เผาตำรา ฝังบัณฑิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ฉิน
แผนที่จักรวรรดิฉิน ปี 210 ก่อนคริสตกาล
  แผ่นดินจักรวรรดิฉิน
  แผ่นดินห่างไกล

เผาตำรา ฝังบัณฑิต (จีน: 焚書坑儒; พินอิน: fénshū kēngrú) กล่าวถึงเหตุการณ์เผาตำราที่คาดว่าเกิดขึ้นเมื่อปี 213 ก่อนคริสตกาล และฝังนักคิดและปัญญาชนสำนักวิชาขงจื๊อทั้งเป็นจำนวน 460 คนเมื่อปี 210 ก่อนคริสตกาล โดย จิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฉินในยุคจีนโบราณ เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดความสูญเสียตำราและคัมภีร์ที่มีเนื้อหาหลักปรัชญาของขบวนการสำนักความคิดทั้งร้อยจำนวนมาก หลักปรัชญาทางการของรัฐบาล (“การยึดถือกฎ”) ยังคงอยู่รอดมาได้

นักคิดและปัญญาชนยุคปัจจุบันตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดของเรื่องราวใน “บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่” เป็นแหล่งข้อมูลหลักตั้งแต่ ซือหม่า เชียน เขียนบันทึกเอาไว้เมื่อศตวรรษที่ 1 หรือหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 100 ปีและยังเป็นเจ้าหน้าที่ในราชสำนักแห่งราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่สืบต่อจากราชวงศ์ฉิน และคาดว่าในบันทึกอาจจะแสดงถึงข้อความอันเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ฉิน ในขณะที่เป็นที่ชัดเจนว่าจักรพรรดิจิ๋นซีทรงรวบรวมและทำลายงานเขียนจำนวนมากซึ่งพระองค์ทรงพิจารณาว่าเป็นภัยต่อราชบังลังก์ เอกสารแต่ละฉบับจะทำสำเนาไว้ 2 ฉบับถูกเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดของจักรพรรดิซึ่งถูกทำลายจากศึกสงครามที่เกิดขึ้นภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน ปัจจุบันนี้เป็นที่เชื่อกันว่ามีนักคิดและปัญญาชนจำนวนมากถูกฆ่า แต่พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้สังกัดในสำนักวิชาขงจื้อและไม่ได้ถูก “ฝังทั้งเป็น” ในบางกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้และสำนวนที่ว่า “เผาตำรา ฝังบัณฑิต” ได้กลายเป็นตำนานที่ยังคงอยู่รอดมาได้ในมรดกของขงจื้อ[1][2][3]

เรื่องเล่าขานที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม[แก้]

เหตุการณ์เผาตำราและคัมภีร์ในยุคจีนโบราณ

'[1]' การเผาตำราและคัมภีร์ของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิพระองค์แรกของประเทศจีน
'[2]' เมืองฉางอานซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรพรรดิหวัง หมั่งถูกโจมตีและพระราชวังหลวงถูกปล้น พระองค์สิ้นพระชนม์ในสนามรบและบีบบังคับให้เผาหอสมุดพระราชวังเว่ยหยางแห่งชาติ
'[3]' เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น การกระจัดกระจายของห้องสมุดรัฐในยุคสามก๊กโดยเหตุกลียุคอันเป็นผลมาจากสงครามระหว่างวุยก๊ก (魏) จ๊กก๊ก (蜀) และง่อก๊ก (吳)
'[4]' เมื่อสงครามแห่งเจ้าชายทั้งแปดยุติลง การกระจัดกระจายของห้องสมุดรัฐโดยเหตุกลียุคแห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก
'[5]' จักรพรรดิหยวนแห่งราชวงศ์เหลียงห้อมล้อมไปด้วยกองทัพเว่ยตะวันตกภายในป้อมปราการของพระองค์ พระองค์ทรงจุดไฟเผาการเก็บรวบรวมบันทึกแห่งชาติ

การเผาตำรา[แก้]

ตามที่บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ (มีชื่อเรียกอย่างหนึ่งว่า บันทึกสื่อจี้) ของซือหม่า เชียน หลังจากที่ ฉินฉื่อหฺวังตี้ จักรพรรดิพระองค์แรกของประเทศจีน ได้รวบรวมประเทศจีนให้เป็นหนึ่งเดียวในปี 221 ก่อนคริสตกาล หลี่ ซือ อัครมหาเสนาบดีได้เสนอให้ปราบปรามกวาดล้างการสนทนาของกลุ่มปัญญาชนเพื่อรวบรวมแนวคิดและความเห็นทางการเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในบันทึกสื่อจี้ บทที่ 6 “ประชุมพงศาวดารพื้นฐานแห่งปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉิน” ปีที่ 34 (ปี 213 ก่อนคริสตกาล)

