหรียญ[แก้]

เหรียญชัยสมรภูมิ มีลักษณะเป็นเหรียญโลหะกลม ด้านหน้ามีพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกำลังทรงกระทำยุทธหัตถีกับราชศัตรู มีอักษรจารึกว่า “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กู้ชาติ” ด้านหลังมีอักษรจารึกว่า “เรารบเพื่อเกียรติศักดิ์ไทย” ตัวเหรียญห้อยกับแพรแถบสีแดง กว้าง 3.5 ซม. มีริ้วสีขาวใกล้ขอบทั้งสองข้าง ข้างบนมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า “ชัยสมรภูมิ” ประดับกับแพรแถบสีต่างๆ มีขนาดและลักษณะอื่นๆ ตามแต่จะได้กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการรบกับราชศัตรูในการรบเฉพาะคราว ใช้ประดับที่หน้าอกเสื้อเบื้องซ้าย

ถ้าผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิได้กระทำการจนได้รับความชมเชยจากทางราชการ หรือกระทำความชอบจนได้รับบาดเจ็บ จะได้รับพระราชทานเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปขีดประกอบด้วยเปลวระเบิดสำหรับติดที่แพรแถบทุกครั้ง ถ้าผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิได้ประกอบวีรกรรม แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ จะได้รับพระราชทานเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปช่อชัยพฤกษ์ช่อเดียวสำหรับติดที่แพรแถบทุกครั้ง

แพรแถบของเหรียญ[แก้]

แพรแถบของเหรียญจำแนกตามคราวที่มีการส่งทหาร ตำรวจ หรือผู้ที่กระทำหน้าที่อย่างทหารหรือตำรวจ เข้าปฏิบัติการในสงครามและการรบครั้งต่าง ๆ ดังนี้

  1. เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน
  2. เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
  3. เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
  4. เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม

เหรียญชัยสมรภูมิสำหรับการรบในแต่ละครั้งล้วนมีลำดับเกียรติเสมอกัน แต่เมื่อประดับเหรียญ จะต้องประดับเรียงตามลำดับเหรียญที่ได้รับพระราชทานในแต่ละครั้ง

กรณีสงครามอินโดจีน[แก้]

แพรแถบย่อ
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน ประดับช่อชัยพฤกษ์
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน ประดับเปลวระเบิด
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน

แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน กำหนดลักษณะไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2484 ไว้ว่า

"ตัวเหรียญห้อยกับแพรแถบสีแดง กว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีขาวใกล้ขอบทั้งสองข้าง ข้างบนมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า “ชัยสมรภูมิ”"

ต่อมาจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2484 (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485 โดยเพิ่มข้อความในข้างท้ายมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2484 ว่า "หรือกับแพรแถบสี ขนาด และลักษณะอื่นตามที่จะได้กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการรบกับราชศัตรูในการรบเฉพาะคราว" เพื่อให้สามารถกำหนดลักษณะแพรแถบสำหรับการรบครั้งอื่น ๆ เพิ่มเติมได้[2]

กรณีสงครามมหาเอเชียบูรพา[แก้]

แพรแถบย่อ
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา ประดับช่อชัยพฤกษ์
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา ประดับเปลวระเบิด
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา

แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา ได้กำหนดลักษณะครั้งแรกไว้ใน มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2485 ดังนี้

"แพรแถบเหรียนชัยสมรภูมิสำหรับพระราชทานแก่ผู้กะทำการรบกับราชสัตรู ไนคราวที่ประเทสไทยกะทำสงครามกับสหรัถอเมริกาและบริเตนไหย่นั้น ไห้เปนสีเขียว ขนาดกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีแดงที่ขอบ และถัดริ้วสีแดงเข้าไปเปนริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ด้านบนแพรแถบมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักสรว่า "ชัยสมรภูมิ""[3]

แพรแถบนี้ได้มีการยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2488 ตามพระราชกฤษฎีกายกเลิกแห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2488[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 จึงมีการตรากฎหมายเพื่อรับรองฐานะของแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิสงครามมหาเอเชียบูรพาอีกครั้ง โดยมีลักษณะตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2502 ดังนี้

"แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิสำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการรบในคราวสงครามมหาอาเซียบูรพานั้น ให้เป็นสีเขียว ขนาดกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีแดงที่ขอบ และถัดริ้วสีแดงเข้าไปเป็นริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ด้านบนแพรแถบมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า "ชัยสมรภูมิ""[5]

กรณีการร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[แก้]

แพรแถบย่อ
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลีประดับช่อชัยพฤกษ์
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี ประดีบเปลวระเบิด
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี

แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี กำหนดลักษณะไว้ตามตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2494 ดังนี้

"แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิสำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการร่วมรบกับสหประชาชาตินั้น ให้เป็นสีฟ้า ขนาดกว้าง 3.5 เซนติเมตร และถัดริ้วสีฟ้าเข้าไปเป็นริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ด้านบนแพรแถบมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า "ชัยสมรภูมิ""[6]

กรณีการรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม[แก้]

แพรแถบย่อ
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม ประดับช่อชัยพฤกษ์
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม ประดับเปลวระเบิด
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม

แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม กำหนดลักษณะไว้ตามตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2510 ดังนี้

"แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิสำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนามนั้น ให้เป็นสีเหลือง ขนาดกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีแดงที่ขอบ และถัดริ้วสีแดงเข้าไปเป็นริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ด้านบนแพรแถบมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า "ชัยสมรภูมิ""[7]

ผู้ได้รับพระราชทาน[แก้]

บุคคลสำคัญที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ ดังนี้

  • พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • พล.อ. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามสงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • จอมพล ถนอม กิตติขจร
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • พล.อ. สายหยุด เกิดผล
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • พล.อ. เสริม ณ นคร
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามสงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
  • พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามสงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
  • จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามิอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
  • จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามิอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
  • จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามสงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
  • จอมพล ผิน ชุณหะวัณ
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามสงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
  • จอมพล ประภาส จารุเสถียร
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
  • พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
  • พล.ต.อ. ประมาณ อดิเรกสาร
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
  • พ.อ. ควง อภัยวงศ์
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
  • พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามสงครามอินโดจีน
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
  • พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
  • พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • พล.อ. วิจิตร สุขมาก
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามสงครามอินโดจีน
  • น.ท. หลวงพร้อมวีระพันธ์ ร.น.
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน
  • จ.ต. สวง ทรัพย์สำรวย
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด)
  • จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
    • - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิพุทธศักราช ๒๔๘๔". ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘ หน้า ๑๖๓. ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-01 – โดยทาง krisdika.go.th.
  2. "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช ๒๔๘๔ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๗ หน้า ๑๙๑๕-๑๕๑๗. ๒๐ ตุลาคม ๒๔๘๕.
  3. "พระราชกริสดีกา ว่าด้วยแพรแถบเหรียนชัยสมรภูมิ พุทธสักราช 2485" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา เล่ม 59 ตอนที่ 71 หน้า 2228-2230. 10 พฤศจิกายน 2485.
  4. "พระราชกฤษฎีกา ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช ๒๔๘๕ พุทธศักราช ๒๔๘๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๕๑ หน้า ๕๓๑-๕๓๒. ๑๘ กันยายน ๒๔๘๘.
  5. "พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๖ หน้า ๓๐๒-๓๐๔. ๔ สิงหาคม ๒๕๐๒.
  6. "พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. ๒๔๙๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗ หน้า ๓๓-๓๕. ๒๓ มกราคม ๒๔๙๔.
  7. "พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. ๒๕๑๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๙ ฉบับพิเศษ หน้า ๗๔-๗๖. ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๐.