กองทัพปลดปล่อยประชาชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กองทัพจีน)
กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
中国人民解放军
จงกั๋วเหรินหมินเจี่ยฟ่างจฺวิน
ตราสัญลักษณ์กองทัพปลดปล่อยประชาชน
ธงกองทัพปลดปล่อยประชาชน
ตัวอักษร "八一" หมายถึงวันที่ 1 สิงหาคม
คำขวัญ为人民服务
("รับใช้ประชาชน")
ก่อตั้ง1 สิงหาคม พ.ศ. 2470; 96 ปีก่อน
รูปแบบปัจจุบัน10 ตุลาคม พ.ศ. 2490; 76 ปีก่อน[1][2][3]
เหล่า
กองบัญชาการ อาคาร 1 สิงหาคม ถนนฟู่ซิง เขตไห่เตี้ยน กรุงปักกิ่ง
เว็บไซต์eng.chinamil.com.cn แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
ผู้บังคับบัญชา
หน่วยงานปกครอง คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก หลี่ ช่างฝู
เจ้ากรมงานการเมือง พลเรือเอก เหมียว หฺวา
ประธานคณะเสนาธิการร่วม พลเอก หลิว เจิ้นลี่
เลขาธิการคณะกรรมาธิการสอบวินัย พลเอก จาง เชิงหมิน
กำลังพล
อายุเริ่มบรรจุ17–22 ปี (24 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัย)
การเกณฑ์2 ปี
ยอดประจำการ2,000,000 (2565)[4] (อันดับที่ 1)
ยอดสำรอง5,000,000 (2565)[4]
ยอดกำลังนอกประเทศธงของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ฮ่องกง: 6,000
ธงของมาเก๊า มาเก๊า: 1,000
รายจ่าย
งบประมาณ~14,760 พันล้านหยวน (2565)[5][6] (อันดับที่ 2)
ร้อยละต่อจีดีพี1.7% (2565)[7]
อุตสาหกรรม
แหล่งผลิตในประเทศ
  • บจ.นำเข้าและส่งออกเทคโนโลยีอากาศยานแห่งชาติจีน (CATIC)
  • บจ.เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์จีน (CETC)
  • กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมจีนตอนเหนือ (Norinco)
  • บจ.นำเข้าและส่งออกเครื่องจักรความแม่นยำจีน (CPMIEC)
  • บจ.อุตสาหกรรมการบินจีน (AVIC)
  • บจ.อุตสาหกรรมการต่อเรือแห่งรัฐ (CSSC)
  • บจ.อุตสาหกรรมการต่อเรือจีน (CSIC)
  • บจ.วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมการบินและอวกาศจีน (CASC)
  • บจ.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศจีน (CASIC)
  • กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมจีนตอนใต้ (CSGC)
  • กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์จีน (CETC)
  • บจ.นิวเคลียร์แห่งชาติจีน (CNNC)
แหล่งผลิตนอกประเทศ
มูลค่านำเข้าต่อปีUS$14,858,000,000 (2553–2564)[9]
มูลค่าส่งออกต่อปีUS$18,121,000,000 (2553–2564)[9]
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประวัติประวัติศาสตร์กองทัพปลดปล่อยประชาชน
ความทันสมัยของกองทัพปลดปล่อยประชาชน
ประวัติศาสตร์สงครามและการรบของจีน
รายชื่อสงครามที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
ยศกองทัพบก
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
อักษรจีนตัวย่อ中国人民解放军
อักษรจีนตัวเต็ม中國人民解放軍
ความหมายตามตัวอักษร"กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน"

กองทัพปลดปล่อยประชาชน (อังกฤษ: People's Liberation Army, PLA ; จีนตัวย่อ: 中国人民解放军; จีนตัวเต็ม: 中國人民解放軍; พินอิน: Zhōngguó Rénmín Jiěfàngjūn) เป็นกำลังทหารหลักของสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นกองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีทั้งหมด 5 เหล่า ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองทัพจรวด และกองกำลังสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ บังคับบัญชาภายใต้คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง โดยมีประธานคณะกรรมาธิการเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ต้นกำเนิดของกองทัพปลดปล่อยประชาชนสามารถสืบย้อนไปถึงกองกำลังฝ่ายซ้ายในกองทัพปฏิวัติแห่งชาติของพรรคก๊กมินตั๋ง (NRA) ในยุคสาธารณรัฐ ต่อมาในการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลชาตินิยมในปี พ.ศ. 2470 พวกเขาได้แยกตัวออกมาตั้งเป็นกองทัพแดงจีน (Chinese Red Army) แล้วกลับเข้ามาเข้าร่วมกับกองทัพปฏิวัติอีกครั้งในฐานะกองทัพที่สี่ใหม่ และกองทัพลู่ที่แปดในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2490 กองกําลังคอมมิวนิสต์ทั้งสองหน่วยในกองทัพปฏิวัติได้รับการจัดตั้งใหม่เป็นกองทัพปลดปล่อยประชาชน[10] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ใช้ยุทธศาสตร์การทหารที่แตกต่างกัน 9 แบบ ซึ่งเรียกว่า "แนวทางยุทธศาสตร์" ที่สำคัญที่สุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2499, 2523 และ 2536[11] ในกรณีที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินระดับชาติ ตำรวจติดอาวุธประชาชน (PAP) และกองกำลังทหารอาสาจีน (China Militia) จะทำหน้าที่เป็นกําลังสํารองและสนับสนุนของกองทัพบก ในทางการเมือง กองทัพปลดปล่อยประชาชน และตำรวจติดอาวุธประชาชนมีตัวแทนในสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) ผ่านคณะผู้แทน 285 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน นับตั้งแต่ก่อตั้งสภาประชาชนแห่งชาติเป็นต้นมา คณะผู้แทนของกองทัพปลดปล่อยและตำรวจติดอาวุธรวมกันถือเป็นคณะผู้แทนที่ใหญ่ที่สุดมาโดยตลอด ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 9 ของสภาในปัจจุบัน[12]

กฎหมายของจีนได้ยืนยันถึงความเป็นผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเหนือกองทัพอย่างชัดเจน และกำหนดให้คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางเป็นกองบัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพจีน ในขณะที่กระทรวงกลาโหมถูกจำกัดไว้เฉพาะหน้าที่ทางการทูตเท่านั้น

ตามหลักการของ "พรรคเป็นผู้สั่งปืน" (จีน: 党指挥枪; พินอิน: Dǎng zhǐhuī qiāng) กองทัพปลดปล่อยประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักการควบคุมกองทัพโดยพลเรือนอย่างเด็ดขาดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในแง่นี้กองทัพปลดปล่อยประชาชนไม่ใช่กองทัพแห่งชาติประเภทรัฐชาติแบบดั้งเดิม แต่เป็นกองทัพทางการเมืองหรือสาขาติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเนื่องจากมีความภักดีต่อพรรคเท่านั้น ไม่ใช่รัฐหรือรัฐธรรมนูญใด ๆ ปัจจุบันประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางก็ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเช่นกัน

ปัจจุบันหน่วยทหารส่วนใหญ่ทั่วประเทศได้รับการจัดสรรให้เป็น 5 ยุทธบริเวณ (Theater commands) ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ปัจจุบันกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนเป็นกองกําลังทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่รวมกองกําลังกึ่งทหารหรือกองกําลังสํารอง) และงบประมาณด้านกลาโหมที่มากเป็นอันดับสองของโลก ในปี พ.ศ. 2565 รายจ่ายทางทหารของจีนอยู่ที่ 292 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 13 ของรายจ่ายด้านกลาโหมของโลก นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในกองทัพที่พัฒนาให้ทันสมัยได้เร็วที่สุดในโลก จนได้รับการขนานนามว่าเป็นมหาอำนาจทางทหารที่มีศักยภาพ พร้อมด้วยการป้องกันภูมิภาคและความสามารถในการแสดงอํานาจทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น[13][14]

พันธกิจ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2547 อดีตประธานาธิบดี หู จิ่นเทา ได้ประกาศว่าพันธกิจของกองทัพปลดปล่อยประชาชนคือ:[15]

ประวัติ[แก้]

ยุคแรก[แก้]

พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ก่อตั้งกองทหารของตนในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2470 ระหว่างการลุกฮือที่หนานชาง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองจีน หลังจากการสังหารหมู่ในเซี่ยงไฮ้ในปี พ.ศ. 2470 คอมมิวนิสต์ในกองทัพปฏิวัติแห่งชาติก็ได้ลุกฮือขึ้นภายใต้การนําของ จู เต๋อ เฮ่อ หลง เย่ เจี้ยนอิง โจว เอินไหล และฝ่ายซ้ายอื่น ๆ ในพรรคก๊กมินตั๋ง[16] ต่อมาพวกเขารู้จักกันในชื่อกองทัพแดงของกรรมกรและชาวนาจีน หรือเรียกอย่างง่ายว่ากองทัพแดง[17]