อัครมหาเสนาบดี หลี่ ซือ กล่าวว่า “ข้าพเจ้า ข้าในพระองค์ มีข้อเสนอว่า บันทึกของนักประวัติศาสตร์ทุกเล่มที่นอกเหนือจากของแคว้นฉินจะต้องถูกเผาทำลาย กับข้อยกเว้นของนักคิดและปัญญาชนผู้ซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหนังสือเหล่านั้น ถ้าใครคนใดก็ตามที่อยู่ภายใต้ฟ้าเดียวกันคัดลอกบันทึกสื่อจี้ บันทึกแห่งประวัติศาสตร์ หรืองานเขียนอื่นของขบวนการสำนักความคิดทั้งร้อย พวกเขาจะต้องส่งมอบงานเขียนเหล่านี้ให้กับเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้บังคับบัญชาเพื่อเผาทำลาย ใครก็ตามที่กล้าถกเถียงเกี่ยวกับเนื้อหาในบันทึกสื่อจี้หรือบันทึกแห่งประวัติศาสตร์จะต้องถูกประหารชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ใครก็ตามที่ใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์วิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ในปัจจุบันจะต้องถูกประหารชีวิตทั้งครอบครัว เจ้าหน้าที่ราชสำนักคนใดก็ตามที่เห็นว่ามีการละเมิดคำสั่งแต่ล้มเหลวในการรายงานความผิดไปยังราชสำนักก็มีความผิดเช่นกัน ใครก็ตามที่ล้มเหลวในการเผาหนังสือหลังจากการประกาศคำสั่งนี้ไปแล้ว 30 วันจะต้องถูกควบคุมตัวไปประทับรอยสักและถูกส่งตัวไปเป็นคนงานก่อสร้างกำแพงเมืองจีน หนังสือที่ได้รับการยกเว้น คือ หนังสือที่มีเนื้อหาด้านการแพทย์ ดวงชะตา การเกษตร และวนศาสตร์ บรรดาผู้ที่มีความสนใจด้านกฎหมายจะถูกอบรมสั่งสอนโดยเจ้าหน้าที่ราชสำนักแทน”[a]

ตำราและคัมภีร์ที่ถูกตรวจพิจารณาโดย หลี่ ซือ แล้วพบว่ามีเนื้อหารุนแรงทางการเมืองมากที่สุดมี 3 ประเภท ได้แก่ บทกวี ประวัติศาสตร์ และปรัชญา การเก็บรวบรวมบันทึกทางประวัติศาสตร์และบทกวีโบราณประกอบไปด้วยหลายเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองที่มีคุณธรรมในยุคโบราณ หลี่ ซือ เชื่อว่าถ้าประชาชนได้อ่านงานเขียนเหล่านี้จะทำให้พวกเขามีความเป็นไปได้ที่จะโหยหาระบอบการปกครองในอดีตและกลายเป็นไม่พอใจระบอบการปกครองในปัจจุบัน เหตุผลของการต่อต้านสำนักความคิดของหลักปรัชญาทั้งหลาย คือ ทำให้พวกเขามักจะสนับสนุนความคิดทางการเมืองที่ไม่สามารถเข้ากับระบอบเผด็จการได้[4]

ผลกระทบที่ตามมา[แก้]

ขอบเขตของความเสียหายต่อมรดกทางปัญญาของจีนเป็นสิ่งที่ประเมินได้ยาก เพราะว่ารายละเอียดไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ มีความจริงอยู่หลายเรื่อง อย่างไรก็ตาม ได้บ่งบอกถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ ถึงแม้ว่าจะอยู่รอดมาได้แต่ก็ไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง หนึ่ง มันถูกบันทึกไว้ในอนุสรณ์สถานของ หลี่ ซือ ว่าตำราและคัมภีร์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมทั้งหมดถูกสำรองเอาไว้ สอง แม้แต่ตำราที่น่ารังเกียจ บทกวี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักปรัชญาถูกเก็บรักษาเอาไว้ในหอจดหมายเหตุของจักรพรรดิ และได้รับอนุญาตให้เก็บรักษาไว้โดยนักคิดและปัญญาชนของราชสำนัก[5]

