ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เก็บกวาด}}
{{เก็บกวาด}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{Infobox football club|clubname=บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด|image=[[ไฟล์:Buriram united.png|200px]]|fullname=สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด|nickname=''ปราสาทสายฟ้า''<br>''(The Thunder Castles)''|founded=[[พ.ศ. 2513]] <br /> <small> </small>|ground=[[ช้างอารีนา]] <br /> [[จังหวัดบุรีรัมย์]] [[ประเทศไทย]]|capacity=32,600|owner=บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด|chairman=[[เนวิน ชิดชอบ]]|mgrtitle=หัวหน้าผู้ฝึกสอน|manager=[[โบซีดาร์ บันโดวิช]]|league=[[ไทยลีก]]|season=[[ไทยลีก ฤดูกาล 2561|2561]]|position=ไทยลีก, อันดับที่ 1 (แชมป์)|website=http://www.buriramunited.com|pattern_la1=_thinwhiteborder|pattern_b1=_red_thin_stripes|pattern_ra1=_thinwhiteborder|pattern_sh1=|pattern_so1=_whiteline|leftarm1=0A1D60|body1=0A1D60|rightarm1=0A1D60|shorts1=0A1D60|socks1=0A1D60|pattern_la2=|pattern_b2=|pattern_ra2=|pattern_sh2=|leftarm2=FFFFFF|body2=FFFFFF|rightarm2=FFFFFF|shorts2=99CCFF|socks2=FFFFFF|pattern_la3=|pattern_b3=|pattern_ra3=|pattern_sh3=|pattern_so3=|leftarm3=8A0829|body3=8A0829|rightarm3=8A0829|shorts3=000000|socks3=000000|current=สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2562}}
{{Infobox football club
| clubname = บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
| image = [[ไฟล์:Buriram united.png|200px]]
| fullname = สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
| nickname = ''ปราสาทสายฟ้า''<br>''(The Thunder Castles)''
| founded = [[พ.ศ. 2513]] <br /> <small> </small>
| ground = [[ช้างอารีนา]] <br /> [[จังหวัดบุรีรัมย์]] [[ประเทศไทย]]
| capacity = 32,600
| owner = บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด
| chairman = [[เนวิน ชิดชอบ]]
| mgrtitle = หัวหน้าผู้ฝึกสอน
| manager = [[โบซีดาร์ บันโดวิช]]
| league = [[ไทยลีก]]
| season = [[ไทยลีก ฤดูกาล 2561|2561]]
| position = ไทยลีก, อันดับที่ 1 (แชมป์)
| website = http://www.buriramunited.com
| pattern_la1=_thinwhiteborder
| pattern_b1= _red_thin_stripes
| pattern_ra1=_thinwhiteborder
| pattern_sh1=
| pattern_so1=_whiteline
| leftarm1=0A1D60
| body1=0A1D60
| rightarm1=0A1D60
| shorts1=0A1D60
| socks1=0A1D60
| pattern_la2 =
| pattern_b2 =
| pattern_ra2 =
| pattern_sh2 =
| leftarm2 = FFFFFF
| body2 = FFFFFF
| rightarm2 = FFFFFF
| shorts2 = 99CCFF
| socks2 = FFFFFF
| pattern_la3 =
| pattern_b3 =
| pattern_ra3 =
| pattern_sh3 =
| pattern_so3 =
| leftarm3 = 8A0829
| body3 = 8A0829
| rightarm3 = 8A0829
| shorts3 = 000000
| socks3 = 000000
| current = สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2561
}}
{| class="infobox" style="font-size: 88%; width: 22em; text-align: center"
{| class="infobox" style="font-size: 88%; width: 22em; text-align: center"
! colspan=3 style="font-size: 125%; background-color: #000080; color: #FFFFFF" | ทีมของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
! colspan=3 style="font-size: 125%; background-color: #000080; color: #FFFFFF" | ทีมของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:03, 17 มกราคม 2562

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ฉายาปราสาทสายฟ้า
(The Thunder Castles)
ก่อตั้งพ.ศ. 2513
สนามช้างอารีนา
จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
ความจุ32,600
เจ้าของบริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด
ประธานเนวิน ชิดชอบ
หัวหน้าผู้ฝึกสอนโบซีดาร์ บันโดวิช
ลีกไทยลีก
2561ไทยลีก, อันดับที่ 1 (แชมป์)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน
ทีมของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ฟุตบอล (ชาย) ฟุตบอลบี (ชาย) อีสปอร์ต

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Buriram United F.C.) เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ก่อตั้งสโมสรในปี พ.ศ. 2513 โดยปัจจุบันลงเล่นในไทยลีก.

ประวัติสโมสร

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เดิมชื่อ สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ เป็นสโมสรที่เปลี่ยนแปลงมาจากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 โดยดร.วีระ ปิตรชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีร่วมกันในหมู่คณะ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สโมสรเข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. โดยลงเล่น 3 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นในถ้วย ค. และลงเล่นอยู่ 2 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นถ้วย ข. และอีก 2 ฤดูกาลสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1ได้สำเร็จ เสร็จท่าน้ำ

หลังจากลงเล่นในดิวิชั่น 1อยู่นานสโมสรก็ได้เลื่อนขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อได้รองแชมป์ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2547 และได้เล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2548 โดยฤดูกาลแรกในลีกสูงสุดสโมสรสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ และศุภกิจ จินะใจ กองหน้าของทีมก็คว้าตำแหน่งดาวซัลโวร่วมกับศรายุทธ ชัยคำดี กองหน้าของทีมการท่าเรือไทย ที่จำนวน 10 ประตู และยังได้เล่นเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก เป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2549 ร่วมกับสโมสรฟุตบอลยาสูบ อีกด้วย แต่ทั้ง 2 สโมสรกลับส่งรายชื่อผู้เล่นให้เอเอฟซีไม่ทันตามที่กำหนด จึงทำให้ทั้ง 2 สโมสรถูกตัดสิทธิและพลาดโอกาสลงเล่นในรายการระดับทวีปในท้ายที่สุด

ฤดูกาล 2551 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของประพล พงษ์พาณิชย์และได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก ในฤดูกาล 2552

ฤดูกาล 2552 สโมสรตกรอบคัดเลือกเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ทำให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มได้ และมีผลงานในลีกไม่ดีนัก สโมสรจึงได้เปลี่ยนผู้จัดการทีมในเดือนพฤษภาคม ปี 2552 จากประพล พงษ์พาณิชย์ เป็นทองสุข สัมปหังสิต อดีตผู้จัดการทีมชาติไทย ชุดแชมป์ซีเกมส์ ที่นครราชสีมา

การซื้อกิจการสโมสร

การซื้อกิจการสโมสรเกิดขึ้นในช่วงฤดูกาล 2552 จากความต้องการของนายเนวิน ชิดชอบ นักการเมืองของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ต้องการซื้อหุ้นทีมฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก ให้ย้ายไปเล่นในนามจังหวัดบุรีรัมย์เป็นการชั่วคราว ในขณะเดียวกันก็สร้างทีมใหม่อีกหนึ่งทีม ไต่อันดับขึ้นมาจากดิวิชันต่ำสุด[1] ในเบื้องต้นได้เจรจากับสโมสรฟุตบอลตำรวจ แต่ได้รับการปฏิเสธ [2] นายเนวินได้มีการเจรจาในเบื้องต้นกับสโมสรฟุตบอลทีโอทีและสโมสรฟุตบอลทหารบก[3] แต่ตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดจึงได้มีการซื้อขายหุ้นของสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งมีผลงานสิ้นสุดฤดูกาลในอันดับที่ 9 ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์[2] หลังจากนั้นทางสโมสรได้เปลี่ยนแปลงชื่อทีมเป็นบุรีรัมย์-พีอีเอ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมดและทีมผู้ฝึกสอนบางส่วน

