ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีน | |
---|---|
![]() | |
รายละเอียด | |
ผู้ใช้ตรา | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
เริ่มใช้ | 20 กันยายน 1950 |
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีน | |||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 中华人民共和国国徽 | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 中華人民共和國國徽 | ||||||||
|
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน: 中华人民共和国国徽) เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วยวงกลมสีแดงซึ่งแสดงภาพประตูเทียนอัน ประตูทางเข้าสู่พระราชวังต้องห้าม ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมา เจ๋อตงประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949 เหนือภาพนี้คือดาวห้าดวงที่ปรากฏบนธงชาติ ดาวดวงใหญ่ที่สุดเป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ขณะที่ดาวดวงเล็กสี่ดวงเป็นตัวแทนของสี่ชนชั้นทางสังคมปฏิวัติตามที่กำหนดไว้ในลัทธิเหมา ตราแผ่นดินถูกอธิบายว่า "มีองค์ประกอบที่มาจากธงชาติ":[1]
...สีแดงของธงชาติเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติ สีเหลืองของดวงดาวเป็นสัญลักษณ์ของแสงสีทองที่ส่องประกายจากแผ่นดินสีแดงอันกว้างใหญ่ การออกแบบดาวดวงเล็กสี่ดวงล้อมรอบดาวดวงใหญ่หนึ่งดวง หมายถึงความสามัคคีของประชาชนชาวจีนภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
—หนังสือรายปีจีน 2004[2]
รอบขอบนอกวงกลมสีแดงแสดงรวงข้าวสาลีและขอบในแสดงรวงข้าวโอบล้อมทั้งสองด้าน รวมกันเป็นสัญลักษณ์ของแรงงานเกษตรกรรม ตรงกลางส่วนล่างของตรามีฟันเฟืองเป็นสัญลักษณ์ของแรงงานอุตสาหกรรม
ตาม คำอธิบายตราแผ่นดินสาธารณรัฐประชาชนจีน (中华人民共和国国徽图案说明) องค์ประกอบเหล่านี้เมื่อรวมกันแล้วสื่อถึงการต่อสู้เพื่อการปฏิวัติของประชาชนชาวจีนนับตั้งแต่ขบวนการ 4 พฤษภาคมและการรวมตัวของชนกรรมาชีพที่ประสบความสำเร็จในการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ประวัติศาสตร์
[แก้]สมัยเป่ย์หยาง
[แก้]
จักรวรรดิจีนในช่วงราชวงศ์ชิงที่นำโดยชาวแมนจูไม่มีตราแผ่นดินอย่างเป็นทางการ แต่ธงมีรูปมังกรฟ้าบนพื้นสีเหลืองเรียบและมีดวงอาทิตย์สีแดงรูปอีกาสามขา[ต้องการอ้างอิง] อยู่ที่มุมบนซ้าย มันกลายเป็นธงชาติผืนแรกของจีนและโดยทั่วไปถูกเรียกว่าธงมังกรเหลือง
เมื่อสิ้นสุดการปกครองของแมนจู ผู้นำเห็นว่าจำเป็นต้องมีสัญลักษณ์ประจำชาติใหม่เพื่อแสดงถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หลู่ ซฺวิ่น, เฉียน เต้าซุน และสฺวี่ โชวชาง นักเขียนชื่อดังจากกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับมอบหมายให้ออกแบบตราแผ่นดินใหม่ มันถูกนำเสนอในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1912 และได้รับการรับรองเป็นตราแผ่นดินในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 ประธานาธิบดี-จักรพรรดิยฺเหวียน ชื่อไข่ ยังคงใช้ตราแผ่นดินนี้ต่อไปในระหว่างการครองราชย์อันสั้นของเขาตั้งแต่ ค.ศ. 1915 ถึง 1916 ตราแผ่นดินนี้มีพื้นฐานมาจากสัญลักษณ์โบราณของเครื่องประดับสิบสองชนิด[ต้องการอ้างอิง] สิ่งเหล่านี้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกว่าเก่าแก่แล้วในตำราชูจิง (Book of Documents) โดยพระเจ้าชุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสามราชาห้าจักรพรรดิในตำนาน ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาด้วยปากเปล่าเชื่อกันว่าพระองค์มีพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 2294 ถึง 2184 ปีก่อนคริสตกาล[3] ตามตำราเล่มนั้น พระองค์ทรงปรารถนาให้สัญลักษณ์เหล่านั้นถูกใช้บนฉลองพระองค์ทางการของรัฐ
