บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์
บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 8 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
พรรคการเมือง | เสรีประชาธิปไตย (2498–2501) ประชาชน (2511–2514) พลังประชาชน (2517–2519) |
คู่สมรส | สมใจ จันทรศรีสุริยวงศ์ |
บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี อดีตหัวหน้าพรรคพลังประชาชน[1] และอดีตเลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตย[2]
การทำงาน
[แก้]บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกอีกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 โดยไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง ต่อมาร่วมกิจกรรมกับพรรคแนวรัฐธรรมนูญ[3]
บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ มีบทบาทสำคัญในการอภิปรายหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ซึ่งก่อนหน้าเคยตำหนิติเตียน ส.ส. ในสภาผู้แทนฯ และเคยกล่าวว่าจะไม่มาร่วมสังฆกรรมด้วย ซึ่งท่านก็ลาออกไปเพราะเรื่องขึ้นเงินเดือน แต่กลับมารับตำแหน่ง รมช. ในคณะรัฐบาลที่ผลักดันให้มีการขึ้นเงินเดือน ซึ่งดูเป็นเรื่อง “ย้อนแย้ง”[4]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[5] และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500[6] ในนามพรรคเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเขาเป็นเลขาธิการพรรค แทนนายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
บุญคุ้ม กลับมาร่วมตั้งพรรคประชาชน กับเลียง ไชยกาล ในปี พ.ศ. 2511 และรับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[7] ต่อมายุบพรรคในปี พ.ศ. 2514 และตั้งพรรคพลังประชาชน ในปี พ.ศ. 2517 และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย
ต่อมาทางพรรคพลังประชาชน ภายใต้การนำของนายบุญคุ้ม ได้เป็น 1 ใน 12 พรรคที่เข้าร่วมรัฐบาล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ที่ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี แทน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ประกาศลาออกจากตำแหน่งกลางสภาเนื่องจากรวบรวมเสียงได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภาทำให้การแถลงนโยบายไม่ผ่านความเห็นชอบ
ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตย
- ↑ https://cuir.car.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/37102/1/Boontarika_bo_back.pdf
- ↑ คึกฤทธิ์ ปราโมช ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ลาออก! เหตุไม่พอใจได้เงินเดือน ส.ส. เพิ่ม?
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชาชน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- บุคคลที่ยังไม่ทราบปีที่เกิด
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (ประเทศไทย)
- พรรคประชาชน (พ.ศ. 2490)
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2517)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์