ฤดูกาล 2553 - 2554

บุรีรัมย์ยูไนเต็ดเป็นแชมป์เอฟเอคัพในปี พ.ศ. 2554

การเข้ามาของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ ส่งผลให้มีการปรับปรุงและพัฒนาทีมอย่างมาก มีการนำระบบบริหารจัดการสโมสรฟุตบอลอาชีพเข้ามาใช้กับบริษัท เช่น การทำสัญญาจ้างนักฟุตบอล การเจรจา และทำสัญญาซื้อขายนักฟุตบอลด้วยสัญญามาตรฐาน การสร้างสนามฟุตบอลแห่งใหม่ตามมาตรฐานของบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เพื่อใช้เป็นสนามเหย้า การจัดทำระบบบัญชี การเงิน กฎหมาย การตลาด การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ เต็มรูปแบบ เพื่อสร้างความนิยมให้แก่ทีมบุรีรัมย์ พีอีเอ และ ความน่าเชื่อถือแก่บริษัท

ผลจากการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการธุรกิจ และพัฒนาทีมอย่างจริงจัง ภายใต้นโยบายของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรคนใหม่ ส่งผลให้บุรีรัมย์ พีอีเอ เป็นทีมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในไทยพรีเมียร์ลีกอย่างรวดเร็ว มีผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือแฟนคลับ มากถึง 65,000 คน [4] มีผู้เข้าชมเกมการแข่งขัน นัดละไม่น้อยกว่า 10,000 คน เมื่อเป็นเจ้าบ้าน และเมื่อเป็นทีมเยือน จะมีแฟนบอลติดตามไปชมไม่น้อยกว่า 1,500 คน อีกทั้งยังเป็นทีมที่สร้างสถิติผู้เข้าชมสูงสุดของไทยพรีเมียร์ลีก คือ 25,000 คน และ สร้างสถิติจำหน่ายของที่ระลึกได้สูงสุด 1,400,000 บาท ภายในวันเดียว คือนัดที่เตะกับเมืองทองยูไนเต็ด เมื่อวันที่ กันยายน 2553 [4]

ในฤดูกาล 2554 ทีมบุรีรัมย์-พีอีเอได้เป็นแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกหลังจากเอาชนะ ทีมสโมสรฟุตบอลทหารบก ที่สนามกีฬากองทัพบก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2554 ได้คะแนน 75 คะแนน ทิ้งห่างอันดับสอง ทั้งที่ยังมีการแข่งขันเหลืออีก 4 นัด [5] โดยมีพิธีมอบถ้วยรางวัลหลังการแข่งขันนัดสุดท้ายของฤดูกาล [6]

และยังได้ทริปเปิลแชมป์ หรือ 3 แชมป์ ในฤดูกาลเดียวกัน เมื่อเอาชนะทีมการท่าเรือไทย เอฟซี ไปได้ 2-0 ที่สนามศุภชลาศัย ได้แชมป์โตโยต้า ลีกคัพ หลังจากการได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก และไทยคม เอฟเอคัพ ไปแล้ว[7] โดยถือว่าเป็นทีมฟุตบอลทีมแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยที่ทำได้[8]

และยังได้แชมป์ที่ 4 ด้วยการเอาชนะ ทีมเวกัลตะ เซนได จากเจลีก ด้วยลูกจุดโทษ ในรายการโตโยต้า พรีเมียร์คัพ ไปได้ 5-3 หลังในเวลาเสมอกัน 1-1[9]

ฤดูกาล 2555 - 2557

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แคมป์

ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ฝ่ายเจ้าของสิทธิ์ของสโมสรเดิม คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเดิมอยู่ในการกำกับดูแลของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล จาก พรรคภูมิใจไทย ได้เปลี่ยนมาอยู่ในการกำกับดูแลของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ จาก พรรคเพื่อไทย ได้มีนโยบายที่จะย้ายสโมสรออกจากจังหวัดบุรีรัมย์ ผลการเจรจาได้ข้อสรุปว่าฝ่ายนายเนวินจะขายหุ้น 70% [1] ที่ตนถืออยู่ออกไป จะแยกทีมการไฟฟ้าออกจากจังหวัดบุรีรัมย์และย้ายไปอยู่จังหวัดอื่น ส่วนนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมบุรีรัมย์-พีอีเอเดิม จะไปรวมกับสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ เอฟซี ที่ได้แชมป์ ดิวิชั่น 1 และเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2555 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อทีมเป็น "สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" [10]

นายเนวินกล่าวว่า ในฤดูกาล 2555 สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (บุรีรัมย์ เอฟซีเดิม) จะลงเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก และเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ด้วยโควตาชนะเลิศฤดูกาล 2554 ของบุรีรัมย์-พีอีเอ [11]

เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 นายเนวินได้เปิดแถลงข่าวว่า ได้ซื้อหุ้นอีก 30% ของสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาบริหารจัดการเองทั้งหมด รวมทั้งสิทธิทั้งหมดในนามการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากนั้นจะเปลี่ยนชื่อทีมเป็น "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" ตามแผนเดิม ส่วนสิทธิการเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกของบุรีรัมย์ เอฟซีนั้น จะโอนให้กับ สงขลา เอฟซี ของนายนิพนธ์ บุญญามณี ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น จะไม่มีการส่งทีมเข้าแข่งขันรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยอีกต่อไป [12]

ในฤดูกาล 2555 บุรีรัมย์จบอันดับ 4 ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2555 และคว้าแชมป์ ไทยคม เอฟเอคัพ 2555 ด้วยการชนะอาร์มี่ ยูไนเต็ด ไป 2–1 ซึ่งได้สิทธิไปเล่น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 รอบคัดเลือก[13] และคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2555 ด้วยการชนะ ราชบุรี มิตรผล เอฟซี ไป 4–1[14] ซึ่งเป็นดับเบิ้ลแชมป์บอลถ้วยและบุรีรัมย์ยูไนเต็ดสามารถป้องกันแชมป์ทั้งสองรายการได้อีกหนึ่งสมัยอีกด้วย

ในฤดูกาล 2556 บุรีรัมย์จบอันดับ 1ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2556 และคว้าแชมป์ ไทยคม เอฟเอคัพ 2556ด้วยการชนะ สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ไป 3–1 ซึ่งได้สิทธิไปเล่น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014 รอบแบ่งกลุ่ม[15] และคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2556สมัยที่3 ด้วยการชนะ ราชบุรี มิตรผล เอฟซี ไป 2–1[16] ซึ่งเป็นดับเบิ้ลแชมป์บอลถ้วยและบุรีรัมย์ยูไนเต็ดสามารถป้องกันแชมป์ทั้งสองรายการได้อีกหนึ่งสมัยอีกด้วย เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 ผ่านเข้ารอบ 8 ทีม

ในฤดูกาล 2557 บุรีรัมย์คว้าแชมป์ ถ้วยพระราชทาน ก. และ แชมป์ โตโยต้า พรีเมียร์ คัพ 2557 จบอันดับ 1ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2557

ฤดูกาล 2558: ปีแห่งความสำเร็จ

สนามศุภชลาศัยเป็นสนามแข่งขันที่บุรีรัมย์คว้าแชมป์ถึง 4 รายการ (ถ้วย ก., ลีกคัพ, แม่โขง และเอฟเอคัพ) ในปี 2558

