ประเทศอาเซอร์ไบจาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน

Azərbaycan Respublikası  (อาเซอร์ไบจาน)
เพลงชาติ
ที่ตั้งของอาเซอร์ไบจาน (เขียว)
ที่ตั้งของอาเซอร์ไบจาน (เขียว)
ที่ตั้งของอาเซอร์ไบจาน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บากู
40°23′43″N 49°52′56″E / 40.39528°N 49.88222°E / 40.39528; 49.88222
ภาษาราชการอาเซอร์ไบจาน[1]
ภาษาชนกลุ่มน้อยดูรายชื่อเต็ม
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2009[2])
ศาสนา
เดมะนิม
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญ สาธารณรัฐ[4]
อิลฮัม แอลีเยฟ
เมฮ์รีบาน แอลีเยวา
แอลี แอแซดอฟ
ซาฮีแบ กาฟาโรวา
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ก่อตั้ง
28 พฤษภาคม ค.ศ. 1918
28 เมษายน ค.ศ. 1920
• เป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต
  • 30 สิงหาคม ค.ศ. 1991 (ประกาศ)
  • 18 ตุลาคม ค.ศ. 1991 (เป็นเอกราช)
  • 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (สมบูรณ์)
21 ธันวาคม ค.ศ. 1991
2 มีนาคม ค.ศ. 1992
• ใช้งานรัฐธรรมนูญ
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995
พื้นที่
• รวม
86,600 ตารางกิโลเมตร (33,400 ตารางไมล์) (อันดับที่ 112)
1.6
ประชากร
• เมษายน ค.ศ. 2021 ประมาณ
10,130,100[5] (อันดับที่ 90)
115 ต่อตารางกิโลเมตร (297.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 99)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
189.050 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
18,793 ดอลลาร์สหรัฐ[6]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
45.284 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
4,498 ดอลลาร์สหรัฐ[6]
จีนี (ค.ศ. 2008)Negative increase 33.7[7]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.756[8]
สูง · อันดับที่ 88
สกุลเงินมานัต (₼) (AZN)
เขตเวลาUTC+4 (เวลาอาเซอร์ไบจาน)
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+994
โดเมนบนสุด.az

อาเซอร์ไบจาน (อังกฤษ: Azerbaijan; อาเซอร์ไบจาน: Azərbaycan [ɑːzæɾbɑjˈdʒɑn]) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน (อังกฤษ: Republic of Azerbaijan; อาเซอร์ไบจาน: Azərbaycan Respublikası [ɑːzæɾbɑjˈdʒɑn ɾespublikɑˈsɯ]) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ที่ชายแดนยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตก[9] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคอเคซัสใต้ และมีอาณาเขตทิศตะวันออกจรดทะเลแคสเปียน ทิศเหนือติดต่อกับสหพันธรัฐรัสเซีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับจอร์เจีย ทิศตะวันตกติดต่อกับอาร์มีเนีย และทิศใต้ติดต่อกับอิหร่าน

สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจานประกาศเป็นเอกราชจากสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย ใน ค.ศ. 1918 และกลายเป็นรัฐประชาธิปไตยแบบฆราวาสที่มีมุสลิมส่วนใหญ่แห่งแรก ซึ่งนำชื่อประเทศจากภูมิภาคที่อิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือด้วยเหตุผลทางการเมือง[10][11][12][13][14] ใน ค.ศ. 1922 ประเทศนี้ถูกรวมเข้ากับสหภาพโซเวียตในฐานะสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน[15][16]

สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานในปัจจุบันประกาศเอกราชในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1991[17][18] ไม่นานก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปีเดียวกัน ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1991 ภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคที่ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติอาร์มีเนียแยกออกเป็นสาธารณรัฐอาร์ทซัค[19] ภูมิภาคและอำเภอรอบ ๆ 7 อำเภอ ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจานตามแนวทางแก้ปัญหาคาราคาซังถึงสถานะนากอร์โน-คาราบัคผ่านการเจรจาขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นเอกราช โดยพฤตินัย หลังสิ้นสุดสงครามนากอร์โน-คาราบัคที่หนึ่งใน ค.ศ. 1994[20][21][22][23] หลังสงครามนากอร์โน-คาราบัค พ.ศ. 2563 7 อำเภอและส่วนหนึ่งของนากอร์โน-คาราบัคอยู่ภายใต้การควบคุมของอาเซอร์ไบจาน[24]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ภูมิประเทศ ประกอบด้วยเทือกเขาและที่ขรุขระ ทางภาคเหนือเป็นแม่นํ้า The Greater Caucasus ซึ่งมียอดเขา Mount Bazardyuzyu เป็นภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ (4,466 เมตร) ส่วนเทือกเขา The Lesser Caucasus เป็นพรมแดนด้านตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลางของประเทศ จึงเป็นบริเวณที่ราบลุ่มที่สำคัญคือ ลุ่มน้ำ Aras-Kura และที่ราบบริเวณชายฝั่งทะเลสาบ Caspian ที่ราบลุ่มเหล่านี้มีพื้นที่กว่า 4,278 เฮคตาร์ (ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1,600 เฮคตาร์ และที่เหลือใช้เลี้ยงสัตว์)มีพื้นที่ป่ากว่า 1 ล้านเฮคตาร์

ภูมิอากาศ อากาศหนาวในเขตเทือกเขาคอเคซัสทางภาคเหนือของอาเซอร์ไบจาน ส่วนบริเวณที่ราบ Kura อากาศเย็นสบาย และมีอากาศแบบเขตร้อนบริเวณที่ราบต่ำ Lenkoran ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของชายฝั่งแคสเปียน (ประมาณ 27 องศาเซลเซียส ในเดือนกรกฎาคม และ 1 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม)

ประวัติศาสตร์[แก้]

แผนที่อาเซอร์ไบจาน ค.ศ. 1919

นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาวอาเซอร์ไบจานสืบเชื้อสายมาจากชนชาติเซลจุคเติร์ก (Seljuk Turks) และชาวเปอร์เซียโบราณ และสันนิษฐานว่าชื่อประเทศในปัจจุบันมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณที่แปลว่า “ดินแดนแห่งไฟ” เนื่องจากดินแดนแถบนี้มีทรัพยากรน้ำมันอุดมสมบูรณ์และมีสถานะเป็นศูนย์กลางของศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroaster) ซึ่งเป็นกลุ่มชนโบราณที่บูชาไฟ ดินแดนของอาเซอร์ไบจานถูกครอบครองโดยชนเผ่าเติร์กตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 จึงทำให้ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมแบบมุสลิม ศาสนา และภาษาโดยกลุ่มชนดังกล่าวกว่าหลายศตวรรษ ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยชาวมองโกลตั้งแต่ศตวรรษที่ 13-15 และชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) ในศตวรรษที่ 16 ส่งผลให้อาเซอร์ไบจานรับเอาศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์เป็นนิกายประจำชาติ

หลังจากนั้น อาเซอร์ไบจานได้ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของหลายชนชาติ อาทิ เปอร์เซีย และออตโตมัน ด้วยเหตุที่เป็นดินแดนที่มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างทวีปยุโรปกับเอเชียกลาง รวมทั้งอยู่ติดกับทะเลสาบแคสเปียนซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำมันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในที่สุดรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญา Turkmenchay กับเปอร์เซีย ใน ค.ศ. 1828 เพื่อแบ่งดินแดนของอาเซอร์ไบจานออกจากอาณาจักรเปอร์เซีย และได้ใช้เริ่มสำรวจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันในอาเซอร์ไบจานนับแต่นั้น ซึ่งก่อให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นในบริเวณดังกล่าวในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

อาเซอร์ไบจานได้ประกาศเอกราชครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1918 หลังจากที่จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายลง 1 ปี แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1920 กองทัพแดงของพรรคบอลเชวิคได้เข้ารุกรานและมีชัยชนะเหนืออาเซอร์ไบจานรวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ในส่วนที่เรียกว่าทรานส์คอเคเซีย (ได้แก่ จอร์เจีย อาร์มีเนีย และอาเซอร์ไบจาน) ส่งผลให้ใน ค.ศ. 1922 อาเซอร์ไบจานได้ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตในฐานะส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัสร่วมกับจอร์เจียและอาร์มีเนีย และได้กลายเป็นสาธารณรัฐหนึ่งในสหภาพโซเวียต ในชื่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน เมื่อสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเซียล่มสลายลงใน ค.ศ. 1936

