ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเยอรมนี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
5555555555555 ก่อกวนอ่ะสิ
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 81: บรรทัด 81:
|leader_title3=[[บุนเดิสทาค|ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]|leader_name3=[[ว็อล์ฟกัง ช็อยเบลอ]]|leader_title4=[[บุนเดิสราท|ประธานคณะมนตรีสหพันธ์]]|leader_name4=[[ดีทมาร์ ว็อยท์เคอ]]|leader_title5=[[ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์]]|leader_name5=[[อันเดรอัส ฟ็อสคูเลอ]]}}
|leader_title3=[[บุนเดิสทาค|ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]|leader_name3=[[ว็อล์ฟกัง ช็อยเบลอ]]|leader_title4=[[บุนเดิสราท|ประธานคณะมนตรีสหพันธ์]]|leader_name4=[[ดีทมาร์ ว็อยท์เคอ]]|leader_title5=[[ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์]]|leader_name5=[[อันเดรอัส ฟ็อสคูเลอ]]}}


เจอเธอ ที่เยอรมัน{{ประเทศเยอรมนี}}
'''เยอรมนี''' ({{lang-en|Germany}}; {{lang-de|Deutschland}} ''ดอยฺชลันฺท'') หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ '''สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี''' ({{lang-en|Federal Republic of Germany}}; {{lang-de|Bundesrepublik Deutschland}}) เป็นสหพันธ์[[สาธารณรัฐแบบรัฐสภา]]ใน[[ยุโรปกลาง]] มี[[รัฐในประเทศเยอรมนี|รัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ]] มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดใน[[สหภาพยุโรป]] ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจาก[[สหรัฐ]] เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุง[[เบอร์ลิน]] ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รัวร์ โดยมีศูนย์กลางหลัก[[ดอร์ทมุนท์]]และ[[เอ็สเซิน]] นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ [[ฮัมบวร์ค]], [[มิวนิก]], [[โคโลญ]], [[แฟรงก์เฟิร์ต]], [[ชตุทท์การ์ท]], [[ดึสเซิลดอร์ฟ]], [[ไลพ์ซิช]], [[เบรเมิน]], [[เดรสเดิน]], [[ฮันโนเฟอร์]] และ[[เนือร์นแบร์ค]]

ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติด[[ทะเลเหนือ]] [[ประเทศเดนมาร์ก|เดนมาร์ก]] และ[[ทะเลบอลติก]] ทิศตะวันออกติด[[ประเทศโปแลนด์|โปแลนด์]]และ[[เช็กเกีย]] ทิศใต้ติด[[ประเทศออสเตรีย|ออสเตรีย]] และ[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สวิตเซอร์แลนด์]] ทิศตะวันตกติด[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] [[ประเทศลักเซมเบิร์ก|ลักเซมเบิร์ก]] [[ประเทศเบลเยียม|เบลเยียม]] และ[[ประเทศเนเธอร์แลนด์|เนเธอร์แลนด์]] มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือ[[เบอร์ลิน]] เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก<ref>{{cite web|title=Germany Top Migration Land After U.S. in New OECD Ranking|url=http://www.bloomberg.com/news/2014-05-20/immigration-boom-propels-germany-past-u-k-in-new-oecd-ranking.html|publisher=Bloomberg|date=20 May 2014|accessdate=29 August 2014}}</ref>

เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม &nbsp;[[UNO]], [[OECD]], [[NATO]],&nbsp;[[G7]]&nbsp;และ&nbsp;[[G20]] เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่น ๆ ในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก

หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับที่เก้าสิบ ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก

== ประวัติศาสตร์ ==
{{ประวัติศาสตร์เยอรมนี}}
{{บทความหลัก|ประวัติศาสตร์เยอรมนี}}
การค้นพบโครงกระดูกฟันกรามเมาเออร์ 1 (Mauer 1) ได้ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์มีการตั้งรกรากในบริเวณที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบันมาตั้งแต่ 600,000 ปีที่แล้ว<ref>{{cite journal|url=http://www.pnas.org/content/107/46/19726.full|title=Radiometric dating of the type-site for Homo heidelbergensis at Mauer, Germany|work=[[Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America|PNAS]]|date=27 August 2010|accessdate=27 August 2010|archivedate=1 January 2015|archiveurl=https://web.archive.org/web/20150101005057/http://www.pnas.org/content/107/46/19726.full|doi=10.1073/pnas.1012722107|volume=107|issue=46|pages=19726–19730|last1=Wagner|first1=G. A|last2=Krbetschek|first2=M|last3=Degering|first3=D|last4=Bahain|first4=J.-J|last5=Shao|first5=Q|last6=Falgueres|first6=C|last7=Voinchet|first7=P|last8=Dolo|first8=J.-M|last9=Garcia|first9=T|last10=Rightmire|first10=G. P|bibcode=2010PNAS..10719726W}}</ref> เครื่องไม้เครื่องมือในการล่าสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกถูกค้นพบในเหมืองถ่านหินบริเวณเมืองเชินนิงเงิน ซึ่งได้ค้นพบทวนไม้โบราณสามเล่มที่ฝังอยู่ใต้ผืนดินมาเป็นเวลากว่า 380,000 ปี<ref>{{cite web|url=http://archive.archaeology.org/9705/newsbriefs/spears.html|title=World's Oldest Spears|work=archive.archaeology.org|publisher=|date=3 May 1997|accessdate=27 August 2010|archiveurl=https://web.archive.org/web/20130208032250/http://archive.archaeology.org/9705/newsbriefs/spears.html|archivedate=8 February 2013}}</ref> นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบฟอสซิลมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ "[[นีแอนเดอร์ทาล]]" เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งคาดว่ามีอายุกว่า 40,000 ปี นอกจากนี้ยังมีการค้นพบหลักฐานของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันในถ้ำของเทือกเขาแอลป์ชวาเบินใกล้กับเมือง[[อุล์ม]] และยังมีการค้นพบเครื่องเป่าที่ทำจากงาช้าง[[แมมมอธ]]และกระดูกของนกอายุกว่า 42,000 ปี ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการค้นพบ<ref>{{cite web|url=http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-18196349|title=Earliest music instruments found|publisher=BBC|date=25 May 2012|accessdate=25 May 2012|archiveurl=https://web.archive.org/web/20170903041534/http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-18196349|archivedate=3 September 2017}}</ref> นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรูปสลัก "ไลออนแมน" ที่ตัวเป็นคนหัวเป็นสิงโตจากยุคน้ำแข็งเมื่อ 40,000 ปีก่อน ถือเป็นงานศิลปะอุปมาเลียนแบบกายมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยมีการค้นพบ<ref>{{cite web|url=http://www.theartnewspaper.com/articles/Ice-Age-iLion-Mani-is-worlds-earliest-figurative-sculpture/28595|archiveurl=https://web.archive.org/web/20150215162121/http://www.theartnewspaper.com/articles/Ice-Age-iLion-Mani-is-worlds-earliest-figurative-sculpture/28595|archivedate=15 February 2015|title=Ice Age Lion Man is world's earliest figurative sculpture|work=[[The Art Newspaper]]|date=31 January 2013|accessdate=31 January 2013}}</ref>

=== กลุ่มชนเจอร์แมนิกและอาณาจักรแฟรงก์ (ยุคสัมฤทธิ์–ค.ศ. 843) ===
{{บทความหลัก|กลุ่มชนเจอร์แมนิก|สมัยการย้ายถิ่น}}
คาดการณ์ว่า[[กลุ่มชนเจอร์แมนิก]]ตั้งแต่[[ยุคสัมฤทธิ์]]ไปจนถึง[[ยุคเหล็ก]]ก่อนการก่อตั้ง[[กรุงโรม]]นั้น เดิมอยู่อาศัยบริเวณทางใต้ของ[[สแกนดิเนเวีย]]ไปจนถึงตอนเหนือของเยอรมนี พวกเขาขยายอาณาเขตไปทางใต้ ตะวันตกและตะวันออก จนได้รู้จักและติดต่อกับ[[ชาวเคลต์]]ในดินแดน[[กอล]] รวมไปถึง[[กลุ่มชนอิหร่าน]], ชาวบอลติก, [[ชาวสลาฟ]] ซึ่งอาศัยอยู่ใน[[ยุโรปกลาง]]และ[[ยุโรปตะวันออก]]<ref>{{cite book |first =Jill N. |last = Claster |title =Medieval Experience: 300–1400 |publisher =New York University Press |year =1982 |page =35 |isbn=0-8147-1381-5}}</ref> ต่อมา กรุงโรมภายใต้[[จักรพรรดิเอากุสตุส]] เริ่มการรุกรานดินแดนที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน และแผ่ขยายดินแดนครอบคลุมทั่วลุ่ม[[แม่น้ำไรน์]]และ[[เทือกเขายูรัล]] ในค.ศ. 9 กองทหารโรมันสามกองนำโดยวาริอุสได้พ่ายแพ้ให้กับ[[อาร์มินีอุส]]แห่งชนเผ่าเครุสค์ ต่อมาในค.ศ. 100 ในช่วงที่[[ตากิตุส]]เขียนหนังสือ ''Germania'' กลุ่มชนเผ่าเยอรมันก็ต่างได้ตั้งถิ่นฐานตลอด[[แม่น้ำไรน์]]และ[[แม่น้ำดานูบ]] และเข้าครอบครองดินแดนเกือบทั้งหมดในส่วนที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน

ในศตวรรษที่ 3 ได้มีการเกิดขึ้นของเผ่าเยอรมันขนาดใหญ่หลายเผ่าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น[[ชนอลามันน์]] (Alemanni), [[ชาวแฟรงก์]] (Franks), ชาวชัตต์ (Chatti), [[ชาวแซกซอน]] (Saxons), ชาวซีกัม (Sicambri), และชาวเทือริง (Thuringii) ราวค.ศ. 260 พวกชนเผ่าเยอรมันเหล่านี้ก็รุกเข้าไปในดินแดนในความควบคุมของโรมัน<ref>{{cite book |series= The Cambridge Ancient History |title =The crisis of empire, A.D. 193–337 |volume =12 |page =442 |isbn=0-521-30199-8 |first =Alan K. |last =Bowman |first2 =Peter |last2 =Garnsey |first3 =Averil |last3 =Cameron |publisher =Cambridge University Press |year = 2005}}</ref> ภายหลังการรุกรานของ[[ชาวฮัน]]ในปี ค.ศ. 375 และการเสื่อมอำนาจของโรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 395 เป็นต้นไป พวกชนเผ่าเยอรมันก็ยิ่งรุกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ชนเผ่าเยอรมันขนาดใหญ่เหล่านี้เข้าครอบงำชนเผ่าเยอรมันขนาดเล็กต่าง ๆ เกิดเป็นดินแดนของชนเผ่าเยอรมันในบริเวณที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน

=== อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 843–1815)===
[[ไฟล์:Franks expansion.gif|thumb|261px|อาณาจักรแฟรงก์และการขยายดินแดน และถูกแบ่งออกเป็นสามอาณาจักรในปี 843]]
{{บทความหลัก|อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก|จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์}}
ในค.ศ. 800 [[ชาร์เลอมาญ]] กษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ ได้ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมัน และสถาปนา[[จักรวรรดิการอแล็งเฌียง]] ต่อมาในปีค.ศ. 840 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นจากการแย่งชิงบัลลังก์ในหมู่พระโอรสของ[[จักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา]]<ref name="f11">Fulbrook 1991, p. 11.</ref> สงครามกลางเมืองครั้งนี้จบลงในปี 843 โดยการแบ่งจักรวรรดิการอแล็งเฌียงออกเป็นสามอาณาจักรอันได้แก่:
* [[อาณาจักรแฟรงก์กลาง]] – บริเวณเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก ตะวันออกของฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และภาคเหนือของอิตาลี
* [[อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก]] – บริเวณเยอรมนี ออสเตรีย เช็กเกีย สโลวะเกีย ฮังการี สโลวีเนีย โครเอเชีย และบางส่วนของบอสเนีย
* [[อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก]] – บริเวณตอนกลางและตะวันตกของฝรั่งเศส
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกแผ่ขยายดินแดนอย่างมากมายครอบคลุมถึงอิตาลีในรัชสมัย[[ออทโทที่ 1 มหาราช|พระเจ้าออทโทที่ 1]] ในปีค.ศ. 962 พระองค์ก็ปราบดาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันตามแบบอย่างชาร์เลอมาญ และสถาปนา[[ราชวงศ์ออทโท]] ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของ[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] ซึ่งในศตวรรษที่ 18 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ภายใต้[[ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค]]มีดินแดนในอาณัติกว่า 1,800 แห่งทั่วยุโรป

[[ไฟล์:HRR.gif|thumb|261px|อาณาเขตของ[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]]]
===== การผงาดของปรัสเซีย =====
{{บทความหลัก|ปรัสเซีย}}
เดิมที ราชอาณาจักรปรัสเซียเป็นดินแดนหนึ่งในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และยอมรับนับถือจักรพรรดิในกรุงเวียนนาเป็นเจ้าเหนือหัว อย่างไรก็ตาม ปรัสเซียเริ่มแตกหักกับราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเมื่อ[[จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิคาร์ลที่ 6]] เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1740 ทายาทของจักรพรรดิคาร์ลมีเพียงพระราชธิดาเท่านั้น [[พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย]] ทรงคัดค้านการให้สตรีครองบัลลังก์จักรวรรดิมาตลอด พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ทรงเปิดฉากรุกรานดินแดน[[ไซลีเซีย]]ของ[[ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค]] เกิดเป็นสงครามไซลีเซียครั้งที่หนึ่ง และบานปลายเป็น[[สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย]]ที่มีอังกฤษและสเปนเข้ามาร่วมอยู่ฝ่ายเดียวกับปรัสเซีย สงครามครั้งนี้จบลงด้วยความเสียเปรียบของฮาพส์บวร์ค ราชสำนักกรุงเวียนนาต้องสูญเสียดินแดนจำนวนมากแก่ปรัสเซียและพันธมิตร ราชสำนักกรุงเบอร์ลินแห่งปรัสเซียได้ผงาดบารมีขึ้นมาเป็นขั้วอำนาจใหม่ในจักรวรรดิเทียบเคียงราชสำนักกรุงเวียนนา แม้ว่าโดยนิตินัยแล้ว ปรัสเซียจะยังคงถือเป็นดินแดนหนึ่งในจักรวรรดิภายใต้ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คก็ตาม

=== สมาพันธรัฐเยอรมันและจักรวรรดิเยอรมัน (ค.ศ. 1815–1918) ===
[[ไฟล์:Wernerprokla.jpg|thumb|261px|พระเจ้าวิลเฮล์มแห่งปรัสเซียประกาศตนขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมัน ณ [[พระราชวังแวร์ซาย]]ในกรุงปารีส หลังมีชัยใน[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย]]]]
{{บทความหลัก|สมาพันธรัฐเยอรมัน|จักรวรรดิเยอรมัน}}
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องสูญเสียดินแดนมากมายแก่ฝรั่งเศสในช่วง[[สงครามนโปเลียน]] ทำให้ในปีค.ศ. 1806 [[จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2]] ทรงประกาศยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสถาปนา[[จักรวรรดิออสเตรีย]]ขึ้นมาแทน เมื่อ[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1|นโปเลียน]]ถูกโค่นล้มและถูกเนรเทศไป[[เกาะเอลบา]]ในปี 1814 ได้มีการจัด[[การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา]]ขึ้นเพื่อจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ ราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรียได้ร่วมมือกันให้มีการรวมกลุ่มอย่างหลวม ๆ ของรัฐเยอรมันทั้งหลาย จัดตั้งขึ้นเป็น "[[สมาพันธรัฐเยอรมัน]]" เพื่อรวมความเป็นรัฐชาติและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวเยอรมันอีกครั้ง แม้ปรัสเซียจะพยายามผลักดันให้[[พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย]] ดำรงตำแหน่งองค์ประธานสมาพันธรัฐเยอรมันแต่ก็ไม่เป็นผล รัฐสมาชิก 39 แห่งกลับลงมติยอมรับนับถือ[[จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย]] เป็นองค์ประธานสมาพันธรัฐเยอรมัน

ในปี 1864 ความขัดแย้งระหว่างออสเตรียกับปรัสเซียขึ้นอีกครั้ง และบานปลายเป็น[[สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย]] หรือที่เรียกว่า "สงครามพี่น้อง" สงครามครั้งนี้จบลงด้วยชัยชนะอย่างงดงามของปรัสเซีย ออสเตรียสูญเสียอิทธิพลเหนือรัฐเยอรมันตอนใต้ทั้งหมดและจำยอมยุบสมาพันธรัฐเยอรมันในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1866 และนำไปสู่การสถาปนา "[[สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ]]" ที่มีกษัตริย์แห่งปรัสเซียเป็นองค์ประธาน และภายหลังปรัสเซียมีชัยใน[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย]]ในปี 1871 รัฐสภาแห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อสมาพันธรัฐเป็นจักรวรรดิ และมีมติให้[[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี|พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย]] ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิเยอรมัน ถือเป็นการสถาปนา[[จักรวรรดิเยอรมัน]]อย่างเป็นทางการ

จักรวรรดิเยอรมันมีพัฒนาการด้านอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด มีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก และมีกองทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพเป็นลำดับสองรองจาก[[ราชนาวี|ราชนาวีอังกฤษ]] อย่างไรก็ตาม ความปราชัยใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]ทำให้เกิดยุคข้าวยากหมากแพงจน[[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี|จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2]] สละราชสมบัติและลี้ภัยการเมืองในปี 1918 เยอรมนีเปลี่ยนไปใช้ระบอบระบอบ[[ประชาธิปไตย]]แบบสาธารณรัฐภายใต้ประธานาธิบดี

=== สาธารณรัฐไวมาร์และไรช์ที่สาม (ค.ศ. 1919–1945) ===
{{บทความหลัก|สาธารณรัฐไวมาร์|นาซีเยอรมนี}}
[[ไฟล์:Hitler salute in front of lamppost.jpg|thumb|261px|[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] ผู้นำพายุโรปเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง]]
เมื่อระบอบจักรพรรดิล่มสลาย ได้มีการจัดประชุมสมัชชาแห่งชาติขึ้นที่เมืองไวมาร์และมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ เป็นที่มาของชื่อลำลองว่า "สาธารณรัฐไวมาร์" ซึ่งตลอดช่วงเวลา 14 ปีของเยอรมนียุคสาธารณรัฐไวมาร์ ต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทั้งเศรษฐกิจตกต่ำ, อภิมหาเงินเฟ้อ, อัตราการว่างงานสูงลิบ, เผชิญหน้ากับการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์จากรัสเซีย, ถูกจำกัดจำนวนทหารและห้ามมีอาวุธยุทโธปกรณ์สมรรถนะสูงจากผลของ[[สนธิสัญญาแวร์ซาย]] ความล่มจมของประเทศเช่นนี้ทำให้เกิดขบวนการชาตินิยมขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ[[พรรคกรรมกรเยอรมัน]] (DAP) ซึ่งมีอุดมการณ์แบบสุดโต่ง สิบตรี[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] ซึ่งเข้ามาสอดแนมในพรรคแห่งนี้ประทับใจกับอุดมการณ์ของพรรคและตัดสินใจเข้าร่วมพรรค ฮิตเลอร์ใช้พรสวรรค์ด้านวาทศิลป์ของตนเองจนสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำพรรค ในปี 1920 ฮิตเลอร์เปลี่ยนชื่อพรรคแห่งนี้เป็น "[[พรรคนาซี|พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน]]" หรือที่รู้จักกันในชื่อ "พรรคนาซี"

[[ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่]]ในปี 1929 นั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเยอรมนีมาก ผู้คนนับล้านในเยอรมันตกงาน ฮิตเลอร์ได้ใช้โอกาสนี้หาเสียงและกวาดคะแนนนิยม ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 1932 พรรคนาซีกลายเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดใน[[ไรชส์ทาค (สาธารณรัฐไวมาร์)|สภาไรชส์ทาค]] ครองที่นั่ง 230 ที่นั่งจากทั้งหมด 584 ที่นั่ง จะเห็นได้ว่าแม้นาซีจะเป็นพรรคใหญ่สุดแต่ก็ยังไม่ได้ครองเสียงข้างมาก จนกระทั่งเมื่อเกิด[[เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค]]ขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 1933 โดยกล่าวหาว่าเป็นฝีมือของพวกคอมมิวนิสต์ นายกรัฐมนตรีฮิตเลอร์กดดันให้[[เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค|ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์ค]]ลงนามใน[[กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค]]เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และหว่านล้อมให้สภาลงมติอนุมัติ[[รัฐบัญญัติมอบอำนาจ]] ซึ่งทำให้ฮิตเลอร์กลายเป็น "[[ฟือเรอร์]]" ผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จในเยอรมนีไปโดยปริยาย

เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุด เขาได้ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายทิ้งและเร่ง[[การฟื้นแสนยานุภาพของเยอรมนี|ฟื้นฟูแสนยานุภาพของเยอรมัน]]เป็นการใหญ่ ฮิตเลอร์ประกาศลดภาษีรถยนต์เป็นศูนย์และเร่งรัดให้มีการสร้างทางหลวง[[เอาโทบาน]]ทั่วประเทศ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมันเติบโตอย่างมโหฬาร เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เยอรมนีได้ผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจอีกครั้งและกลายเป็นชาติที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าที่สุดในโลกในทุกด้าน ทั้งด้านวิศวกรรม อุตสาหกรรม การแพทย์ และการทหาร เทคโนโลยีหลายอย่างของโลกก็ถือกำเนิดขึ้นจากเยอรมนีในยุคนี้ อย่างไรก็ตามความรุ่งเรืองเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขูดรีดแรงงานในค่ายกักกันที่มีอยู่มากมาย

===== สงครามโลกครั้งที่สอง =====
[[ไฟล์:Europe, 1942.svg|thumb|261px|แผนที่สงครามในทวีปยุโรป ค.ศ. 1942 <br>{{legend|#5881d0|ดินแดนในยึดครองของเยอรมัน|border=0}}{{legend|#7ea2e7|เขตอิทธิพล/รัฐหุ่นเชิดของเยอรมัน|border=0}}{{legend|#e51029|สหภาพโซเวียต|border=0}}{{legend|#41c36a|สหราชอาณาจักรและอาณานิคม|border=0}}]]

ในปี 1938 หลังเยอรมนีผนวกบ้านพี่เมืองน้องอย่างออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน ในที่สุด ฮิตเลอร์ส่งกองทัพเข้ายึดประเทศออสเตรียและประเทศเชโกสโลวาเกียโดยไม่สนคำครหา กลิ่นของสงครามเข้าปกคลุมทั้งทวีปยุโรป สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสต้องการเลี่ยงสงครามจึงได้จัด[[ความตกลงมิวนิก|การประชุมมิวนิก]]กับเยอรมนีในเดือนกันยายน เพื่อเป็นหลักประกันว่าเยอรมนีจะไม่รุกรานดินแดนใดไปมากกว่านี้และจะไม่ก่อสงคราม แต่ขณะเดียวกัน ต่างฝ่ายก็ต่างสั่งสมกำลังเพื่อเตรียมเข้าสู่สงคราม

