บริการสุขภาพในประเทศจีน
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ (กันยายน 2017) |
บริการสุขภาพในประเทศจีนประกอบด้วยสถาบันการแพทย์และประกันสุขภาพของทั้งสาธารณะและเอกชน ประชาชน 95% โดยประมาณมีประกันสุขภาพอย่างน้อยในระดับพื้นฐาน อย่างไรก็ตามประกันสุขภาพสาธารณะโดยทั่วไปแล้วครอบคลุมค่าใช้จ่ายเพียงครึ่งเดียว และน้อยกว่านี้ในโรคที่รุนแรงหรือเรื้อรัง ภายใต้การริเริ่มโครงการ "จีนสุขภาพดี 2020" ("Healthy China 2020") ตอนนี้ประเทศจีนกำลังอยู่ภายใต้ความพยายามอย่างหนักในการลดค่าบริการสุขภาพลง และรัฐบาลได้กำหยดให้ประกันสุขภาพต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 70% ภายในสิ้นปี 2018[2][3] รัฐบาลจีนกำลังอยู่ภายใต้ความพยายามในการสร้างบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานในราคาที่ถูกลงเพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ภายในปี 2020[4]
ประเทศจีนยังเป็นตลาดใหญ่สำคัญสำหรับบริษัทข้ามชาติที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ บริษัทอย่าง AstraZeneca, GlaxoSmithKline, Eli Lilly และ Merck เข้าสู่ตลาดของจีนและมียอดขายที่เติบโตอย่างถล่มทลาย ประเทศจีนยังกลายเป็นแหล่งรวมสำคัญของการศึกษาวิจัยทางการแพทย์อีกด้วย[5] Sam Radwan จาก ENHANCE International ระบุว่าการคาดการณ์ค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพของจีนในปี 2050 อาจสูงกว่าจีดีพีทั้งหมดของประเทศเยอรมนีปี 2020[6]
ข้อมูลในหน้านี้เกี่ยวกับระบบในจีนแผ่นดินใหญ่ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และมาเก๊าต่างก็มีบริการสุขภาพที่ดูแลนรูปแบบของตนเอง
ประวัติศาสตร์
[แก้]การแพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine; TCM) ปรากฏในประเทศจีนมานานหลายปีและเป็นพื้นฐานของบริการสุขภาพของประเทศจีนมาเป็นส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์ชาติ เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine) แบบตะวันตกเข้ามาในประเทศจีนในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์เข้าปกครองในปี 1949 บริการสุขภาพถูกทำให้เป็นของรัฐ (nationalised) โครงการระดับชาติ "แคมเปญสุขภาพด้วยความรักชาติ" ("patriotic health campaign") ได้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพและอนามัยพื้นฐาน และได้สร้างบริการการแพทย์ขั้นต้นในพื้นที่ชนบทห่างไกลด้วยโครงการเช่น โครงการหมอเท้าเปล่า (Barefoot doctor) ส่วนบริการสุขภาพในเขตเมือง (urban) นั้นถือว่ามีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ในการการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน เมื่อปี 1968 มาตรฐานบริการสุขภาพในประเทศจีนเริ่มที่จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน ระหว่างในเขตเมืองของชนบท เช่นเดียวกันกับระหว่างจังหวัดที่อยู๋ชายฝั่งทะเลกับที่อยู่ด้านในแผ่นดิน บริการสุขถาะส่วนใกญกลายมาเป็นของเอกชน (privatised) บริษัทขนาดใหญ่ต่าง ๆ ของรัฐต่างปิดตัวลงและประชากรในเขตเมืองส่วนใหญ่ถูกเลิกจ้าง และสูยเสียประกัยสังคมและผลประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ประชากรเขตเมืองจำนวนมากต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพเกือบทั้งหมดด้วยนตนเอง (out-of-pocket) เริ่มตั้งแต่ราวทศวรรษ 1990s ส่วนประชากรส่วนใหญ่ในเขตชนบทก็ไม่สามารถเข้ารับบริการทางสุขภาพในโรงพยาบาลเขตเมืองได้ด้วยค่าบริการที่สูงเกินไป