หลังจากนั้น นับแต่ทศวรรษ 1980 อาเซอร์ไบจานประสบกับความวุ่นวายภายในประเทศ รวมทั้งได้เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงกับกองทัพสหภาพโซเวียต ซึ่งส่งผลให้ชาวอาเซอร์ไบจานที่เรียกร้องเอกราชในกรุงบากูเสียชีวิตลงจำนวน 190 คนใน ค.ศ. 1990 และต่อมาเมื่อสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงใน ค.ศ. 1991 อาเซอร์ไบจานก็ได้ประกาศเอกราช.ในที่สุด

การเมือง[แก้]

รูปแบบการปกครอง[แก้]

ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญรับรองโดยประชาชนเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 สถาบันการเมือง • ฝ่ายนิติบัญญัติ - ระบบสภาเดียว (Unicameral) คือ “ Milli Majlis” หรือ สภาแห่งชาติ (National Assembly) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 125 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้ง โดยตรง (ผลจากการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2002) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ผลคือ seats by party - Yeni 58, Azadliq coalition 8, CSP 2, YES 2, Motherland 2, other parties with single seats 7, independents 42, undetermined 4 การเลือกตั้งจะมีครั้งต่อไปปี 2010 • ฝ่ายบริหาร - ประธานาธิบดี เป็นประมุขของประเทศ (Chief of State) มาจากการ เลือกตั้งโดยประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยการเลือกตั้ง ครั้งล่าสุดมีขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2003 โดยนาย Ilham Aliyev ได้รับเลือกตั้งเป็นปธน.อาเซอร์ไบจาน ใน ค.ศ. 2003 ต่อจากบิดา คือ ปธน. Heydar Aliyev ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ท่ามกลางการกล่าวหาว่ารับตำแหน่งอย่างไม่โปรงใส ทั้งจากฝ่ายค้านและองค์การระหว่างประเทศ - นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) โดยการแต่งตั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา

ภาพรวมของสถานการณ์การเมืองอาเซอร์ไบจานตั้งแต่ ค.ศ. 1990 อาเซอร์ไบจานประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1991 โดยนายAyaz Mutalibov ซึ่งเป็นอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอาเซอร์ไบจานดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก แต่ได้ลาออกจากตำแหน่งหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ที่ชาวอาเซอร์ไบจานจำนวนมากถูกสังหารในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค (ดินแดนของอาเซอร์ไบจานซึ่งมีชาวอาร์มีเนียจำนวนมากอาศัยอยู่) ต่อมาในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1992 นาย Abulfez Elchibey ผู้นำพรรค Popular Front Party (PFP) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี แต่ก็ไม่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค และไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจรวมทั้งแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงก่อให้เกิดความไม่ พอใจในหมู่ประชาชนจนเกิดการจลาจลสู้รบขึ้นในประเทศ ทำให้ประธานาธิบดี Elchibey ต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ที่เมือง Nakchivan และต่อมารัฐสภาได้แต่งตั้งให้นาย Heydar Aliyev ประธานรัฐสภาในขณะนั้น เป็นผู้รักษาการประธานาธิบดี ซึ่งต่อมานาย Aliyev ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค New Azerbaijan Party ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1992 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอาเซอร์ไบจานเรื่อยมา สถานการณ์ทางการเมืองของอาเซอร์ไบจานกล่าวได้ว่า อำนาจในการปกครองประเทศเกือบทั้งหมดอยู่ในการควบคุมของประธานาธิบดี Heydar Aliyev ซึ่งควบคุมคะแนนเสียงข้างมากในสภาและสมาชิกของพรรคฯ ได้รับตำแหน่งสำคัญ ๆ ในรัฐบาล อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัญหาที่สั่นคลอนเสถียรภาพของ รัฐบาลหลายประการ อาทิ ปัญหาทางการเมืองภายในกับฝ่ายค้านที่พยายามจะแย่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในการเลือกตั้งสมัยต่อไป ปัญหาภายในพรรครัฐบาล ข้อกล่าวหาว่ายักยอกเงินกองทุนที่จะนำไปช่วยเหลือผู้อพยพจากการสู้รบกับอาร์มีเนียคาราบัค ปัญหาเรื่องความขัดแย้งเหนือดินแดนนากอร์โน-คาราบัค การเดินขบวนประท้วงในกรุงบากูเพื่อสนับสนุนฝ่ายค้านและต่อต้านการผูกขาดอำนาจในการบริหารประเทศของ ประธานาธิบดี Aliyev การฉ้อราษฎร์บังหลวง การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการใช้สื่อของรัฐในการหาเสียงเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลเอง เป็นต้น

สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน[แก้]

การเลือกตั้งทั่วไป อาเซอร์ไบจานได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดขึ้นเมื่อปี 2005 ผลคือ seats by party - Yeni 58, Azadliq coalition 8, CSP 2, YES 2, Motherland 2, other parties with single seats 7, independents 42, undetermined 4 การเลือกตั้งจะมีครั้งต่อไปปี 2014

การเลือกตั้งประธานาธิบดี สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุด มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2546 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นาย Ilham Heydar oglu Aliyev นายกรัฐมนตรีและบุตรชายของอดีตประธานาธิบดี Heydar Aliyev ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 76.84 ในขณะที่นาย Isa Bambar ผู้สมัครคู่แข่ง ได้รับเสียงสนับสนุนเป็นอันดับที่สอง คือ ร้อยละ 10.74 จากจำนวนผู้สมัครทั้งสิ้น 8 ราย โดยสาเหตุที่นาย Ilham Aliyev ได้รับเสียงสนับสนุนจำนวนมาก เนื่องมาจากนาย Heydar Aliyev ซึ่งกำลังป่วยด้วยโรคหัวใจและอยู่ระหว่างรับการรักษาที่สหรัฐฯ ได้ถอนตัวจากการลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งนี้ เพื่อถ่ายโอนคะแนนนิยมให้แก่บุตรชาย ทั้งนี้ นาย Ilham Aliyev อายุ 41 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานพรรค Yeni Azerbaijan นอกจากนี้ นาย Ilham ยังดำรงตำแหน่งรองประธานหมายเลข 1 ของบริษัทน้ำมันของรัฐ และประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ อย่างไรก็ดี ได้เกิดเหตุการณ์ประท้วงผลการเลือกตั้งดังกล่าวอย่างรุนแรง ประชาชน 60 คน ได้รับความเดือดร้อน เจ้าหน้าที่ของรัฐ 112 ราย ได้รับบาดเจ็บ และผู้สื่อข่าวหลายรายถูกทำร้าย รัฐบาลอาเซอร์ไบจานจึงได้ดำเนินการจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งสิ้น 625 ราย

การอสัญกรรมของประธานาธิบดี Heydar Aliyev นาย Haidar Aliyev อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2003 ด้วยอายุ 80 ปี ภายหลังการเดินทางเข้ารับการรักษาอาการหัวใจล้มเหลวและโรคไตที่ Cleveland Clinic Foundation ในสหรัฐฯ นับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2003

