ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์ฉิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉิน

221 ก่อน ค.ศ.–206 ก่อน ค.ศ.
เขตอำนาจของราชวงศ์ฉิน
เขตอำนาจของราชวงศ์ฉิน
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงเสียนหยาง
ภาษาทั่วไปจีนโบราณ
ศาสนา
ความเชื่อพื้นบ้านของจีน
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จักรพรรดิ 
• 221–210 ก่อน ค.ศ.
จักรพรรดิฉินฉื่อ
• 210–207 ก่อน ค.ศ.
จักรพรรดิฉินที่ 2
อัครมหาเสนาบดี 
• 221–203 ก่อน ค.ศ.
หลี่ ซือ
• 208–207 ก่อน ค.ศ.
เจ้า เกา
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดิจีน
221 ก่อน ค.ศ.
210 ก่อน ค.ศ.
• ยอมแพ้ต่อ หลิว ปัง
206 ก่อน ค.ศ.
พื้นที่
220 ก่อน ค.ศ.[1]2,300,000 ตารางกิโลเมตร (890,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• 210 ก่อน ค.ศ.
40,000,000
สกุลเงินป้านเหลียง
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์โจว
รัฐฉิน
18 อาณาจักร
ราชวงศ์ฮั่น
หนานเยฺว่

ราชวงศ์ฉิน (จีน: 秦朝; พินอิน: Qíncháo; เวด-ไจลส์: Chʻin²-chʻao²) เป็นราชวงศ์แรกของจักรวรรดิจีน[2] ปกครองแผ่นดินในช่วง 221 – 206 ก่อน ค.ศ. ชื่อมาจากรัฐฉิน (ปัจจุบันคือมณฑลกานซู่และมณฑลฉ่านซีของจีน) ราชวงศ์ฉินก่อตั้งโดยจักรพรรดิฉินฉื่อ จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์ จากการปฏิรูปกฎหมายของชาง ยาง ช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ. ในยุครณรัฐ ส่งผลให้รัฐฉินแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วงกลางและปลายศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. รัฐฉินได้ดำเนินการพิชิตอย่างรวดเร็ว อันดับแรกได้ยุติอำนาจของราชวงศ์โจว และพิชิต 6 รัฐในเจ็ดรณรัฐ ช่วงระยะเวลา 15 ปีถือเป็นเวลาที่สั้นมากสำหรับราชวงศ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์จีนมีจักรพรรดิเพียง 2 พระองค์ แต่ได้สร้างระบบจักรวรรดิของจีนที่เริ่มตั้งแต่ 221 ก่อน ค.ศ. จนถึง 206 ก่อน ค.ศ.

ราชวงศ์ฉินพยายามสร้างรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยการรวมศูนย์อำนาจการเมืองและกองทัพขนาดใหญ่สนับสนุนโดยเศรษฐกิจที่มั่นคง[3] ราชสำนักได้ปลดชนชั้นสูงและเจ้าของที่ดินเพื่อควบคุมการบริหารชาวบ้านได้โดยตรงผู้ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่และเป็นกำลังแรงงาน โครงการที่มีความทะเยอทะยานนี้เกี่ยวข้องกับชาวบ้านและนักโทษสามแสนคน เช่นการเชื่อมต่อกำแพงชายแดนทางด้านเหนือในตอนท้ายได้กลายเป็นกำแพงเมืองจีน การสร้างระบบถนนใหม่ ตลอดไปจนการสร้างสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ที่รายล้อมไปด้วยกองทัพดินเผาขนาดเท่าคนจริง[4]

ราชวงศ์ฉินได้นำสู่การปฏิรูป เช่น มาตราฐานของเงินตรา การชั่งตวง วัดขนาด และระบบมาตราฐานการเขียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการรวมชาติและส่งเสริมการค้า นอกจากนี้ด้านการทหารได้ใช้อาวุธ การขนส่ง และยุทธวิธีที่ทันสมัยที่สุดแม้ว่าราชสำนักมีระบบที่เข้มงวด ชาวฮั่นที่นับถือลัทธิขงจื๊อกล่าวถึงการยึดถือกฎระเบียบของราชวงศ์ฉินไว้ว่าเป็นเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จโดยอ้างเหตุการณ์ที่เป็นที่รู้จักกันคือการเผาตำรา ฝังบัณฑิต ทว่านักวิชาการสมัยใหม่บางคนจะโต้แย้งความจริงของเรื่องราวนี้