การปฏิรูประบบ
[แก้]นับตั้งแต่ปี 2006 ประเทศจีนได้เริ่มการปฏิรูประบบบริการสุขภาพครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ยุคเหมา (Mao era) โดยรัฐบาลได้เริ่มโครงการ ระบบบริการทางการแพทย์สหกรณ์ชนบทใหม่ (New Rural Co-operative Medical Care System; NRCMCS) ในปี 2005 เป็นการบกระดับระบบบริการสุขภาพใหม่ ซึ่งพุ่งเป้าไปที่การทำใก้บริการการแพทย์ต่าง ๆ ราคาถูกลงเพื่อให้ผู้ยากไร้ในชนบทสามารถเข้าถึงได้ ภายใต้ระบบ NRCMCS ประชาชนในชนบทราว 800 ล้านคนจะได้รับการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานที่แบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ที่ซึ่งรัฐบาลกลางหรือส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบค่าใช้จ่าย 30-80% ของค่ารักษาพยาบาลและบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน[7] ประกันสุขภาพในเขตเมืองก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในปี 2011 ประชากรมากกว่า 95% ของตีนมีประกันสุขภาพขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายส่วนที่ผู้ป่วยจ่ายเอง (out-of-pocket costs) และคุณภาพของบริการสุขภาพนั้นแตกต่างกันอย่างมาก[5] สาธารณูปโภคทางการแพทย์ในเมืองสำคัญอย่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้อยู่ในระดับที่เทียบเท่ากับมาตรฐานของประเทศพัฒนาแล้ว และถือว่าสูงกว่าในพื้นที่ชนบทชั้นในของประเทศมาก
ระบบบริการสุขภาพในปัจจุบัน
[แก้]เมืองใหญ่ ๆ ทุกเมืองในประเทศจีนล้วนมีโรงพยาบาลเฉพาะทางต่าง ๆ และมีความพร้อมด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ประชาชนในเขตเมืองไม่ได้มีประกันสุขภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเหมือนในชนบท ดังนั้นประชาชนเขตเมืองต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเองทั้งหมดหรือซื้อประกันสุขภาพให้ตนเอง คุณภาพของโรงพยาบาลในประเทศยังมีความแตกต่างกันมาก บริการทางการแพทย์ที่ดีที่สุดในประเทศจีนนั้นบริการโดยการร่วมทุนระดับนานาชาติ มีบริการทางการแพทย์และเครื่องมือทางการแพทย์ในระดับตะวันตกพร้อมด้วยบุคลากรในระดับสากล ซึ่งมีเฉพาะในปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้, กว่างโจว, เชินเจิ้น และเมืองใหญ่อื่น ๆ สองสามเมือง ซึ่งมีค่าบริการที่สูงมาก โดยบางบริการอาจมีค่าบริการที่สูงกว่าในโรงพยาบาลรัฐสิบเท่า[ต้องการอ้างอิง] สถานพยาบาลของรัฐนั้นมีให้บริการในทุกเมืองของจีน และคุณภาพก็แตกตางกันไปตามแต่ละเมือง ระดับดีที่สุดมักมีในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำเมือง รองลงมาคือคลินิกขนาดเล็กประจำเขต โรงพยาบาลรัฐในเมืองใหญ่ ๆ มักมีหอผู้ป่วยที่เรียกว่า "วอร์ดวีไอพี" (V.I.P. wards; gāogàn bìngfáng (จีน: 高干病房) ซึ่งเป็นส่วนที่ให้บริการโดยบุคลากรที่มีประสบการณ์และทักษะสูง รวมทั้งพร้อมด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใหม่อย่างมีเหตุผล นอกจากนี้วอร์ดวีไอพีส่วนมากยังมีความพร้อมที่จะให้บริการแก่ชาวต่างชาติด้วยบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ และมีค่าบริการที่สูงกว่าวอร์ดทั่วไป แต่ถือว่าถูกกว่ามาตรฐานของบริการในตะวันตก นอกจากบริการทางการแพทย์แบบสมัยใหม่แล้ว การแพทย์แผนจีนก็เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีโรงพยาบาลหรือคลินิกการแพทย์แผนจีนกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ
ในอดีต พื้นที่ชนบทนั้นสาธารณสุขในประเทศจีนมีเฉพาะในคลินิกที่ให้บริการขั้นพื้นฐาน (rudimentary care) โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี รวมทั้งยังมียารักษาโรค อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ไม่เพียงพอ ในขณะที่บางพื้นที่ในชนบทกลับมีอุปกรณ์ที่มีความพร้อมและทันสมัยกว่ามาก อย่างไรก็ตามคุณภาพของบริการสุขภาพในพื้นที่ชนบทได้พัฒนาขึ้นมากตั้งแต่ปี 2009 รัฐบาลยังแก้ปัญหาที่ชาวบ้านในชนบทบางส่วนไม่สามารถเดินทางไกลเพื่อไปยังสถานบริการสุขภาพที่ใล้ที่สุดได้ โดยการจัดตั้งหมอเพื่อครัวเรือน (family doctor) ซึ่งเดินทางไปตามพื้นที่ห่างไกลต่าง ๆ และให้บริการทางการแพทย์ถึงที่ครัวเรือน[8][9][10][11][12]
การปฏิรูประบบการเข้าถึงการแพทย์ในพื้นที่เขตเมืองได้กระตุ้นให้เกิดความกังวลถึงความต้องการและการปรับปรุงระบบของศูนย์บริการสุขภาพชุมชน อย่างไรก็ตามงานวิจัยเมื่อปี 2012 พบว่าผู้ป่วยที่มีประกันสุขภาพมีแนวโน้มที่จะใช้บริการจากศูนย์บริการสุขภาพชุมชนมากกว่าที่จะใช้บริการในคลินิกเอกชน[13]
ทรัพยากร
[แก้]ในปี 2005 ประเทศจีนมีแพทย์ 1,938,000 คน (แพทย์ 1.5 คนต่อประชากร 1,000 คน) และโรงพยาบาลทั่วประเทศมี 3,074,000 เตียง (2.4 เตียงต่อประชากร 1,000 คน)[14] 80% ของบริการสุขภาพและการแพทย์กระจุกตัวอยู่ในเมือง (cities) และบริการการแพทย์ที่ทันท่วงที (timely medical care) นั้นเข้าไม่ถึงประชากรกว่า 100 ล้านคนในเขตชนบท เพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมนี้ ในปี 2005 จีนได้จัดตั้งโครงการห้าปีที่จะลงทุนมูลค่า 20 พันล้านหยวน (2.4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ) เพื่อสร้างระบบบริการทางการแพทย์ในเขตชนบทใหม่ ประกอบด้วยคลินิกหมู่บ้าน (village clinics) และโรงพยาบาลระดับชุมชน (township) และระดับจังหวัด (county)[15]
นอกจากนี้ในประเทศจีนยังประสบปัญหาแพทย์และพยาบาลขาดแคลน ถึงแม้จะมีปริมาณการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นแต่แพทย์ส่วนใหญ่ก็มีเป้าหมายที่จะไม่ทำงานในเขตชนบท เพื่อเข้าทำงานในเขตเมืองมากกว่า ทำให้เกิดการขาดแคลนอย่างหนักในเขตชนบท[16]
อีกปัญหาใหญ่หนึ่งคือ "รถพยาบาลดำ" ("black ambulances") หรือบริการรถพยาบาลที่ผิดกฏหมาย ให้บริการโดยเอกชน และทำไปเพื่อกำไร ด้วยจากปัญหาขาดแคลนรถพยาบาลของโรงพยาบาลต่าง ๆ แม้แต่ในเมืองใหญ่ รถพยาบาลดำนั้นมักบริหารโดยเอกชน และประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ผ่านการอบรม ไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือพยุงชีพ และเก็บค่าบริการจากผู้ป่วย ถึงแม้จะมีความพยายามของรัฐในการกำจัดปัญหานี้ แต่จำนวนของธุรกิจรถพยาบาลดำกลับสูงขึ้นเรื่อย ๆ[17]
การผลิตแพทย์
[แก้]ระบบการศึกษาแพทยศาสตร์ของจีนนั้นได้รับแบบอย่างมาจากบริเตน ในขณะที่โรงเรียนแพทย์บางส่วนมีหลักสูตรแพทย์สามปี โรงพยาบาลมีแนวโน้มที่จะเลือกจ้างแพทย์ที่จบการศึกษาจากหลักสูตรห้าปีมากกว่า ส่วนโรงพยาบาลระดับที่มีชื่อเสียง (big-name) จะเลือกรับเฉพาะแพทย์ที่จบด้วยวุฒิแพทยศาสตร์บัณฑิต (MD) ซึ่งเป็นแพทย์ที่จบการศึกษาจากหลักสูตรเจ็ดปี ซึ่งรวมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอีกห้าปี ตามด้วยการได้รับวุฒิด็อกเตอร์ (PhD) ในสาขาการแพทย์ เมื่อนักเรียนแพทย์จบการศึกษาจากโรงเรียนแพทย์แล้ว จะต้องทำงานในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 1-3 ปี จากนั้นจึงจะมีสิทธิ์สอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ระดับชาติ (National Medical Licensing Examination; NMLE) เพื่อได้รับใบประกอบวิชาชีพแพทย์ ซึ่งจัดโดยศูนย์การสอบแพทย์แห่งชาติ (National Medical Examination Center; NMEC) เมื่อผ่านการสอบนี้แล้วจึงจะสามารถประกอบอาชีพในฐานะวิชาชีพแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (professional physician) และได้รับการรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุข ในประเทศจีนการประกอบอาชีพแพทย์หรือพยาบาลโดยไม่มีใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นสิ่งผิดกฏหมาย[18] และแพทย์จะสามารถเปิดคลินิกของตนเองได้หลังประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลครบห้าปี
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.shanghairanking.com/Chinese_Universities_Rankings/Overall-Medical-Ranking-2019.html
- ↑ http://news.xinhuanet.com/english/2016-02/26/c_135131604.htm
- ↑ "China's Health Care Reform: Far from Sufficient".
- ↑ "China's Healthcare Reform: How Far Has It Come?". January 2011.
- ↑ 5.0 5.1 Frank Le Deu; และคณะ. "Health care in China: Entering 'uncharted waters'". McKinsey & Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-28. สืบค้นเมื่อ November 2012.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Opportunities in the Chinese Healthcare Market
- ↑ The reform of the rural cooperative medical system in the People's Republic of China: interim experience in 14 pilot counties. Authors: Carrin G.1, and others Source: Social Science and Medicine, Volume 48, Number 7, April 1999, pp.961-972(12)
- ↑ "Health Information - Beijing, China - Embassy of the United States". usembassy-china.org.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-26.
- ↑ "Accessing Medical Services and Hospitals". Angloinfo. Angloinfo. สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.
- ↑ "China Guide: Health care in China, Doctors, clinics and hospitals: Health care is widely available in China". Just Landed.
- ↑ "China: Doctors on Wheels Bring Quality Care to Rural Residents". worldbank.org.
- ↑ http://www.chinadaily.com.cn/china/2016-02/26/content_23657044.htm
- ↑ Qian, D; และคณะ (2010). "Determinants of the Use of Different Types of Health Care Provider in Urban China: A racer illness study of URTI". Health Policy. 98 (2–3): 227–35. doi:10.1016/j.healthpol.2010.06.014. PMID 20650539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 26 May 2012.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-23. สืบค้นเมื่อ 2016-04-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Meesen, B; B Bloom (2007). "Economic Transition, Institutional Changes And The Health System: Some Lessons From Rural China". Journal of Economic Policy and Reform. 10 (3). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ 26 May 2012.
- ↑ "China Medical Board". สืบค้นเมื่อ 21 January 2013.
- ↑ "Dangerous wail of the sirens - Global Times". globaltimes.cn.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-30. สืบค้นเมื่อ 2016-04-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)