ตำราและคัมภีร์หลายประเภทที่ถูกกล่าวถึงนั้น ประวัติศาสตร์ประสบกับความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ตำราและคัมภีร์ทางประวัติศาสตร์ยุครณรัฐก่อนเข้าสู่ยุคราชวงศ์ฉินหลงเหลือมาน้อยที่สุด หลี่ ซือ กล่าวว่า ตำราและคัมภีร์ทางประวัติศาสตร์ทุกเล่มที่ไม่ได้อยู่ในการตีความจากราชสำนักฉินจะต้องถูกเผาทำลาย มันไม่แน่ชัดว่าสำเนาของตำราและคัมภีร์เหล่านี้ได้รับอนุญาตให้เก็บอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติหรือไม่ ถึงสำเนาบางฉบับถูกเก็บรักษาเอาไว้ แต่ก็ถูกทำลายไปในปี 206 ก่อนคริสตกาลเมื่อข้าศึกบุกเข้ายึดและเผาพระราชวังของจักรพรรดิจิ๋นซี ซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่สุดว่าถูกเก็บเอาไว้ในหอจดหมายเหตุ[6]

ภายหลังจากการเผาตำรา[แก้]

เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน บันทึกแห่งชาติของพระราชวังอาฝางกงถูกทำลายโดยไฟไหม้ สาง จี้ นักกวีสมัยราชวงศ์ถัง ได้เขียนบทกวีเกี่ยวกับนโยบายของการทำลายในเวลาที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้

หลุมศพของการเผาก่อนที่มันจะได้รับความหนาว การจลาจลได้ประทุขึ้นทางทิศตะวันออกของภูเขาเสี้ยว

หลิว ปัง และ เซี่ยง หยี่ ได้ปรากฏตัวขึ้น

ฝังบัณฑิต[แก้]

การประหารชีวิตนักคิดและปัญญาชนและการเผาตำรา (ภาพวาดจีนสมัยศตวรรษที่ 18)

มีตำนานเล่าขานกันว่าหลังจากที่ถูกหลอกโดยนักเล่นแร่แปรธาตุ 2 คน ขณะที่กำลังมองหาชีวิตที่ยาวนานนั้น จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงออกคำสั่งประหารชีวิตนักคิดและปัญญาชนมากกว่า 460 คนในเมืองหลวงด้วยวิธีฝังทั้งเป็นในปีที่ 2 ของการเนรเทศ ความเชื่อนี้มีพื้นฐานมาจากข้อความนี้ที่ปรากฏอยู่ในบันทึกสื่อจี้ (บทที่ 6):

องค์ปฐมจักรพรรดิจึงมุ่งตรงไปยังการตรวจพิจารณาข้อความในราชสำนักเพื่อสอบสวนนักคิดและปัญญาชนเป็นรายคน พวกเขาต่างกล่าวโทษซึ่งกันและกัน และดังนั้นจักรพรรดิจึงทรงกำหนดโชคชะตาของบรรดานักคิดและปัญญาชนเหล่านี้เป็นรายคนจำนวนมากกว่า 460 คนถูกฝังทั้งเป็นที่เสียนหยาง และเหตุการณ์นี้ได้ถูกประกาศต่อผู้ที่อยู่ใต้ฟ้าเดียวกันเพื่อตักเตือนบรรดาสาวก ผู้คนจำนวนมากถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ชายแดน องค์ชายฝูซู พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของจักรพรรดิ ได้ตักเตือนว่า “จักรวรรดิฉินเพิ่งจะบรรลุถึงสันติภาพ และเหล่าอนารยชนในพื้นที่ห่างไกลยังไม่ยอมจำนน นักคิดและปัญญาชนทุกคนต่างก็เคารพขงจื้อและยกย่องเขาเป็นแบบอย่าง ข้าพระองค์กลัวว่าถ้าหากฝ่าบาทลงโทษพวกเขาอย่างรุนแรง อาจจะทำให้เกิดความระส่ำระสายภายในราชอาณาจักรได้ ขอให้ฝ่าบาทได้โปรดตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ด้วย” อย่างไรก็ตาม องค์ชายฝูซูไม่สามารถเปลี่ยนพระทัยของพระราชบิดาได้และยังถูกพระราชบิดาส่งให้ไปป้องกันชายแดนแทนซึ่งถือว่าเป็นการเนรเทศแบบพฤตินัย

เรื่องราวนี้ถูกให้ไว้โดย เว่ย หง ในศตวรรษที่ 2 เพิ่มจำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตอีก 700 คน

เหตุผลในการสงสัย[แก้]