ถือเป็นปีทองของทัพ ปราสาทสายฟ้า เมื่อสามารถคว้าแชมป์มาประดับตู้โชว์ได้ถึง 5 รายการ แม้ว่าจะตกรอบแบ่งกลุ่มของศึกเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกก็ตาม ซึ่งก่อนที่ฤดูกาลนี้จะเริ่มต้น ปราสาทสายฟ้า เสริมทัพนักเตะเข้าสู่ทีมหลายราย ไม่ว่าจะเป็น นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม, กรวิทย์ นามวิเศษ, นฤพล อารมณ์สวะ, โก ซุล-กิ, กิลแบร์โต มาเชนา, ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ซึ่งถือว่าเป็นขุมกำลังของทีมในฤดูกาล 2558

เปิดฉากความยิ่งใหญ่ด้วยแชมป์แรก ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ด้วยการเอาชนะ กระต่ายแก้ว บางกอกกล๊าส เอฟซี ไป 1-0 จากประตูชัยของ ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ในนาทีที่ 56[18]

เดินหน้าต่อกับแชมป์ที่ 2 โตโยต้า ลีกคัพ สมัย 4 สามารถเอาชนะ กูปรีอันตราย ศรีสะเกษ เอฟซี ที่เพิ่งเข้าชิงรายการนี้เป็นครั้งแรก ไป 1-0 จากประตูชัยของ โก ซุล-กิ ในนาทีที่ 18[19]

สานต่อความสำเร็จในปีนี้ ด้วยแชมป์ที่ 3 ไทยพรีเมียร์ลีก และเป็นแชมป์ไร้พ่ายอีกด้วย โดยไม่แพ้ใครตลอด 34 นัด ชนะ 25 นัด และเสมอไป 9 นัด ทำประตูได้ถึง 98 ลูก มากที่สุดในลีก และเสียไปเพียง 24 ประตู ซึ่งน้อยที่สุดในลีก แถมจบซีซั่นด้วยการมีแต้มมากกว่า กิเลนผยอง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ทีมรองแชมป์ถึง 13 คะแนนเลยทีเดียว ซึ่งการคว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกในครั้งนี้ เป็นการคว้าแชมป์สมัยที่ 3 ติดต่อกันของ ปราสาทสายฟ้า นอกจากนี้ ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ยังคว้าตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุดในไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาลนี้ไปครอง หลังโชว์ฟอร์มสุดโหดเหี้ยม ซัดไป 33 ประตูอีกด้วย ส่วนคู่หู่ในแนวรุกของเขาอย่าง กิลแบร์โต มาเชนา ก็ยิงไป 21 ประตู ได้อันดับ 3 ขณะที่ ธีราทร บุญมาทัน แบ็กซ้ายทีมชาติไทย ก็ทำแอสซิสต์ ไป 19 ครั้ง ซึ่งสูงสุดในลีกปีนี้

ตามมาติด ๆ กับแชมป์ที่ 4 แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ ปราสาทสายฟ้า ในฐานะแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ พบกับ สิงห์ร้ายแห่งนครวัด เบิงเกต อังกอร์ ทีมชั้นนำแห่งศึกฟุตบอลลีกกัมพูชา ในศึกฟุตบอลแห่งศักดิ์ศรีเพื่อชิงความเป็นเจ้าสโมสรแห่งภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเอาชนะไปได้ 1-0 จากลูกจุดโทษของ อันเดรส ตูเญซ ในนาทีที่ 67 ช่วยให้ ปราสาทสายฟ้า คว้าแชมป์รายการนี้ไปครอง[20]

และปิดท้ายปี พ.ศ. 2558 อย่างสมบูรณ์แบบ กับแชมป์ที่ 5 ช้าง เอฟเอคัพ โดยการเอาชนะ กิเลนผยอง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด คู่ปรับเก่าสมัยไทยพรีเมียร์ลีกไป 3-1 จากลูกจุดโทษของ อันเดรส ตูเญซ ในนาทีที่ 45, โก ซุล-กิ ในนาทีที่ 51 และ จักรพันธ์ แก้วพรม ในนาทีที่ 70 คว้าแชมป์รายการนี้ไปครองเป็นสมัยที่ 4[21] และเป็นถ้วยแชมป์ที่ 5 ในปีนี้ รวมทั้งกลายเป็นสโมสรแรกจากทวีปเอเชีย ที่คว้าถ้วยรางวัล 5 ใบได้สำเร็จในฤดูกาลเดียวอีกด้วย[22]

ฤดูกาล 2559: ตกอับ

หลังฤดูกาลที่แล้วสามารถคว้าแชมป์ได้ถึง 5 รายการ ปราสาทสายฟ้า ก็ได้มีการเสริมทัพนักเตะเข้าสู่ทีมเพิ่มอีกหลายรายเพื่อป้องกันทั้ง 5 แชมป์ในฤดูกาล 2559 และคว้าแชมป์ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น อดุล หละโสะ, อังเดร ฟรานซิสโก้ โมริตซ์, ดานิโล ซิลิโน่ เดอ โอลิเวียร่า, สถาพร แดงสี, อนันต์ บัวแสง, เอมิเลียโน่ อัลฟาโร่[23] และได้จัดการแข่งขันรายการ ช้าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เอเชียนทัวร์ 2016 ขึ้นในวันที่ 22 - 31 มกราคม โดยรายได้มอบให้กับการกุศล โดยนัดแรกไปเยือน กัมพูชา ออลสตาร์ ในวันที่ 22 มกราคม จบ 90 นาทีเสมอกันที่ 2-2 โดยฝั่ง ปราสาทสายฟ้า ได้ประตูจาก สุเชาว์ นุชนุ่ม กัปตันทีมในนาทีที่ 45 และ ดิโอโก หลุยส์ ซานโต ซึ่งลงมาเป็นตัวสำรองในภายหลังในนาทีที่ 83 ส่งผลให้ต้องดวลจุดโทษกันและเป็น กัมพูชา ออลสตาร์ ที่ชนะไป 4-3 รวมผลสกอร์ 6-5[24] แต่หลังจากนันก็มาพลิกล็อกใน 2 นัดสุดท้าย ซึ่งชนะทั้งหมด โดยเปิดบ้านชนะ โปฮัง สตีลเลอส์ ยอดทีมจาก เคลีก ในประเทศเกาหลีใต้ ไป 2-1 จาก อังเดร ฟรานซิสโก้ โมริทซ์ ในนาทีที่ 9 และ ดานิโล ซิลิโน่ เดอ โอลิเวียร่า ในนาทีที่ 33[25] และบุกไปชนะ ออลสตาร์ ลาว ไป 3-1 จาก อังเดร ฟรานซิสโก้ โมริทซ์ ในนาทีที่ 2 และ 30 และจุดโทษโดย อันเดรส ตูเญซ ในนาทีที่ 24[26] หลังจากนั้น ดานิโล ซิลิโน่ เดอ โอลิเวียร่า ย้ายทีมแต่ก็ได้กองหน้าคนใหม่ คือ ไคโอะ ฟิลิปเป้ กอนซาเวซ รวมทั้ง คิม ซึง ยอง และ เวสลีย์ เฟย์โตซ่า

หลังจากเตรียมทีมมา 1 เดือน ปราสาทสายฟ้า ก็สามารถคว้าแชมป์ โตโยต้า พรีเมียร์คัพ 2015 เป็นแชมป์แรกได้สำเร็จ โดยเอาชนะ อัลบิเร็กซ์ นีงะตะ จากเจลีกไปได้ 2-1 จากลูกเตะมุมของ ธีราทร บุญมาทัน เปิดให้กับ โก ซุล-กิ โหม่งในนาทีที่ 50 และ 79[27] ต่อมาอีกหนึ่งสัปดาห์ ปราสาทสายฟ้า ก็สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ได้อีกสมัย โดยสามารถเอาชนะคู่ปรับที่ยังไม่เคยชนะ ปราสาทสายฟ้า ได้เลย คือ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ไปได้ถึง 3-1 จาก ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ในนาทีที่ 14, จุดโทษของ อันเดรส ตูเญซ ในนาทีที่ 66 และ จักรพันธ์ แก้วพรม ในนาทีที่ 83[28]

ในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม ปราสาทสายฟ้า ซึ่งถูกจับอยู่ในกลุ่มเอฟร่วมกับ เอฟซี โซล, ซานตง ลู่เนิง และ ซานเฟรซเซ ฮิโรชิมา ปรากฏว่าทำผลงานได้ย่ำแย่มาก ไม่ชนะใครเลย เสมอ 1 และแพ้ 5 ตกรอบแบ่งกลุ่ม โดยเป็นทีมอันดับสุดท้ายของกลุ่ม และเป็นทีมที่สถิติที่แย่ที่สุดของเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในปีนี้อีกด้วย[29] และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 แฟนเพจอย่างเป็นทางการของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด [30] เปิดเผยแถลงข่าวการขาย ธีราทร บุญมาทัน ให้กับทีมร่วมลีกอย่าง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีข้อเสนอซื้อจากหลายทีม [31]

หลังจบฤดูกาล 2559 ที่ไม่ค่อยสวยงาม ในไทยลีก ปราสาทสายฟ้า แข่งทั้งหมด 30 นัด มี 55 คะแนน ชนะ 15 เสมอ 10 แพ้ 5 อยู่อันดับที่ 4 ไม่สามารถไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดูกาล 2553[32] ส่วนในการแข่งขันฟุตบอล ในโตโยต้า ลีกคัพ ปราสาทสายฟ้า คว้าแชมป์ร่วมกับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด โดย ปราสาทสายฟ้า เลือกลงแข่งขันแม่โขงคลับแชมเปียนชิพ ส่วนในช้าง เอฟเอคัพ ปราสาทสายฟ้า ยุติเส้นทางไว้ที่รอบ 16 ทีมสุดท้าย หลังบุกไปแพ้คู่ปรับตลอดกาลอย่าง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด 3-1[33] และเมื่อเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด แพ้ชลบุรี เอฟซี 3-0 จึงทำให้ไม่สามารถไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดูกาล 2553[34]

ฤดูกาล 2560: ปีแห่งการทวงคืน

สนามไอ-โมบาย

ในเดือนมกราคม 2560 เนวิน ชิดชอบได้ทำการเปิดตัวสโมสรด้วยสโลแกน "สไตรค์แบ็ค" หรือทวงคืนทุกแชมป์[35] ทางสโมสรได้ปล่อยตัวผู้เล่นออกไปหลายราย ไม่ว่าจะเป็น อนาวิน จูจีน (ย้ายไปสุพรรณบุรี[36]), เชาว์วัฒน์ วีระชาติ (ย้ายไปบางกอกกล๊าส[37]), สุรีย์-สุรัตน์ สุขะ (ย้ายไปอุบล ยูเอ็มที[38]), อันเดรส ตูเญซ (ปล่อยยืมตัวให้กับสโมสรในสเปน), ไคโอะ ฟีลีปี และบรูนู โมเรย์รา ซึ่งเป็นกำลังหลักที่สำคัญเมื่อฤดูกาลที่แล้ว และทางสโมสรได้ทำการยืมตัวฌาฌาจากสโมสรโลเคอเรนในเบลเยียม[39] และซื้อตัวผู้เล่นใหม่อย่างโซลวี ออตเตเซน, พรรษา เหมวิบูลย์ และศุภชัย ใจเด็ด เข้าสู่ทีม

เปิดฤดูกาลด้วยการแข่งขันแม่โขงคลับแชมเปียนชิพซึ่งเลื่อนมาจากปีที่แล้ว บุรีรัมย์ซึ่งเป็นทีมเยือนในเลกแรกบุกไปแพ้ล้านช้าง ยูไนเต็ดที่ประเทศลาว ด้วยผล 1–0[40] แต่ในเลกที่สองที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ บุรีรัมย์กลับมาเอาชนะไป 2–0 ผลประตูรวม 2–1 ป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ[41]

การแข่งขันรายการหลัก "ไทยลีก" ในนัดแรก บุรีรัมย์เริ่มต้นได้ไม่ดีนักเมื่อต้องเปิดบ้านไล่ตามตีเสมอชลบุรี 2–2 หลังจากที่โดนนำ 0–2 ในครึ่งแรก[42] แต่ในนัดถัด ๆ มา ทีมสามารถเก็บชัยชนะได้ 4 นัดรวด ก่อนที่จะสะดุดในเกมลีกนัดที่ 5 ที่ออกไปเยือนการท่าเรือ ผลจบลงด้วยการเสมอ 0–0 ต่อมาเกมลีกนัดที่ 6 บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะคู่ปรับสำคัญอย่างเอสซีจี เมืองทองได้สำเร็จด้วยผล 2–0 โดยได้ประตูจากฌาฌาและสุเชาว์ นุชนุ่ม[43] หลังจากนั้นทีมก็สามารถเก็บแต้มได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในเกมลีกนัดที่ 12 และ 13 ซึ่งบุรีรัมย์ออกไปแพ้บางกอกกล๊าส 2–1 (แพ้ในลีกเป็นเกมแรก)[44] และเปิดบ้านแพ้ราชบุรี มิตรผล 3–4[45] ทำให้โอกาสลุ้นแชมป์ยิ่งยากขึ้น เมื่อมีคะแนนตามหลังจ่าฝูงอย่างเมืองทองถึง 7 คะแนน

ทว่าอีกสามนัดถัดมา จ่าฝูงอย่างเอสซีจี เมืองทอง ทำคะแนนหายจากการพ่ายแพ้ต่อสามทีมน้องใหม่อย่างไทยฮอนด้า, สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ และอุบล ยูเอ็มที[46] ส่งผลให้บุรีรัมย์ที่เก็บแต้มอย่างต่อเนื่อง ทำคะแนนเทียบเท่าเมืองทองหลังจบเลกแรก เป็นรองเพียงแค่ผลต่างประตูได้เสีย

กลางเดือนมิถุนายน 2560 รันกอ ปอปอวิช ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอน[47] โดยมีโบซีดาร์ บันโดวิช เข้ารับตำแหน่งแทน[48] ต่อมาในเกมลีกนัดที่ 18 ของฤดูกาล หรือนัดแรกของเลกที่สอง บุรีรัมย์ซึ่งเปิดบ้านเอาชนะราชนาวี 2–0[49] สามารถแซงขึ้นไปเป็นจ่าฝูงได้สำเร็จ เนื่องจากเมืองทองสะดุดในนัดที่ออกไปเสมอสุโขทัย 2–2 ทั้งที่นำก่อน 2–0[50] และในอีก 16 นัดถัดมา บุรีรัมย์สามารถเก็บชัยชนะได้อย่างต่อเนื่อง และคว้าแชมป์ไทยลีกอย่างเป็นทางการในเกมนัดที่ 32 ซึ่งบุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะโปลิศ เทโรไปได้ 4–0[51] และยังสามารถทำสถิติเก็บแต้มในลีกสูงสุดที่ 86 คะแนน หลังจากบุกไปชนะชลบุรี 2–1 ในเกมนัดสุดท้ายของฤดูกาล[52]

ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลถ้วย ในโตโยต้า ลีกคัพ บุรีรัมย์จบเส้นทางที่รอบแปดทีมสุดท้ายหลังเปิดบ้านพ่ายต่อแชมป์เก่าร่วมอย่างเมืองทอง 0–2[53] และในช้าง เอฟเอคัพ บุรีรัมย์ตกรอบแปดทีมสุดท้ายเช่นกันหลังออกไปแพ้เชียงราย ยูไนเต็ด 1–0[54] โดยทั้งเมืองทองและเชียงรายที่ทำให้บุรีรัมย์ตกรอบ สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยได้ในบั้นปลาย