สถานการณ์ในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค นากอร์โน-คาราบัค (Nagorno-Karabakh) ในอดีตเป็นดินแดนปกครองตนเองของสหภาพโซเวียต ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาร์มีเนีย นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ต่อมาใน ค.ศ. 1923 สหภาพ โซเวียตได้มอบดินแดนนี้ให้แก่อาเซอร์ไบจาน ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม และให้ชาวอาเซอรีเข้าไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าว โดยให้ใช้ภาษาอาร์มีเนียเป็นภาษาหลัก นับตั้งแต่ผู้นำท้องถิ่นของชาวอาร์มีเนียในนากอร์โน-คาราบัค ประกาศเอกราชจากอาเซอร์ไบจาน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1988 จนถึงปัจจุบัน การประกาศเอกราชดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติและอาเซอร์ไบจานถือว่านากอร์โน-คาราบัค เป็นดินแดนกบฏที่ได้รับการสนับสนุนจากอาร์มีเนีย ความขัดแย้งเริ่มเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับนโยบายปฏิรูป “Perestroika” ของสหภาพโซเวียตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เมื่อสภาท้องถิ่นของเมือง Stepanakert เมืองหลวงของนากอร์โน-คาราบัค มีมติให้นากอร์โน-คาราบัคประกาศเอกราชจากอาเซอร์ไบจานเพื่อไปรวมตัวกับอาร์มีเนีย รัฐบาลอาเซอร์ไบจาน จึงได้ส่งกองกำลังเข้าไปควบคุมสถานการณ์ในดินแดนดังกล่าวไว้ เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยมาจนอาเซอร์ไบจานสามารถเข้ายึดพื้นที่เกือบทั้งหมดของคาราบัคและเมืองหลวง Stepanakert ระหว่าง ค.ศ. 1991 - 1992 ต่อมารัฐบาลอาร์มีเนียได้ส่งกำลังเข้ารุกรานอาเซอร์ไบจานเพื่อช่วยเหลือกองกำลังคาราบัคระหว่างปีค.ศ. 1993-1994 จนในที่สุดกองกำลังคาราบัคสามารถยึดครองดินแดนส่วนหนึ่งเท่ากับประมาณ 20 % ของสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน และขับไล่ชาวอาเซอรีประมาณ 600,000 คน ออกจากพื้นที่ สงครามต่อสู้แย่งดินแดนดังกล่าวมีผลทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนกว่า 25,000 คน และมีผู้อพยพจากภัยสงคราม อีกเป็นจำนวนมาก ในที่สุดสงครามระหว่างเชื้อชาติที่ดำเนินมา 6 ปี ได้ยุติลงชั่วคราวในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1994 เมื่ออาเซอร์ไบจานกับอาร์มีเนียได้ร่วมกันจัดทำข้อตกลงหยุดยิงโดยความช่วยเหลือของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายก็ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวอย่างแท้จริง ยังคงมีการยิงสู้รบระหว่างกันเป็นระยะ ๆ ล่าสุดในการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดี Aliyev แห่งอาเซอร์ไบจานกับประธานาธิบดี Robert Kocharyan แห่งอาร์มีเนีย ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มเครือรัฐเอกราชที่กรุงมอสโกเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1998 ผู้นำทั้งสองได้ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ที่จะยุติความขัดแย้งเหนือดินแดนนากอร์โน-คาราบัค โดยทั้งสองฝ่ายเรียกร้องให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติตามข้อตกลงยุติการยิงที่ทำขึ้นใน ค.ศ. 1994 และให้ดำเนินกระบวนการเพื่อสันติภาพภายใต้กรอบของกลุ่ม Minsk ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกิจขององค์การความมั่นคงและความร่วมมือแห่งยุโรป (OSCE) ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาฝรั่งเศส และรัสเซีย จากความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงภายในภูมิภาค คือทำให้ชาวอาเซอรีกว่าร้อยละ 10 ของประชากรของอาเซอร์ไบจานต้องกลายเป็นผู้อพยพ อาศัยอยู่ตามค่ายอพยพต่าง ๆ และก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นภายในประเทศอีกด้วย นอกจากนั้น การที่อาเซอร์ไบจานกับตุรกีดำเนินการปิดกั้นทางเศรษฐกิจต่อนากอร์โน-คาราบัค และอาร์มีเนีย โดยการปิดชายแดนและเส้นทางรถไฟสายหลัก 3 สาย ซึ่งมีผลทำให้เศรษฐกิจของอาร์มีเนียตกต่ำลงอย่างมาก และยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันที่ต่างวิตกว่าเส้นทางท่อขนส่งน้ำมันจากทะเลสาบแคสเปียนอาจถูกผลกระทบจากการสู้รบที่อาจจะปะทุขึ้นได้อีก นับตั้งแต่เกิดความขัดแย้งดังกล่าวขึ้น สหประชาชาติก็ได้มีความพยายามในการที่จะระงับ กรณีพิพาทนี้ โดยให้องค์การ OSCE เข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งกระบวนการเจรจาสันติภาพ ซึ่งผู้นำอาร์มีเนียได้ปฏิเสธแผนของ OSCE ที่ขอให้อาร์มีเนียถอนกองกำลังออกจากบริเวณนอกเขตนากอร์โน-คาราบัค ที่เป็นพื้นที่ในกรรมสิทธิ์ของอาเซอร์จาน ในขณะเดียวกัน องค์การ OSCE ยังได้เรียกร้องให้นากอร์โน-คาราบัคได้รับอำนาจปกครองตนเองอย่างเต็มที่ ภายใต้อาณาเขตของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งประธานาธิบดี Kocharyan ของอาร์มีเนีย ได้ออกมาปฏิเสธที่จะยอมรับข้อตกลงใด ๆ ที่จะทำให้ดินแดนนากอร์โน-คาราบัค ต้องกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของอาเซอร์ไบจานอีกครั้ง ตลอดเวลา 10 ปี ของสงครามระหว่างเชื้อชาติ อาเซอร์ไบจานตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบและได้กล่าวหาว่ารัสเซียเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการทหารแก่ประเทศอาร์มีเนีย ซึ่งคอยช่วยเหลือชาวอาร์มีเนียในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค และการที่อาเซอร์ไบจานทำการปิดกั้นทางเศรษฐกิจต่ออาร์มีเนียและนากอร์โน-คาราบัค ทำให้สหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยการจำกัดการให้ความช่วยเหลือแก่อาเซอร์ไบจานภายใต้มาตรา 907 ของ Freedom Support Act เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2002 ประธานาธิบดี Aliyev ได้พบกับประธานาธิบดี Kocharyan ของอาร์มีเนีย เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหานากอร์โน-คาราบัคโดยสันติ แต่ไม่ปรากฏผลคืบหน้าแต่อย่างใด อนึ่ง นับตั้งแต่ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการจากอาเซอร์ไบจานใน ค.ศ. 1991 นากอร์โน-คาราบัคได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2001 โดยนาย Arkady Gukasian ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

