สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารกรุงไทย
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย
ฉายานกวายุภักษ์
ก่อตั้งพ.ศ. 2520
ยุบพ.ศ. 2552
สนามสนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เจ้าของธนาคารกรุงไทย
ประธานวินิจ แสงอรุณ
กิจจา อ่อนละมัย (ผู้จัดการทีมคนสุดท้าย)
ผู้จัดการอรรถพล บุษปาคม
ฤดูกาลสุดท้าย
2551

อันดับ 6 (โอนสิทธิ์ให้ บางกอกกล๊าส)
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยมีธนาคารกรุงไทย เป็นผู้สนับสนุนหลักและเป็นเจ้าของสโมสร ผลงานในอดีต เคยเป็นทีมชนะเลิศการแข่งขัน ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก และถ้วยพระราชทาน ก. 2 สมัยซ้อน ภายใต้การจัดการทีมของ ณรงค์ สุวรรณโชติ และ วรวุฒิ แดงเสมอ และยังเคยเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในปี 2008 ภายหลังจากทีมจากอินโดนีเซียถูกตัดสิทธิ์ แต่ตกรอบแรก

ประวัติสโมสร[แก้]

ยุคก่อตั้งและช่วงประสบความสำเร็จ[แก้]

ตราสโมสรที่ใช้ครั้งสุดท้ายปี 2544

สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2520 โดยมีธนาคารกรุงไทย เป็นผู้สนับสนุนหลักและเป็นเจ้าของสโมสร โดยนับเป็นหนึ่งใน 3 ทีมธนาคาร ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยมีอีกสองทีมคือ สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ และ สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย โดยทีมประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงปี 2547-2550 โดยสามารถชนะเลิศการแข่งขัน ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก และถ้วยพระราชทาน ก. 2 สมัยซ้อน โดยมีนักเตะอย่าง ยุทธนา ไชยแก้ว, รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค, อำนาจ แก้วเขียว, พิชิตพงษ์ เฉยฉิว, เป็นต้น

เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2008[แก้]

ตราสโมสรที่ใช้ตั้งแต่ปี 2544 - 2551 (ใช้ติดบนอกเสื้อ)

ธนาคารกรุงไทย ได้สิทธิร่วมแข่งขันใน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก จากที่ทีมจาก อินโดนีเซียโดนตัดสิทธิเนื่องจากลีกไม่สามารถจบได้ทัน ทำให้ทีมธนาคารกรุงไทย ในฐานะรองชนะเลิศไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2550 จึงได้ร่วมแข่งขันแทน โดยภายหลังจากจับฉลากแบ่งสาย ธนาคารกรุงไทย ได้อยู่ในสาย F แข่งขันกับ ปักกิ่ง กั๋วอัน (จีน) นามดิ่ง (เวียดนาม) คะชิมะ แอนต์เลอร์ส (ญี่ปุ่น) โดยในรอบแรกทำการแข่งขันระหว่างวันที่ 12 มีนาคม-21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งก่อนหน้านี้ ทีมธนาคารกรุงไทย ได้ร่วมแข่งขันในฤดูกาล 2004 และ 2005 แต่ก็ไม่สามารถผ่านรอบแรกเข้าไปแข่งขันในรอบต่อไปได้เช่นกัน

ยุบสโมสร[แก้]

ในช่วงเดือน มกราคม พ.ศ. 2552 สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย จากศึกไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก โดยผู้บริหารธนาคารกรุงไทยได้ประกาศโอนสิทธิในการแข่งขันและตัวผู้เล่น ให้ บริษัท BGFC SPORT จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ที่อยู่ในฟุตบอลถ้วย ข. เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เอเอฟซีกำหนดในเรื่องการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ บริษัท BGFC SPORT จำกัด จึงได้ทำการเทคโอเวอร์ สโมสรธนาคารกรุงไทย โดยจะได้ลงแข่งใน ไทยพรีเมียร์ลีก ปี พ.ศ. 2552 แทนที่ของสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย และได้ย้ายสนามไปเช่าสนามเฉลิมพระเกียรติ คลอง 6 เป็นการชั่วคราวเพื่อปรับปรุงสนามลีโอสเตเดียม ซึ่งในปีแรกของการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าสนั้นทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการจบอันดับที่ 3 ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 โดยสโมสรธนาคารกรุงไทยลงแข่งขันรายการสุดท้ายคือ ควีนส์คัพ ปี 2009

ผู้เล่นชุดสุดท้ายของสโมสร[แก้]

ชุด ฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2551 ผู้ฝึกสอนคนสุดท้ายคือ อรรถพล บุษปาคม

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย นราธิป พันธุ์พร้อม
2 GK ไทย สราวุธ คำบัว
4 MF ไทย สมเจตน์ เกษารัตน์
5 DF ไทย สุรเชษฎ์ ภูผา
6 DF ไทย อำนาจ แก้วเขียว
7 MF ไทย อนนท์ บุญสุโข
8 DF ไทย อาทิตย์ ดาวสว่าง
9 FW ไทย เรวัติ มีเรียน
10 MF ไทย พิชิตพงษ์ เฉยฉิว
11 FW ไทย ศรันย์ พรมแก้ว
12 FW ไทย ยุทธนา ไชยแก้ว
13 DF ไทย ธาดา คีละลาย
14 FW ไทย เมธี ปุ้งโพ
15 MF ไทย อนาวิน จูจีน
16 MF ไทย ธนัตย์ วงศ์ศุภลักษณ์
17 DF ไทย ศุภชัย คมศิลป์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
18 GK ไทย กฤษณะ กลั่นกลิ่น
19 FW ไทย นันทวัฒน์ แทนโสภา
20 DF ไทย ไกรเกียรติ เบียดตะคุ
21 DF ไทย สุภชัย ภูผา
22 MF ไทย คำรณ ชินสี
23 FW โกตดิวัวร์ Kone Kassim
24 MF ไทย พีรพงศ์ พิชิตโชติรัตน์
25 MF ไทย นพพล สรรคพงษ์
26 DF ไทย วชิระ แสงสี
27 FW ไทย มงคล ทศไกร
28 FW ไนจีเรีย อาจายี่ ซามูเอล
29 MF ไทย วรรณพล ปุษปาคม
30 DF ไทย ประดิษฐ์ สว่างศรี
31 GK ไทย เกรียงไกร สุวรรณกูล
32 GK ไทย อุกฤษณ์ ธีระจันทรานนท์
33 MF ไทย พลวัฒน์ วังฆะฮาด

อดีตผู้เล่นของทีม[แก้]

ผลงาน[แก้]

ผลงานในไทยลีก[แก้]

  • 2539/40 - ไทยลีก - อันดับ 17 (ตกลีกไปเล่นในดิวิชัน 1)
  • 2540 - ดิวิชัน 1 - อันดับ 1 (ขึ้นลีกไปเล่นในไทยลีก)
  • 2541 - ไทยลีก - อันดับ 9
  • 2542 - ไทยลีก - อันดับ 10
  • 2543 - ไทยลีก - อันดับ 10
  • 2544/45 - ไทยลีก - อันดับ 7
  • 2545/46 - ไทยลีก - ชนะเลิศ
  • 2546/47 - ไทยลีก - ชนะเลิศ
  • 2547/48 - ไทยลีก - อันดับ 5
  • 2549 - ไทยลีก - อันดับ 9
  • 2550 - ไทยลีก - อันดับ 2
  • 2551 - ไทยลีก - อันดับ 6 (โอนสิทธิ์ให้ บางกอกกล๊าส)

ผลงานที่ดีสุดในระดับเอเชีย[แก้]

เกียรติยศ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]