ในระหว่างปี พ.ศ. 2477–2478 กองทัพแดงรอดจากการกวาดล้างหลายครั้งที่นำโดยพรรคก๊กมินตั๋งของเจียง ไคเชก และเข้าร่วมในการเดินทัพทางไกล[18]

ระหว่างสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480–2488 กองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รวมเข้ากับกองทัพปฏิวัติแห่งชาติของสาธารณรัฐจีน โดยจัดตั้งเป็นสองหน่วยหลัก ได้แก่ กองทัพลู่ที่ 8 และกองทัพที่ 4 ใหม่[10] ในช่วงเวลานี้ กองทหารทั้งสองหน่วยใช้ยุทธวิธีการรบแบบกองโจรเป็นหลัก โดยเลี่ยงการสู้รบขนาดใหญ่กับกองทัพญี่ปุ่น ขณะเดียวกันก็รวบรวมกำลังโดยการเกณฑ์จากกองกำลังของก๊กมินตั๋ง และกองกำลังกึ่งทหารที่อยู่เบื้องหลังแนวรบของญี่ปุ่นเข้าสู่กองกำลังของตน[19]

หลังจากญี่ปุ่นยอมจำนนในปี พ.ศ. 2488 พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงใช้โครงสร้างกองทัพของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ จนกระทั่งมีการตัดสินใจรวมกองทัพลู่ที่ 8 และกองทัพที่ 4 ใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 และเปลี่ยนชื่อกองทัพใหม่เป็นกองทัพปลดปล่อยประชาชน[10] การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่แล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2491 ในที่สุดกองทัพปลดปล่อยประชาชนก็ชนะสงครามกลางเมืองจีน และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492[20] จากนั้นก็มีการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ โดยมีการจีดตั้งโครงสร้างผู้นำกองทัพอากาศในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2492 ตามด้วยโครงสร้างผู้นำกองทัพเรือในเดือนเมษายนปีถัดมา[21][22]

ในปี พ.ศ. 2493 โครงสร้างผู้นำกองกำลังปืนใหญ่ กองทหารติดอาวุธ กองกำลังป้องกันทางอากาศ กองกำลังรักษาความปลอดภัยสาธารณะ และทหารกองหนุนก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้น กองกำลังป้องกันสงครามเคมี กองกำลังทางรถไฟ กองกำลังสื่อสาร และกองกำลังยุทธศาสตร์ ตลอดจนกองกำลังอิสระอื่น ๆ เช่น วิศวกรรมและการก่อสร้าง โลจิสติกส์ และบริการทางการแพทย์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในภายหลัง

ในช่วงแรกนี้ กองทัพปลดปล่อยประชาชนประกอบด้วยชาวนาเป็นส่วนใหญ่[23] การปฏิบัติต่อทหารและนายทหารมีความเท่าเทียมกัน อันเป็นผลมาจากการที่กองทัพได้ล้มล้างลำดับชั้นแบบดั้งเดิมที่เข้มงวดซึ่งควบคุมชีวิตของชาวนา[23] ดังที่นักสังคมวิทยา อเลสซานโดร รุสโซ ได้สรุปไว้ว่า "ชาวนาของกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ทําลายบรรทัดฐานทางสังคมของจีนอย่างสมบูรณ์ และล้มล้างลําดับชั้นแบบดั้งเดิมที่เข้มงวดด้วยความเสมอภาคอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน"[23] จนกระทั่งมีการสถาปนาชั้นยศทหารอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2498[24]

ความทันสมัยและความขัดแย้ง[แก้]

กองทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนเข้าสู่กรุงปักกิ่งในปี พ.ศ. 2492 ในช่วงสงครามกลางเมืองจีน
ในปี พ.ศ. 2501 กองทัพจีนได้เดินทางออกจากเกาหลีเหนือด้วยรถถังขนาดกลาง ที-34/85 หรือ ไทป์ 58 เป็นเวลา 5 ปีหลังจากสงครามเกาหลีสิ้นสุดลงด้วยการสงบศึก (หยุดยิง) ในปี พ.ศ. 2496 ป้ายที่อยู่ด้านพื้นหลังของภาพมีคำขวัญ (ในภาษาจีน) ว่า "มิตรภาพและความสามัคคีของชาวเกาหลีเหนือและชาวจีนจะมั่นคงและแข็งแกร่งตลอดไป!"
จอมพล หลิน เปียว ตรวจพลสวนสนามในพิธีสวนสนามครบรอบ 10 ปีสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปี พ.ศ. 2502

ในคริสต์ทศวรรษ 1950 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้เริ่มเปลี่ยนจากกองทัพชาวนาไปสู่กองทัพที่ทันสมัยขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต[25] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 จีนได้ใช้ยุทธศาสตร์ทางทหารที่แตกต่างกัน 9 แบบ ซึ่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนเรียกว่า "แนวทางยุทธศาสตร์" ที่สำคัญที่สุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2499, 2523 และ 2536[11] ส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้คือการปรับโครงสร้างองค์กรที่สถาปนามณฑลทหารขึ้น 13 แห่งในปี พ.ศ. 2498 นอกจากนี้กองทัพยังประกอบไปด้วยอดีตทหารและนายพลของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจํานวนมากที่แปรพักตร์ให้กับกองทัพปลดปล่อยประชาชน[ต้องการอ้างอิง]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2493 เมื่อกองกําลังสหประชาชาติที่นําโดยนายพลดักลาส แมกอาเธอร์ ได้เข้าใกล้แม่น้ำยาลฺวี่ กองกําลังของกองทัพปลดปล่อยประชาชนบางส่วนได้เข้าร่วมสงครามเกาหลีในนาม "กองทัพอาสาสมัครประชาชน"[26] ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักจากการรุกโจมตีครั้งนี้ กองทัพจีนได้ขับไล่กองกําลังของแมกอาเธอร์ออกจากเกาหลีเหนือและยึดครองกรุงโซล แต่แล้วกองทัพจีนก็ถูกขับไล่กลับไปทางใต้ของกรุงเปียงยาง เหนือเส้นขนานที่ 38[26] สงครามครั้งนี้ยังกระตุ้นให้เกิดความทันสมัยอย่างรวดเร็วของกองทัพอากาศ[27]

ในปี พ.ศ. 2505 กองทัพบกได้ต่อสู้กับอินเดียในสงครามจีน-อินเดีย[28][29] ในช่วงความขัดแย้งชายแดนกับกองทัพอินเดียในปี พ.ศ. 2510 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้รับความเสียหายอย่างมากทั้งในด้านปริมาณและยุทธวิธี[30][31][32]

ก่อนการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ผู้บัญชาการมณฑลทหารมักจะอยู่ในวาระเป็นเวลานาน เนื่องจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น สิ่งนี้เริ่มถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อการควบคุมกองทัพของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (หรืออย่างน้อยก็พลเรือน)[ต้องการอ้างอิง] ผู้บัญชาการมณฑลทหารที่ดํารงตําแหน่งยาวนานที่สุดคือ สฺวี ชื่อโหย่ว์ จากมณฑลทหารหนานจิง (2497–2517) หยาง เต๋อจื้อ จากมณฑลทหารจี่หนาน (2501–2517) เฉิน ซีเหลียน จากมณฑลทหารเฉิ่นหยาง (2502–2516) และ หัน เซียนฉู่ จากมณฑลทหารฝูโจว (2503–2517)[33]

ในช่วงต้นของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ละทิ้งการใช้ยศทางทหารที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498[34]

การทำให้กองทัพเป็นมืออาชีพ พร้อมด้วยอาวุธและหลักการที่ทันสมัย เป็นประการสุดท้ายของนโยบาย "สี่ทันสมัย" ที่ประกาศโดยโจว เอินไหล และได้รับการสนับสนุนจากเติ้ง เสี่ยวผิง[35][36] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ปลดประจําการทหารชายและหญิงนับล้านคน และได้แนะนำวิธีการที่ทันสมัยในด้านต่าง ๆ เช่น การสรรหาบุคลากรและกำลังพล กลยุทธ์ ตลอดจนการศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูปกองทัพของเติ้ง[37] ในปี พ.ศ. 2522 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ต่อสู้กับเวียดนามในการปะทะกันบริเวณชายแดนในสงครามจีน–เวียดนาม ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างอ้างชัยชนะ[38] อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ชาวตะวันตกมีความเห็นตรงกันว่าเวียดนามสามารถเอาชนะกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้อย่างง่ายดาย[33]