ในปี 1939 [[การบุกครองโปแลนด์|การบุกยึดโปแลนด์ของเยอรมนี]]ได้จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น ตามด้วยการบุกครองประเทศอื่น ๆ ในยุโรปและยังทำ[[กติกาสัญญาไตรภาคี]]เป็นพันธมิตรกับอิตาลีและญี่ปุ่น เขตอิทธิพลของนาซีเยอรมันได้แผ่ไพศาลที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติเยอรมันในปี 1942 ครอบคลุมส่วนใหญ่ของ[[ยุโรปภาคพื้นทวีป]] ในปี 1943 ฮิตเลอร์เปลี่ยนชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของเยอรมนีจาก "[[ไรช์เยอรมัน]]" (''Deutsches Reich'') เป็น "ไรช์เยอรมันใหญ่" (''Großdeutsches Reich'')

หลังความล้มเหลวใน[[ปฏิบัติการบาร์บารอสซา]]ที่[[สหภาพโซเวียต]] เยอรมันก็ถูกรุกกลับอย่างรวดเร็วจากทั้งสองด้าน เมื่อ[[กองทัพแดง]]บุกถึงกรุงเบอร์ลินในเดือนเมษายน 1945 ฮิตเลอร์ปฏิเสธที่จะหนีออกจากกรุงเบอร์ลินและตัดสินใจยิงตัวตาย หนึ่งสัปดาห์ต่อมา เยอรมนีก็[[ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี|ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร]]

=== เยอรมนีตะวันออกและตะวันตก (ค.ศ. 1945–1990) ===
หลังเยอรมนียอมจำนนแล้ว ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้แบ่งกรุงเบอร์ลินและประเทศเยอรมนีออกเป็น 4 เขตในยึดครองทางทหาร เขตฝั่งตะวันตกซึ่งควบคุมโดยฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหรัฐ ได้รวมกันและจัดตั้งขึ้นเป็นประเทศที่ชื่อว่า "สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี" เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 ส่วนเขตทางตะวันออกซึ่งอยู่ในควบคุมของสหภาพโซเวียตได้จัดตั้งขึ้นเป็นประเทศที่ชื่อว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี" เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ทั้งสองประเทศนี้ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "[[ประเทศเยอรมนีตะวันตก]]" มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุง[[บ็อน]] และ "[[ประเทศเยอรมนีตะวันออก]]" มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุง[[เบอร์ลินตะวันออก]]

เยอรมนีตะวันตกมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐภายใต้รัฐสภากลาง และใช้ระบบเศรษฐกิจการตลาดเพื่อสังคม (Social Market Economy) เยอรมนีตะวันตกรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจำนวนมากตาม[[แผนมาร์แชลล์]]เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมของตน เศรษฐกิจของเยอรมนีตะวันตกฟื้นฟูอย่างรวดเร็วจนถูกเรียกว่า "ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ" (Economic miracle) เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วม[[องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ]] (NATO) ในปี 1955 และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง[[ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป]] (EEC) ในปี 1957

เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐใน[[กลุ่มตะวันออก]] (Eastern Bloc) ซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองและทางทหารของสหภาพโซเวียต และยังเป็นรัฐร่วมภาคีใน[[กติกาสัญญาวอร์ซอ]] และแม้ว่าเยอรมนีตะวันออกจะอ้างว่าตนเองปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่อำนาจทางการเมืองการปกครองทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของ[[โปลิตบูโร]]แห่ง[[พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี]] (SED) ซึ่งมีหัวแบบคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ พรรคฯยังมีการหนุนหลังจาก "กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ "หรือที่เรียกว่า "[[ชตาซี]]" (Stasi) อันเป็นหน่วยงานรัฐขนาดใหญ่ที่ควบคุมเกือบทุกแง่มุมของสังคม<ref name="spiegel_20080311">{{cite web|url = http://www.spiegel.de/international/germany/east-german-spies-new-study-finds-more-stasi-spooks-a-540771.html|title = New Study Finds More Stasi Spooks|author = maw/dpa|date = 11 March 2008|work = [[Der Spiegel]]|accessdate = 30 October 2011|archiveurl = https://web.archive.org/web/20121119094328/http://www.spiegel.de/international/germany/east-german-spies-new-study-finds-more-stasi-spooks-a-540771.html|archivedate = 19 November 2012}}</ref> เยอรมนีตะวันออกใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ อันเป็นระบบเศรษฐกิจที่ทุกอย่างถูกวางแผนโดยรัฐ

[[ไฟล์:West and East Germans at the Brandenburg Gate in 1989.jpg|261px|thumb|ที่หน้า[[ประตูบรันเดินบวร์ค]] ผู้คนออกมาชุมนุมยินดีต่อการพังทลายลงของ[[กำแพงเบอร์ลิน]]ในปี 1989]]
ชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากพยายามข้ามไปยังเยอรมนีตะวันตกเพื่ออิสรภาพและชีวิตที่ดีกว่า ทำให้เยอรมนีตะวันออกตัดสินใจสร้าง[[กำแพงเบอร์ลิน]]ขึ้นมาเพื่อป้องกันการลักลอบข้ามแดน กำแพงเบอร์ลินถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 1961 กำแพงแห่งนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ[[สงครามเย็น]]ระหว่างฝ่ายเสรีกับฝ่ายคอมมิวนิสต์.<ref name="state">{{cite web|url=https://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/3997.htm|title=Germany|publisher=U.S. Department of State|date=10 November 2010|accessdate=26 March 2011|archiveurl=https://web.archive.org/web/20110324180706/http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/3997.htm|archivedate=24 March 2011}}</ref> <ref>{{cite web|url=http://www.bbc.co.uk/history/places/berlin_wall|title=The Berlin Wall|access-date=8 February 2017|archiveurl=https://web.archive.org/web/20170226011158/http://www.bbc.co.uk/history/places/berlin_wall|archivedate=26 February 2017}}</ref> การพังทลายลงของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ[[การปฏิวัติ ค.ศ. 1989|การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์]] นำมาซึ่ง[[การรวมประเทศเยอรมนี]]ในปีถัดมา ก่อนที่จะตามมาด้วย[[การล่มสลายของสหภาพโซเวียต]]ในปีให้หลัง

== ภูมิศาสตร์กายภาพ ==
[[ไฟล์:Deutschland topo.png|250px|left|thumb|แผนที่แสดงความสูงต่ำของประเทศ]]
เยอรมนีเป็นประเทศที่อยู่ตรงยุโรปกลางทำให้เรียกได้ว่าเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางของ[[ทวีปยุโรป]]มีพรมแดนทางทิศเหนือติด[[ทะเลเหนือ]] [[ประเทศเดนมาร์ก|เดนมาร์ก]] และ[[ทะเลบอลติก]] ทิศตะวันออกติด[[ประเทศโปแลนด์|โปแลนด์]]และ[[ประเทศเช็กเกีย|เช็กเกีย]] ทิศใต้ติด[[ประเทศออสเตรีย|ออสเตรีย]] และ[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สวิตเซอร์แลนด์]] ทิศตะวันตกติด[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] [[ประเทศลักเซมเบิร์ก|ลักเซมเบิร์ก]] [[ประเทศเบลเยียม|เบลเยียม]] และ[[ประเทศเนเธอร์แลนด์|เนเธอร์แลนด์]] และยังมีพรมแดนติดกับ[[ทะเลสาบโบเดิน]]ที่เป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ3ในทวีปยุโรป<ref>[http://library.mcmaster.ca/maps/fc1999.htm Image #432, Flying Camera Satellite Images 1999], Lloyd Reeds Map Collection, McMaster University Library.</ref>

ประเทศเยอรมนีมีขนาด357,021 ตารางกิโลเมตรโดยแบ่งเป็นพื้นดิน349,223 ตารางกิโลเมตรและพื้นน้ำ7,798 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ใน[[ทวีปยุโรป]]และใหญ่เป็นอันดับ 62 ของโลก<ref name="CIA">{{cite web| url = https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/gm.html| title =Germany|work=CIA World Factbook|accessdate =30 August 2014|publisher=Central Intelligence Agency}}</ref>และด้วยพรมแดนมีความยาวทั้งหมดรวม 3,757 กิโลเมตรมีประเทศเพื่อนบ้านถึง 9 ประเทศ ทำให้เยอรมนีเป็นประเทศที่มีประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุดใน[[ทวีปยุโรป]]<ref>[http://www.reformsyria.org/%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3/ 0eo;ogrnjvo[hko]</ref>

เยอรมนีมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันไปจากทางตอนเหนือถึงทางตอนใต้ โดยมีทั้งที่ราบทางตอนเหนือและเทือกเขาทางตอนใต้ เยอรมนียังมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แร่เหล็ก, ถ่านหิน, โพแทช, ไม้, ลิกไนต์, ยูเรเนียม, ทองแดง, ก๊าซธรรมชาติ, เกลือ, นิกเกิล, พื้นที่เพาะปลูกและน้ำ<ref name="CIA"/>

=== ภูมิอากาศ ===
ประเทศเยอรมนีไม่มีฤดูแล้งและฤดูหนาวจะมีอากาศที่เย็นถึงหนาวจัดและฤดูร้อนจะมีความอบอุ่นโดยอุณหภูมิจะไม่เกิน 30 ° C
=== ความหลากหลายทางชีวภาพ ===
ในปี 2008 อาณาเขตของประเทศเยอรมนีสามารถแบ่งสภาพพื้นดินได้โดยแบ่งเป็นพื้นที่ทำกิน (34%) ป่าไม้ (30.1%) ทุ่งหญ้าถาวร 11.8%<ref>{{cite web|last=Strohm|first=Kathrin|url=http://www.agribenchmark.org/fileadmin/Dateiablage/B-Cash-Crop/Conferences/2010/Presentations/Poster_Germany.pdf|title=Arable farming in Germany|publisher=Agri benchmark|date=May 2010|accessdate=14 April 2011}}</ref>พืชและสัตว์ในเยอรมนีส่วนใหญ่เป็นพืชและสัตว์ในยุโรปกลางโดยต้นไม้ส่วนใหญ่ก็จะเป็น [[เบิร์ช]], [[โอ๊ก]]และต้นไม้ผลัดใบอื่น ๆ ที่พบตามพื้นก็จะเป็น [[มอสส์]], [[เฟิร์น]], [[คอร์นฟลาวเวอร์]], [[เห็ดรา]] สัตว์ป่าก็จะเป็น [[กวาง]], [[หมูป่า]], [[แพะภูเขา]], [[หมาจิ้งจอกแดง]], [[แบดเจอร์ยุโรป]],[[กระต่ายป่า]]และอาจมี[[บีเวอร์]]บริเวณชายแดน[[ประเทศโปแลนด์]]ด้วย<ref>{{cite book| last=Bekker |first=Henk |title=Adventure Guide Germany |year=2005 |publisher=Hunter |isbn =978-1-58843-503-3 |page=14}}</ref>:ซึ่ง[[คอร์นฟลาวเวอร์]]สีฟ้าเคยเป็นดอกไม้ประจำชาติด้วย<ref>{{cite book| author = Marcel Cleene|author2=Marie Claire Lejeune| title = Compendium of Symbolic and Ritual Plants in Europe: Herbs| url = https://books.google.com/?id=g5GBAAAAMAAJ| year = 2002| publisher = Man & Culture| quote=The Cornflower was once the floral emblem of Germany (hence the German common name Kaiserblume).}}</ref>