ฤดูกาล 2561

หลังจบฤดูกาล 2560 สโมสรบุรีรัมย์ได้ปล่อยตัวฌาฌาเนื่องจากหมดสัญญายืมตัว[55] และได้ซื้อตัวกองหน้ารายใหม่ทดแทนอย่างเอ็ดการ์[56] และฮอง วู แซมซัน[57] นอกจากนี้ยังยืมตัวประวีณวัช บุญยงค์ จากบางกอกกล๊าส และซื้อขาดศศลักษณ์ ไหประโคน จากทรูแบงค็อก[58] หลังจากที่เคยลงเล่นแบบยืมตัวเมื่อเลกสองของฤดูกาลที่แล้ว

เปิดฤดูกาล 2561 ด้วยการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ เป็นการพบกันระหว่างแชมป์ไทยลีก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และแชมป์เอฟเอคัพ สิงห์เชียงราย ยูไนเต็ด ผลการแข่งขันในเวลาจบลงด้วยผลเสมอ 2–2 ก่อนที่บุรีรัมย์จะพ่ายจุดโทษ 7–8[59]

บุรีรัมย์ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มของเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก จากการคว้าแชมป์ลีกเมื่อฤดูกาลที่แล้ว โดยบุรีรัมย์อยู่ในกลุ่มจี ร่วมกับกว่างโจวเอเวอร์แกรนด์, เซเรซโซ โอซากะ และเชจูยูไนเต็ด ซึ่งเป็นสโมสรที่มีส่วนชี้ขาดให้บุรีรัมย์ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ จากการทำประตูชัยของกรกช วิริยอุดมศิริ[60] ทำให้บุรีรัมย์เป็นสโมสรแรกจากไทยที่สามารถบุกไปเอาชนะสโมสรเกาหลีใต้ได้อีกด้วย[61] ต่อมารอบ 16 ทีมสุดท้าย บุรีรัมย์ซึ่งเป็นเจ้าบ้านในเลกแรกเอาชนะช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์จากเกาหลีใต้ไปได้ 3–2[62] ก่อนที่จะบุกไปแพ้ในเลกที่สอง 0–2[63] ผลประตูรวมบุรีรัมย์แพ้ 3–4 ตกรอบ 16 ทีมสุดท้าย

ในไทยลีก บุรีรัมย์ลงแข่งขันเกมลีกนัดแรกของฤดูกาล ด้วยการเปิดบ้านเอาชนะราชบุรี มิตรผลไปได้ 2–1[64] และแพ้นัดแรกของฤดูกาลในเกมนัดที่ 11 ซึ่งเป็นนัดที่บุรีรัมย์บุกไปพ่ายต่อสิงห์เชียงราย 1–0 ยุติสถิติไร้พ่ายในลีก 31 นัดติดต่อกัน[65] ต่อมาเกมลีกนัดที่ 19 บุรีรัมย์แพ้ในบ้านนัดแรกต่อชัยนาท ฮอร์นบิล 0–1 และเสียตำแหน่งจ่าฝูงให้กับทรูแบงค็อก[66] อย่างไรก็ดี บุรีรัมย์สามารถทวงคืนตำแหน่งจ่าฝูงได้ในนัดถัดมาที่บุกไปเอาชนะพีที ประจวบ 2–1[67] ส่วนทรูแบงค็อกทำได้เพียงเสมอกับราชบุรีในวันก่อนหน้า[68] บุรีรัมย์คว้าแชมป์ไทยลีกอย่างเป็นทางการในเกมนัดที่ 31 ที่เปิดบ้านเอาชนะโปลิศ เทโรไปได้ 2–0[69] และในนัดสุดท้ายที่บุกไปชนะราชบุรี มิตรผล 1–0 นั้น บุรีรัมย์เก็บแต้มสูงสุดที่ 87 คะแนน ทำลายสถิติเดิมของตนเอง (86 คะแนน) เมื่อฤดูกาลที่แล้ว

สำหรับการแข่งขันฟุตบอลถ้วย ในโตโยต้า ลีกคัพ บุรีรัมย์ยุติเส้นทางที่รอบรองชนะเลิศหลังจากที่พ่ายต่อบางกอกกล๊าส 1–2 ที่สนามบุณยะจินดา[70] ส่วนในช้าง เอฟเอคัพ บุรีรัมย์ได้เข้าชิงชนะเลิศเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ต่อสิงห์เชียงราย 2–3

สนาม

เขากระโดง สเตเดี้ยม (2553–2554)

เขากระโดง สเตเดี้ยม
เขากระโดง สเตเดี้ยม
ไฟล์:เขากระโดง สเตเดี้ยม.jpg
ที่ตั้งอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
เจ้าขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ดำเนินการองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
ความจุ15,000 ที่นั่ง
เปิดใช้สนาม27 มีนาคม พ.ศ. 2553
การใช้งาน
องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์

เขากระโดง สเตเดี้ยม เป็นสนามเหย้าเดิมของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มีความจุทั้งหมด 15,000 ที่นั่ง สนามนี้เคยเป็นสนามขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และถูกปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเพื่อใช้รองรับการใช้งานไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2553 ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์-การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยย้ายไปสนามแห่งใหม่ของตัวเองซึ่งมีความจุ 32,600 คน คือ สนาม นิว ไอ-โมบาย สเตเดี้ยม ปัจจุบันก็ได้โอนสนามนี้ให้เป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์เหมือนเดิมและบริเวณที่ว่างข้างสนามได้สร้างศูนย์ราชการศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์แห่งใหม่

ช้างอารีนา (2554–ปัจจุบัน)

ช้างอารีนา หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม (อังกฤษ: Chang ARENA, Thunder castle Stadium, Buriram Stadium) ตั้งอยู่ที่ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สนามแห่งนี้มีความจุ 35,000 ที่นั่ง โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนของไอ-โมบาย และบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบ และจัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานฟีฟ่า, เอเอฟซี และเอเอฟเอฟ และยังผ่านมาตรฐานระดับเอคลาสสเตเดียมจากเอเอฟซี และยังผ่านมาตรฐานระดับเวิลด์คลาสจากฟีฟ่า และยังได้บันทึกลงกินเนสบุค ว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน[71]

