อภิรัชต์ คงสมพงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อภิรัชต์ คงสมพงษ์
อภิรัชต์ในปี 2564
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563
(1 ปี 142 วัน)
ถัดไปพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน พ.ศ. 2557 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(4 ปี 223 วัน)
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563
(1 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท
ถัดไปพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้
เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(0 ปี 288 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มีนาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
คู่สมรสอมฤดา คงสมพงษ์ (หย่า)
รองศาสตราจารย์ กฤษติกา คงสมพงษ์
บุตรพันตรี พิรพงศ์ คงสมพงษ์
พันตรีหญิง แพทย์หญิง อมรัชต์ คงสมพงษ์
บุพการี
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด
ประจำการพ.ศ. 2527–2563
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองทัพบกไทย
ผ่านศึกความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[1]

พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ (เกิด 23 มีนาคม พ.ศ. 2503) ชื่อเล่น แดง เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกไทยคนที่ 41 ในอดีตเคยได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานกรรมการคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล[2] สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ [3] เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[4] และสมาชิกวุฒิสภา[5] ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพระราชวัง และรองผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์[6]

อภิรัชต์ถือว่าเป็นนายทหารที่ถูกจับตามองมาโดยตลอดเนื่องจากเป็นผู้บังคับหน่วยกำลังรบที่มีความสำคัญในกรุงเทพมหานคร และเป็นบุตรของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งเป็นคณะรัฐประหาร ระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 เขาเป็นผู้ที่ออกมาแสดงจุดยืนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และกล่าวประณามผู้ประท้วงว่าคิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งทำให้เกิดกระแสโจมตีเนื่องจากความไม่เป็นกลาง[7]

ประวัติ[แก้]

อภิรัชต์เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2503 เป็นบุตรชายคนโตของพล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ (อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) และ พันเอกหญิง (พิเศษ) คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์

เขาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 31 จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทิร์น และเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 57

การรับราชการ[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาเข้ารับราชการในตำแหน่งนักบินตอนขนส่งอากาศ กองบินปีกหมุนที่ 3 ศูนย์การบินทหารบก จังหวัดลพบุรี ระหว่างปฏิบัติหน้าที่นักบิน อภิรัชต์ ได้เข้ารับการศึกษาดังต่อไปนี้

เขาได้เข้ารับศึกษาในหลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 73 ซึ่งหลังจากจบหลักสูตรเสนาธิการทหารบก เขาอภิรัชต์ ได้เข้ารับราชการในกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ในตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ รองเสนาธิการ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เสนาธิการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์และรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ตามลำดับ ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เขาได้ไปปฏิบัติราชการสนามที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเหตุการณ์ความไม่สงบในหน่วยเฉพาะกิจที่ 14 จังหวัดยะลา

หลังจากนั้น เขาดำรงตำแหน่งตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ และรองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 และผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[8]

ต่อมาดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 แม่ทัพน้อยที่ 1 และขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 ในปี พ.ศ. 2559 ในห้วงนี้ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล[2] กรรมการอิสระ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ ที่ปรึกษา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต่อมา พล.อ. อภิรัชต์ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกในปี 2561 ซึ่งทำให้ได้รับตำแหน่งประธานกรรมการ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โดยตำแหน่ง เขาเกษียณราชการเมื่อ 30 ตุลาคม 2563[2]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

เขาใช้ชีวิตคู่ร่วมกับรองศาสตราจารย์ กฤษติกา คงสมพงษ์ (สกุลเดิม ศิริจรรยา) อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[9] อดีตพิธีกรรายการโทรทัศน์รายการ The Weakest Link กำจัดจุดอ่อน[10] ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และรายการฝ่าวิกฤตกับกฤษติกา ทางช่อง PPTV มีบุตร 2 คน คือ

  1. พันตรี พิระพงศ์ คงสมพงษ์
  2. พันตรีหญิง แพทย์หญิง อมรัชต์ คงสมพงษ์

บทบาทการเมือง[แก้]