นักคิดและปัญญาชน มิชาเอล ไนลัน ตั้งข้อสังเกตว่า “ถึงแม้ว่ามันเป็นความสำคัญในรูปแบบเทพนิยาย ตำนานของการเผาหนังสือก็ไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเป็นความลับ” ไนลันนำเสนอว่า เหตุผลที่นักวิชาการสมัยราชวงศ์ฮั่นกล่าวหาราชวงศ์ฉินว่าทำลายคัมภีร์ทั้งห้าในปรัชญาขงจื้อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการ “ใส่ร้ายป้ายสี” ให้กับรัฐที่พวกเขาปราชัยและส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่านักคิดและปัญญาชนสมัยราชวงศ์ฮั่นเข้าใจผิดในเรื่องธรรมชาติของข้อความ เพราะมันเป็นเพียงแค่หลังจากการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นซึ่งซื่อ หม่าเซียนติดป้ายหลักปรัชญาทั้ง 5 เป็น “ลัทธิขงจื้อ” ไนลันยังได้ชี้ให้เห็นอีกด้วยว่าราชสำนักฉินแต่งตั้งนักคิดและปัญญาชนชั้นเอกผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญว่าดัวย “บทกวีคลาสสิค” และ “เอกสาร” ซึ่งหมายความว่าข้อความเหล่านี้จะถูกยกเว้น และว่า “หนังสือแห่งพิธีกรรม” และ “บันทึกฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง” ไม่ได้บรรจุไว้ในการถวายพระเกียรติของรัฐศักดินาที่พ่ายแพ้ซึ่งจักรพรรดิจิ๋นซีทรงให้เหตุผลเพื่อการทำลายบรรดารัฐเหล่านั้น[2] มาร์ติน เคิร์น เพิ่มเติมว่าบันทึกและคัมภีร์ของราชวงศ์ฉินและต้นราชวงศ์ฮั่นมักอ้างถึงงานเขียนคลาสสิค โดยเฉพาะใน “เอกสาร” และใน “คัมภีร์คีตาคาถา” ซึ่งเป็นไปไม่ได้ถ้าบันทึกและคัมภีร์เหล่านี้ไม่ถูกเผา ตามที่รายงาน[3]

เรื่องราวการประหารชีวิตบรรดาเหล่านักคิดและปัญญาชนของ ซือหม่า เชียน มีความยุ่งยากเหมือนกัน หนึ่ง ไม่มีข้อความก่อนหน้าบันทึกสื่อจี้กล่าวถึงการประหารชีวิต บันทึกสื่อจี้กล่าวว่าไม่มีชื่อของนักคิดและปัญญาชนในสำนักวิชาขงจื้อคนใดเป็นเหยื่อของการประหารชีวิต และในความเป็นจริงแล้วไม่มีข้อความใดกล่าวถึงการประหารชีวิตเลย จนกระทั่งคริสตศตวรรษที่ 1 การใช้สำนวน “เผาตำราและประหารนักคิดและปัญญาชนสำนักวิชาขงจื๊อ” ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักที่เก่าแก่ที่สุดไม่ได้ถูกบันทึกเอาไว้จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 4[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

บันทึก[แก้]

  1. 相李斯曰:「臣請史官非秦記皆燒之。非博士官所職,天下敢有藏���、書、百家語者,悉詣守、尉雜燒之。有敢偶語詩書者棄市。以古非今者族。吏見知不舉者與同罪。令下三十日不燒,黥為城旦。所不去者,醫藥卜筮種樹之書。若欲有學法令,以吏為師

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Goldin (2005), p. 151.
  2. 2.0 2.1 Nylan (2001), pp. 29–30.
  3. 3.0 3.1 3.2 Kern (2010), pp. 111-112.
  4. Chan (1972), pp. 105–107.
  5. Chan (1972), p. 106.
  6. Chan (1972), p. 107.

แหล่งที่มาและอ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Chan, Lois Mai (1972), "The Burning of the Books in China, 213 B.C.", The Journal of Library History, 7 (2): 101–108, JSTOR 25540352.
  • Goldin, Paul R. (2005), "The rise and fall of the Qin empire", ใน Mair, Victor H.; Steinhardt, Nancy S.; Goldin, Paul R. (บ.ก.), The Hawai'i Reader in Traditional Chinese Culture, University of Hawai'i Press, pp. 151–160, ISBN 978-0-8248-2785-4.
  • Kern, Martin (2010), "Early Chinese Literature: Beginnings through Western Han", ใน Kang-i Sun Chang; Stephen Owen (บ.ก.), The Cambridge History of Chinese Literature, Cambridge University Press, pp. 1–114, ISBN 9780521855587
  • Nylan, Michael (2001), The five "Confucian" classics (PDF), Yale University Press, ISBN 978-0-300-08185-5, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-11.
  • Neininger, Ulrich (1983), "Burying the Scholars Alive: On the Origin of a Confucian Martyrs' Legend", Nation and Mythology", ใน Eberhard, Wolfram (บ.ก.), East Asian Civilizations. New Attempts at Understanding Traditions vol. 2, pp. 121–136 Online
  • Petersen, Jens Østergård (1995), "Which books did the First Emperor of Ch'in burn? – on the meaning of Pai chia in early Chinese sources", Monumenta Serica, 43: 1–52, doi:10.1080/02549948.1995.11731268, JSTOR 40727062.
  • Sima Qian: "The First Emperor of Qín" Chapter 25 Burning Books & Burying Scholars David K. Jordan University of California San Diego.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]