สมัยชาตินิยม
[แก้]
การกรีธาทัพขึ้นเหนือนำโดยจอมพลเจียง ไคเชกและพรรคก๊กมินตั๋งนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลเป่ย์หยางที่แตกแยกแต่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติใน ค.ศ. 1928 สิ่งนี้ได้นำไปสู่การก่อตั้งรัฐพรรคการเมืองเดียวภายใต้ก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อทศวรรษนานกิง ดังนั้นตราประจำรัฐจึงถูกแทนที่ด้วย "ตะวันฉาย ฟ้าใส" ตราสัญลักษณ์ของก๊กมินตั๋ง ธง "ท้องฟ้าสีคราม ตะวันสาดส่อง ปฐพีแดง แผ่นดินอุดม" ยังคงเป็นธงชาติของสาธารณรัฐจีนมาจนถึงทุกวันนี้ ในช่วงเวลานี้ ภายใต้การปกครองทางการเมืองของก๊กมินตั๋ง ธงฟ้าสีครามตะวันสาดส่องได้รับการยกย่องเทียบเท่ากับธงชาติสาธารณรัฐจีน การแสดงบนผนังทั่วไปประกอบด้วยธงก๊กมินตั๋งวางอยู่ทางซ้ายและธงสาธารณรัฐจีนวางอยู่ทางขวา โดยแต่ละธงเอียงทำมุมและมีภาพเหมือนของบิดาแห่งชาติ ซุน ยัตเซ็น แสดงอยู่ตรงกลาง หลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีน ธงพรรคถูกถอดจากการแสดงดังกล่าวและธงชาติถูกย้ายไปอยู่ตรงกลางแทน
นับตั้งแต่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนย้ายไปยังไต้หวันและโดยเฉพาะในช่วงหลายปีหลังการสิ้นสุดกฎอัยการศึก ธงของก๊กมินตั๋งได้ลดความโดดเด่นลงไปบ้าง อย่างไรก็ตาม เรายังคงเห็นมันได้บ่อยครั้งบนอาคารพรรคก๊กมินตั๋งในการชุมนุมทางการเมืองและการประชุมอื่น ๆ ของก๊กมินตั๋งและกลุ่มพันธมิตรสีน้ำเงิน
สมัยคอมมิวนิสต์
[แก้]

รัฐบาลคอมมิวนิสต์แห่งแรกในจีนซึ่งรู้จักกันในชื่อ สาธารณรัฐโซเวียตจีนได้นำตราสัญลักษณ์มาใช้ใน ค.ศ. 1934 มันประกอบด้วยรูปค้อนและเคียวบนลูกโลก และรวงข้าวถูกวางไว้ด้านล่างและทั้งสองด้านของลูกโลก เหนือรูปโลกและดาวห้าแฉกมีข้อความเขียนว่า "สาธารณรัฐโซเวียตจีน" อยู่ด้านบน และข้อความ "กรรมกรทั่วโลกจงสามัคคีกัน!" เขียนอยู่ด้านล่าง
วันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1949 รัฐบาลจัดประกวดออกแบบตราแผ่นดินแบบเปิด แต่ไม่มีแบบใดที่ได้รับการคัดเลือกว่าน่าพอใจ ดังนั้น ในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1949 การประชุมเต็มสภาครั้งแรกของสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนจึงตัดสินใจเชิญนักออกแบบให้เสนอแบบร่างตราแผ่นดินและมีการคัดเลือกสองกลุ่มจากสองมหาวิทยาลัยในเดือนกันยายน ค.ศ. 1949 มีข้อเสนอสามข้อที่ได้รับเลือกสำหรับการอภิปรายรอบแรก:
- วันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1949 นักออกแบบจากสถาบันวิจิตรศิลป์กลางแห่งประเทศจีน ได้แก่ จาง ติง, จาง กวงยฺหวี, โจว หลิงจ้าว และจง หลิง ได้ยื่นข้อเสนอของพวกเขาพร้อมแบบร่าง 5 รูปแบบ สัญลักษณ์ของการออกแบบแรกของพวกเขาคือดาวแดงเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์และพรรคคอมมิวนิสต์จีน เฟืองและข้าวสาลี/ข้าวเป็นสัญลักษณ์ของการรวมกันของแรงงานอุตสาหกรรมและชาวนา โลกที่กำลังผุดขึ้นพร้อมประเทศจีนที่เป็นสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติสังคมนิยมในจีน และอุดมคติการปฏิวัติโลกในประเทศแถบเอเชีย รังสี 31 เส้นที่อยู่ด้านหลังโลกเป็นสัญลักษณ์ของ 31 เขตการปกครองระดับมณฑลในเวลานั้น ชื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนถูกเขียนบนแถบผ้าสีแดงด้านล่าง[4] การออกแบบนี้มีพื้นฐานมาจากการออกแบบตราสัญลักษณ์ของกฎบัตรสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน และได้รับอิทธิพลจากตราแผ่นดินสังคมนิยมของกลุ่มประเทศตะวันออก
- วันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1949 นักออกแบบจากภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิงหฺวา ได้แก่ เหลียง ซือเฉิง, หลิน ฮุ่ยอิน, มั่ว จงเจียง, จู ฉางจง, หลี่ จ้งจิน และเกา จวง ได้ยื่นข้อเสนอของพวกเขา ตามข้อเสนอของพวกเขา การออกแบบเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมและอุดมการณ์การปฏิวัติประชาธิปไตยใหม่ของลัทธิเหมา การออกแบบเลียนแบบรูปแบบกระจกในสมัยราชวงศ์ฮั่น สัญลักษณ์ของความสว่าง แผ่นจานทำจากหยก สัญลักษณ์ของสันติภาพและความสามัคคี ลวดลายแกะสลักประดับบนแผ่นจานมีรูปแบบศิลปะสมัยราชวงศ์ถัง ดาวจากธงชาติและเฟืองถูกวางไว้ตรงกลางของจาน ล้อมรอบด้วยรวงข้าวสาลี สัญลักษณ์ของความสามัคคีของชนชั้นแรงงานและสังคมนิยม แหวนหยกวงเล็กผูกด้วยแถบแพรสีแดง เป็นสัญลักษณ์ของการรวมชาติของชาวจีน[5]
- ข้อเสนออีกข้อหนึ่งโดยจาง ติ้ง, จาง กวงยฺหวี และโจวหลิงเจา คือการนำเสนอภาพทัศนียภาพของประตูเทียนอัน
- การเสนอตราแผ่นดินรอบแรก
-
ข้อเสนอของสถาบันวิจิตรศิลป์กลางแห่งประเทศจีน 25 กันยายน ค.ศ. 1949
-
ข้อเสนอของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา 30 ตุลาคม ค.ศ. 1949

สมาชิกคณะกรรมาธิการร่างกฎบัตรชุดแรกของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีนอภิปรายข้อเสนอทั้งสามนี้ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1950 ผลการอภิปรายคือข้อเสนอจากสถาบันวิจิตรศิลป์กลางแห่งประเทศจีนมีสีสันมากเกินไป และข้อเสนอจากมหาวิทยาลัยชิงหฺวาถูกมองว่าเป็นแบบชนชั้นกระฎุมพีเนื่องจากการใช้สัญลักษณ์ดั้งเดิม คณะกรรมาธิการเสนอแบบของกลุ่มต่าง ๆ เช่น ประตูเทียนอัน สัญลักษณ์ของการปฏิวัติจีนที่เป็นสถานที่ของขบวนการ 4 พฤษภาคมและการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949[6]
จากนั้นทั้งสองกลุ่มได้ทำงานในข้อเสนอรอบที่สอง ข้อเสนอรอบที่สองจากมหาวิทยาลัยชิงหฺวาอิงตามการออกแบบที่เป็นมาตรฐานของประตูเทียนอันบนตราและเลือกสีแดงและสีเหลืองเป็นสีหลัก[7]
- การเสนอตราแผ่นดินรอบที่สอง
-
ข้อเสนอของสถาบันวิจิตรศิลป์กลางแห่งประเทศจีน
หมายเลข 1 - 15 มิถุนายน ค.ศ.1950 -
ข้อเสนอของสถาบันวิจิตรศิลป์กลางแห่งประเทศจีน
หมายเลข 2 -
ข้อเสนอของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา
หมายเลข 1 -
ข้อเสนอของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา
หมายเลข 2 -
ข้อเสนอของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา
หมายเลข 3 -
ข้อเสนอของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา
ในการประชุมคณะกรรมาธิการสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนในวันที่ 15 มิถุนายน ข้อเสนอจากมหาวิทยาลัยชิงหฺวาได้รับการคัดเลือกและคณะกรรมาธิการเสนอแนะว่า "ให้รวมการออกแบบของหมายเลข 1 และหมายเลข 3 โดยใช้รอบนอกของหมายเลข 1 และภายในของหมายเลข 3"[8]
มหาวิทยาลัยชิงหฺวานำเสนอการออกแบบใหม่ของพวกเขาและข้อเสนอของพวกเขาได้รับการคัดเลือกและได้รับการประกาศให้เป็นตราแผ่นดินอย่างเป็นทางการเมื่อ 20 กันยายน ค.ศ. 1950 โดยรัฐบาลประชาชนส่วนกลาง การออกแบบที่ได้รับเลือกได้รับการปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานและเรียบง่ายขึ้นโดยเกา จวง และได้รับการยืนยันเมื่อ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1950[9]
- ข้อเสนอตราแผ่นดินที่ได้รับการคัดเลือก
-
แบบร่างแรกเริ่ม 17 มิถุนายน ค.ศ. 1950
-
ภาพร่างของแบบร่างแรกเริ่ม 20 มิถุนายน ค.ศ. 1950
-
แบบร่างแรกเริ่ม 20 มิถุนายน ค.ศ. 1950
การสร้าง
[แก้]มาตรฐานแห่งชาติจีน GB 15093-2008 ระบุรายละเอียดการสร้าง วัสดุ และสีของตราแผ่นดิน
สัดส่วน | การสร้าง |
---|---|
![]() |
![]() |
ตราของเขตการปกครอง