== การเมืองการปกครอง ==
การรวมประเทศในปี 1990 นั้น เสมือนเป็นการผนวกประเทศเยอรมนีตะวันออกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีตะวันตก ดังนั้นระบบระเบียบการปกครองทั้งหมดในประเทศเยอรมนีใหม่นี้ จึงยึดเอาระบบระเบียบเดิมของเยอรมนีตะวันตกมาทั้งหมด กฎหมายสูงสุดหรือรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมนีเรียกว่า ''กรุนด์เกเซ็ทท์'' (''Grundgesetz'') หรือแปลอย่างตรงตัวได้ว่า "กฎหมายพื้นฐาน" ถูกบัญญัติขึ้นในปี 1949 เพื่อใช้เป็นรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมนีตะวันตก การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จำเป็นต้องได้รับเสียงอย่างน้อยสองในสามจากที่ประชุมร่วมสองสภาและ อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐาน, [[การแยกใช้อำนาจ]], โครงสร้างสหพันธ์ และสิทธิในการต่อต้านความพยายามล้มล้างมิอาจถูกแก้ไขได้

=== รัฐสมาชิกตามรัฐธรรมนูญ ===
{{บทความหลัก|รัฐของประเทศเยอรมนี}}
ประเทศเยอรมนีประกอบด้วยสิบหก '''รัฐ''' ({{lang-de|Bundesland บุนเดสลันด์}}) ในจำนวนนี้ [[เบอร์ลิน]]และ[[ฮัมบวร์ค]] มีสถานะเป็นนครรัฐ ({{lang-de|Stadtstaaten ชตัดท์ชตาเทิน}}) ในขณะที่ [[รัฐเบรเมิน|เบรเมิน]] เป็นรัฐที่ประกอบด้วยสองนครรัฐคือ[[เบรเมิน]]และ[[เบรเมอร์ฮาเฟิน]] ในขณะที่อีกสิบสามรัฐที่เหลือ มีสถานะเป็นรัฐเฉพาะถิ่น ({{lang-de|Flächenländer แฟลเชินแลนเดอร์}}) ทุกรัฐมีรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของตนเอง สามารถตรากฎหมายและจัดเก็บภาษีเองตามกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ฯ
<div style="float: left;margin:0 2em 0 0;">{{German Federal States}}</div>

{| style="background:none;" cellspacing="2px"
|
{| class="sortable wikitable" style="text-align:left; font-size:85%;"
|- style="font-size:100%; text-align:right;"
! style="width:160px;"| [[รัฐของประเทศเยอรมนี|รัฐ]] !! style="width:85px;"| เมืองหลวง !! style="width:75px;"| พื้นที่ <br>(กม<sup>2</sup>)!! style="width:70px;"| ประชากร (2015)<ref>{{cite web|url=http://www.statistik-portal.de/Statistik-Portal/de_jb01_jahrtab1.asp|title=Gebiet und Bevölkerung – Fläche und Bevölkerung|date=December 2015|publisher=[[Statistisches Bundesamt]] und statistische Landesämter|accessdate=3 August 2017|language=de|archiveurl=https://web.archive.org/web/20170706204449/http://www.statistik-portal.de/Statistik-Portal/de_jb01_jahrtab1.asp|archivedate=6 July 2017}}</ref>!! style="width:100px;"| GDP ปี 2015<ref name="auto">{{cite web|url=http://www.vgrdl.de/VGRdL/tbls/tab.jsp?lang=en-GB&rev=RV2014&tbl=tab01|title=Gross domestic product – at current prices – 1991 to 2015|date=5 November 2016|publisher=Statistische Ämter des Bundes und der Länder|accessdate=6 July 2016|language=en|archiveurl=https://web.archive.org/web/20161105232319/http://www.vgrdl.de/VGRdL/tbls/tab.jsp?lang=en-GB&rev=RV2014&tbl=tab01|archivedate=5 November 2016}}</ref>!! style="width:100px;"| GDP ต่อหัวปี 2015<ref name="auto" /> <br>(สกุลเงิน: ยูโร)
|-
| [[รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค|บาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค]] || [[ชตุทท์การ์ท]] || style="text-align:right"|35,752|| style="text-align:right"|10,879,618 || style="text-align:right"|461 || style="text-align:right"|42,800
|-
| [[รัฐบาวาเรีย|บาวาเรีย]] || [[มิวนิก]] || style="text-align:right"|70,549|| style="text-align:right"|12,843,514 || style="text-align:right"|550 || style="text-align:right"|43,100
|-
| [[เบอร์ลิน]] || [[เบอร์ลิน]] ||style="text-align:right"|892|| style="text-align:right"|3,520,031 || style="text-align:right"|125 || style="text-align:right"|35,700
|-
| [[รัฐบรันเดินบวร์ค|บรันเดินบวร์ค]] || [[พ็อทซ์ดัม]] || style="text-align:right"|29,477|| style="text-align:right"|2,484,826 || style="text-align:right"|66 || style="text-align:right"|26,500
|-
| [[รัฐเบรเมิน|เบรเมิน]] || [[เบรเมิน]] || style="text-align:right"|404|| style="text-align:right"|671,489 || style="text-align:right"|32 || style="text-align:right"|47,600
|-
| [[ฮัมบวร์ค]] || [[ฮัมบวร์ค]] ||style="text-align:right"|755|| style="text-align:right"|1,787,408 || style="text-align:right"|110 || style="text-align:right"|61,800
|-
| [[รัฐเฮ็สเซิน|เฮ็สเซิน]] || [[วีสบาเดิน]] || style="text-align:right"|21,115|| style="text-align:right"|6,176,172 || style="text-align:right"|264 || style="text-align:right"|43,100
|-
| [[รัฐเมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น|เมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น]] || [[ชเวรีน]] || style="text-align:right"|23,174|| style="text-align:right"|1,612,362 || style="text-align:right"|40 || style="text-align:right"|25,000
|-
| [[รัฐนีเดอร์ซัคเซิน|นีเดอร์ซัคเซิน]] || [[ฮันโนเฟอร์]] || style="text-align:right"|47,618|| style="text-align:right"|7,926,599 || style="text-align:right"|259 || style="text-align:right"|32,900
|-
| [[รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน|นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน]] || [[ดึสเซิลดอร์ฟ]] || style="text-align:right"|34,043|| style="text-align:right"|17,865,516 || style="text-align:right"|646 || style="text-align:right"|36,500
|-
| [[รัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์|ไรน์ลันท์-ฟัลทซ์]] || [[ไมนทซ์]] || style="text-align:right"|19,847|| style="text-align:right"|4,052,803 || style="text-align:right"|132|| style="text-align:right"|32,800
|-
| [[รัฐซาร์ลันท์|ซาร์ลันท์]] || [[ซาร์บรึคเคิน]] || style="text-align:right"|2,569|| style="text-align:right"|995,597 || style="text-align:right"|35 || style="text-align:right"|35,400
|-
| [[รัฐซัคเซิน|ซัคเซิน]] || [[เดรสเดิน]] || style="text-align:right"|18,416|| style="text-align:right"|4,084,851 || style="text-align:right"|113 || style="text-align:right"|27,800
|-
| [[รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์|ซัคเซิน-อันฮัลท์]] || [[มัคเดอบวร์ค]] || style="text-align:right"|20,445|| style="text-align:right"|2,245,470 || style="text-align:right"|57 || style="text-align:right"|25,200
|-
| [[รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์|ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์]] || [[คีล]] || style="text-align:right"|15,763|| style="text-align:right"|2,858,714 || style="text-align:right"|86 || style="text-align:right"|31,200
|-
| [[รัฐทือริงเงิน|ทือริงเงิน]] || [[แอร์ฟวร์ท]] || style="text-align:right"|16,172|| style="text-align:right"|2,170,714 || style="text-align:right"|57 || style="text-align:right"|26,400
|-
| style="text-align:center"| '''ประเทศเยอรมนี''' || style="text-align:center"| '''[[เบอร์ลิน]]''' || style="text-align:right"|'''357,376'''|| style="text-align:right"|'''82,175,684''' || style="text-align:right"|'''3025''' || style="text-align:right"|'''37,100'''
|}
|}

{{clear}}

=== ฝ่ายบริหาร ===
{{บทความหลัก|รายนามประธานาธิบดีเยอรมนี|รายนามนายกรัฐมนตรีเยอรมนี}}
ตำแหน่ง[[ประธานาธิบดี]] (Bundespräsident) เป็นตำแหน่ง[[ประมุขแห่งรัฐ]] ได้รับเลือกจากที่ประชุมสหพันธ์ (Bundesversammlung) ซึ่งประกอบสมาชิกของ Bundestag และตัวแทนของแต่รัฐต่าง ๆ ในจำนวนเท่ากัน ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสหพันธ์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ[[ฟรังโก-วอลเตอร์ สไตน์ไมเออร์]]
ตำแหน่ง[[รายนามนายกรัฐมนตรีเยอรมนี|นายกรัฐมนตรี]] ({{lang-de|Bundeskanzler}}; {{lang-en|Chancellor}}) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร หัวหน้ารัฐบาลคนปัจจุบันคือ [[อังเกลา แมร์เคิล]]

==== กระทรวง ====
ประเทศเยอรมนีมีกระทรวงอยู่ทั้งหมด 14 กระทรวง ได้แก่
{| class="wikitable"
|-
! !! กระทรวง !! ชื่อเยอรมัน !! อักษรย่อ
|-
| 1 || กระทรวงกลาโหม || Bundesministerium der Verteidigung || BMVg
|-
| 2 || กระทรวงยุติธรรมและการคุ้มครองผู้บริโภค || Bundesministerium der Justiz und für Verbraucherschutz || BMJV
|-
| 3 || กระทรวงการคลัง || Bundesministerium der Finanzen || BMF
|-
| 4 || กระทรวงมหาดไทย || Bundesministerium des Innern || BMI
|-
| 5 || สำนักงานการต่างประเทศ || Auswärtiges Amt || AA
|-
| 6 || กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน || Bundesministerium für Wirtschaft und Energie || BMWi
|-
| 7 || กระทรวงแรงงานและกิจการสังคม || Bundesministerium für Arbeit und Soziales || BMAS
|-
| 8 || กระทรวงกิจการครอบครัว ผู้สูงอายุ สตรีและเยาวชน || Bundesministerium für Familie, Senioren, Frauen und Jugend || BMFSFJ
|-
| 9 || กระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ อาคารและความปลอดภัยของนิวเคลียร์ || Bundesministerium für Umwelt, Naturschutz, Bau und Reaktorsicherheit || BMUB
|-
| 10 || กระทรวงอาหารและการเกษตร || Bundesministerium für Ernährung und Landwirtschaft || BMEL
|-
| 11 || กระทรวงพัฒนาการและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ || Bundesministerium für wirtschaftliche Zusammenarbeit und Entwicklung || BMZ
|-
| 12 || กระทรวงสาธารณสุข || Bundesministerium für Gesundheit || BMG
|-
| 13 || กระทรวงการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิตอล || Bundesministerium für Verkehr und digitale Infrastruktur || BMVI
|-
| 14 || กระทรวงศึกษาธิการและการวิจัย || Bundesministerium für Bildung und Forschung || BMBF
|}

=== ฝ่ายนิติบัญญัติ ===
[[ไฟล์:Reichstag May 09.jpg|261px|thumb|[[อาคารไรชส์ทาค]]ในกรุงเบอร์ลิน เป็นที่ประชุมรัฐสภาของเยอรมนี]]
{{บทความหลัก|การเลือกตั้งในประเทศเยอรมนี}}
อำนาจนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วย [[บุนเดิสทาค|สภาผู้แทนราษฎร]] (Bundestag) ทำหน้าที่เป็นสภาล่าง สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง และ[[บุนเดิสราท|คณะมนตรีสหพันธ์]] (Bundesrat) เป็นสภาผู้แทนรัฐทั้งสิบหกของสหพันธ์ ทำหน้าที่เป็นสภาสูง

ระบบพรรคการเมืองของเยอรมนีมีเพียงสองพรรคการเมืองหลักคือ[[พรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (เยอรมนี)|พรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน]] (CDU) และ[[พรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี]] (SPD) โดยจนถึงปัจจุบันนายกรัฐมนตรีมาจากเพียงสองพรรคนี้ อย่างไรก็ตาม ก็มีพรรคที่เล็กกว่าซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่าง[[พรรคประชาธิปไตยเสรี]] (FDP) และกลุ่ม[[พันธมิตร 90/กรีน]] (Bündnis 90/Die Grünen) ซึ่งมักเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐบาลผสม

=== ฝ่ายตุลาการ ===
{{บทความหลัก|กฎหมายเยอรมนี|}}
{{โครง-ส่วน}}

== ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ==
=== ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป ===
{{โครง-ส่วน}}
ประเทศเยอรมนีกับ[[ประเทศฝรั่งเศส]] มีบทบาทเป็นผู้นำของ[[สหภาพยุโรป]] และกำลังมุ่งหน้าสู่การรวมการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศสมาชิก มาขึ้นกับสหภาพยุโรปมากขึ้น

หลังจากแพ้[[สงครามโลกครั้งที่ 2]]ในยุค[[นาซีเยอรมนี]] เยอรมนีพยายามไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการทหารของประเทศอื่นมากนัก พฤติกรรมนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงใน [[พ.ศ. 2542]] เมื่อเยอรมนีตัดสินใจส่งทหารเข้าร่วม[[สงครามคอซอวอ]] เยอรมนีและฝรั่งเศสยังเป็นประเทศหลักที่คัดค้านการรุกราน[[ประเทศอิรัก]]ของ[[สหรัฐ]] ใน [[พ.ศ. 2546]]

ปัจจุบัน เยอรมนีกำลังพยายามเข้าเป็นสมาชิกถาวรของ[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]] เช่นเดียวกับ [[ประเทศญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]] [[ประเทศอินเดีย|อินเดีย]] และ[[ประเทศบราซิล|บราซิล]]

=== ความสัมพันธ์กับประเทศไทย ===
{{กล่องข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ|เยอรมนี – ไทย|เยอรมนี|ไทย|map=Germany Thailand Locator.png}}
* การทูต
{{โครง-ส่วน}}
ในสมัยที่เยอรมนียังคงแยกเป็นรัฐเสรีหลายรัฐ ได้มีรัฐสำคัญอย่าง[[ปรัสเซีย]]ที่จัดตั้งจัดตั้งคณะทูตสันถวไมตรีแห่งปรัสเซียมายังสยาม โดยมีหัวหน้าคณะทูตคือ [[เคานท์ ซู ออยเลนบวร์ก]] พร้อมคณะ ซึ่งประกอบด้วย[[นักวิทยาศาสตร์]]กับชาวเยอรมันผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ โดยเดินทางมาถึงสยาม ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2405 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]

การเจรจาการค้าพระราชไมตรี ด้านการค้าและการเดินเรือระหว่างสองประเทศเริ่มขึ้นในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2406 โดยมีเจ้าฟ้า[[กรมหลวงวงศาธิราชสนิท]] เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย ซึ่งทางปรัสเซียไม่มีนโยบายล่าอาณานิคมในแถบ[[เอเชียอาคเนย์]] การเจรจาเสร็จสิ้นและลงนามสัญญา ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2406 โดยสัญญาระบุถึงการปฏิบัติไมตรีต่อกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2422 ได้มีการตั้งสถานทูตไทย ณ [[กรุงเบอร์ลิน]] และ พ.ศ. 2431 ได้มีการเลื่อนระดับสถานกงสุลเยอรมนีขึ้นเป็นสถานอัครราชทูตเยอรมนี ณ กรุงเทพมหานคร
* การเมือง
{{โครง-ส่วน}}

* เศรษฐกิจและการค้า
{{โครง-ส่วน}}

* การท่องเที่ยว
{{โครง-ส่วน}}

== กองทัพ ==
{{บทความหลัก|บุนเดิสแวร์}}
[[ไฟล์:Eurofighter EF2000 ‘30+75’ (49348016247).jpg|250px|thumb|thumbtime=32|เครืองบิน[[ยูโรไฟต์เตอร์ ไทฟูน|ยูโรไฟต์เตอร์ EF-2000]] ของกองทัพอากาศเยอรมัน]]
[[บุนเดิสแวร์]] ({{lang|de|Bundeswehr}}) คือชื่อเรียกกองทัพปัจจุบันของเยอรมนี แบ่งออกเป็นสามเหล่าคือ กองทัพบก (Heer) กองทัพเรือ (Marine) และกองทัพอากาศ (Luftwaffe) กองทัพเยอรมันมีงบประมาณมากเป็นอันดับเก้าของโลก<ref>{{cite web|url=http://www.sipri.org/research/armaments/milex/resultoutput/milex_15/the-15-countries-with-the-highest-military-expenditure-in-2011-table/view |title=The 15 countries with the highest military expenditure in 2011 |accessdate=7 April 2012 |date=September 2011 |publisher=Stockholm International Peace Research Institute |archiveurl=https://web.archive.org/web/20120501075718/http://www.sipri.org/research/armaments/milex/resultoutput/milex_15/the-15-countries-with-the-highest-military-expenditure-in-2011-table/view |archivedate= 1 May 2012}}</ref>ในปี 2015 งบประมาณทหารของเยอรมนีอยู่ที่ 32.9 พันล้านยูโรซึ่งคิดเป็น 1.2% ของ GDP ของประเทศ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของนาโต้ 2%<ref>{{cite web|title=Germany to increase defence spending |work=IHS Jane's 360 |url=http://www.janes.com/article/52745/germany-to-increase-defence-spending |archive-url=https://web.archive.org/web/20150705180905/http://www.janes.com/article/52745/germany-to-increase-defence-spending|archive-date= 5 July 2015 |accessdate=20 January 2016 |df= }}</ref>

ในปี 2015 บุนเดิสแวร์มีกองกำลังทหารถึง 178,000 นายและมีทหารอาสาอีก 9,500 นาย<ref>{{cite web |url=http://www.bundeswehr.de/portal/a/bwde/!ut/p/c4/DcmxDYAwDATAWVgg7unYAugc8kSWI4OMIesTXXm002D8SeWQy7jRStshc-4p94L0hENCnXEGUvXXSuMKG8FwBd26TD9uIZiT/ |title=Die Stärke der Streitkräfte |accessdate=2 January 2016|date=10 December 2015 |publisher=[[บุนเดิสแวร์]]|language=de}}</ref>และในปี2001 เยอรมนียังมีการส่งทหารออกไปปฏิบัติภารกิจนอกประเทศด้วยซึ่งเป็นทหารทั้งผู้หญิงและผู้ชาย<ref name="bwzukunft">{{cite web |url=http://www.bundeswehr.de/portal/a/bwde/!ut/p/c4/04_SB8K8xLLM9MSSzPy8xBz9CP3I5EyrpHK9pPKUVL3ikqLUzJLsosTUtJJUvbzU0vTU4pLEnJLSvHRUuYKcxDygoH5BtqMiAMTJdF8!/ |title=Ausblick: Die Bundeswehr der Zukunft |accessdate=5 June 2011 |publisher=[[บุนเดิสแวร์]]|language=de}}</ref><ref>{{cite web |url=http://www.bundeswehr.de/portal/a/bwde/!ut/p/c4/FcwxEoUgDAXAE0l6O0_x1YZ5QMSMEp2In-urs_3STC_FXzKqHIqdRpqi9KG50BK7qxpL3Qy8VHbZbk07MqtbDDerF_WJzYdGv286DbmAJj26iLgynaUMD6qutPs!/| title= Frauen in der Bundeswehr |accessdate=14 April 2011 |publisher=[[บุนเดิสแวร์]] |language=de}}</ref> โดยทหารผู้หญิงนั้นมีประมาณ 19,000 นายที่ประจำการอยู่ในกองทัพ และในปี 2014 ได้มีการอ้างอิงจากSIPRIว่าประเทศเยอรมนีมีการส่งทหารไปปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศมากเป็นอันดับ4ของโลก<ref>{{cite web|title=Trends in International Arms Transfer, 2014|url=http://books.sipri.org/product_info?c_product_id=495|website=www.sipri.org|publisher=Stockholm International Peace Research Institute|accessdate=18 March 2015|ref=SIPRI Fact Sheet, March 2015}}</ref>

แต่ถ้าหากไม่มีสงครามหรือการก่อการร้าย บุนเดิสแวร์จะได้รับคำสั่งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ปกป้องนายกรัฐมยตรีหรือบุคคลสำคัญ<ref>{{cite web |url=http://www.gesetze-im-internet.de/bundesrecht/gg/gesamt.pdf |title=Grundgesetz für die Bundesrepublik Deutschland, Artikel 65a,87,115b |publisher=Bundesministerium der Justiz |accessdate=19 March 2011 |language=de}}</ref>

[[ไฟล์:Fregatte Mecklenburg-Vorpommern F218.jpg|250px|thumb|เรือฟริเกตชั้นบรันเดินบวร์ค]]
บทบาทของบุนเดิสแวร์ได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเยอรมนีว่ามีเพื่อปกป้องและป้องกันประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ตาม [[ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์]]ได้วินิจฉัยบทบัญญัติดังกล่าวไว้ในปี 1994 ว่าการปกป้องในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแค่การปกป้องอาณาเขตและดินแดนของประเทศเยอรมนีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงปฏิกิริยาหรือวิกฤติความขัดแย้งจากต่างประเทศหรือที่อื่น ๆ บนโลกที่อาจกว้างขึ้นจนอาจมีผลต่อความมั่นคงของประเทศเยอรมนีได้
ในเดือนมกราคมปี 2015 กองทัพเยอรมันมีกองกำลังประจำการอยู่ในต่างประเทศประมาณ 2,370 นาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังรักษาความสงบระหว่างประเทศรวมถึงกองกำลังของบุนเดิสแวร์เช่น ในกองทัพนาโต้ที่ปฏิบัติภารกิจใน[[ประเทศอิรัก]], [[ประเทศอัฟกานิสถาน]]และ[[ประเทศอุซเบกิสถาน]]จำนวน 850 นาย และทหารเยอรมันใน[[ประเทศคอซอวอ]] 670 นาย และกองกำลังร่วมด้วย UNIFIL ใน[[ประเทศเลบานอน]] 120 นาย<ref>{{cite web |url=http://www.bundeswehr.de/portal/a/bwde/einsaetze/einsatzzahlen?yw_contentURL=/C1256EF4002AED30/W264VFT2439INFODE/content.jsp |title=Einsatzzahlen&nbsp;– Die Stärke der deutschen Einsatzkontingente |accessdate=11 January 2015 |publisher=[[บุนเดิสแวร์]]|language=de}}</ref>

