ดินแดนรอบนากอร์โน-คาราบัคที่กลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนียยึดครอง
เขตที่ถูกยึดครองก่อนสงคราม พ.ศ. 2563 แสดงเป็นสีแดง ส่วนสีชมพูคือดินแดนของอดีตแคว้นปกครองนากอร์โน-คาราบัค และสีเหลืองคือดินแดนที่อาเซอร์ไบจานครอบครองอยู่แล้วก่อนสงคราม พ.ศ. 2563
1. แคลแบแจร์ 2. ลาชึน 3. กูบัดลือ 4. แซงกีลัน | 5. แจบรายึล 6. ฟือซูลี 7. อัฆดัม |
ดินแดนรอบนากอร์โน-คาราบัคที่กลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนียยึดครอง (อังกฤษ: Armenian-occupied territories surrounding Nagorno-Karabakh)[1] คือพื้นที่โดยนิตินัยของอาเซอร์ไบจานที่ตั้งอยู่นอกแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคในอดีตและเคยถูกกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนียของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (อาร์ทซัค) ยึดครองหลังสิ้นสุดสงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2531–2537) พื้นที่ดังกล่าวมีอาณาเขตเทียบเท่ากับเขตต่าง ๆ ของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน ยกเว้นเขตแคลแบแจร์ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมส่วนหนึ่งของอดีตแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคด้วย ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 พื้นที่เหล่านี้กำลังถูกโอนจากการควบคุมของกลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนียกลับสู่การควบคุมของอาเซอร์ไบจานเนื่องจากผลของสงครามนากอร์โน-คาราบัค พ.ศ. 2563[2][3][4]
ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ของแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนีย ประชากรส่วนใหญ่ของเขตต่าง ๆ ที่อยู่ติดกับแคว้นนี้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อาเซอร์ไบจานจนกระทั่งพวกเขาถูกเนรเทศออกไปในช่วงสงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่ 1[5][6] ระหว่างสงครามครั้งนี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ผ่านข้อมติ 4 ข้อซึ่งเรียกร้องให้กองกำลังทั้งหมดที่ยึดครองดินแดนรอบนากอร์โน-คาราบัคอยู่ถอนตัวออกไป[7][8][9][10] ต่อมาใน พ.ศ. 2551 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ผ่านข้อมติที่ 62/243 ซึ่งเรียกร้องให้มีการถอนกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนียออกจากดินแดนที่ถูกยึดครองของอาเซอร์ไบจาน[11]
หลังสงครามนากอร์โน-คาราบัคใน พ.ศ. 2563 กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนียสูญเสียการควบคุมเขตฟือซูลี, แจบรายึล, แซงกีลัน และกูบัดลือ และตกลงที่จะถอนตัวออกจากเขตอัฆดัม, แคลแบแจร์ และลาชึน โดยคืนให้แก่อาเซอร์ไบจานภายในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ข้อตกลงนี้ได้รับการประมวลไว้ในสนธิสัญญาสันติภาพที่รัสเซียเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยและจะนำมาบังคับใช้โดยทหารรักษาสันติภาพของรัสเซียภายในช่วงห้าปีแรก ส่วนหนึ่งของข้อตกลงนี้ยังกำหนดให้รัสเซียส่งทหารรักษาสันติภาพไปประจำการที่ฉนวนลาชึนซึ่งเชื่อมต่ออาร์มีเนียเข้ากับพื้นที่ของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคที่ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนีย[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "UN Security Council Resolution 822 (30 April 1993)".
Demands the immediate cessation of all hostilities and hostile acts with a view to establishing a durable cease-fire, as well as immediate withdrawal of all occupying forces from the Kelbadjar district and other recently occupied areas of Azerbaijan
"UN Security Council Resolution 853 (29 July 1993)".Demands the immediate cessation of all hostilities and the immediate complete and unconditional withdrawal of the occupying forces involved from the district of Agdam and all other recently occupied areas of the Azerbaijan Republic
"UN Security Council Resolution 884 (12 November 1993)".Demands from the parties concerned the immediate cessation of armed hostilities and hostile acts, the unilateral withdrawal of occupying forces from the Zangelan district and the city of Goradiz, and the withdrawal of occupying forces from other recently occupied areas of the Azerbaijani Republic
- ↑ "Around the Bloc: Kazakhstan Bans Child Jihadi Video, Russia Cracks Down on Capital Flight". Transitions Online (12/02). 2014. ISSN 1214-1615. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
- ↑ Lebanidze, Bidzina (2020). "Research design". Russia, EU and the Post-Soviet Democratic Failure. Springer Fachmedien: 55–70. doi:10.1007/978-3-658-26446-8_4.
- ↑ "Several leaders of Armenia's far right detained | Eurasianet". eurasianet.org. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
- ↑ "население азербайджана". www.ethno-kavkaz.narod.ru. สืบค้นเมื่อ 12 October 2020.
- ↑ РГАЭ, ф. 1562, оп. 336, д. 999, 1244, 1565, 1566-д, 1567, 5925, 7879
- ↑ "Resolution 822 (1993)" (PDF). unscr.com. United Nations Security Council. 30 April 1993.
- ↑ "Resolution 853 (1993)" (PDF). unscr.com. United Nations Security Council. 29 July 1993.
- ↑ "Resolution 874 (1993)" (PDF). unscr.com. United Nations Security Council. 14 October 1993.
- ↑ "Resolution 884 (1993)". unscr.com. United Nations Security Council. 12 November 1993.
{{cite web}}
:|url=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "62/243. The situation in the occupied territories of Azerbaijan". undocs.org. United Nations General Assembly. 25 April 2008.
- ↑ "Moscow confirms peace deal signed, complete cessation of hostilities". The Moscow Times. 9 November 2020.