เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เจ้าพระยาพิชัยญาติ)
เจ้าพระยาพิชัยญาติ
(ดั่น บุนนาค)
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
2 กันยายน พ.ศ. 2475 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ถัดไปเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
อธิบดีศาลฎีกา
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2462 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2469
ก่อนหน้าพระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ ไกรฤกษ์)
ถัดไปพระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี (จิตร ณ สงขลา)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ดั่น

6 มิถุนายน พ.ศ. 2418
จังหวัดธนบุรี
ประเทศสยาม
เสียชีวิต24 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 (71 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสแสง อารยะกุล
บุตร
  • หลวงเมธีนฤปกร
  • สดับ
  • สดม
บุพการี
  • พระยาไพบูลย์สมบัติ (เดช บุนนาค) (บิดา)
  • สงวน บุนนาค (มารดา)
ความสัมพันธ์สกุลบุนนาค
ภาพล้อเจ้าพระยาพิชัยญาติ ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพิชัยญาติ นามเดิม ดั่น บุนนาค (6 มิถุนายน พ.ศ. 2418 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2489) อดีตประธานรัฐสภา (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) และอธิบดีศาลฎีกา

ประวัติ[แก้]

เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) เป็นบุตรของพระยาไพบูลย์สมบัติ (เดช บุนนาค) กับนางสงวน เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2418 ที่บ้านเลขที่ 107 ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ตำบลบางยี่ขัน อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันเป็น แขวงบางยี่ขัน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร) สมรสกับคุณหญิงแสง (สกุลเดิม อารยะกุล) มีบุตร-ธิดาชื่อ หลวงเมธีนฤปกร (สดวก บุนนาค) ธิดาชื่อสดับและสดม เป็นนางพระกำนัลในรัชกาลที่ 7 ซึ่งต่อมาได้สมรสกับพระสุนทรวาจนา (สนุทร สาลักษณ) บุตรของมหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) และคุณหญิง (พึ่ง) ศรีภูริปรีชา

เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) เคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา-ประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 สมัยคือ 2 กันยายน พ.ศ. 2475 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476

ลำดับบรรดาศักดิ์[แก้]

  • 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 เป็น หลวงเมธีนฤปกร ถือศักดินา ๖๐๐[1]
  • 16 มกราคม พ.ศ. 2446 เป็น พระเมธีนฤปกร ถือศักดินา ๘๐๐[2]
  • 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 เป็น พระยากฤติกานุกรณกิจ ถือศักดินา ๕๐๐๐[3]
  • พ.ศ. 2467 เป็น เจ้าพระยาพิชัยญาติ บรมธรรมิกนาถมหาสวามิภักดิ์ อัครวโรปถัมภ์นิติวิธาน พิศาลยุกติธำรง สุทธิประสงค์อาชวาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา อภัยพิริยบรมกรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  เบลเยียม :
    • พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอลที่ 2 ชั้นที่ 1[15]

ถึงแก่อสัญกรรม[แก้]

เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ถึงอสัญกรรม เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 อายุ 71 ปี

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ (หน้า ๔๙๓)
  2. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  3. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๐๐)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา, 23 พฤศจิกายน 2467, เล่ม 41, หน้า 2645
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕๕, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๑๐, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๓, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ส่งเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญไปพระราชทาน, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๓๑, ๑๘ มีนาคม ๒๔๘๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๖, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๐๑, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๑๑๒๕, ๒๘ เมษายน ๒๔๘๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๑๖, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๙๙, ๔ กันยายน ๒๔๗๐