อาเซอร์ไบจานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เขตเศรษฐกิจ รวมทั้งหมด 66 จังหวัด (rayonlar, เอกพจน์ rayon) และ 77 เมือง (şəhərlər, เอกพจน์ şəhər) โดยเมือง 12 แห่งในจำนวนดังกล่าวมีหน่วยบริหารขึ้นตรงต่อสาธารณรัฐ[25] นอกจากนี้อาเซอร์ไบจานยังมีเขตปกครองตนเองคือสาธารณรัฐปกครองตนเองนาคีชีวัน รายชื่อจังหวัดและเมืองที่บริหารโดยสาธารณรัฐแบ่งตามเขตเศรษฐกิจ มีดังนี้

หมายเหตุ ชื่อที่เขียนด้วยตัวเอียงมีสถานะเป็นเมือง และในวงเล็บคือชื่อในภาษาอาเซอร์ไบจาน

เศรษฐกิจ[แก้]

พลังงาน[แก้]

สินค้าส่งออกหลักของประเทศคือน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ที่มาจากทะเลสาบแคสเปียน มีน้ำมันสำรองอันดับ 3 ของโลก อาเซอร์ไบจานอยู่ระหว่างระยะการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจจากการมีระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นผู้ควบคุมไปสู่การเปิดเสรีมากขึ้น แต่เดิมอาเซอร์ไบจานเป็นประเทศที่มีพัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรมน้อยกว่าอาร์มีเนียและจอร์เจีย โดยมีส่วนคล้ายประเทศในเอเชียกลาง เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอัตราการว่างงานสูง และมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ต่ำ สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ฝ้ายและก๊าซธรรมชาติ แต่โดยที่อาเซอร์ไบจานมีทรัพยากรน้ำมันอุดมสมบูรณ์ และตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบแคสเปียนซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใหญ่เป็นอันดับสามของโลก จึงทำให้อาเซอร์ไบจานมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ส่งผลให้มีการลงทุนในธุรกิจด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอาเซอร์ไบจานอย่างต่อเนื่อง โดยอาเซอร์ไบจานได้มีสัญญาร่วมลงทุนด้านน้ำมันกับบริษัทน้ำมันต่างชาติหลายบริษัท อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ ตุรกี รวมทั้งได้มีการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงการเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติผ่านอาเซอร์ไบจานโดยมีเส้นทางสำคัญคือ Baku-Tbilisi-Ceyhan นอกจากนี้ อาเซอร์ไบจานยังได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรมอีกด้วย

ปัจจุบันอาเซอร์ไบจานประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง โดยภายใต้ความร่วมมือกับ IMF อาเซอร์ไบจานสามารถลดระดับเงินเฟ้อจากเดิมสูงถึง 1,800% ใน ค.ศ. 1994 เป็น ร้อยละ 1.5 ใน ค.ศ. 2001 และมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยใน ค.ศ. 2001 มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 9.9 และ 10.6 ใน ค.ศ. 2002 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการปฏิรูปที่ดินด้านการเกษตร และปฏิรูปรัฐวิสาหกิจขนาดกลาง อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายปัจจัยที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ ความขัดแย้งภายในประเทศโดยมีการสู้รบในเขตนากอร์โน-คาราบัค ซึ่งทำให้ชาวต่างประเทศไม่กล้าเข้ามาลงทุนมากนัก การปฏิรูปเศรษฐกิจไปสู่ระบบแบบตลาดยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ภาวะว่างงานที่สูง และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