ในช่วงความแตกแยกระหว่างจีนกับโซเวียต ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศนำไปสู่ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนที่นองเลือดและการหนุนหลังซึ่งกันและกันของฝ่ายตรงข้าม[39] จีนและอัฟกานิสถานมีความสัมพันธ์ที่เป็นกลางในช่วงที่ยังเป็นระบอบกษัตริย์อยู่[40] เมื่อคอมมิวนิสต์โปรโซเวียตอัฟกานิสถานได้ยึดอำนาจในอัฟกานิสถานในปี พ.ศ. 2521 ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถานก็กลายเป็นศัตรูกันอย่างรวดเร็ว[41][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] คอมมิวนิสต์โปรโซเวียตในอัฟกานิสถานสนับสนุนศัตรูของจีนในเวียดนาม และได้ตำหนิจีนที่สนับสนุนกลุ่มติดอาวุธต่อต้านคอมมิวนิสต์ในอัฟกานิสถาน[42] จีนตอบโต้การรุกรานอัฟกานิสถานของโซเวียตโดยการสนับสนุนมุญาฮิดีนอัฟกานิสถาน และเสริมกำลังทหารในซินเจียงใกล้กับอัฟกานิสถาน[42] และจีนได้รับอุปกรณ์ทางทหารจากสหรัฐเพื่อป้องกันตนเองจากการโจมตีของโซเวียต[43]

ในช่วงสงครามโซเวียต-อัฟกานิสถาน กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้สนับสนุนและฝึกฝนมุญาฮิดีนอัฟกานิสถาน โดยย้ายค่ายฝึกอบรมมุญาฮิดีนจากปากีสถานไปยังประเทศจีน[44] จีนมอบขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน เครื่องยิงจรวด และปืนกลมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับมุญาฮิดีน[45] ที่ปรึกษาทางทหารและกองกำลังทหารของจีนก็เข้าร่วมการฝึกซ้อมกับมุญาฮิดีนด้วย[46]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523[แก้]

ในปี พ.ศ. 2524 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้จัดการซ้อมรบครั้งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของจีนนับตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน[11][47] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 จีนได้ลดขนาดกองทัพลงอย่างมากเพื่อให้มีงบประมาณเหลือสําหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ ทําให้งบประมาณที่ใช้ในกองทัพค่อนข้างลดลง[48] หลังจากการปราบปรามของกองทัพในการประท้วงและการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี พ.ศ. 2532 ความถูกต้องทางอุดมการณ์ได้กลายเป็นประเด็นหลักในกิจการทหารของจีนอีกครั้ง[49]

ในปัจจุบัน การปฏิรูปและความทันสมัยได้กลายเป็นเป้าหมายหลักของกองทัพ แม้ว่าความจงรักภักดีทางการเมืองของกองทัพต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะยังคงเป็นข้อกังวลหลักก็ตาม[50][51] ข้อกังวลอีกประการหนึ่งที่ผู้นําทางการเมืองให้ความสนใจ คือ การมีส่วนร่วมของกองทัพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจของพลเรือน สิ่งเหล่านี้ถือว่าส่งผลกระทบต่อความพร้อมรบของกองทัพ และนําไปสู่ความพยายามของผู้นําทางการเมืองในการกีดกันกองทัพจากผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ไม่ใช่ทางทหาร[52][53]

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้พยายามเปลี่ยนตัวเองจากกองกําลังขนาดใหญ่ มาเป็นกองกําลังที่มีขนาดเล็กลง แต่มีเทคโนโลยีขั้นสูง และสามารถปฏิบัติการในต่างประเทศได้[11] แรงจูงใจในการทำเช่นนี้ก็คือ การรุกรานดินแดนครั้งใหญ่โดยรัสเซียไม่ได้ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามที่สำคัญอีกต่อไป แต่ภัยคุกคามครั้งใหม่ต่อจีนนั้นถูกมองว่าเป็นการประกาศเอกราชของไต้หวัน และการเผชิญหน้าเหนือหมู่เกาะสแปรตลี[54]

ในปี พ.ศ. 2528 ภายใต้การนําของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน และคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้เปลี่ยนจาก "การเตรียมพร้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับสงครามนิวเคลียร์" มาเป็น "การพัฒนากองทัพในยุคสันติภาพ"[11] กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ปรับทิศทางตนเองไปสู่ความทันสมัย ​​ปรับปรุงความสามารถในการต่อสู้ให้กลายเป็นกองทัพระดับโลก ดังที่เติ้ง เสี่ยวผิง ได้เน้นย้ำกับกองทัพว่า "ต้องเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ"[54]

การตัดสินใจของรัฐบาลจีนในการลดขนาดกองทัพลง 1 ล้านคนได้เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2530 เนื่องจากกองทัพได้มุ่งเน้นไปที่การใช้เครื่องจักรและคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถต่อสู้กับสงครามที่มีความรุนแรงสูง ต่อมาได้ลดกำลังพลลงอีก 500,000 คนในช่วงแผนห้าปีที่ 9 (2539–2543) และลดกำลังพลลงอีก 200,000 คนภายในปี พ.ศ. 2548 [54]

กองพันทหารรักษาการณ์เกียรติยศ กองทัพปลดปล่อยประชาชน ในกรุงปักกิ่ง ในปี พ.ศ. 2550

ในปี พ.ศ. 2533 เจียง เจ๋อหมิน อดีตประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง ได้เรียกร้องให้กองทัพ "ปฏิบัติตามมาตรฐานทางการเมือง มีความสามารถทางการทหาร มีรูปแบบการทำงานที่ดี ยึดมั่นในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด และให้การสนับสนุนด้านโลจิสติกส์อย่างจริงจัง" (จีน: 政治合格、军事过硬、作风优良、纪律严明、保障有力; พินอิน: zhèngzhì hégé, jūnshì guòyìng, zuòfēng yōuliáng, jìlǜ yánmíng, bǎozhàng yǒulì)[55] สงครามอ่าวในปี พ.ศ. 2534 ทําให้ผู้นําจีนตระหนักได้อย่างชัดเจนว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนเป็นกองกําลังขนาดใหญ่และเกือบจะล้าสมัย[56][57]

ความเป็นไปได้ในการทำยุทธาภิวัฒน์ของญี่ปุ่นยังเป็นข้อกังวลอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้นำจีนนับตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990[58] นอกจากนี้ ผู้นำทางทหารของจีนยังเรียนรู้ความสำเร็จและความล้มเหลวของกองทัพสหรัฐในช่วงสงครามคอซอวอ[59] สงครามอัฟกานิสถาน พ.ศ. 2544[60] การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546[61] และการก่อความไม่สงบในอิรัก[61] บทเรียนเหล่านี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้จีนเปลี่ยนกองทัพปลดปล่อยประชาชนจากกองทัพที่เน้นปริมาณมาเป็นการเน้นคุณภาพ[62]

ในปี พ.ศ. 2536 เจียง เจ๋อหมิน ได้ริเริ่มทฤษฎี "การปฏิวัติกิจการทหาร" (RMA) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การทหารแห่งชาติ เพื่อการปรับปรุงกองทัพจีนให้ทันสมัย เป้าหมายของทฤษฎีคือ เปลี่ยนกองทัพปลดปล่อยประชาชนให้เป็นกองกำลังที่สามารถเอาชนะสิ่งที่เรียกว่า "สงครามท้องถิ่นภายใต้สภาวะที่มีเทคโนโลยีสูง" ไม่ใช่สงครามภาคพื้นดินขนาดใหญ่ที่เน้นจํานวนคนเป็นหลัก[62] พร้อมกันนี้กองทัพปลดปล่อยประชาชนก็กําลังเตรียมพร้อมสําหรับสงครามอวกาศและสงครามไซเบอร์อย่างแข็งขัน[63][64][65]

ในปี พ.ศ. 2545 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้เริ่มจัดการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกับกองทัพจากประเทศอื่น ๆ[66]: 242  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561–2566 การฝึกซ้อมมากกว่าครึ่งหนึ่งมุ่งเน้นไปที่การฝึกทหารนอกเหนือจากสงคราม โดยทั่วไปเป็นการฝึกซ้อมต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์หรือการต่อต้านการก่อการร้ายที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับผู้กระทําที่ไม่ใช่ภาครัฐ[66]: 242  ในปี พ.ศ. 2552 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้จัดการฝึกซ้อมทางทหารครั้งแรกในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นการฝึกด้านมนุษยธรรมและการแพทย์ที่จัดขึ้นในประเทศกาบอง[66]: 242 