จนในปี2011 การรับราชการทหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ชายที่มีอายุ 18 ปีและมีหน้าที่รับราชการทหารเป็นเวลา 6 เดือน ส่วนผู้ที่ไม่อยากเป็นทหารสามารถเลือกเป็น Zivildienst (การบริการประชาชน) เป็นเวลา 6เดือนได้ หรืออาจเป็นทหารอาสา 6 ปี หรือการบริการฉุกเฉินเช่นแผนกดับเพลิงหรือกาชาด<ref>{{cite news |title= Germany to abolish compulsory military service |author= Connolly, Kate |url= https://www.theguardian.com/world/2010/nov/22/germany-abolish-compulsory-military-service |newspaper =The Guardian |date= 22 November 2010 |accessdate =7 April 2011}}</ref><ref>{{cite news |title = Marching orders for conscription in Germany, but what will take its place? |author =Pidd, Helen |url= https://www.theguardian.com/world/2011/mar/16/conscription-germany-army |newspaper =The Guardian |date =16 March 2011 |accessdate =7 April 2011}}</ref>

== เศรษฐกิจ ==
{{บทความหลัก|เศรษฐกิจเยอรมนี}}
[[ไฟล์:S-Klasse W221.jpg|thumb|รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ของประเทศเยอรมนี]]
ประเทศเยอรมนีมี[[ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ]] (GDP) เป็นอันดับสี่ของโลกถัดจากสหรัฐ จีน และญี่ปุ่น เยอรมนียังเป็นประเทศที่มีการส่งออกเป็นอันดับสามของโลก รองจาก[[สหรัฐ]] และ[[ประเทศจีน]] ปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญคืออัตราการจ้างงาน

บริษัทในเยอรมันที่มีธุรกิจไปทั่วโลก อย่างเช่น [[เมอร์เซเดส-เบนซ์]] [[บีเอ็มดับเบิ้ลยู]] [[ปอร์เช่]] [[โฟล์กสวาเกน]] [[เอาดี้]] [[มายบัค]] [[ซีเมนส์]] [[อลิอันซ์]] เป็นต้น
มีตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ 8 แห่งโดยมี [[ตลาดหลักทรัพย์แฟรงค์เฟิร์ต]] เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุด และเป็นหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ตั้งแต่ประวัติของอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมนีได้รับการควบคุมให้ผู้ริเริ่มและผู้รับผลประโยชน์ของเศรษฐกิจทั่วโลกมากกว่าที่เคย เยอรมนีเป็นผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของโลกในปี ค.ศ. 2002 ถึง ค.ศ. 2008 และได้ทำการค้าตลาดร่วมกับจีนในปี 2009 และปัจจุบันผู้ส่งออกใหญ่เป็นอันดับสองและสร้างดุลการค้าใหญ่ ภาคบริการในรอบ 70% ของ GDP รวมอุตสาหกรรม 29.1%, 0.9% และภาคการเกษตร ผลิตภัณฑ์ของประเทศเยอรมนีส่วนใหญ่อยู่ในด้านวิศวกรรมโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์

=== การท่องเที่ยว ===
{{บทความหลัก|การท่องเที่ยวในประเทศเยอรมนี}}

== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== การคมนาคม และ โทรคมนาคม ===
==== เส้นทางคมนาคม ====
ถนน 650,000 กิโลเมตร ราง 41,315 กิโลเมตร ลำน้ำและชายฝั่ง 7,500 กิโลเมตร ท่าอากาศยาน 58 ท่า ทางรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร ระยะทาง 41,315 กิโลเมตร ติดระบบรถไฟฟ้า 19,857 กิโลเมตร ผู้โดยสาร 19,500 ล้านเที่ยว สินค้า 415.4 ล้านตันต่อปี รถจักร 7,734 คัน รถ DMU (ดีเซลราง) และ EMU (รถไฟฟ้าราง) 15,762 คัน
==== โทรคมนาคม ====
[[ไฟล์:ICE3 in Cologne.jpg|thumb|right|[[รถไฟความเร็วสูง]][[อินเตอร์ซิตี-เอกซ์เพรส]] ในสถานนี]]
[[ไฟล์:Airbus A380-841, Lufthansa AN2054509.jpg|thumb|left|เครืองบิน[[แอร์บัส เอ380]]ทีใหญ่ที่สุดในสายการบิน[[ลุฟต์ฮันซา]]]]
เยอรมนีเป็นศูนย์กลางการคมนาคมการขนส่งในทวีปยุโรปเนื่องจากตั้งอยู่ตรงกลางของทวีป<ref>{{cite web | title=Assessment of strategic plans and policy measures on Investment and Maintenance in Transport Infrastructure |url=http://www.internationaltransportforum.org/statistics/investment/Country-responses/Germany.pdf |archive-url=https://web.archive.org/web/20140714221417/http://www.internationaltransportforum.org/statistics/investment/Country-responses/Germany.pdf|archive-date=14 July 2014 |format=PDF | publisher=[[International Transport Forum]] | year=2012 | accessdate=15 March 2014}}</ref>เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในยุโรปตะวันตกเส้นทางและเครือข่ายถนนของเยอรมนีนั้นเรียกได้ว่าเป็นประเทศในกลุ่มที่มีเส้นทางคมนาคมที่หนาแน่นที่สุดในโลก<ref>{{cite web|url=http://data.worldbank.org/indicator/IS.ROD.DNST.K2?order=wbapi_data_value_2011%20wbapi_data_value%20wbapi_data_value-last&sort=desc |title=Road density (km of road per 100 sq. km of land area) |date=2014 |publisher=World Bank |accessdate=7 July 2014 |archiveurl=https://web.archive.org/web/20150101011332/http://data.worldbank.org/indicator/IS.ROD.DNST.K2?order=wbapi_data_value_2011%20wbapi_data_value%20wbapi_data_value-last&sort=desc |archivedate= 1 January 2015 |df= }}</ref>มีมอเตอร์เวย์[[ออโตบาห์น]]ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลกและเป็นที่ทราบกันดีว่าถนนเส้นนี้ไม่มีการจำกัดความเร็ว<ref>{{cite press release |url= http://www.presse.adac.de/standpunkte/Verkehr/Autobahn_Temporegelung.asp?active1=tcm:11-18784-4 |title = Autobahn-Temporegelung |publisher =[[ADAC]] |date =June 2010 |accessdate =19 March 2011 |language=de}}</ref>

เยอรมนีได้มีการจัดตั้งเครือข่าย[[รถไฟความเร็วสูง]]ที่ชื่อ[[อินเตอร์ซิตี-เอกซ์เพรส]]ซึ่งจะวิ่งผ่านเมืองสำคัญ ๆ ในเยอรมันและในประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ด้วยความเร็วประมาณ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง <ref>{{cite web |url=http://www.db.de/site/bahn/de/unternehmen/investor__relations/finanzberichte/geschaeftsbericht/geschaeftsbericht__2006.html |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070809140315/http://www.db.de/site/bahn/de/unternehmen/investor__relations/finanzberichte/geschaeftsbericht/geschaeftsbericht__2006.html |archivedate=9 August 2007 |title=Geschäftsbericht 2006 |publisher=[[ด็อยท์เชอบาน]] |accessdate=27 March 2011 |language=de}}</ref>ทางรถไฟของเยอรมันได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลซึ่งมีเงินสนับสนุนมากถึง 17 พันล้านยูโรในปี 2014.<ref>{{cite web|title= German Railway Financing |url=https://www.deutschebahn.com/file/de/2192370/2RLvPOzueXgX19CucGFn4Wofp5E/2267530/data/finanz_eisenbahn_dtl.pdf |archive-url=https://web.archive.org/web/20160310165357/https://www.deutschebahn.com/file/de/2192370/2RLvPOzueXgX19CucGFn4Wofp5E/2267530/data/finanz_eisenbahn_dtl.pdf|archive-date=2016-03-10 |page=2}}</ref>

ท่าอากาศยานของประเทศเยอรมนีที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ [[ท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงก์เฟิร์ต]]และ[[ท่าอากาศยานนานาชาติมิวนิก]]และมีสายการบินที่ใหญ่ที่สุดคือ[[ลุฟต์ฮันซา]]และยังมีสนามบินอื่น ๆ อีกด้วยเช่น[[ท่าอากาศยานเบอร์ลินเชอเนอเฟ็ลท์]]และ[[ท่าอากาศยานฮัมบวร์ค]]<ref>{{cite web|url=http://www.aircraft-charter-world.com/airports/europe/germany.htm|title=Airports in Germany|publisher=Air Broker Center International|accessdate=16 April 2011}}</ref>และยังมี[[ท่าเรือฮัมบวร์ค]]ที่เป็นท่าเรือที่คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีและใหญ่เป็นอันดับ17ของโลก<ref>{{cite web|url=http://www.hafen-hamburg.de/en/statistics/toptwenty|title=Top World Container Ports |publisher=Port of Hamburg|accessdate=6 May 2015}}</ref>

=== วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ===
[[ไฟล์:Einstein1921 by F Schmutzer 4.jpg|right|thumb|upright|อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในปี ค.ศ. 1921.]]
เยอรมนีมีนักวิจัยที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 103 รางวัล เช่น ผลงานของ[[อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์]] และ[[มักซ์ พลังค์]] ถือเป็นรากฐานสำคัญของฟิสิกส์ยุคใหม่ และได้ถูกพัฒนาต่อมาโดยผลงานของ[[แวร์เนอร์ ไฮเซินแบร์ค]], [[แฮร์มัน ฟ็อน เฮ็ล์มฮ็อลทซ์]], [[โยเซฟ ฟอน เฟราน์โฮเฟอร์]], [[การีเอิล ดานีเอิล ฟาเรินไฮท์]] และ[[วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน]] ผู้ค้นพบรังสีเอกซ์ ความสำเร็จนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1901

นักวิศวกรรมการบินอวกาศชื่อ [[แวร์นแฮร์ ฟ็อน เบราน์ ]] ผู้พัฒนาจรวดในยุคแรกและต่อมาเป็นสมาชิกสำคัญของนาซาและพัฒนาจรวด Saturn V Moon ซึ่งปูทางสำหรับความสำเร็จของ[[โครงการอะพอลโล]]
งานของ [[ไฮน์ริช แฮทซ์]] ในด้านรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นความรู้ที่สำคัญในการพัฒนาโทรคมนาคมสมัยใหม่ ผ่านการก่อสร้างห้องปฏิบัติการแรกที่มหาวิทยาลัยซิกใน 1879 ของเขา, Wilhelm Wundt เป็นเครดิตกับสถานประกอบการของจิตวิทยาเป็นอิสระเชิงประจักษ์ วิทยาศาสตร์ [[อเล็คซันเดอร์ ฟ็อน ฮุมบ็อลท์]] ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและ explorer เป็นพื้นฐานเพื่อชีวภูมิศาสตร์

การนำเข้าและส่งออกของเยอรมนีในปี 2553 จัดว่าอยู่ในทิศทางที่ดี มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเข้า มีมูลค่ารวมมากกว่า 800,000 ล้านยูโร ส่วนการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 18% คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 950,000 ล้านยูโร โดยในจำนวนนี้ 95% ส่งออกไปยังตลาดยุโรป และกว่า 11% ส่งออกไปยังตลาดเอเชีย โดยเฉพาะจีน ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 5.5%ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ ในช่วงปี 2552-2553 อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมนีปรับตัวดีขึ้นมาก เนื่องจากการสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจากจีน โดยในปี 2553 เยอรมนีส่งออกรถเพิ่มขึ้น 24% และการผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น 12%