ประชากร[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

9,164,600[26] คน แบ่งออกเป็น 4 ชาติพันธุ์ใหญ่ ได้แก่ อาเซอรี 93.4 % ดาเกสถาน 1.5 % รัสเซีย 1.5% อาร์มีเนีย 2% และอื่น ๆ 1.4 %

ศาสนา[แก้]

ศาสนาอิสลาม (ชีอะห์) ร้อยละ 93.4 คริสต์นิกายรัสเซียออร์โธดอกซ์ ร้อยละ 2.5 คริสต์นิกายอาร์มีเนียนออโธด็อกซ์ ร้อยละ 2.3 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.8

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Constitution of the Republic of Azerbaijan" (PDF). President of the Republic of Azerbaijan. The Official Website of the President of the Republic of Azerbaijan. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020. I. The official language of the Republic of Azerbaijan is Azerbaijani Language. The Republic of Azerbaijan guarantees the development of Azerbaijani Language.
  2. The State Statistical Committee of the Azerbaijan Republic, The ethnic composition of the population according to the 2009 census. azstat.org
  3. "Central Intelligence Agency". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 13 February 2020. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  4. LaPorte, Jody (2016). "Semi-presidentialism in Azerbaijan". ใน Elgie, Robert; Moestrup, Sophia (บ.ก.). Semi-Presidentialism in the Caucasus and Central Asia. London: Palgrave Macmillan (ตีพิมพ์ 15 May 2016). pp. 91–117. doi:10.1057/978-1-137-38781-3_4. ISBN 978-1-137-38780-6. LCCN 2016939393. OCLC 6039791976. LaPorte examines the dynamics of semi-presidentialism in Azerbaijan. Azerbaijan's regime is a curious hybrid, in which semi-presidential institutions operate in the larger context of authoritarianism. The author compares formal Constitutional provisions with the practice of politics in the country, suggesting that formal and informal sources of authority come together to enhance the effective powers of the presidency. In addition to the considerable formal powers laid out in the Constitution, Azerbaijan's president also benefits from the support of the ruling party and informal family and patronage networks. LaPorte concludes by discussing the theoretical implications of this symbiosis between formal and informal institutions in Azerbaijan's semi-presidential regime.
  5. "Azərbaycan əhalisinin sayı artıb - RƏSMİ". oxu.az. 19 May 2021. สืบค้นเมื่อ July 8, 2021.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Report for Selected Countries and Subjects". imf.org. International Monetary Fund. April 2019. สืบค้นเมื่อ 16 August 2019.
  7. "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  8. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  9. While often politically aligned with Europe, Azerbaijan is generally considered to be at least mostly in Southwest Asia geographically with its northern part bisected by the standard Asia-Europe divide, the Greater Caucasus. The United Nations classification of world regions places Azerbaijan in Western Asia; the CIA World Factbook places it mostly in Southwest Asia [1] and Merriam-Webster's Collegiate Dictionary places it in both; NationalGeographic.com, and Encyclopædia Britannica also place Georgia in Asia. Conversely, some sources place Azerbaijan in Europe such as Worldatlas.com.
  10. Yilmaz, Harun (2015). National Identities in Soviet Historiography: The Rise of Nations Under Stalin. Routledge. p. 21. ISBN 978-1317596646. On May 27, the Democratic Republic of Azerbaijan (DRA) was declared with Ottoman military support. The rulers of the DRA refused to identify themselves as [Transcaucasian] Tatar, which they rightfully considered to be a Russian colonial definition. (...) Neighboring Iran did not welcome the DRA's adoption of the name of "Azerbaijan" for the country because it could also refer to Iranian Azerbaijan and implied a territorial claim.
  11. Barthold, Vasily (1963). Sochineniya, vol II/1. Moscow. p. 706. (...) whenever it is necessary to choose a name that will encompass all regions of the Republic of Azerbaijan, name Arran can be chosen. But the term Azerbaijan was chosen because when the Azerbaijan republic was created, it was assumed that this and the Persian Azerbaijan would be one entity because the population of both has a big similarity. On this basis, the word Azerbaijan was chosen. Of course right now when the word Azerbaijan is used, it has two meanings as Persian Azerbaijan and as a republic, its confusing and a question arises as to which Azerbaijan is talked about.
  12. Atabaki, Touraj (2000). Azerbaijan: Ethnicity and the Struggle for Power in Iran. I.B.Tauris. p. 25. ISBN 9781860645549.
  13. Dekmejian, R. Hrair; Simonian, Hovann H. (2003). Troubled Waters: The Geopolitics of the Caspian Region. I.B. Tauris. p. 60. ISBN 978-1860649226. Until 1918, when the Musavat regime decided to name the newly independent state Azerbaijan, this designation had been used exclusively to identify the Iranian province of Azerbaijan.
  14. Rezvani, Babak (2014). Ethno-territorial conflict and coexistence in the Caucasus, Central Asia and Fereydan: academisch proefschrift. Amsterdam: Amsterdam University Press. p. 356. ISBN 978-9048519286. The region to the north of the river Araxes was not called Azerbaijan prior to 1918, unlike the region in northwestern Iran that has been called since so long ago.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Swietochowski Borderland
  16. Pipes, Richard (1997). The Formation of the Soviet Union: Communism and Nationalism 1917–1923 (2nd ed.). Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. pp. 218–220, 229. ISBN 978-0-674-30951-7.
  17. "Азербайджан. Восстановлена государственная независимость". Ельцин Центр (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.
  18. King, David C. (2006). Azerbaijan. Marshall Cavendish. p. 27. ISBN 978-0761420118.
  19. Zürcher, Christoph (2007). The Post-Soviet Wars: Rebellion, Ethnic Conflict, and Nationhood in the Caucasus ([Online-Ausg.]. ed.). New York: New York University Press. p. 168. ISBN 978-0814797099.
  20. Резолюция СБ ООН № 822 от 30 April 1993 года (ภาษารัสเซีย). United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2011. สืบค้นเมื่อ 4 January 2011.
  21. Резолюция СБ ООН № 853 от 29 июля 1993 года (ภาษารัสเซีย). United Nations. สืบค้นเมื่อ 4 January 2011.
  22. Резолюция СБ ООН № 874 14 октября 1993 года (ภาษารัสเซีย). United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2011. สืบค้นเมื่อ 4 January 2011.
  23. Резолюция СБ ООН № 884 от 12 ноября 1993 года (ภาษารัสเซีย). United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2011. สืบค้นเมื่อ 4 January 2011.
  24. Kramer, Andrew E. (10 November 2020). "Facing Military Debacle, Armenia Accepts a Deal in Nagorno-Karabakh War". The New York Times.
  25. "The State Statistical Committee of the Republic of Azerbaijan, Administrative and territorial units of Azerbaijan Republic". Azstat.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-12. สืบค้นเมื่อ 2016-08-23.
  26. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Azstat