ในช่วง 10–20 ปีที่ผ่านมา กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้รับระบบอาวุธขั้นสูงบางอย่างจากรัสเซีย เช่น ถึงเรือพิฆาตชั้นโซเวรียเมนนี[67] เครื่องบินซุคฮอย ซู-27[68] ซุคฮอย ซู-30[69] และเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้นกิโล[70] นอกจากนี้ กองทัพเรือยังได้เริ่มผลิตเรือพิฆาตและเรือฟริเกตประเภทใหม่หลายลำ เช่น เรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถีชั้น ไทป์ 052ดี[71][72] ส่วนกองทัพอากาศได้ออกแบบเครื่องบินรบ เฉิงตู เจ-10[73] และเครื่องบินรบล่องหนรุ่นใหม่ เฉิงตู เจ-20 ของตนเอง[74] กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้เปิดตัวเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้นจินลำใหม่เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งสามารถยิงหัวรบนิวเคลียร์โจมตีเป้าหมายทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกได้ [75] และมีเรือบรรทุกเครื่องบิน 3 ลำ โดยลำล่าสุดคือฝูเจี้ยนที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2565[76][77][78]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557–2558 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ส่งเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 524 คนหมุนเวียนไปเพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคไวรัสอีโบลาในประเทศไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน กินี และกินี-บิสเซา[66]: 245  นี่เป็นภารกิจความช่วยเหลือทางการแพทย์ในประเทศอื่นที่ใหญ่ที่สุดของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[66]: 245 

ในปี พ.ศ. 2558 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้จัดตั้งหน่วยใหม่ขึ้น คือ กองทัพจรวด และกองกำลังสนับสนุนทางยุทธศาสตร์[79]

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 90 ปีการก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน[80] ซึ่งก่อนวันครบรอบ กองทัพได้จัดการสวนสนามทางทหารที่ใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบันที่ฐานฝึกจูรื่อเหอ ของกองบัญชาการยุทธบริเวณภาคเหนือ และเป็นการสวนสนามทางทหารครั้งแรกนอกกรุงปักกิ่ง[81]

การวางกำลังและปฏิบัติการรักษาสันติภาพในต่างประเทศ[แก้]

ในฐานะสมาชิกที่สําคัญของสหประชาชาติ จีนได้ส่งทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชนไปยังจุดสำคัญหลายแห่ง[82] กองกําลังดังกล่าวมักประกอบด้วยวิศวกร กองกําลังโลจิสติกส์ และสมาชิกกึ่งทหารของตำรวจติดอาวุธประชาชน และถูกนําไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการรักษาสันติภาพในเลบานอน[83][84] สาธารณรัฐคองโก[83] ซูดาน[85] โกตดิวัวร์[86] เฮติ[87][88] และเมื่อเร็ว ๆ นี้ในมาลี และซูดานใต้[83][89]

การมีส่วนร่วม[แก้]

โครงสร้างองค์กร[แก้]

สํานักงานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลางตั้งอยู่ในอาคารของกระทรวงกลาโหม (อาคาร 1 สิงหาคม)

กองทัพปลดปล่อยประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้ยังมีกองกำลังกึ่งทหารอีก 2 องค์กร ได้แก่ ตำรวจติดอาวุธประชาชน และกองกำลังทหารอาสา[114] กองทัพปลดปล่อยประชาชนอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้หลักการ "พรรคเป็นผู้สั่งปืน" (จีน: 党指挥枪; พินอิน: Dǎng zhǐhuī qiāng)[11]

ต้นสังกัด[แก้]

กองทัพปลดปล่อยประชาชนอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง ภายใต้การจัดการแบบ "หนึ่งสถาบัน สองชื่อ" ซึ่งมีทั้งคณะกรรมาธิการของรัฐและพรรค แต่คณะกรรมมาธิการทั้งสองชุดมีสมาชิกที่เหมือนกัน เพียงแต่จะออกนามตำแหน่งตามบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละคราวเท่านั้น[115] ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือการเป็นสมาชิกซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุก ๆ 5 ปี นั่นคือระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรค (เปลี่ยนสมาชิกคณะกรรมาธิการของพรรค) และการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ (เปลี่ยนสมาชิกคณะกรรมาธิการของรัฐ)[116]

คณะกรรมาธิการประกอบด้วยประธาน รองประธาน และสมาชิกสามัญ โดยมีประธานคณะกรรมาธิการเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วตําแหน่งนี้จะดํารงตําแหน่งโดยผู้นําสูงสุดของจีน และจะควบตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา[115][117] กระทรวงกลาโหมของจีนนั้นแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ คือ รัฐมนตรีไม่มีอํานาจบังคับบัญชากองทัพ แต่จะทําหน้าที่เป็นผู้ประสานงานทางการทูตของคณะกรรมาธิการเป็นหลัก[115]

เพื่อให้มั่นใจว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีอำนาจเหนือกองทัพอย่างเด็ดขาด คณะกรรมาธิการพรรคทุกระดับในกองทัพจึงนำหลักการของประชาธิปไตยรวมศูนย์มาใช้[ต้องการอ้างอิง] รวมทั้งให้หน่วยงานระดับกรมขึ้นไปจัดตั้งกรรมาธิการการเมืองและองค์กรทางการเมือง เพื่อให้การจัดระเบียบหน่วยงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน[118] ระบบเหล่านี้ได้รวมองค์กรของพรรคและของทหารเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้บรรลุถึงความเป็นผู้นําและผู้บริหารของพรรค ถือเป็นหลักประกันสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการเป็นผู้นำของกองทัพอย่างเด็ดขาด[ต้องการอ้างอิง]

คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางชุดปัจจุบัน
ประธาน
รองประธาน
สมาชิก

ก่อนหน้านี้ กองทัพปลดปล่อยประชาชนถูกควบคุมโดย 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการเมือง กรมพลาธิการ กรมยุทธภัณฑ์ และกรมเสนาธิการ ซึ่งถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2559 ภายใต้การปฏิรูปกองทัพที่ดำเนินการโดยสี จิ้นผิง โดยแทนที่ด้วยหน่วยงานใหม่ 15 หน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง:[119]

  1. สำนักงานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
  2. กรมเสนาธิการร่วม
  3. กรมงานการเมือง
  4. กรมสนับสนุนการขนส่ง
  5. กรมพัฒนายุทโธปกรณ์
  6. กรมการฝึกอบรมและบริหารจัดการ
  7. กรมสรรพกำลังกลาโหม
  8. คณะกรรมาธิการตรวจสอบวินัย
  9. คณะกรรมาธิการการเมืองและกฎหมาย
  10. คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  11. สำนักงานวางแผนยุทธศาสตร์
  12. สำนักงานปฏิรูปโครงสร้างองค์กร
  13. สำนักงานความร่วมมือทางทหารระหว่างประเทศ
  14. สำนักงานตรวจสอบบัญชี
  15. สำนักงานบริหารงานทั่วไป

ยุทธบริเวณ[แก้]

ยุทธบริเวณทั้งห้าของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[120]

เดิมดินแดนของจีนถูกแบ่งออกเป็น 7 มณฑลทหาร แต่ต่อมาได้รับการจัดระเบียบใหม่เป็น 5 ยุทธบริเวณ (Theater Command) เมื่อต้นปี พ.ศ. 2559[119] สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในแนวคิดของการปฏิบัติการจากเดิมที่มุ่งเน้นภาคพื้นดินเป็นหลักไปสู่การเคลื่อนที่และการประสานงานของบริการทั้งหมด[121] ยุทธบริเวณทั้ง 5 แห่ง เรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้[122]

โครงสร้างองค์กร[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หน่วยงาน
 
 
 
คณะกรรมาธิการ
 
 
 
สำนักงาน
 
 
 
กองกำลังขึ้นตรงต่อคณะกรรมาธิการ
 
 
 
สถาบันวิจัย
สำนักงานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
 
 
 
คณะกรรมาธิการตรวจสอบวินัย
 
 
 
สำนักงานวางแผนยุทธศาสตร์
 
 
 
กองกำลังสนับสนุนโลจิสติกส์ร่วม
 
 
 
สถาบันวิทยาการทหาร
กรมเสนาธิการร่วม
 
 
 
คณะกรรมาธิการการเมืองและกฎหมาย
 
 
 
สำนักงานปฏิรูปโครงสร้างองค์กร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ
กรมงานการเมือง
 
 
 
คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
 
 
สำนักงานความร่วมมือทางทหารระหว่างประเทศ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกลาโหมแห่งชาติ
กรมสนับสนุนการขนส่ง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สำนักงานตรวจสอบบัญชี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กรมพัฒนายุทโธปกรณ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สำนักงานบริหารงานทั่วไป
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กรมการฝึกอบรมและบริหารจัดการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กรมสรรพกำลังกลาโหม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยุทธบริเวณ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เหล่าทัพ
 
ยุทธบริเวณภาคตะวันออก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองทัพบก
 
ยุทธบริเวณภาคตะวันตก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองทัพเรือ
 
ยุทธบริเวณภาคใต้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองทัพอากาศ
 
ยุทธบริเวณภาคเหนือ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองทัพจรวด
 
ยุทธบริเวณภาคกลาง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองกำลังสนับสนุนทางยุทธศาสตร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองทัพปลดปล่อยประชาชน
 
 
 
 
 
 
 
 

ยศทหาร[แก้]