ขณะที่จักรพรรดิฉินฉื่อสวรรคตไปเมื่อ 210 ปีก่อน ค.ศ. ขุนนางสองคนของพระองค์ได้กำหนดรัชทายาทใหม่ในความพยายามที่จะมีอิทธิพลและควบคุมการปกครองของราชวงศ์ ต่อมาขุนนางทั้งสองกลับผิดใจกันจนทำให้จักรพรรดิฉินที่ 2 สวรรคต การก่อจลาจลได้เกิดไปทั่วและจักรวรรดิอ่อนแอลงในไม่ช้าก็พ่ายต่อเซี่ยง อวี่ ขุนพลรัฐฉู่ซึ่งสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่แห่งฉู่ตะวันตก (ป้าหวังซี่ฉู่ที่รู้จักในชื่อฌ้อปาอ๋อง) และหลิว ปัง ผู้สถาปนาราชวงศ์ฮั่นในภายหลัง แม้จะมีการปกครองในระยะสั้น แต่ราชวงศ์มีอิทธิพลอย่างมากต่ออนาคตของจีนโดยเฉพาะราชวงศ์ฮั่น และชื่อของจักรวรรดิเป็นจุดกำเนิดชื่อในยุโรปว่า China

ประวัติศาสตร์

[แก้]

วัฒนธรรมและสังคม

[แก้]

รายพระนามจักรพรรดิ

[แก้]

จักรพรรดิฉินฉื่อเป็นกษัตริย์จีนพระองค์แรกที่สถาปนาตนเองเป็น "จักรพรรดิ" หลังจากการรวมชาติเมื่อ 221 ปีก่อน ค.ศ. นักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปถือว่าปีนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของ "ราชวงศ์ฉิน" ซึ่งหลังจากนั้น 15 ปีก็ได้ล่มสลายลงจากสงครามกลางเมืองใน 207 ปีก่อน ค.ศ.[5]

พระนามหลังสิ้นพระชนม์ / พระนาม พระนามเดิม ครองราชย์
จักรพรรดิฉินฉื่อ (ฉินฉื่อหฺวังตี้/秦始皇帝) เจิ้ง (政) 221 – 210 ปีก่อน ค.ศ.
ฉินที่ 2 (ฉินเอ้อร์ฉื่อ/秦二世) หูไห่ (胡亥) 210 – 207 ปีก่อน ค.ศ.
ไม่มี จื่ออิง (子嬰) 207 ปีก่อน ค.ศ.

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

รายการอ้างอิง

[แก้]
  1. Taagepera, Rein (1979). "Size and Duration of Empires: Growth-Decline Curves, 600 B.C. to 600 A.D". Social Science History. 3 (3/4): 121. doi:10.2307/1170959. JSTOR 1170959.
  2. "...The collapse of the Western Zhou state in 771 BC and the lack of a true central authority thereafter opened ways to fierce inter-state warfare that continued over the next five hundred years until the Qin unification of China in 221 BC, thus giving China her first empire." Early China A Social and Cultural History, Cambridge University Press, 2013, page 6.
  3. Tanner 2010, p. 85-89
  4. Beck, B, Black L, Krager, S; และคณะ (2003). Ancient World History-Patterns of Interaction. Evanston, IL: Mc Dougal Little. p. 187. ISBN 978-0-618-18393-7.
  5. Bodde 1986, p. 20

แหล่งข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ราชวงศ์ฉิน ถัดไป
ราชวงศ์โจว ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน
(221–207 ปีก่อนคริสตกาล)
ราชวงศ์ฮั่น