ประเสริฐ ธรรมศิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเสริฐ ธรรมศิริ
ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2507
ก่อนหน้าพ.อ. เกรียงไกร อัตตะนันทน์
ถัดไปพ.อ. เอื้อม จิรพงศ์
ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2515
ก่อนหน้าพล.ต. เกรียงไกร อัตตะนันทน์
ถัดไปพล.ต. เอื้อม จิรพงศ์
แม่ทัพภาคที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2518
ก่อนหน้าพล.ท. เกรียงไกร อัตตะนันทน์
ถัดไปพล.ท. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460
อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มณฑลกรุงเทพ ประเทศสยาม (ปัจจุบัน จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย)
เสียชีวิต20 กันยายน พ.ศ. 2526 (66 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (ปัจจุบัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
คู่สมรสคุณหญิงประภา ธรรมศิริ
บุตร7 คน
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2483 – พ.ศ. 2520
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองพลที่ 1 รักษาพระองค์
กองทัพภาคที่ 1
ผ่านศึกกรณีพิพาทอินโดจีน
สงครามมหาเอเซียบูรพา
การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย

พลเอก ประเสริฐ ธรรมศิริ (22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 – 20 กันยายน พ.ศ. 2526) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์, อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์, อดีตแม่ทัพกองทัพภาคที่ 1[1], สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 5 และราชองครักษ์พิเศษ

ประวัติ[แก้]

พลเอก ประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2460)[2]อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายขำ และนางแฉล้ม ธรรมศิริ มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน

พล.อ. ประเสริฐ ธรรมศิริ ได้สมรสกับคุณหญิงประภา ธรรมศิริ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2485 มีลูกทั้งหมด 7 คน

การศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2470 : โรงเรียนเยี่ยมเกษสุวรรณ (ระดับประถมศีกษา)
  • พ.ศ. 2476 : โรงเรียนมัธยมวัดบวรนิเวศ (มัธยมศีกษาชั้นปี 6)
  • พ.ศ. 2478 : โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มัธยมศีกษาชั้นปี 8 แผนกวิทยาศาสตร์)
  • พ.ศ. 2482 : โรงเรียนนายร้อยทหารบก
  • พ.ศ. 2497 : โรงเรียนทหารราบ ชั้นนายพัน
  • พ.ศ. 2503 : วิทยาลัยการทัพบก
  • พ.ศ. 2507 : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 7

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

พล.อ. ประเสริฐ ธรรมศิริ ได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าด้วยโรคเบาหวาน และเส้นเลือดอุดตัน เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2526 จนกระทั่งวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2526 พล.อ. ประเสริฐ ธรรมศิริ ได้ถึงแก่อนิจกรรมเวลา 23.30 น. รวมอายุ 66 ปี 7 เดือน[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พลเอก ประเสริฐ ธรรมศิริ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กองทัพภาคที่ 1. อดีตท่านแม่ทัพภาคที่ ๑ เก็บถาวร 2016-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. 2.0 2.1 2.2 (2527). ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก ประเสริฐ ธรรมศิริ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ. และ นายสุภาพงษ์ ธรรมศิริ 16 มกราคม 2527 ณ เมรุวัดโสมนัสวิหาร. โรงพิมพ์อักษรไทย.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๕๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๓๔, ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๖๔ ง หน้า ๓๘๒๒, ๗ ธันวาคม ๒๔๘๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๙, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๓๐, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๓๓๘, ๘ กันยายน ๒๕๐๗
  14. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1964.