เหล่าทัพ[แก้]

กองทัพปลดปล่อยประชาชน มีทั้งหมด 5 เหล่าทัพ: กองกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองทัพจรวด และกองทัพสนับสนุนทางยุทธศาสตร์

นอกเหนือจาก 5 เหล่าทัพแล้ว กองทัพปลดปล่อยประชาชนยังได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังกึ่งทหารสองแห่ง ได้แก่ ตำรวจติดอาวุธประชาชน (รวมถึงหน่วยยามฝั่งจีน) และกองทหารรักษาการณ์ (รวมถึงกองทหารรักษาการณ์ทางทะเล)

กองทัพบก (PLAGF)[แก้]

กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLAGF; จีน: 中国人民解放军陆军; พินอิน: Zhōngguó Rénmín Jiěfàngjūn Lùjūn) เป็นสาขาทางบกของกองทัพปลดปล่อยประชาชนและกองทัพที่ใหญ่ที่สุดใน 5 เหล่าทัพ ด้วยกำลังพลประจำการ 975,000 นาย ประมาณครึ่งหนึ่งของกำลังพลทั้งหมดของ PLA ที่มีกำลังพลประมาณ 2 ล้านคน กองทัพบกถูกจัดเป็นกลุ่มประจำการ 12 เหล่าทัพตามลำดับ ตั้งแต่กองทัพที่ 71 ไปจนถึงกองทัพที่ 83 ซึ่งกระจายไปตามกองบัญชาการยุทธบริเวณทั้ง 5 แห่งของจีน

กองหนุน ประกอบด้วยทหารประมาณ 510,000 นาย แบ่งเป็นกองทหารราบ 30 กอง และกองปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน 12 กอง

กองทัพเรือ (PLAN)[แก้]

กองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLAN; จีน: 中国人民解放军海军; พินอิน: Zhōngguó Rénmín Jiěfàngjūn Hǎijūn) เป็นสาขาทางทะเลของกองทัพปลดปล่อยประชาชน และเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ประกอบด้วย 5 หน่วยย่อย ได้แก่: กองกำลังใต้น้ำ กองกำลังผิวน้ำ กองกำลังป้องกันชายฝั่ง นาวิกโยธิน และกองกำลังทางอากาศ โดยมีกำลังพล 240,000 นาย รวมทั้งนาวิกโยธิน 15,000 นาย และนักบิน 26,000 นาย

มีเรือมากกว่า 496 ลำและเรือสนับสนุนต่างๆ 232 ลำ และมีลูกเรือจำนวน 255,000 นาย นอกจากนี้ยังใช้เครื่องบินนาวิกโยธินมากกว่า 710 ลำ รวมทั้งเครื่องบินรบ เครื่องบินทิ้งระเบิด และเครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ มีปืนใหญ่ ตอร์ปิโดและขีปนาวุธจำนวนมากรวมอยู่ในนี้ด้วย

กองทัพอากาศ (PLAAF)[แก้]

กองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLAAF; จีน: 中国人民解放军空军; พินอิน: Zhōngguó Rénmín Jiěfàngjūn Kōngjūn) เป็นสาขาทางอากาศของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ดูแลปฏิบัติการทางทหารที่ใช้อากาศยานในจีน เป็นกองทัพอากาศที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย และใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 3 รองจากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา และกองทัพอากาศรัสเซีย

ประกอบด้วย 5 หน่วยย่อย ได้แก่: การบิน การป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน เรดาร์ กองบิน และหน่วยสนับสนุนอื่นๆ

ประกอบด้วยกำลังพลประจำการทั้งสิ้น 400,000 นาย ฝูงบินขนาดใหญ่และหลากหลายด้วยเครื่องบินประมาณ 4,000 ลำ โดยในจำนวนนี้เป็นเครื่องบินรบประมาณ 2,566 ลำ (เครื่องบินขับไล่ โจมตี และเครื่องบินทิ้งระเบิด)

กองทัพจรวด (PLARF)[แก้]

กองทัพจรวดกองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLARF; จีน: 中国人民解放军火箭军; พินอิน: Zhōngguó Rénmín Jiěfàngjūn Huǒjiàn Jūn) เป็นกองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของจีน เป็นสาขาที่ 4 ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน และควบคุมคลังแสงขีปนาวุธภาคพื้นดินของจีนทั้งนิวเคลียร์และธรรมดา อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

มีคลังแสงขีปนาวุธภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากการประมาณการของเพนตากอน ซึ่งรวมถึงขีปนาวุธพิสัยสั้นติดอาวุธทั่วไป 1,200 ลูก ขีปนาวุธพิสัยกลางธรรมดา 200-300 ลูก และขีปนาวุธพิสัยกลางทั่วไปที่ไม่ทราบจำนวน เช่นเดียวกับขีปนาวุธร่อนแบบปล่อยจากภาคพื้นดิน 200-300 ลูก จำนวนเหล่านี้มีความแม่นยำสูงมากซึ่งจะทำให้สามารถทำลายเป้าหมายได้แม้ไม่มีหัวรบนิวเคลียร์

โดยรวมแล้ว คาดว่าจีนมีหัวรบนิวเคลียร์จำนวน 320 หัวรบในปี 2021 โดยไม่ทราบจำนวนที่ยังประจำการอยู่และพร้อมที่จะนำไปใช้งาน ในปี 2556 กระทรวงกลาโหมสหรัฐประเมินว่าคลังแสง ICBM ที่ใช้งานของจีนอยู่ในระยะ ระหว่าง 50 และ 75 ขีปนาวุธบนบกและในทะเล การประเมินข่าวกรองล่าสุดในปี 2019 ทำให้จำนวน ICBM ของจีนอยู่ที่ประมาณ 90 และเติบโตอย่างรวดเร็ว PLARF ประกอบด้วยบุคลากรประมาณ 120,000 นาย

กองทัพสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ (PLASSF)[แก้]

กองทัพสนับสนุนทางยุทธศาสตร์กองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLASSF;จีน: 中国人民解放军战略支援部队; พินอิน: Zhōngguó rénmín jiěfàngjūn zhànlüè zhīyuán bùduì) เป็นกองทัพใหม่ล่าสุดของกองทัพปลดปล่อยประชาชน จำนวนบุคลากรประมาณ 175,000 นาย

การประกาศเบื้องต้นเกี่ยวกับกองทัพสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ไม่ได้ให้รายละเอียดมากนัก แต่กระทรวงกลาโหมของจีนอธิบายว่าเป็นการบูรณาการกองกำลังสนับสนุนการสู้รบในปัจจุบันทั้งหมดแต่จำกัดเฉพาะสาขาอวกาศ ไซเบอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และข่าวกรอง นอกจากนี้ ยังมีผู้คาดการณ์ว่าสาขาบริการใหม่จะรวมกองกำลังปฏิบัติการที่มีเทคโนโลยีสูง เช่น หน่วยปฏิบัติการอวกาศ ไซเบอร์สเปซ และสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ขึ้นกับสาขาอื่นๆ ของกองทัพ

งบประมาณและรายจ่าย[แก้]

งบประมาณอย่างเป็นทางการ
ปี มูลค่า
(พันล้านเหรียญ

สหรัฐ)

มีนาคม 2000 14.6[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2001 17.0[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2002 20.0[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2003 22.0[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2004 24.6[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2005 29.9[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2006 35.0[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2007 44.9[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2008 58.8[123]
มีนาคม 2009 70.0[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2010 76.5[124]
มีนาคม 2011 90.2[124]
มีนาคม 2012 103.1[124]
มีนาคม 2013 116.2[124]
มีนาคม 2014 131.2[124]
มีนาคม 2015 142.4[124]
มีนาคม 2016 143.7[124]
มีนาคม 2017 151.4[124]
มีนาคม 2018 165.5[125]
มีนาคม 2019 177.6[126]
พฤษภาคม 2020 183.5[127]
มีนาคม 2021 209.4[128]
มีนาคม 2022 229.4[129]

การใช้จ่ายทางทหารสำหรับกองทัพปลดปล่อยประชาชนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ต่อปีในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา[130] สถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) ประมาณการค่าใช้จ่ายทางทหารของจีนในปี 2013 ไว้ที่ 188.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ[131] งบประมาณทางทหารของจีนในปี 2014 จากข้อมูลของ Janes Information Services ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและวิเคราะห์อุตสาหกรรมกลาโหม อยู่ที่ 148 พันล้านเหรียญสหรัฐ[132] ซึ่งเป็นใหญ่เป็นอันดับสองในโลก งบประมาณทางทหารของสหรัฐอเมริกาสำหรับปี 2014 เมื่อเปรียบเทียบแล้ว อยู่ที่ 574.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ,[133] ซึ่งลดลงจากระดับสูงสุด 664.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2012

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) จีนกลายเป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่อันดับสามของโลกในปี 2010-2014 เพิ่มขึ้น 143% จากช่วงปี 2005-2009