บันทึกคะแนนตามฤดูกาล

ฤดูกาล ลีก[72] เอฟเอคัพ ลีกคัพ โตโยต้าพรีเมียร์คัพ ควีนสคัพ ถ้วย ก/แชมเปียนส์คัพ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก เอเอฟซีคัพ อาเซียนคลับ แม่โขงคลับ ผู้ทำประตูสูงสุด
ดิวิชัน P W D L F A Pts Pos ชื่อ ประตู
2004–05 TPL 18 9 5 4 23 19 32 2  –  –  –  –  –  –  – GR  – ศุภกิจ จินะใจ 10
2006 TPL 22 6 4 12 23 32 22 10  –  –  –  –  – DQ  –  –  – ศุภกิจ จินะใจ 7
2007 TPL 30 13 3 14 35 40 42 8  –  –  –  –  –  –  –  –  – ธนา ชะนะบุตร 7
2008 TPL 30 18 7 5 38 15 61 1  –  –  –  –  –  –  –  –  – รณชัย รังสิโย 16
2009 TPL 30 9 9 12 37 41 36 9 R4  –  – รอบน็อคเอ้าท์ RU QR1 GR  –  – สุริยา ดอมไธสง 9
2010 TPL 30 17 12 1 51 19 63 2 R4 RU  – ไม่ได้เข้าร่วม  –  –  –  –  – สุเชาว์ นุชนุ่ม 11
2011 TPL 34 26 7 1 64 15 85 1 W W  –  –  –  –  –  –  – แฟรงค์ โอฮานด์ซา 19
2012 TPL 34 14 12 8 60 40 54 4 W W W  – RU GR  –  –  – แฟรงค์ โอโปคู 12
2013 TPL 32 23 9 0 73 23 78 1 W W RU  – W QF  –  –  – การ์เมโล กอนซาเลซ 23
2014 TPL 38 23 10 5 69 26 79 1 R4 RU W  – W GR  –  –  – คาเบียร์ ปาตีโญ 21
2015 TPL 34 25 9 0 98 24 84 1 W W W  – W GR  –  – W ดิโอโก 33
2016 TL 30 15 10 5 55 38 55 4 R4 W W  – W GR  –  – W อันเดรส ตูเญซ 9
2017 T1 34 27 5 2 85 22 86 1 QF QF  –  –  –  –  –  –  – ฌาฌา 34
2018 T1 34 28 3 3 76 25 51 1 RU SF  –  – RU R16  –  –  – จีโอกู 34
แชมเปียนส์ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เลื่อนชั้น ตกชั้น กำลังแข่งขัน

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน
3 DF ไทย พรรษา เหมวิบูลย์
5 DF เวเนซุเอลา อันเดรส ตูเญซ
6 MF ไทย ศศลักษณ์ ไหประโคน
7 MF ญี่ปุ่น ฮาจิเมะ โฮโซงาอิ
8 MF ไทย สุเชาว์ นุชนุ่ม (กัปตันทีม)
9 FW ไทย ศุภชัย ใจเด็ด
10 MF ไทย จักรพันธ์ แก้วพรม (รองกัปตันทีมที่ 1)
11 DF ไทย กรกช วิริยอุดมศิริ
13 DF ไทย นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม
14 DF ไทย ชิติพัทธ์ แทนกลาง
17 FW บราซิล ออสวัลโด ฟิลโญ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
18 DF ไทย อภิวัฒน์ งั่วลำหิน
19 MF ไทย สุภโชค สารชาติ
20 FW ฟิลิปปินส์ คาเบียร์ ปาตีโญ
24 MF กัมพูชา เจริง พลรถ
25 FW มาลี โมดิโบ ไมกา
26 MF ไทย รัตนากร ใหม่คามิ
27 DF ไทย นัสตพล มาลาพันธ์
29 GK ไทย ยศพล เทียงดาห์
31 MF ไทย อนุวัติ น้อยชื่นพันธ์
50 DF ไทย กฤษณะ ดาวกระจาย
54 FW ไทย ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา
99 GK ไทย เควิน สังสมานันท์

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
DF ไทย นัสตพล มาลาพันธ์ (ไป ชลบุรี)
DF ไทย พีฬาวัช อรรคธรรม (ไป ประจวบ)
MF ไทย อภิชาติ เด็นหมาน (ไป ประจวบ)
44 DF ไทย อมเรศ อมรเลิศศักดิ์ (ไป กระบี่)
42 DF ไทย จักรพงศ์ สืบสมุทร์ (ไป กระบี่)
77 MF ไทย เมธี สาระคำ (ไป กระบี่)
MF ฟิลิปปินส์ ลุค วูดแลนด์ (ไป สุพรรณบุรี)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
MF ไทย จิตปัญญา ทิสุด (ไป ประจวบ)
7 MF ไทย อานนท์ อมรเลิศศักดิ์ (ไป บางกอกกล๊าส)
MF ไทย บารมี ลิ้มวัฒนะ (ไป ชัยนาท ฮอร์นบิล)
GK ไทย ขวัญชัย สุขล้อม (ไป ประจวบ)
DF ไทย อับดุลฮาฟิส บือราเฮง (ไป พีทีที ระยอง)
33 MF ไทย ศรายุทธ สมพิมพ์ (ไป แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล)
52 MF ไทย ยุทธพิชัย เลิศล้ำ (ไป ประจวบ)

ผู้เล่นชุด U-23

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
36 GK ไทย นพพล ละครพล
46 DF ไทย ก้องภพ ลวดทรง
50 DF ไทย กฤษณะ ดาวกระจาย
51 MF ไทย ปัญญวัฒน์ นิสังรัมย์
52 MF ไทย ยุทธพิชัย เลิศล้ำ
53 DF ไทย ศราวุธ มั่นจิตร
54 FW ไทย ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา
55 FW ไทย พงษ์ชนะ กองกริต
56 DF ไทย พศวีร์ เหมือนมาตย์
58 FW ไทย ภัทร สร้อยมาลัย
60 DF ไทย คีรอน อ้อนชัยภูมิ
61 DF ไทย พนาเวท เกษละคร
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
62 MF ไทย อิรฟาน ดอเลาะ
63 MF ไทย นิธิกร ศิริชู
64 MF ไทย ธีรภักดิ์ เปรื่องนา
65 MF ไทย นราธร พรจิตรกิตติชัย
66 MF ไทย พีระพัฒน์ ขมิ้นทอง
67 MF ไทย ธนดล ขาวสะอาด
70 MF ไทย วชิรวิทย์ สุภเลิศ
71 DF ไทย วีรวัฒน์ จันทา
72 FW ไทย ศักดินนท์ บุญเหลือ
77 MF ไทย เมธี สาระคำ
99 GK ไทย เควิน สังสมานันท์

ผู้ฝึกสอนชุดปัจจุบัน

ตำแหน่ง ชื่อ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน มอนเตเนโกร โบซีดาร์ บันโดวิช
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน เซอร์เบีย วลาดีคา กรูจิช
ผู้ฝึกสอนการรักษาประตู เซอร์เบีย ซอรัน มียานอวิช
ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค มอนเตเนโกร โบซีดาร์ บันโดวิช
หัวหน้าศูนย์พัฒนาเยาวชน บราซิล โชเซ อัลวีส บอร์ชีส
หัวหน้าผู้ฝึกสอนชุด U-23 ไทย

ผู้ฝึกสอน

รายชื่อผู้ฝึกสอน (2550 - ปัจจุบัน)

ชื่อ สัญชาติ ระยะเวลา ความสำเร็จ
โชเซ อัลเวส เบอร์วิส บราซิล 2550-2550
ประพล พงษ์พาณิชย์ ไทย 2551-2552 แชมป์ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2551
ทองสุข สัมปหังสิต ไทย พฤษภาคม 2552-ตุลาคม 2552
ธนเดช ฟูประเสริฐ ไทย พฤศจิกายน 2552-พฤษภาคม 2553
อรรถพล บุษปาคม ไทย 2 พฤษภาคม 2553- 2 พฤษภาคม 2556 รองแชมป์ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2553
รองแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2553
แชมป์ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2554
แชมป์ ไทยคม เอฟเอคัพ 2554
แชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2554
แชมป์ โตโยต้า พรีเมียร์คัพ 2555
รองแชมป์ ถ้วยพระราชทาน ก. 2555
แชมป์ ไทยคม เอฟเอคัพ 2555
แชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2555
แชมป์ ถ้วยพระราชทาน ก. 2556
สกอตต์ คูเปอร์ อังกฤษ 2 พฤษภาคม 2556 - 10 กันยายน 2556
อาเลคันโดร เมเนนเดส การ์ซีอา สเปน 10 กันยายน 2556 - 11 เมษายน 2557 แชมป์ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2556
แชมป์ ไทยคม เอฟเอคัพ 2556
แชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2556
แชมป์ ถ้วยพระราชทาน ก. 2557
แชมป์ โตโยต้า พรีเมียร์ คัพ 2557
โบซีดาร์ บันโดวิช มอนเตเนโกร 11 เมษายน 2557-8 มิถุนายน 2557
อาเลชังดรี กามา บราซิล 8 มิถุนายน 2557-22 พฤษภาคม 2559 แชมป์ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2557
แชมป์ ถ้วยพระราชทาน ก. 2558
แชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2558
แชมป์ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2558
แชมป์ แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ 2558
แชมป์ ช้าง เอฟเอคัพ 2558
แชมป์ โตโยต้า พรีเมียร์ คัพ 2558
แชมป์ ถ้วยพระราชทาน ก. 2559
อัฟชิน ก็อตบี อิหร่าน 24 พฤษภาคม 2559-20 สิงหาคม 2559
รันกอ ปอปอวิช เซอร์เบีย 25 สิงหาคม 2559-13 มิถุนายน 2560 แชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2559 (ครองแชมป์ร่วมกับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด)