=== การศึกษา ===
{{บทความหลัก|การศึกษาในประเทศเยอรมนี}}
{{โครง-ส่วน}}
ในปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนนักศึกษาทั้งหมด ประมาณ 12.6 ล้านคน ที่ประเทศมีครูอาจารย์ทั้งหมด ประมาณ 780,000 คน ตามที่โรงเรียนสถานศึกษากว่า 52,000 แห่งในเยอรมัน การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 6 18 ปี รวมการศึกษาภาคบังคับทั้งหมด 12 ปี ซึ่งนักเรียนจำเป็นต้องเรียนหลักสูตรภาคบังคับแบบเต็มเวลานี้อย่างน้อย 9 ปี (ในบางรัฐ 10 ปี) หลังจากนั้นนักเรียนสามารถเลือกเรียนหลักสูตรสายอาชีพหรือฝึกงาน ซึ่งเป็นการเรียนแบบไม่เต็มเวลาได้ โรงเรียนเอกชนในเยอรมันมีไม่กี่แห่งที่ดำเนินการโดยนักสอนศาสนา โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนรัฐบาล เรียนฟรีไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน หนังสือและตำราเรียนมักมีให้นักเรียนยืมไม่ต้องซื้อ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ของส่วนตัวก็จะให้ผู้ปกครองบริจาคเงินตามกำลังทรัพย์ที่มี เมื่อนักเรียนอายุ 6 ปี จะเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นเวลา 4 ปี หลังจากจบประถมศึกษาแล้วจึงศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภทด้วยกัน Secondary General School (Houptschule) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ให้การศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป วิชาที่สอน ได้แก่ ภาษาเยอรมัน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ สังคมวิทยา ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และวิชาแนะนำวิชาชีพ เวลาเรียน 6 ปี หลังจบนักเรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อเป็นประตูสู่การศึกษาสายวิชาชีพ Intermediate School (Realschule) เป็นโรงเรียนที่อยู่ระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ให้การศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป (Secondary General School) กับโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เน้นวิชาการ (Grammar School) หลักสูตรส่วนใหญ่จะเน้น วิชาพื้นฐานทั่วไป หลังจบหลักสูตร 6 ปี แล้วจะได้ประกาศนียบัตรเพื่อศึกษาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น เช่น โรงเรียนอาชีวะ ที่ต้องเรียนเต็มเวลา ประมาณ 40% ของผู้จบโรงเรียนมัธยมจะได้ประกาศนียบัตรแบบนี้ Grammar School (Gymnasium) เป็นการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 9 ปี เป็นการเรียนการสอนที่เน้นวิชาการ และเมื่อเรียนในระดับ เกรด 11 13 วิธีการเรียนจะแบ่งเป็นการเลือกกลุ่มวิชา (Course) ที่ถนัด เพื่อเน้นบางสาขาวิชาโดยเฉพาะ เพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนมหาวิทยาลัยหลังจากจบเกรด 13 แล้ว Comprehensive School (Gesamtshule) เป็นการผสมผสานการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมทั้ง 3 ประเภท เข้าด้วยกันภายใต้การบริหารหนึ่งเดียว นักเรียนเริ่มเรียนตั้งแต่เกรด 5 ถึง เกรด 10 และจะเริ่มเรียนวิชาเฉพาะทาง ในระดับเกรด 7 บางกลุ่มวิชาจะมีการแบ่งการเรียนออกเป็นกว่า 11 ระดับ แล้วแต่ความยากง่าย

=== สาธารณสุข ===

=== รัฐสวัสดิการ ===
{{บทความหลัก|สวัสดิการสังคมในประเทศเยอรมนี}}
การประกันสังคมในประเทศเยอรมนี การประกันสังคมเป็นแก่นสำคัญของระบบสังคมสงเคราะห์ ค.ศ 1883 มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยความเจ็บป่วยได้ ค.ศ 1884 มีกฎหมายประกันอุบัติเหตุ ค.ศ 1889 มีกฎหมายประกันทุพพลภาพและประกันผู้ชรา ทุกวันนี้ลูกจ้างจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ในกรณีการจ่ายเงินประกันบำนาญ ได้มาจากการบำรุงของนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐช่วยออกสะสมส่วนหนึ่ง อัตราเงินบำนาญขึ้นอยู่กับเงินรายได้หรือขึ้นอยู่กับเบี้ยประกันที่ชำระไป ข้ารัฐการรวมทั้งผู้พิพากษาและทหารมืออาชีพรับเงินบำนาญ ตามที่กฎหมายข้ารัฐการของหน่วยงานตนกำหนด ในกรณีที่มีการเจ็บป่วย ลูกจ้างทุกคนมีสิทธิได้รับค่าแรงงานเต็มอัตราเป็นเวลา 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นบริษัทประกันเจ็บป่วยจะจ่ายเงินค่าป่วยไข้ให้อีกทั้ง 72 สัปดาห์ บริษัทประกันเจ็บป่วยนี้ต้องรับภาระค่ารักษาโรคทั่วไป ค่ารักษาโรคฟัน ค่ายาและค่าโรงพยาบาล ในกรณีที่มีอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานนั้น และเกิดโรคภัยจากการทำงานอาชีพ ลูกจ้างจะได้รับเงินประกันอุบัติเหตุ นายจ้างจะเป็นผู้จ่ายเงินเบี้ยประกันอุบัติเหตุตามลำพังฝ่ายเดียว บำนาญที่จ่ายเนื่องจากอุบัติเหตุจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก็จะได้รับการจ่ายให้เป็นรายปี ซึ่งจะผกผันไปตามกฎหมายการพัฒนาค่าแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 1971 การประกันอุบัติเหตุตามกฎหมายได้ขยายรวมถึงนิสิต นักศึกษา นักเรียน และเด็ก ๆ ในโรงเรียนอนุบาล สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันเป็นประเทศแรกที่ประสบความสำเร็จในการจัดหลักประกันด้านสังคมและสุขภาพให้แก่ประชาชนด้วยระบบประกันสังคมหรือประกันภาคบังคับ[2] ปรัชญาและหลักการพื้นฐานสำคัญของระบบการเมืองเยอรมันคือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในสังคม (Solidarity) การกระจายอำนาจและบทบาทหน้าที่ระหว่างหน่วยงานรัฐ (ส่วนกลาง ภูมิภาค) และเอกชน (Subsidiarity) เป็นพื้นฐานการพัฒนาองค์กรทางสังคมจากล่างขึ้นบน กระจายอำนาจในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้กับหน่วยงานท้องถิ่นหรือภาคเอกชนในการดำเนินการ และแนวคิดหลักที่สามคือ การมีองค์กรร่วม (Corporatist organization) ที่จะมีตัวแทนทั้งสองประเภทคือทั้งจากตัวแทนวิชาชีพ และตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง ในระบบสุขภาพเองก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว ระบบบริการสุขภาพของเยอรมันนั้น ภาครัฐมีบทบาทหลักในการสร้างกรอบกฎหมายในการควบคุมกำกับ ในขณะที่การดำเนินงานนั้นกระจายให้องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรเป็นผู้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็นกองทุนการเจ็บป่วย และการจัดบริการ ทั้งนี้จะมีการกำกับกันและปฏิสัมพันธ์กันผ่านทางองค์กรที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่ม เช่น สมาคมกองทุนการเจ็บป่วย (Association of Sickness funds) สมาคมแพทย์ (Association of Panel Doctors) ฯลฯ การปฏิรูปในเยอรมันนั้นมุ่งเน้นการให้ประโยชน์กับประชาชนและสังคมโดยรวมเป็นที่ตั้ง การกำหนดให้มีกฎหมายประกันสุขภาพทำให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับหลักประกันด้านสุขภาพแบบทั่วหน้า ในขณะที่การกำหนดความสัมพันธ์ขององค์กรต่าง ๆ ในสังคมก็เพื่อเป็นการคานอำนาจและการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ทำให้ระบบโปร่งใสขึ้น การปฏิรูปช่วงหลังที่มุ่งเน้นการควบคุมรายจ่ายนั้นก็เป็นความพยายามในการควบคุมพฤติกรรมของผู้ให้บริการและโรงพยาบาลเป็นหลัก เพื่อควบคุมไม่ให้รายจ่ายด้านสุขภาพนั้นเพิ่มมากว่ารายได้ของประชาชน กล่าวโดยสรุปความสำเร็จของการปฏิรูประบบสุขภาพของเยอรมันนั้นเกิดจาก ปรัชญาและหลักการพื้นฐานของสังคม เป็นหลัก ในขณะที่บริบทด้านการเมือง ภาวะเศรษฐกิจ อิทธิพลของกลุ่มต่าง ๆ และภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพนั้นเป็นแรงผลักดันสำคัญของการปฏิรูป

==ประชากร ==
{{บทความหลัก|ชาวเยอรมัน}}
ประชากรในเยอรมนีกระจายตัวอยู่ แตกต่างกันมากในแต่ละภูมิภาคนั่นคือประมาณหนึ่งในสามของประชากรได้แก่ประมาณ 25 ล้านคน ใช้ชีวิตอยู่ใน 82 เมืองใหญ่ ส่วนอีก 50.5 ล้านคนอยู่ในชุมชนและเมืองที่มีประชากรระหว่าง 2,000 ถึง 100,000 คน นอกจากนั้นอีกประมาณ 6.4 ล้านคน อาศัยอยู่ในย่านที่มีประชากรไม่เกิน 2,000 คน บริเวณผู้อพยพเข้าในเบอร์ลิน ซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่การรวมประเทศเยอรมนี มีประชากรมากกว่า 4.3 ล้านคน ในเขตอุตสาหกรรมริมแม่น้ำไรน์ และรัวร์ ที่ซึ่งเมืองต่าง ๆ มักเหลื่อมล้ำเข้าหากัน เพราะไม่มีเส้นขีดคั่นอย่างชัดเจนนั้นมีประชากรมากว่า 11 ล้านคน กล่าวคือ 1,100 คนต่อตารางกิโลเมตร

ภูมิภาคอันมีประชากรหนาแน่นดังกล่าวนี้แตกต่างจากอาณาบริเวณที่มีประชากรเบาบางมาก อาทิเช่น บริเวณอันกว้างใหญ่ของรัฐมาร์ค บรันเดนบวร์ก และเมคเคลนบวร์ก-ฟอร์พอมเฟิร์น

กล่าวโดยสรุปแล้ว นับได้ว่าเยอรมนีซึ่งมีประชากรหนาแน่นถึง 230 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นมากแห่งหนึ่งในยุโรป แต่ก็มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างบริเวณสหพันธ์ดั้งเดิม กับบริเวณอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน กล่าวคือในรัฐใหม่ของสหพันธ์ฯ และเบอร์ลินตะวันออกมีประชากรหนาแน่นถึง 140 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่รัฐของสหพันธ์ฯ เดิม มีประชากรหนาแน่นถึง 267 คนต่อตารางกิโลเมตร
{{เมืองใหญ่สุดในเยอรมนี}}

=== เชื้อชาติ ===
* เยอรมัน 91.5%
* ตุรกี 2.4%
* อื่น ๆ 6.1% (ประกอบไปด้วยชาวกรีก อิตาลี โปแลนด์ รัสเซีย เซิร์บและโคเอเชีย เป็นกลุ่มใหญ่)
{{โครง-ส่วน}}

=== ภาษา ===
{{โครง-ส่วน}}

=== ศาสนา ===
คริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ 34% คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 34% มุสลิม 3.7% ศาสนาอื่น ๆ แยกกระจัดกระจายออกไปและอื่น ๆ 28.3%