การใช้จ่ายทางทหารที่เพิ่มขึ้นของจีนเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดความตึงเครียดในทะเลจีนใต้โดยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนที่เกี่ยวข้องกับฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไต้หวัน รวมถึงความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนและญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับหมู่เกาะเซ็งกากุที่เป็นข้อพิพาท - เลขาธิการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โรเบิร์ต เกตส์ ได้เรียกร้องให้จีนมีความโปร่งใสมากขึ้นเกี่ยวกับขีดความสามารถและความตั้งใจทางทหารของตน.[134][135]

ตัวเลขงบประมาณได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของสภาแห่งรัฐผ่านเอกสารชื่อ 'งบประมาณส่วนกลางและท้องถิ่น' ตามด้วยปีก่อนหน้าที่เผยแพร่

แผนภูมิแสดงการใช้จ่ายทางทหารทั่วโลกโดยแบ่งตามประเทศในปี 2019 เป็นพันล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI)

เพลง[แก้]

เพลงประจำกองทัพปลดปล่อยประชาชาชน คือ เพลงของกองทัพปลดปล่อยประชาชน (จีน: 中国人民解放军军歌; พินอิน: Zhōngguó Rénmín Jiěfàngjūn Jūngē) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มาร์ชกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (จีนตัวย่อ: 中国人民解放军进行曲; จีนตัวเต็ม: 中國人民解放軍進行曲; พินอิน: Zhōngguó Rénmín Jiěfàngjūn Jìnxíngqǔ) เป็นเพลงรักชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพลงนี้เขียนโดย Zhang Yongnian และเนื้อร้องโดย Zheng Lücheng

อีกรูปแบบของเพลงที่ถูกดัดแปลงเรียกว่า เพลงสวนสนามของกองทัพปลดปล่อยประชาชน (จีน: 分列式进行曲; พินอิน: Fēnlièshì jìnxíngqǔ) ถูกใช้เป็นเพลงในการสวนสนามของกองทัพ เช่น ในการสวนสนามวันชาติจีน ตั้งแต่ปี 1949 เป็นต้นมา

สัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์กองทัพปลดปล่อยประชาชน

ตราสัญลักษณ์ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ประกอบด้วยดาวสีแดงซึ่งมีตัวอักษรจีนสองตัว "八一" (ตามตัวอักษร "แปด-หนึ่ง") ซึ่งหมายถึงการจลาจลหนานชางในวันที่ 1 สิงหาคม 1927

ธง[แก้]

ธงของกองทัพปลดแอกประชาชน เค้าโครงของธงมีรูปดาวสีทองที่มุมซ้ายบน และตัวอักษรจีนสองตัว "八一" ทางด้านขวาของรูปดาว บนพื้นหลังสีแดง แต่ละเหล่ายังมี ธง: 5⁄8 บนสุดของธงเหมือนกันกับธงกองทัพปลดปล่อยประชาชน ส่วน 3⁄8 ล่างเป็นสีของเหล่านั้นๆ

ยุทธภัณฑ์[แก้]

อาวุธประจำกาย[แก้]

อาวุธประจำหน่วย[แก้]

ศาลทหาร[แก้]