ตำแหน่งทางการเมือง[แก้]

หลังจากการรัฐประหารในปี 2557 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยรับตำแหน่งในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ และคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น เมื่อเขาขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกในปี 2561 ทำให้ได้รับตำแหน่งเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติในวาระเดียวกัน และหลังจากการเลือกตั้งในปี 2562 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 12 โดยตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดซึ่งหมดวาระเมื่อพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน[แก้]

นอกเหนือจากตำแหน่งทางทหาร และการเมือง เขายังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญในรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่สำคัญต่าง ๆ เมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2543 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2543 หลังจากนั้นในปี 2545 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ในปี 2557 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และเมื่อ 1 พฤษภาคม 2558 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อให้มาแก้ไขปัญหาการจำหน่ายสลากเกินราคา นอกจากนี้ พล.อ.อภิรัชต์ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในปีเดียวกัน และเมื่อ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เขารับการแต่งตั้งเป็นกรรมการธนาคาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

แผนปฏิรูปกองทัพ[แก้]

หลังเหตุการณ์กราดยิงหมู่ที่นครราชสีมาเมื่อปี 2563 ซึ่งมีผู้ก่อเหตุเป็นนายทหารและมีมูลเหตุจูงใจความเครียดในการถูกหลอกซื้อบ้านที่ใช้เงินกู้จากกรมสวัสดิการกองทัพบก เขาในฐานะผู้บังคับบัญชาทหารบกออกโครงการปฏิรูปกองทัพโดยมีโครงการสำคัญหนึ่งคือการเปิด “สายด่วนรับฟังข้อร้องเรียนจากนายทหารชั้นผู้น้อย ที่พบเรื่องผิดปกติแต่ไม่กล้ารายงานขึ้นมาแต่ผ่านมาแล้วครึ่งปี” และในการร้องเรียนนั้น “ข้อมูลจะถูกปกปิดเป็นความลับ” ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์[11] อย่างไรก็ตามได้ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า “ความสำเร็จเป็นรูปธรรมไม่เห็น”[12]

ต่อมาในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 สิบเอก ณรงค์ชัย อินทรกวี ซึ่งในขณะนั้นสังกัดศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ได้เข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ร้องเรียนกรณีทหารชั้นผู้น้อยถูกโกงเบี้ยเลี้ยง โดยมีหลักฐานที่ชัดเจนและพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง แรกเริ่มนั้นหมู่อาร์มได้ร้องเรียนกับศูนย์คอลเซ็นเตอร์ซึ่งอภิรัชต์ได้ตั้งขึ้นก่อนหน้า แต่ข้อมูลไม่ได้ถูกปกปิดเป็นความลับตามที่อภิรัชต์ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ในครั้งเปิดโครงการ และตัวเขาเองมิได้ออกมาชี้แจง[13][14][15] จนไม่มีความคืบหน้าจนกระทั่งเขาเกษียณอายุราชการ

บทบาทหลังพ้นตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก[แก้]

เขาเกษียณอายุราชการเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 ซึ่งก่อนหน้านั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติรับโอน เขามาบรรจุเป็นข้าราชการในพระองค์ฝ่ายพลเรือนในตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง สำนักพระราชวัง เมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2563 และเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเขาเป็น รองผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 อภิรัชต์ได้ไปบวชเป็นภิกษุที่วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ได้รับฉายา "อภิรัชตโน" แปลว่า "ผู้มีพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง"[16] และในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564 ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรองประธาน​กรรมการ โครงการราชทัณฑ์​ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์​[17]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2562[18]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  รัฐยะโฮร์:
    • พ.ศ. 2563 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์สุลต่านอิบราฮิมแห่งยะโฮร์ ชั้นที่ 1[24]
  •  สิงคโปร์:
    • พ.ศ. 2566 - เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[25]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ผบ.ทบ.เยือนอินโดฯ ชู "อาเจะห์โมเดล" ดับไฟใต้ "สร้างความเข้าใจ ไม่แยกดินแดน"". สำนักข่าวอิศรา. January 15, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2021. สืบค้นเมื่อ September 6, 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) ที่ 1/2558 เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยมีเนื้อหาระบุว่า ตามที่ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2558 เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล ลงวันที่ 1 พ.ค. 2558 นั้น กำหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่งตั้งบุคคลมาเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล นั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 (1)ของคำสั่งดังกล่าว หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงแต่งตั้ง พล.ต.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ให้เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
  3. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 250 ส.ว. มาจากทหาร-ตำรวจ รวม 104 คน
  4. “บิ๊กตู่” ตั้งสมาชิกคสช.ใหม่ ให้ “อภิรัชต์ คงสมพงษ์” เป็นเลขาฯคสช. มีผล 1ต.ค.
  5. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 250 ส.ว. มาจากทหาร-ตำรวจ รวม 104 คน
  6. "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็นรองผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 1 December 2021.
  7. คำต่อคำ! 'อภิรัชต์' ฉะ 'ซ้ายดัดจริต-นักวิชาเกิน' ใช้โซเชียลปั่นแตกแยก
  8. "โปรดเกล้าฯโยกย้าย203นายทหารแล้ว". bangkokbiznews. 2014-03-31.
  9. "Associate Professor Kritika Kongsompong, Ph.D., CMC | Sasin School of Management". www.sasin.edu (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-01. สืบค้นเมื่อ 1 December 2021.
  10. "รายการกำจัดจุดอ่อน สมัยออนแอร์ช่อง 3 กระแส ความดังเป็นอย่างไรบ้าง เล่าให้ฟังหน่อยค่ะ". Pantip. สืบค้นเมื่อ 1 December 2021.
  11. ผวาทั้งบาง!‘บิ๊กแดง’ประกาศเอาจริง ลุย‘ปฏิรูปกองทัพ’เต็มสูบ เดี๋ยวมีเลย์ออฟ
  12. เปิดไทม์ไลน์ “หมู่อาร์ม” บทพิสูจน์ปฏิรูปกองทัพ หลังออกมาแฉอมเบี้ยเลี้ยง กลับถูกสอบผิดหนีทหาร บิ๊กแดงยันทำตามขั้นตอน
  13. จาก'จ่าคลั่ง'สู่'หมู่อาร์ม' กับคำสัญญา'ปฏิรูปกองทัพ' ไทยโพสต์.
  14. เปิดคำให้การหมู่อาร์ม แฉอมเบี้ยเลี้ยงในกองทัพ กลับโดน-คดีหนีทหาร พิสูจน์ปฏิรูปยุคบิ๊กแดง
  15. "หมู่อาร์ม" ลั่นพร้อมขึ้นศาล ถาม "บิ๊กแดง" คืนความยุติธรรมให้ได้หรือไม่
  16. ""บิ๊กแดง" โกนหัวบวชแล้ว จัดงานเรียบง่าย มีเพียงญาติ คนสนิท ร่วมพิธี". ไทยรัฐ. 8 October 2020. สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  17. แต่งตั้งคณะกรรมการ​โครงการราชทัณฑ์​ปันสุข เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  18. "ทำเนียบประธานกรรมการมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๘ มิถุนายน ๒๕๖๔
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๗, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
  22. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๓, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๓๓ ข หน้า ๓, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
  24. DYMM Sultan Ibrahim Ibni Almarhum Sultan Iskandar, Sultan Johor dan DYAM Tunku Mahkota Ismail Ibni Sultan Ibrahim, Pemangku Raja berangkat ke Majlis Pengurniaan Darjah Sultan Ibrahim Johor Yang Amat Disanjungi Pangkat Yang Pertama Dato’ Sri Mulia Sultan Ibrahim Johor (SMIJ) dan Beret Kehormat Askar Timbalan Setia Negeri Johor pada hari ini, 30 Januari 2020.
  25. 25.0 25.1 25.2 มูลนิธิพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ .ประวัติ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]