แชมป์ แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ 2559

โบซีดาร์ บันโดวิช มอนเตเนโกร 13 มิถุนายน 2560-ปัจจุบัน แชมป์ ไทยลีก 2560
แชมป์ ไทยลีก 2561

ผู้บริหาร

ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร ไทย เนวิน ชิดชอบ
รองประธานสโมสร ไทย กรุณา ชิดชอบ
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด ไทย กนกศักดิ์ ปิ่นแสง
ผู้จัดการทีม ไทย ทัดเทพ พิทักษ์พูลสิน
ผู้อำนวยการสายงานบัญชีและการเงิน ไทย อุสา สุวรรณชาตรี
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ ไทย ประมูลชัย นพสุวรรณวงศ์
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร ไทย ไชยชนก ชิดชอบ
ผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าที่ระลึก ไทย ชิดชนก ชิดชอบ
แพทย์ประจำสโมสร ไทย ผศ.ดร.ประวีร์ สิริเธียรทรรศน์

เกียรติประวัติ

ทีม ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีชนะเลิศ ปีรองชนะเลิศ ปีที่เข้ารอบสูงสุด รอบ
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 0 0 - - 2008, 2009, 2012 , 2013 , 2014 , 2015 รอบ 8 ทีม
เอเอฟซีคัพ 0 0 - - 2004 รอบเพลย์ออฟ
ไทยลีก 7 2 2008, 2011, 2013, 2014, 2015, 2017, 2018 2005, 2010
ไทยเอฟเอคัพ 4 0 2011,2012, 2013, 2015 - 2011, 2012, 2013, 2015 รอบชิงชนะเลิศ
ไทยลีกคัพ 5 2 2011, 2012, 2013, 2015, 2016 2010 ,2014 2010, 2011, 2012, 2013, 2014, 2015, 2016 รอบชิงชนะเลิศ
ถ้วยพระราชทาน ก 4 2 2013, 2014, 2015, 2016 2009, 2012 2009, 2012, 2013, 2014, 2015, 2016 รอบชิงชนะเลิศ
ไทยลีกดิวิชั่น 1 0 1 - 2003 - -
แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ 2 0 2015, 2016 - - -