ความสัมพันธ์ทางทหาร[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. "【延安记忆】"中国人民解放军"称谓由此开始". 2020-08-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-22. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  2. "1947年10月10日,《中国人民解放军宣言》发布". 中国军网. 2017-10-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-22. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  3. "中国共产党领导的红军改编为八路军的背景和改编情况 – 太行英雄网". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
  4. 4.0 4.1 The International Institute for Strategic Studies 2022, p. 255.
  5. "2022年中国国防费保持适度稳定增长 比上年增长7.1%". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-08. สืบค้นเมื่อ 2022-11-03. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  6. (2021)https://www.janes.com/amp/china-announces-68-increase-in-2021-defence-budget-0503/ZnlJK3dHVU9mZ28xajRJVkc5dVI5VFp1cVMwPQ2 เก็บถาวร 2021-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SIPRI-2020
  8. Xue, Maryann (4 July 2021). "China's arms trade: which countries does it buy from and sell to?". South China Morning Post.
  9. 9.0 9.1 "TIV of arms imports/exports from China, 2010-2021". Stockholm International Peace Research Institute. 7 February 2022.
  10. 10.0 10.1 10.2 Benton, Gregor (1999). New Fourth Army: Communist Resistance Along the Yangtze and the Huai, 1938–1941 (ภาษาอังกฤษ). University of California Press. p. 396. ISBN 978-0-520-21992-2.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 Fravel, M. Taylor (2019). Active Defense: China's Military Strategy since 1949. Princeton University Press. doi:10.2307/j.ctv941tzj. ISBN 978-0-691-18559-0. JSTOR j.ctv941tzj. S2CID 159282413.
  12. "第十三届全国人民代表大会代表名额分配方案" [Allocation Plan for Deputies to the Thirteenth National People's Congress]. National People's Congress (ภาษาจีน). 27 April 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2017.
  13. International Institute for Strategic Studies (2020). The Military Balance. London: Routledge. p. 259. ISBN 978-0367466398.
  14. "Global military spending remains high at $1.7 trillion". Stockholm International Peace Research Institute (ภาษาอังกฤษ). 2 May 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-10-13.
  15. "The PLA Navy's New Historic Missions: Expanding Capabilities for a Re-emergent Maritime Power" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2011. สืบค้นเมื่อ 1 April 2011.
  16. Carter, James (4 August 2021). "The Nanchang Uprising and the birth of the PLA". The China Project.
  17. "History of the PLA's Ground Force Organisational Structure and Military Regions". Royal United Services Institute. 17 June 2004.
  18. Bianco, Lucien (1971). Origins of the Chinese Revolution, 1915–1949 (ภาษาอังกฤษ). Stanford University Press. p. 68. ISBN 978-0-8047-0827-2.
  19. Zedong, Mao (2017). On Guerilla Warfare: Mao Tse-Tung On Guerilla Warfare (ภาษาอังกฤษ). Martino Fine Books. ISBN 978-1-68422-164-6.
  20. "The Chinese Revolution of 1949". United States Department of State, Office of the Historian.
  21. Ken Allen, Chapter 9, "PLA Air Force Organization" เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The PLA as Organization, ed. James C. Mulvenon and Andrew N.D. Yang (Santa Monica, CA: RAND, 2002), 349.
  22. "中国人民解放军海军成立70周年多国海军活动新闻发布会在青岛举行". mod.gov.cn (ภาษาจีน). Ministry of National Defence of the People's Republic of China. สืบค้นเมื่อ 18 May 2020.
  23. 23.0 23.1 23.2 Russo, Alessandro (2020). Cultural Revolution and revolutionary culture. Durham: Duke University Press. pp. 36–37. ISBN 978-1-4780-1218-4. OCLC 1156439609.
  24. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  25. Pamphlet number 30-51, Handbook on the Chinese Communist Army (PDF), Department of the Army, 7 December 1960, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 April 2011, สืบค้นเมื่อ 1 April 2011
  26. 26.0 26.1 Stewart, Richard (2015). The Korean War: The Chinese Intervention (ภาษาอังกฤษ). CreateSpace Independent Publishing Platform. ISBN 978-1-5192-3611-1.
  27. Cliff, Roger; Fei, John; Hagen, Jeff; Hague, Elizabeth; Heginbotham, Eric; Stillion, John (2011), "The Evolution of Chinese Air Force Doctrine", Shaking the Heavens and Splitting the Earth, Chinese Air Force Employment Concepts in the 21st Century, RAND Corporation, pp. 33–46, ISBN 978-0-8330-4932-2, JSTOR 10.7249/mg915af.10
  28. Hoffman, Steven A. (1990). India and the China Crisis. Berkeley: University of California Press. pp. 101–104. ISBN 978-0-520-30172-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2021. สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
  29. Van Tronder, Gerry (2018). Sino-Indian War: Border Clash: October–November 1962. Pen and Sword Military. ISBN 978-1-5267-2838-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2021. สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
  30. Brahma Chellaney (2006). Asian Juggernaut: The Rise of China, India, and Japan (ภาษาอังกฤษ). HarperCollins. p. 195. ISBN 978-8172236502. Indeed, Beijing's acknowledgement of Indian control over Sikkim seems limited to the purpose of facilitating trade through the vertiginous Nathu-la Pass, the scene of bloody artillery duels in September 1967 when Indian troops beat back attacking Chinese forces.
  31. Van Praagh, David (2003). Greater Game: India's Race with Destiny and China (ภาษาอังกฤษ). McGill-Queen's Press – MQUP. p. 301. ISBN 978-0773525887. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 6 August 2021. (Indian) jawans trained and equipped for high-altitude combat used US provided artillery, deployed on higher ground than that of their adversaries, to decisive tactical advantage at Nathu La and Cho La near the Sikkim-Tibet border.
  32. Hoontrakul, Ponesak (2014), "Asia's Evolving Economic Dynamism and Political Pressures", ใน P. Hoontrakul; C. Balding; R. Marwah (บ.ก.), The Global Rise of Asian Transformation: Trends and Developments in Economic Growth Dynamics, Palgrave Macmillan US, p. 37, ISBN 978-1-137-41236-2, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018, สืบค้นเมื่อ 6 August 2021, Cho La incident (1967) – Victorious: India / Defeated : China
  33. 33.0 33.1 Li, Xiaobing (2007). A History of the Modern Chinese Army. University Press of Kentucky. ISBN 978-0-8131-2438-4. JSTOR j.ctt2jcq4k.
  34. "China's People's Liberation Army, the world's second largest conventional..." UPI (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-12-04.
  35. Ebrey, Patricia Buckley. "Four Modernizations Era". A Visual Sourcebook of Chinese Civilization. University of Washington. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2010. สืบค้นเมื่อ October 20, 2012.
  36. 人民日报 (31 January 1963). 在上海举行的科学技术工作会议上周恩来阐述科学技术现代化的重大意义 [Science and Technology in Shanghai at the conference on Zhou Enlai explained the significance of modern science and technology]. People's Daily (ภาษาจีน). Central Committee of the Chinese Communist Party. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2016. สืบค้นเมื่อ October 21, 2011.
  37. Mason, David (1984). "China's Four Modernizations: Blueprint for Development or Prelude to Turmoil?". Asian Affairs. 11 (3): 47–70. doi:10.1080/00927678.1984.10553699. ISSN 0092-7678. JSTOR 30171968.
  38. Vincent, Travils (9 February 2022). "Why Won't Vietnam Teach the History of the Sino-Vietnamese War?". The Diplomat.
  39. Fravel, M. Taylor (2007). "Power Shifts and Escalation: Explaining China's Use of Force in Territorial Disputes". International Security. 32 (3): 44–83. doi:10.1162/isec.2008.32.3.44. ISSN 0162-2889. JSTOR 30130518. S2CID 57559936.
  40. China and Afghanistan, Gerald Segal, Asian Survey, Vol. 21, No. 11 (Nov., 1981), University of California Press
  41. "中华人民共和国外交部".
  42. 42.0 42.1 Hilali, A.Z (September 2001). "China's response to the Soviet invasion of Afghanistan". Central Asian Survey (ภาษาอังกฤษ). 20 (3): 323–351. doi:10.1080/02634930120095349. ISSN 0263-4937. S2CID 143657643.
  43. S. Frederick Starri (2004). S. Frederick Starr (บ.ก.). Xinjiang: China's Muslim Borderland (illustrated ed.). M.E. Sharpe. p. 157. ISBN 0765613182. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  44. Szczudlik-Tatar, Justyna (October 2014). "China's Evolving Stance on Afghanistan: Towards More Robust Diplomacy with "Chinese Characteristics"" (PDF). Strategic File. Polish Institute of International Affairs. 58 (22).
  45. Galster, Steve (9 October 2001). "Volume II: Afghanistan: Lessons from the Last War". National Security Archive, George Washington University.
  46. S. Frederick Starr (2004). S. Frederick Starr (บ.ก.). Xinjiang: China's Muslim Borderland (illustrated ed.). M.E. Sharpe. p. 158. ISBN 0765613182. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  47. Godwin, Paul H. B. (2019). The Chinese Defense Establishment: Continuity And Change In The 1980s (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-000-31540-0.
  48. Zissis, Carin (5 December 2006). "Modernizing the People's Liberation Army of China". Council on Foreign Relations.
  49. "PLA's "Absolute Loyalty" to the Party in Doubt". The Jamestown Foundation. 30 April 2009.
  50. "Xi Jinping insists on PLA's absolute loyalty to Communist Party". The Economic Times. 20 August 2018.
  51. Chan, Minnie (23 September 2022). "China's military told to 'resolutely do what the party asks it to do'". South China Morning Post.
  52. "The PLA's business interests: A long-term source of extra revenue". Strategic Comments (ภาษาอังกฤษ). 3 (10): 1–2. December 1997. doi:10.1080/1356788973104. ISSN 1356-7888.
  53. Bickford, Thomas J. (1994). "The Chinese Military and Its Business Operations: The PLA as Entrepreneur". Asian Survey. 34 (5): 460–474. doi:10.2307/2645058. ISSN 0004-4687. JSTOR 2645058.
  54. 54.0 54.1 54.2 The Political System of the People's Republic of China. Chief Editor Pu Xingzu, Shanghai, 2005, Shanghai People's Publishing House. ISBN 7-208-05566-1, Chapter 11 The State Military System.
  55. News of the Communist Party of China, Hyperlink เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 28 March 2007.
  56. Farley, Robert (1 September 2021). "China Has Not Forgotten the Lessons of the Gulf War". National Interest.
  57. Scobell, Andrew (2011). Chinese Lessons from Other Peoples' Wars (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Strategic Studies Institute, U.S. Army War College. ISBN 978-1-58487-511-6.
  58. Sasaki, Tomonori (23 September 2010). "China Eyes the Japanese Military: China's Threat Perception of Japan since the 1980s". The China Quarterly (ภาษาอังกฤษ). 203: 560–580. doi:10.1017/S0305741010000597. ISSN 1468-2648. S2CID 153828298.
  59. Sakaguchi, Yoshiaki; Mayama, Katsuhiko (1999). "Significance of the War in Kosovo for China and Russia" (PDF). NIDS Security Reports (3): 1–23.
  60. Sun, Yun (8 April 2020). "China's Strategic Assessment of Afghanistan". War on the Rocks.
  61. 61.0 61.1 Chase, Michael S. (19 September 2007). "China's Assessment of the War in Iraq: America's "Deepest Quagmire" and the Implications for Chinese National Security". China Brief. The Jamestown Foundation. 7 (17).
  62. 62.0 62.1 Ji, You (1999). "The Revolution in Military Affairs and the Evolution of China's Strategic Thinking". Contemporary Southeast Asia. 21 (3): 344–364. doi:10.1355/CS21-3B. ISSN 0129-797X. JSTOR 25798464.
  63. Wortzel, Larry M. (2007). "The Chinese People's Liberation Army and Space Warfare". American Enterprise Institute. JSTOR resrep03013. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  64. Hjortdal, Magnus (2011). "China's Use of Cyber Warfare: Espionage Meets Strategic Deterrence". Journal of Strategic Security. 4 (2): 1–24. doi:10.5038/1944-0472.4.2.1. ISSN 1944-0464. JSTOR 26463924. S2CID 145083379.