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Altstadt, Audrey. Frustrated Democracy in Post-Soviet Azerbaijan (2018)
  • Broers, Broers Laurence. Armenia and Azerbaijan: Anatomy of a rivalry (Edinburgh University Press, 2019).
  • Cornell, Svante E. Azerbaijan since independence (Routledge, 2015).
  • Dragadze, Tamara. "Islam in Azerbaijan: The Position of Women" in Muslim Women’s Choices (Routledge, 2020) pp. 152–163.
  • Ergun, Ayça. "Citizenship, National Identity, and Nation-Building in Azerbaijan: Between the Legacy of the Past and the Spirit of Independence." Nationalities Papers (2021): 1-18. online
  • Goltz, Thomas. Azerbaijan Diary : A Rogue Reporter's Adventures in an Oil-Rich, War-Torn, Post-Soviet Republic. M E Sharpe (1998). ISBN 0-7656-0244-X
  • Habibov, Nazim, Betty Jo Barrett, and Elena Chernyak. "Understanding women's empowerment and its determinants in post-communist countries: Results of Azerbaijan national survey." Women's Studies International Forum. Vol. 62. Pergamon, 2017.
  • Olukbasi, Suha. Azerbaijan: A Political History. I.B. Tauris (2011). Focus on post-Soviet era.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

ข้อมูลหลักของรัฐบาล[แก้]

สื่อข่าวหลัก[แก้]

การท่องเที่ยว[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 40°18′N 47°42′E / 40.3°N 47.7°E / 40.3; 47.7