[แก้]ก่อนพรรคคอมมิวนิสต์จะเข้ายึดครองจีนแผ่นดินใหญ่ สาธารณรัฐจีนเคยให้แต่ละมณฑลออกแบบตราของตนเอง อย่างไรก็ตาม มีตราสัญลักษณ์เพียงสองแบบเท่านั้นที่ถูกใช้
วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1984 เมืองไท่หยวนประกาศตราประจำเมืองอย่างเป็นทางการ กลายเป็นเมืองแรกในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีตราประจำเมือง
ฮ่องกงและมาเก๊าต่างมีตราประจำเขตของตนเอง สภาประชาชนแห่งชาติผ่านการใช้ตราของเขตบริหารพิเศษทั้งสองแห่งอย่างเป็นมาตรฐาน
ภายใต้กฎหมายจีนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1997 มีเพียงฮ่องกงและมาเก๊าเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้มีตราของตนเองและท้องถิ่นอื่น ๆ ที่เคยมีตราต้องเลิกใช้[10]
กฎหมายนี้ถูกละเลยใน ค.ศ. 2011 เมื่อเมืองเฉิงตูเลือกนกตะวันทองที่ค้นพบใต้แหล่งโบราณคดีจินชาของเมืองเป็นตราประจำเมือง[11]
เมือง
[แก้]เขตบริหารพิเศษ
[แก้]ประวัติศาสตร์ตราแผ่นดิน
[แก้]-
ไท่ผิงเทียนกั๋ว (1851–1864)
-
ตะวันฉาย ฟ้าใส ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐจีน (1928–ปัจจุบัน) และเครื่องหมายอากาศยานของกองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน (1991–ปัจจุบัน)
-
เครื่องหมายอากาศยานของกองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน (1928–1991)
-
เครื่องหมายอากาศยานของกองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน (1928–1991) แบบอ่อน
-
ตราของจีนไทเปที่ใช้ในกีฬาโอลิมปิก (1981–ปัจจุบัน)
-
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐจีนพร้อมข้อความล้อมรอบตามที่ปรากฏบนหนังสือเดินทางของสาธารณรัฐจีน (2021–ปัจจุบัน)
-
ตราของสาธาาณรัฐโซเวียตจีน (1934–1937)
-
รัฐบาลปกครองตนเองชานซีตอนเหนือ (1937–1939)
-
เหมิ่งเจียง (1939–1945)
-
พระราชลัญจกรของจักรพรรดิแมนจู (1932–1945)
-
นิคมนานาชาติเซี่ยงไฮ้ (ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
-
ตราแผ่นดินของรัฐบาลชาตินิยมปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีน (1940–1945)
-
ลัญจกรของรัฐบาลประชาชนสาธารณรัฐประชาชนจีน (1949–1959)[12]
-
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีน (1950–ปัจจุบัน)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Description of the National Emblem from Chinese Government web portal. เก็บถาวร 2012-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ National flag เก็บถาวร 2007-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Williams, C.A.S (2001). Chinese Symbolism and Art Motifs (4th ed.). Tuttle Publishing. p. 386. ISBN 0-8048-3704-X.
- ↑ 国徽图案参考资料, Reference on proposals of national emblem, 1949.
- ↑ 徐志摩诗文网 เก็บถาวร 2013-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 拟制国徽图案说明, Explanation of national emblem proposal
- ↑ 到底是谁设计了国徽,新华网
- ↑ 正投影 国徽设计中亮丽的一笔 เก็บถาวร 2013-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "国徽诞生记 清华大学建筑学院教授 秦佑国". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-30. สืบค้นเมื่อ 2023-07-30.
- ↑ 高庄:命运多舛的国徽浮雕定型设计者
- ↑ 中共中央办公厅、国务院办公厅关于禁止自行制作和使用地方旗、徽的通知 (Chinese Communist Central Governmental Notice to Ban Making and Using Local Flags and Emblems)
- ↑ "Chengdu Unveils its New City Logo". news.ifeng.com. 2011-12-30. สืบค้นเมื่อ 2012-09-30.
- ↑ "Seal of the People's Government of the People's Republic of China". สืบค้นเมื่อ Jun 16, 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- กว่าจะเป็นตราสัญลักษณ์แห่งประเทศจีน... จากผู้จัดการออนไลน์