  65. Jinghua, Lyu. "What Are China's Cyber Capabilities and Intentions?". Carnegie Endowment for International Peace (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  66. 66.0 66.1 66.2 66.3 66.4 Shinn, David H.; Eisenman, Joshua (2023). China's Relations with Africa: a New Era of Strategic Engagement. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-21001-0.
  67. Osborn, Kris (2022-03-21). "China Modernizes Its Russian-Built Destroyers With New Weapons". The National Interest (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  68. Gao, Charlie (2021-01-01). "How China Got Their Own Russian-Made Su-27 "Flanker" Jets". The National Interest (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  69. Kadam, Tanmay (26 September 2022). "2 Russian Su-30 Fighters, The Backbone Of Indian & Chinese Air Force, Knocked Out By Ukraine – Kiev Claims". The Eurasian Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  70. Larson, Caleb (2021-05-11). "China's Deadly Kilo-Class Submarines Are From Russia With Love". The National Interest (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  71. Vavasseur, Xavier (21 August 2022). "Five Type 052D Destroyers Under Construction In China". Naval News.
  72. Wertheim, Eric (January 2020). "China's Luyang III/Type 052D Destroyer Is a Potent Adversary". United States Naval Institute.
  73. Rogoway, Tyler; Helfrich, Emma (18 July 2022). "China's J-10 Fighter Spotted In New 'Big Spine' Configuration (Updated)". The Warzone.
  74. Osborn, Kris (2022-10-04). "China Boosts J-20 Fighter Production to Counter U.S. Stealth Fighters". The National Interest (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  75. Funaiole, Matthew P. (4 August 2021). "A Glimpse of Chinese Ballistic Missile Submarines". Center for Strategic & International Studies (ภาษาอังกฤษ).
  76. Lendon, Brad (2022-06-25). "Never mind China's new aircraft carrier, these are the ships the US should worry about". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  77. "Fujian aircraft carrier doesn't have radar, weapon systems yet, photos show". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2022-07-19. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  78. Hendrix, Jerry (2022-07-06). "The Ominous Portent of China's New Carrier". National Review (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  79. "China establishes Rocket Force and Strategic Support Force – China Military Online". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2016. สืบค้นเมื่อ 2 January 2016.
  80. "Exclusive: Massive parade tipped for PLA's 90th birthday". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2017-03-15. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  81. Buckley, Chris (2017-07-30). "China Shows Off Military Might as Xi Jinping Tries to Cement Power". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
  82. Gowan, Richard (2020-09-14). "China's pragmatic approach to UN peacekeeping". Brookings Institution (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  83. 83.0 83.1 83.2 83.3 Rowland, Daniel T. (September 2022). Chinese Security Cooperation Activities: Trends and Implications for US Policy (PDF) (Report).
  84. China's Role in UN Peacekeeping (PDF) (Report). Institute for Security & Development Policy. March 2018.
  85. Daniel M. Hartnett, 2012-03-13, China's First Deployment of Combat Forces to a UN. Peacekeeping Mission—South Sudan เก็บถาวร 14 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, United States-China Economic and Security Review Commission
  86. Bernard Yudkin Geoxavier, 2012-09-18, China as Peacekeeper: An Updated Perspective on Humanitarian Intervention เก็บถาวร 31 มกราคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Yale Journal of International Affairs
  87. "Chinese Peacekeepers to Haiti: Much Attention, More Confusion". Royal United Services Institute. 1 February 2005.
  88. Nichols, Michelle (14 July 2022). "China pushes for U.N. arms embargo on Haiti criminal gangs". Reuters.
  89. Dyrenforth, Thomas (2021-08-19). "Beijing's Blue Helmets: What to Make of China's Role in UN Peacekeeping in Africa". Modern War Institute (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  90. Lew, Christopher R.; Leung, Pak-Wah, บ.ก. (2013). Historical Dictionary of the Chinese Civil War. Lanham, Maryland: The Scarecrow Press, Inc. p. 3. ISBN 978-0810878730.
  91. Paine, S. C. M. (2012). The Wars for Asia, 1911–1949. Cambridge University Press. p. 123. ISBN 978-1-139-56087-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2022. สืบค้นเมื่อ 28 November 2017.
  92. "Security Check Required". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2015. สืบค้นเมื่อ 1 May 2016.
  93. "Sinkiang and Sino-Soviet Relations" (PDF). สืบค้นเมื่อ 14 March 2017.
  94. Shakya 1999 p. 32 (6 Oct); Goldstein (1997), p. 45 (7 Oct).
  95. Ryan, Mark A.; Finkelstein, David M.; McDevitt, Michael A. (2003). Chinese warfighting: The PLA experience since 1949. Armonk, NY: M.E. Sharpe. p. 125. ISBN 0-7656-1087-6.
  96. Rushkoff, Bennett C. (1981). "Eisenhower, Dulles and the Quemoy-Matsu Crisis, 1954–1955". Political Science Quarterly. 96 (3): 465–480. doi:10.2307/2150556. ISSN 0032-3195. JSTOR 2150556.
  97. Zhai, Qiang (2000). China and the Vietnam wars, 1950–1975. Chapel Hill: University of North Carolina Press. ISBN 978-0807825327. OCLC 41564973.
  98. The 1958 Taiwan Straits Crisis_ A Documented History. 1975.
  99. Lintner, Bertil (2018). China's India War: Collision Course on the Roof of the World (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-909163-8. OCLC 1034558154.
  100. Brahma Chellaney (2006). Asian Juggernaut: The Rise of China, India, and Japan (ภาษาอังกฤษ). HarperCollins. p. 195. ISBN 978-8172236502. Indeed, Beijing's acknowledgement of Indian control over Sikkim seems limited to the purpose of facilitating trade through the vertiginous Nathu-la Pass, the scene of bloody artillery duels in September 1967 when Indian troops beat back attacking Chinese forces.
  101. "Некоторые малоизвестные эпизоды пограничного конфликта на о. Даманском". Военное оружие и армии Мира. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2018. สืบค้นเมื่อ 10 March 2018.
  102. Carl O. Schustser. "Battle for Paracel Islands".
  103. Elleman, Bruce A. (2001). Modern Chinese Warfare, 1795–1989. Routledge. p. 297. ISBN 0415214742.
  104. Carlyle A. Thayer, "Security Issues in Southeast Asia: The Third Indochina War", Conference on Security and Arms Control in the North Pacific, Australian National University, Canberra, August 1987.
  105. "Secrets of the Sino-Vietnamese skirmish in the South China Sea เก็บถาวร 2013-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", wenweipo.com, March 14, 1988.
  106. McFadden, Robert D. (5 June 1989). "The West Condemns the Crackdown". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 25 May 2021.
  107. Dreyer, June Teufel (2005). "China's Vulnerability to Minority Separatism". Asian Affairs. 32 (2): 69–85. doi:10.3200/AAFS.32.2.69-86. ISSN 0092-7678. JSTOR 30172869. S2CID 153883722.
  108. Qimao, Chen (1996). "The Taiwan Strait Crisis: Its Crux and Solutions". Asian Survey. 36 (11): 1055–1066. doi:10.2307/2645635. ISSN 0004-4687. JSTOR 2645635.
  109. Henry, Jérôme (November 2016). "China's Military Deployments in the Gulf of Aden: Anti-Piracy and Beyond" (PDF). Notes de l'Ifri (89).
  110. Torode, Greg (13 March 2014). "A nervous region eyes robust Chinese response to missing Malaysian plane". Reuters.
  111. "Troop and police contributors". United Nations Peacekeeping (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.
  112. "UNMISS Fact Sheet". UNMISS. สืบค้นเมื่อ 22 December 2017.
  113. Tellis, Ashley J. (June 2020). Hustling in the Himalayas: The Sino-Indian Border Confrontation (PDF). Carnegie Endowment for International Peace (Report). สืบค้นเมื่อ 29 June 2020. These efforts to bring new territorial enclaves under Chinese control are occurring simultaneously at several different locations, such as on the northern bank of the Pangong Tso, at Hot Springs, and in the Galwan Valley, places that all lie astride the LAC in eastern Ladakh
  114. "中华人民共和国国防法". Ministry of National Defense of the People's Republic of China. 27 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 September 2023.
  115. 115.0 115.1 115.2 Liu, Zhen (18 October 2022). "What is China's Central Military Commission and why is it so powerful?". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
  116. The Political System of the People's Republic of China. Chief Editor Pu Xingzu, Shanghai, 2005, Shanghai People's Publishing House. ISBN 7-208-05566-1 Chapter 11, the State Military System, pp. 369–392.
  117. "Xi Jinping Has a New Title: Commander-in-Chief of the People's Liberation Army". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-09-30.
  118. Torode, Greg; Tian, Yew Lun (2023-09-20). "Li Shangfu: Who is China's missing defence minister and how important is he?". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
  119. 119.0 119.1 Lague, David; Lim, Benjamin Kang (23 April 2019). "How China is replacing America as Asia's military titan". Reuters. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
  120. "Considerations for replacing Military Area Commands with Theater Commands". english.chinamil.com.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2018. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  121. Xi declares victory over old rivals Jiang, Hu เก็บถาวร 27 กุมภาพันธ์ 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Asia Nikkei Asian Review, 11 Feb 2016
  122. Army Techniques Publication 7-100.3: Chinese Tactics (PDF). Washington, D.C.: Headquarters, United States Army. 2021. p. 34. ISBN 979-8457607118.
  123. Lague, David (4 March 2008). "China increases military spending". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  124. 124.0 124.1 124.2 124.3 124.4 124.5 124.6 124.7 "What does China really spend on its military?". 28 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2018. สืบค้นเมื่อ 15 August 2018.
  125. "China says defence spending increase to be 'appropriate' | News | al Jazeera". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
  126. "China Sets Date for 'Two Sessions' in Latest Move Toward Post-COVID Normal". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
  127. "What Does China Really Spend on its Military?". 28 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2018. สืบค้นเมื่อ 15 August 2018.
  128. Grevatt, Jon; Andrew, MacDonald (5 March 2021). "China announces 6.8% increase in 2021 defence budget". Janes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2021. สืบค้นเมื่อ 28 April 2021.
  129. Yew Lun Tian (5 March 2022). "China plans 7.1% defence spending rise this year, outpacing GDP target". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2022. สืบค้นเมื่อ 5 March 2022.
  130. 2007 Annual Report to Congress: Military Power of the People's Republic of China. p. 25.
  131. "SIPRI Military Expenditure Database". Stockholm International Peace Research Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2016. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
  132. Ramzy, Austin (4 February 2014). "Middle East, Russia and China fuel 2014 global defense spending surge: report". The Washington Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2014. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
  133. Lawrence, Dune (3 February 2014). "China to Ramp Up Military Spending". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2014. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
  134. "US, China need transparent military ties: Gates." เก็บถาวร 3 มิถุนายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Agence France-Presse, 30 May 2009.
  135. "Amid development of stealth fighter, aircraft carrier, China insists its military not a threat." เก็บถาวร 23 มีนาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Associated Press, 13 June 2011.

อ้างอิง[แก้]