ผู้สนับสนุน

3

สโมสรพันธมิตร

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ศึก AFC แชมเปียนส์ลีก สิทธิ์นี้ตกเป็นของใคร
  2. 2.0 2.1 เนวินจะได้แต่ทีมการไฟฟ้าฯ แต่ไม่ได้นักเตะไปบุรีรัมย์
  3. เนวินเบนเป้าเล็งดึงทัพบกเล่นบุรีรัมย์ สยามกีฬา, 5 พฤศจิกายน 2552
  4. 4.0 4.1 เนวิน ชิดชอบ จากไทยรัฐ
  5. บุรีรัมย์ พีอีเอ คว้าแชมป์ ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ ลีก2011 Asian Thai NEWS Network, 17 ธันวาคม 2554
  6. 'วิชิต' ยัน 'บุรีรัมย์ พีอีเอ' ได้ถ้วยแชมป์นัดสุดท้าย ไทยรัฐ, 22 ธันวาคม 2554
  7. บุรีรัมย์เฮ 2-0 ซิว 3 แชมป์สมใจ จากผู้จัดการออนไลน์
  8. ′บุรีรัมย์′ อัด ′สิงห์เจ้าท่า′ คว้าถ้วย ′โตโยต้าลีกคัพ′ สร้างสถิติ "ทริปเปิ้ลแชมป์" สุดยิ่งใหญ่ จากมติชน
  9. บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดดวลโทษคว่ำเซนไดซิวถ้วยที่4 จากสนุกดอตคอม
  10. "บุรีรัมย์พีอีเอ" เตรียมแถลงข่าวแยกตัวออกจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ThaiPBS, 11 ธันวาคม 2554
  11. "บิ๊กเน" ยันสิทธิ์เตะ "แชมเปี้ยนส์ลีก" เป็นของบุรีรัมย์
  12. "เนวิน"ทุ่มซื้อสิทธิ์"พีอีเอ"ยุติปัญหาทั้งหมด
  13. เยอร์โควิชเบิ้ล!บุรีรัมย์ป้องแชมป์ดับอาร์มี่2-1
  14. เยอร์โควิชซัดเบิ้ล!บุรีรัมย์รัวราชบุรี4-1ป้องแชมป์ลีกคัพ
  15. เยอร์โควิชเบิ้ล!บุรีรัมย์ป้องแชมป์ดับบางกอกกล็ส3-1
  16. เยอร์โควิชซัดเบิ้ล!บุรีรัมย์รัวราชบุรี2-1ป้องแชมป์ลีกคัพ
  17. "Report from Siamsport.co.th". Buriram United vs Muangthong United. Retrieved 26 December 2015.
  18. ซานโต้ยิงโทน! 'บุรีรัมย์' เฉือน 'บีจี' 1-0 คว้าแชมป์ถ้วย ก จาก ไทยรัฐ
  19. บุรีรัมย์เฉือนกูปรีคว้าแชมป์โตโยต้าลีกคัพ จาก โพสต์ทูเดย์
  20. "บุรีรัมย์" คว้าแชมป์แม่โขงคลับ จาก โพสต์ทูเดย์
  21. ปราสาทแกร่งจริง!ทุบกิเลน 3-1 ซิวแชมป์ช้าง เอฟเอ คัพ จาก สยามกีฬารายวัน
  22. ประวัติศาสตร์ต้องจารึก! “บุรีรัมย์” 5 แชมป์ ทีมแรกเอเชีย จาก สนุก.คอม
  23. ′บุรีรัมย์′ เปิดตัว ′ดานิโล่,สถาพร,อนันต์′ ร่วมทัพ หวังกวาดหมดทุกถ้วยในปี 2016 จาก มติชน
  24. พลิกล็อก! "บุรีรัมย์" พ่ายจุดโทษออลสตาร์เขมร "กิเลน" แพ้เหงียน จาก ผู้จัดการออนไลน์
  25. โมริตซ์-ดานิโลปลดล็อก! บุรีรัมย์อุ่นเชือดโปฮัง 2-1
  26. 'โมริตซ์' เบิ้ล! 'บุรีรัมย์' อัด 'ออลสตาร์ลีกลาว' 3-1 จาก ไทยรัฐ
  27. "โกซุลกิ" เหมา2ปราสาทแซงคว้าแชมป์พรีเมียร์คัพ จาก เดลินิวส์
  28. ปราสาทผ่ากิเลน 3-1 ซิวถ้วย ก 4 สมัยติด
  29. เนวินขอบคุณGU12ยืนหยัดข้างบุรีรัมย์แม้จบACLด้วยสถิติแย่สุด
  30. แถลงการณ์จากสโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
  31. บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แถลงข่าวปล่อยตัว ธีราทร บุญมาทัน ให้กับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
  32. ตารางคะแนนไทยลีก
  33. "เมืองทองฯ 3 - 1 บุรีรัมย์ : กิเลนฝังแค้นลึกลงใจปราสาท 10 คน". FourFourTwo. 3 สิงหาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "ฝันสลาย!"บุรีรัมย์-บีจี"หมดลุ้น"ACL"หลังกิเลนร่วงช้างเอฟเอคัพ". Goal Thailand. 21 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. ""ปฏิบัติการทวงคืน-STRIKE BACK"บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเปิดตัวยิ่งใหญ่สู้ศึกฤดูกาลใหม่". ข่าวสด.คอม. 13 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. ""อนาวิน" เผยเหตุลาปราสาทสายฟ้าซบสุพรรณบุรี". เอ็มไทย.คอม. 15 ก.พ.2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  37. "'บีจี' เปิดตัว 'เชาว์วัฒน์' เสริมทัพล่าความสำเร็จปีหน้า". ไทยรัฐ. 1 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. "'สุรีย์-สุรัตน์' ย้ายซบ 'อุบล ยูเอ็มที' บู๊ไทยลีกฤดูกาลหน้า". ข่าวสด. 21 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. "บุรีรัมย์คว้า "ชาช่า" หอกยักษ์อดีตค่าตัว 150 ล้านบาทล่าแชมป์ 2017". โกล.คอม. 13 ม.ค. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. "ล้านช้าง 1 - 0 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด : ปราสาทเสียท่านัดแรกศึกชิงแม่โขง Read more at https://www.fourfourtwo.com/th/news/laanchaang-1-0-buriiramy-yuuainetd-praasaathesiiythaanadaerksuekchingaemokhng#2ik9fpV3dSIF3Rd6.99". โฟร์โฟร์ทู. 4 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: line feed character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 68 (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)
  41. "บุรีรัมย์อัดล้านช้าง 2-0 พลิกซิวแชมป์แม่โขง 2 สมัยซ้อน". โกล.คอม. 8 ม.ค. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. "บุรีรัมย์ 2 - 2 ชลบุรี : ปราสาทรัว 2 เม็ดคัมแบ็คเจ๊าฉลามสุดมัน". โฟร์โฟร์ทู. 12 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  43. "บุรีรัมย์ 2-0 เมืองทอง : กิเลนแพ้นัดแรกร่วงจ่าฝูง". โฟร์โฟร์ทู. 3 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  44. "บางกอกกล๊าส 2-1 บุรีรัมย์ : คัมโปสคมกริบ ยัดเยียดปราชัยปราสาทนัดแรก". โฟร์โฟร์ทู. 3 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  45. "บุรีรัมย์ 3 - 4 ราชบุรี : ราชันมังกรบุกพ่นไฟใส่ปราสาทนาทีท้าย". โฟร์โฟร์ทู. 7 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  46. "กิเลนพ่าย4นัดติดครั้งแรกในประวัติศาสตร์". โกล.คอม. 20 พ.ค. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  47. รันกอ ปอปอวิช ลาออก
  48. บุรีรัมย์ตั้งโบซีดาร์ บันโดวิช คุมทีม
  49. "บุรีรัมย์ 2-0 ราชนาวี : บันโดวิช แผลงฤทธิ์พา "ปราสาทสายฟ้า" ทะยานจ่าฝูงชั่วคราว". โฟร์โฟร์ทู. 17 มิ.ย. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  50. "สุโขทัย 2-2 เมืองทอง : คาตาโนะยิงเบิ้ลทำกิเลนอดผยอง". โฟร์โฟร์ทู. 18 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  51. "บุรีรัมย์ 4-0 โปลิศ เทโร : ปราสาทสายฟ้าผงาดคว้าแชมป์สมัย 5". โฟร์โฟร์ทู. 8 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  52. "ชลบุรี 1-2 บุรีรัมย์ : ปราสาทขึ้นแท่นแชมป์เก็บแต้มมากสุด". โฟร์โฟร์ทู. 18 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  53. "บุรีรัมย์ 0-2 เมืองทอง : ปราสาทตกรอบ 8 ทีมลีกคัพครั้งแรก". โฟร์โฟร์ทู. 11 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  54. "เชียงราย 1-0 บุรีรัมย์ : ปราสาทร่วงอีกถ้วย". โฟร์โฟร์ทู. 18 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  55. "บุรีรัมย์ปล่อย ชาชา คืนต้นสังกัด". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  56. "'บุรีรัมย์' คว้าเอ็ดการ์ ระเบิดตาข่ายไทยลีก!!". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  57. "บุรีรัมย์เปิดตัว "ฮอง วู แซมสัน" โควตาอาเซียน". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  58. "ปราสาทสายฟ้าซื้อขาด" ศศลักษณ์". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  59. "เชียงราย 2(8)-2(7) บุรีรัมย์ : กฎใหม่ใช้งานคุ้มกว่างฯแม่นโทษดับเซาะกราว". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  60. "เจจู 0 - 1 บุรีรัมย์ : กรกชฮีโร่พาปราสาทเข้ารอบ 16 ทีม ACL ครั้งที่ 2 Read more at https://www.fourfourtwo.com/th/features/ecchcchuu-0-1-buriiramy-krkchhiiorphaapraasaathekhaarb-16-thiim-acl-khrangthii-2-0#4OIcPTjmTU5lG4UW.99". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: line feed character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 70 (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)
  61. ""บุรีรัมย์" ทีมแรกจากไทยปักธงชัยที่เกาหลีใต้ACL". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  62. "บุรีรัมย์ 3-2 ชอนบุค : ปราสาทเปิดซิงทีมไทยชนะชอนบุค". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  63. "ชอนบุค 2 - 0 บุรีรัมย์ : ปราสาทต้านไม่อยู่ตกรอบ 16 ทีม ACL Read more at https://www.fourfourtwo.com/th/features/chnbukh-2-0-buriiramy-praasaathtaanaimyuutkrb-16-thiim-acl#2mL7jCgtfAWkR4mP.99". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: line feed character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 59 (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)
  64. "บุรีรัมย์ 2- 1 ราชบุรี : ปราสาทประเดิมชัยไทยลีก 2018". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  65. "เชียงราย 1 - 0 บุรีรัมย์ : ปราสาทเสียสถิติไร้พ่าย 31 นัด". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  66. "บุรีรัมย์ 0-1 ชัยนาท : ปราสาทฯช็อกร่วงจ่าฝูง". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  67. "http://www.goal.com/th/match/ประจวบ-v-บุรีรัมย์-ยูไนเต็ด/6dau7ovy8ezpkmojrcjott6cq". บุรีรัมย์บุกอัดประจวบ 2-1 คัมแบ็คจ่าฝูง. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)
  68. "แบงค็อก 1-1 ราชบุรี : "แข้งเทพ" สะดุดหยุดสถิติชนะรวด 11 นัด". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  69. "บุรีรัมย์ฯ 2-0 โปลิศ เทโร : 'ปราสาทสายฟ้า' เข้าป้ายแชมป์ลีกหลังคว้าชัยเหนือมังกรโล่เงิน". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  70. "'บุรีรัมย์' พ่าย 'บางกอกกล๊าส เอฟซี' 1-2 ชวดเข้าชิงลีกคัพ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  71. ยลโฉมสนามไอ-โมบาย สเตเดียม อลังการมาตรฐานสุดจะบรรยาย
  72. King, Ian; Schöggl, Hans; Stokkermans, Karel (20 มีนาคม 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |lastauthoramp= ถูกละเว้น แนะนำ (|name-list-style=) (help) Select link to season required from chronological list.

แหล่งข้อมูลอื่น