{{โครง-ส่วน}}

=== กีฬา ===
{{บทความหลัก|ประเทศเยอรมนีในโอลิมปิก|ประเทศเยอรมนีในพาราลิมปิก|ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี}}
{{โครง-ส่วน}}
[[ไฟล์:Germany champions 2014 FIFA World Cup.jpg|thumb|left|[[ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี]]ชนะเลิศใน[[ฟุตบอลโลก 2014]]ที่[[ประเทศบราซิล]]]]
ฟุตบอลเป็นกีฬาที่คนเยอรมันนิยมมากที่สุด{{อ้างอิง}} โดยได้แชมป์โลกถึง 4 สมัย

== วัฒนธรรม ==
{{บทความหลัก|วัฒนธรรมเยอรมัน}}
=== วรรณกรรม ===
{{โครง-ส่วน}}

=== สถาปัตยกรรม ===
{{โครง-ส่วน}}

=== ดนตรี ===
ประเทศเยอรมันมี นักดนตรี คีตกวีทางดนตรี นักประพันธ์ดนตรี ที่มีชื่อเสียงระดับสากลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น[[ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน]], [[โยฮัน เซบัสทีอัน บัค]], [[โยฮันเนิส บรามส์]], [[ริชชาร์ท วากเนอร์]], [[จอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล]], [[โรแบร์ท ชูมัน]], [[เฟลิคส์ เม็นเดิลส์โซน]], [[คาร์ล ออร์ฟ]] เป็นต้น

ปัจจุบันเยอรมนีเป็นตลาดดนตรีที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของยุโรป และอันดับ 4 ของโลก<ref>{{cite web|url=http://www.riaj.or.jp/riaj/pdf/issue/industry/RIAJ2013E.pdf|title=Statistic Trends 2013|language=en}}</ref> ดนตรีเยอรมันเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง ศตวรรษที่ 20-21 อาทิเช่น วง[[สกอร์เปียนส์]] กับ วง[[รัมสไตน์]] วงเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดีมากที่สุดในระดับโลก, [[โทคิโอโฮเทล]] เป็นวง[[ป็อปร็อก]]ที่มีชื่อเสียงวงหนึ่งในเยอรมัน เป็นต้น

=== อาหารเยอรมัน ===
อาหารเยอรมันแตกต่างจากพื้นที่สู่พื้นที่ เช่น ในภาคใต้ของบาวาเรียและ Swabia ร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการปรุงอาหารตามแบบสวิสเซอร์แลนด์และออสเตรีย หมูและไก่เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่นิยมบริโภค ในเยอรมนีหมูเป็นที่นิยมมากที่สุด ตลอดทุกภาคเนื้อมักจะรับประทานในรูปแบบไส้กรอก มากกว่า 1500 ชนิดของไส้กรอกที่ผลิตในประเทศเยอรมนี อาหารอินทรีย์ได้รับส่วนแบ่งตลาดประมาณ 3.0% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก [[ไฟล์:Black Forest gateau.jpg|thumb| ''Schwarzwälder Kirschtorte'' เค้กแบล็คฟอเรสต์เป็นอาหารว่างที่ขึ้นชื่อของเยอรมัน]]
[[ไฟล์:Krombacher BHG.jpg|thumb|170px|[[เบียร์]]เครื่องดื่มขึ้นชื่อของเยอรมัน]]
พูดภาษาเยอรมันเป็นที่นิยมมีความหมาย :"รับประทานอาหารเช้าเช่นจักรพรรดิ กลางวันเช่นกษัตริย์ และอาหารเย็นเหมือนขอทาน" อาหารเช้ามักประกอบด้วยขนมปังก้อนเล็ก (Brötchen) ทาแยมหรือน้ำผึ้ง หรือทานกับเนื้อเย็นและชีส บางครั้งมีไข่ต้ม ธัญพืชหรือ Muesli กับนมหรือโยเกิร์ต กว่า 300 ชนิดของขนมปังมีจำหน่ายในร้านเบเกอรี่ทั่วประเทศ ผู้อพยพจากหลายประเทศมาสู่เยอรมนีได้นำอาหารนานาชาติมากมายมาเผยแพร่จนทำให้เกิดนิสัยการกินรายวัน เช่นอาหารอิตาเลียนพิซซ่าและพาสต้า อาหารตุรกีและอาหรับชอบ Döner และ Falafel โดยเฉพาะในเมืองใหญ่นอกจากร้านอาหารพื้นเมืองแล้ว ยังมีร้านอาหารนานาชาติแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารจีน กรีก อินเดีย ไทย ญี่ปุ่นและอาหารเอเชียอื่น ๆ ได้รับความนิยมในทศวรรษที่ผ่านมา

แม้ว่าไวน์จะเป็นที่นิยมในหลายประเทศ แต่ประเทศเยอรมนีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำชาติคือเบียร์ แม้คนเยอรมันจะบริโภคเบียร์ต่อคนจะลดลง แต่ปริมาณการบริโภคเบียร์ 127 ลิตรต่อปีต่อคนในเยอรมนีก็ยังคงเป็นตัวเลขสูงที่สุดในโลก ชนิดของเบียร์ในเยอรมันได้แก่ Alt, Bock, Dunkel, Kölsch, เลเกอร์, Malzbier, Pils และ Weizenbier จากการสำรวจ 18 ประเทศตะวันตกที่บริโภคเครื่องคิดเป็นต่อหัวมากที่สุด เยอรมนีอยู่ในอันดับ 14 สำหรับเครื่องดื่มทั่วไป ในขณะที่มาเป็นอันดับสามในการบริโภคน้ำผลไม้ นอกจากนั้น น้ำแร่อัดลมและ Schorle (ผสมกับน้ำผลไม้) ก็เป็นที่นิยมเช่นกันในเยอรมนี

=== เทศกาลสำคัญ ===
{{โครง-ส่วน}}

=== วันหยุด ===
{{บทความหลัก|รายชื่อวันสำคัญของเยอรมนี}}
{{โครง-ส่วน}}

== เชิงอรรถ ==
<references group="lower-alpha" />

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}

{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://www.mfa.go.th/web/848.php?id=60 ประเทศเยอรมนี] จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
* [https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/gm.html ประเทศเยอรมนี จากเว็บซีไอเอ] {{en icon}}
* [http://www.bangkok.diplo.de/th/Startseite.html สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย]
{{จบอ้างอิง}}

== ดูเพิ่ม ==
* [[ภาษาเยอรมัน]]
* [[อาหารเยอรมัน]]
* [[ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี]]

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{Sister project links|Germany|voy=Germany}}

<!--Wikipedia is not a link list nor a Web directory. If your link points to a site that does not cover many subjects about Germany, put it in a more specific article.-->
* [http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-17299607 Germany profile] from the [[BBC News]]
* [http://www.deutschland.de/en www.deutschland.de] – รวมสื่อเกี่ยวกับประเทศเยอรมนีในหลากหลายภาษา
* {{Wikiatlas|Germany}}
* [http://www.dw-world.de/ Deutsche Welle] – Germany's international broadcaster
* {{CIA World Factbook link|gm|Germany}}
* [http://ucblibraries.colorado.edu/govpubs/for/germany.htm Germany] at ''UCB Libraries GovPubs''
* {{dmoz|Regional/Europe/Germany}}
* [http://www.tatsachen-ueber-deutschland.de/en/ Facts about Germany] – by the German Federal Foreign Office
* [https://www.destatis.de/EN/Homepage.html Destatis.de] – Federal Statistical Office Germany
* {{osmrelation-inline|51477}}
* [http://www.ifs.du.edu/ifs/frm_CountryProfile.aspx?Country=DE Key Development Forecasts for Germany] from [[International Futures]]

; รัฐบาล
* [http://www.bundesregierung.de/Webs/Breg/EN/Homepage/_node.html Official site of the Government]
* [http://www.bundespraesident.de/EN/Home/home_node.html Official site of the Federal Presidents]
* [http://www.bundeskanzlerin.de/Webs/BK/En/Homepage/home.html Official site of German Chancellor]

;การท่องเที่ยว
* [http://www.germany.travel/en/index.html Official Germany Tourism Website]


{{ประเทศเยอรมนี}}
{{ยุโรป}}
{{ยุโรป}}
{{อียู}}
{{อียู}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:22, 21 เมษายน 2564

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

Bundesrepublik Deutschland (เยอรมัน)
คำขวัญ
"Einigkeit und Recht und Freiheit"
"เอกภาพ เที่ยงธรรม เสรีภาพ"
ที่ตั้งของ ประเทศเยอรมนี  (เขียวเข้ม) – ในทวีปยุโรป  (เขียวอ่อน & เทามืด) – ในสหภาพยุโรป  (เขียวอ่อน)
ที่ตั้งของ ประเทศเยอรมนี  (เขียวเข้ม)

– ในทวีปยุโรป  (เขียวอ่อน & เทามืด)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียวอ่อน)

เมืองหลวงเบอร์ลิน[a]
52°31′N 13°23′E / 52.517°N 13.383°E / 52.517; 13.383
เมืองใหญ่สุดเบอร์ลิน
ภาษาทางการเยอรมัน
กลุ่มชาติพันธุ์
(2016[1])
  • 80.8% ชาวเยอรมัน
  • 11.7% ชาวยุโรป
  • 4.9% ตะวันออกกลาง
  • 1.3% เอเชียส่วนอื่น ๆ
  • 0.6% แอฟริกา
  • 0.5% อเมริกา
  • 0.1% อื่น ๆ
ศาสนา
  • 59.3% คริสต์
  • 34.4% อศาสนา
  • 5.5% อิสลาม
  • 0.8% ศาสนาอื่น ๆ [2]
เดมะนิมเยอรมัน
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์
อังเกลา แมร์เคิล
ว็อล์ฟกัง ช็อยเบลอ
ดีทมาร์ ว็อยท์เคอ
อันเดรอัส ฟ็อสคูเลอ
สภานิติบัญญัติ
บุนเดิสราท (Bundesrat)
บุนเดิสทาค (Bundestag)
พื้นที่
• รวม
357,168 ตารางกิโลเมตร (137,903 ตารางไมล์) (62nd)
ประชากร
• 2017 ประมาณ
เพิ่มขึ้น 82,800,000[3] (16)
232 ต่อตารางกิโลเมตร (600.9 ต่อตารางไมล์) (58)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2017 (ประมาณ)
• รวม
4.150 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] (5)
$50,206[4] (18th)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2017 (ประมาณ)
• รวม
3.652 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] (4th)
$44,184[4] (17th)
จีนี (2016)positive decrease 29.5[5]
ต่ำ
เอชดีไอ (2015)เพิ่มขึ้น 0.926[6]
สูงมาก · 4
สกุลเงินยูโร (€) (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+49
รหัส ISO 3166DE
โดเมนบนสุด.de and .eu

เจอเธอ ที่เยอรมัน


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน

  1. https://www.destatis.de/DE/Publikationen/Thematisch/Bevoelkerung/MigrationIntegration/Migrationshintergrund2010220167004.pdf?__blob=publicationFile
  2. Numbers and Facts about Church Life in Germany 2016 Report เก็บถาวร 30 ตุลาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Evangelical Church of Germany. Retrieved 6 December 2016.
  3. "Bevölkerung in Deutschland zum Jahresende 2016 auf 82,5 Millionen Personen gewachsen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "World Economic Outlook Database, April 2017, Germany". International Monetary Fund. April 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2018. สืบค้นเมื่อ 1 October 2017.
  5. "Gini coefficient of equivalised disposable income (source: SILC)". Eurostat Data Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 25 November 2017.
  6. "2016 Human Development Report" (PDF). United Nations Development Programme. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 March 2017. สืบค้นเมื่อ 23 March 2017.