แสวง เสนาณรงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสวง เสนาณรงค์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 (5 ปี 74 วัน)
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
สัญญา ธรรมศักดิ์
ก่อนหน้าพระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร)
ถัดไปมนูญ บริสุทธิ์
เลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
18 มกราคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าฉาย วิโรจน์ศิริ
ถัดไปพลตรี เนตร เขมะโยธิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459
จังหวัดธนบุรี
เสียชีวิต14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 (61 ปี)
พรรคการเมืองสหประชาไทย
คู่สมรสหม่อมหลวงนวลผ่อง เสนาณรงค์

พลเอก แสวง เสนาณรงค์ เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตเลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกวุฒิสภา เขาเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของจอมพล ถนอม กิตติขจร[1]

ประวัติ[แก้]

พลเอก แสวง เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 เป็นบุตรของพลเอก หลวงเสนาณรงค์ เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แล้วจึงได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก แต่แสวง เรียนถึงแค่ปี 3 ก็ถูกคัดเลือกส่งไปเรียนวิชาทหารต่อที่ประเทศเบลเยียม เมื่อปี พ.ศ. 2480 เรียนได้ 3 ปี เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป เขาจึงต้องย้ายไปเรียนที่อิตาลี ต่อมารัฐบาลไทยจึงให้แสวงกับ สนั่น พูนพัฒน์ เดินทางขึ้นไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศเป็นกลาง ไปเรียน “วิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง” จึงมีส่วนทำให้เขาเป็นทหารการเมืองมาก ได้ศึกษาทั้งเรื่องทหารและการเมืองอย่างลึกซึ้ง ครั้นสงครามโลกสิ้นสุดลง แสวงก็ได้เดินทางกลับไทยในปี พ.ศ. 2489

  • หลังจบการศึกษาเขากลับมารับราชการทหารที่จังหวัดลพบุรี ต่อมาได้เข้ามาช่วยงานในพรรคเสรีมนังคศิลา และแสวงก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ใน 3 รัฐบาลต่อเนื่องกัน (ครม.31, ครม.32, ครม.33) แต่ที่รู้กันทั่วไปคือบทบาทสำคัญของท่านในการตั้งพรรคสหประชาไทย หลังมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 โดยเขาเป็นรองเลขาธิการ[2][3] พรรคนี้เป็นพรรคการเมืองที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ตั้งขึ้นมารวบรวมนักการเมืองส่งลงแข่งขันเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2512 มีบทบาทสำคัญคุมเสียงข้างมากในสภาฯระหว่างปี 2512 ถึงปี 2514

พลเอก แสวง ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511 และลาออกในปี พ.ศ. 2512[4] รวมทั้งยังเคยเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประทศ[แก้]

  •  เบลเยียม :
    • พ.ศ. 2507 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลโปลด์ที่ 2 ชั้นที่ 1[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. นายกรัฐมนตรีทหารของไทย
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสหประชาไทย) เล่ม 85 ตอน 117 ง พิเศษ หน้า 3375 10 ธันวาคม พ.ศ. 2511
  3. 24 ต.ค.2511 รู้จักมั้ยคนไทย พรรคสหประชาไทย โดยจอมพลถนอม
  4. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  5. สำนักนายกรัฐมนตรี (27 พฤษภาคม 2512). "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2512" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. พระนคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 86 (46ง): 1836. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. สำนักนายกรัฐมนตรี (8 กันยายน 2507). "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. พระนคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 81 (85ง): 2337. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. สำนักนายกรัฐมนตรี (29 สิงหาคม 2510). "แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี 2510" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. พระนคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 84 (80ง): 2447. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 70 ตอนที่ 80 หน้า 5534, 29 ธันวาคม 2496
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 77 ตอนที่ 95 หน้า 2430, 22 พฤศจิกายน 2503
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 41 หน้า 1318, 30 เมษายน 2506
  11. 11.0 11.1 11.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 81 ตอนที่ 90 หน้า 2451, 22 กันยายน 2507
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 66 ฉบับพิเศษ หน้า 13, 14 กรกฎาคม 2510
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 101 หน้า 2354, 15 ตุลาคม 2510