ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้รายละเอียดประวัติศาสตร์จีนแผ่นดินใหญ่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เมื่อเหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประกาศบนเทียนอันเหมินหลังพรรคคอมมิวนิสต์จีนเกือบได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด (ค.ศ. 1949) ในสงครามกลางเมืองจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหน่วยงานทางการเมืองล่าสุดที่ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ โดยปกครองต่อจากสาธารณรัฐจีน (1912–1949) และราชวงศ์ของจักรพรรดิพันกว่าปี ผู้นำสูงสุดของจีนได้แก่เหมา เจ๋อตุง (1949–1976); ฮฺว่า กั๋วเฟิง (1976–1978); เติ้ง เสี่ยวผิง (1978–1989); เจียง เจ๋อหมิน (1989–2002); หู จิ่นเทา (2002–2012) และสี จิ้นผิง (2012 ถึงปัจจุบัน)[1]

ต้นกำเนิดของสาธารณรัฐประชาชนสามารถสืบได้ถึงสาธารณรัฐโซเวียตจีนที่ประกาศใน ค.ศ. 1931 ที่รุ่ยจิน มณฑลเจียงซี โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพทั้งมวลในสหภาพโซเวียต[2][3] ในช่วงสงครามกลางเมืองจีนต่อรัฐบาลชาตินิยม แต่กลับยุบเลิกใน ค.ศ. 1937[4]

ในสมัยการปกครองของเหมา ประเทศจีนได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนิยมจากสังคมชาวนาแบบดั้งเดิม เอนเอียงไปทางอุตสาหกรรมหนักภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน ในขณะที่นโยบายอย่างการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าและการปฏิวัติทางวัฒนธรรมสร้างความหายนะไปทั่วทั้งประเทศ การปฏิรูปเศรษฐกิจที่นำโดยเติ้ง เสี่ยวผิงตั้งแต่ ค.ศ. 1978 นำพาจีนไปสู่เศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุด โดยมีความเชี่ยวชาญพิเศษในส่วนของโรงงานที่ให้ผลผลิตสูง และเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีชั้นสูงบางด้าน ส่วนในระดับโลก หลังได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตในคริสต์ศตวรรษ 1950 จีนกลายเป็นศัตรูของสหภาพโซเวียตจนกระทั่งมีฮาอิล กอร์บาชอฟเดินทางเยือนจีนในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1989 ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ความมั่งคั่งและเทคโนโลยีใหม่นำไปสู่การแข่งขันเพื่อความเป็นอันดับหนึ่งในกิจการเอเชีย ปะทะกับอินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐ และสงครามการค้ากับสหรัฐที่เติบโตขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 2017[5]

เหมา เจ๋อตง (ค.ศ. 1949–1976)[แก้]

การปฏิรูปวัฒนธรรมในช่วงแรก[แก้]

เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้าปกครองประเทศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงธงชาติ เพลงชาติ วันชาติจากเดิมวันที่10 ตุลาคม มาเป็นวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี สัญลักษณ์ของพรรคก๊กมินตั๋งถูกทำลายและสั่งห้าม

ส่วนในด้านภาษา เมื่อได้มีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น รัฐบาลกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ประดิษฐ์อักษรตัวย่อที่เรียกว่า อักษรจีนตัวย่อ ขึ้นมาใช้แทนอักษรจีนตัวเต็มที่เป็นแบบโบราณและดั้งเดิมกลายเป็นอักษรภาษาจีนใหม่ ตัวอักษรดังกล่าวถูกต่อต้านโดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน (ก๊กมินตั๋ง) ที่อยู่บนเกาะไต้หวัน เห็นว่าอักษรจีนตัวย่อเป็นของคอมมิวนิสต์ซึ่งทำลายอักษรจีนที่มีคุณค่าทางจิตวิญญาณและศิลปะวัฒนธรรมจีนดั้งเดิม รัฐบาลสาธารณรัฐจีนจึงยังคงอนุรักษ์และใช้อักษรจีนตัวเต็ม ส่วนในสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงหันมาใช้อักษรจีนตัวย่อจวบจนปัจจุบัน

สงครามเกาหลี[แก้]

ทหารจีน (กองทัพประชาชนอาสา)ในสงครามเกาหลี

หลังจากที่มีการแบ่งเกาหลีเป็น 2 ส่วนหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 คิม อิล-ซ็อง ผู้นำเกาหลีเหนือมีความมุ่งมั่นที่จะรวมประเทศด้วยการใช้กำลัง จีนได้เข้ามามีส่วนสนับสนุนให้เกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 ในโลกทัศน์ของเหมา เจ๋อตง การเผชิญหน้ากับโลกทุนนิยมที่นำโดยสหรัฐอเมริกาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งยังจะเป็นประโยชน์ต่อการปลุกระดมมวลชนให้มีจิตสำนึกของการปฏิวัติตลอดกาลอีกด้วย จีนในต้นยุคสงครามเย็นจึงดำเนินนโยบาย “เอียงเข้าข้างหนึ่ง” (lean to one side) โดยลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรกับสหภาพโซเวียตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950 และในช่วงกลางปี ค.ศ. 1949 ถึงต้น ค.ศ. 1950 จีนได้อนุญาตให้ทหารเกาหลีเหนือที่มาช่วยรบในสงครามกลางเมืองจีนจำนวนราว 50,000 คนเดินทางกลับประเทศได้ ซึ่งต่อมาทหารเหล่านี้ส่วนหนึ่งกลายเป็นกองพลที่ 5 แห่งกองทัพประชาชนเกาหลีที่ตั้งมั่นอยู่ใกล้เส้นขนานที่ 38 จึงเท่ากับว่าจีนมีส่วนสนับสนุนให้เกิดสงครามครั้งนี้

ในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1950 ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส ทรูแมน (Harry S. Truman) แห่งสหรัฐ ได้มีคำสั่งให้กองเรือที่ 7 เคลื่อนพลไปยังช่องแคบไต้หวันเพื่อคุ้มครองรัฐบาลก๊กมินตั๋ง จึงเท่ากับเป็นการขัดขวางแผนการบุกไต้หวันของเหมา ต่อมาในวันที่ 15 กันยายนของปีเดียวกัน กองทัพสหประชาชาตินำโดยจอมพลดักลาส แมกอาเธอร์ (Douglas McArthur) ได้ยกพลขึ้นบกที่เมืองอินช็อน และเมื่อถึงสิ้นเดือนนั้นก็สามารถขับไล่ทหารเกาหลีเหนือกลับขึ้นไปจนข้ามเส้นขนานที่ 38 ยึดกรุงเปียงยางของเกาหลีเหนือ และมุ่งหน้าทิศเหนือสู่แม่น้ำยาลฺวี่ที่ติดกับพรมแดนของจีน คิม อิล-ซ็อง จึงได้เรียกทูตจีนประจำเกาหลีเหนือเข้าพบในวันที่ 1 ตุลาคม เพื่อขอให้จีนส่งทหารมาช่วย และได้ส่งปัก อิลยู (Pak Il U) เดินทางไปยังกรุงปักกิ่งเพื่อยื่นจดหมายที่เขาเขียนด้วยลายมือตนเองให้กับเหมา ต่อมาในวันที่ 4 ตุลาคม เหมาจึงเรียกประชุมคณะกรรมาธิการกรมการเมืองอย่างเร่งด่วน เพื่อขอมติส่งทหารไปช่วยเกาหลี ถือเป็นสงครามนอกประเทศครั้งแรกหลังจากที่ได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เพิ่งก่อตั้งได้เพียง 1 ปีเท่านั้น โดยรัฐบาลกลางนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนส่งทหารเข้าร่วมสงครามเกาหลีกว่า 1,350,000 นายโดยประมาณ ซึ่งมีผลอย่างมากในสงครามเกาหลี

จอมพลเผิง เต๋อหวย ซึ่งเป็นหนึ่งในเสียงข้างน้อยที่สนับสนุนการส่งทหารไปช่วยเกาหลีเหนือ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารและนำกองทัพข้ามแม่น้ำยาลฺวี่ไปช่วยเกาหลีเหนือเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1950

การเข้าร่วมสงครามเกาหลีของทหารจีนจำนวน 1,350,000 คน มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เกาหลีเหนือสามารถยึดกรุงเปียงยางกลับคืนมาได้ และขับไล่กองทัพสหประชาชาติลงไปที่เส้นขนานที่ 38 ได้สำเร็จในเดือนมกราคม ค.ศ. 1951 อย่างไรก็ตาม จุดยืนที่แตกต่างกันระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือก็ปรากฏขึ้นในระหว่างสงคราม เมื่อเหมาเห็นว่าเป็นการยากที่จะขับไล่กองทัพสหประชาชาติออกไปจากคาบสมุทรเกาหลีได้ทั้งหมด และการที่จีนสามารถขับไล่กองทัพสหประชาชาติลงไปที่เส้นขนานที่ 38 ได้สำเร็จก็นับว่าเป็นชัยชนะแล้ว หากแต่คิม อิล-ซ็อง ผู้ก่อสงครามนั้นถือว่าชัยชนะสำหรับเขาจะต้องหมายถึงการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น แต่เนื่องจากคิมมีกำลังทหารน้อยกว่าจึงต้องยอมตามที่เหมาต้องการ โดยในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1953 มีการทำข้อตกลงสงบศึกระหว่างกองทัพจีนและกองทัพเกาหลีเหนือฝ่ายหนึ่งกับกองทัพสหประชาชาติอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าเกาหลียังคงแบ่งเป็นเหนือกับใต้ตามเดิม เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นเขตแดนเล็กน้อยเท่านั้น

ความล้มเหลวในการใช้กำลังรวมประเทศของคิม อิล-ซ็อง ทำให้กลุ่มของโช ชาง-อิก (Choe Chang-Ik) ลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจของเขาในพรรค กลุ่มดังกล่าวมีชื่อเรียกว่ากลุ่มเอี๋ยนอัน (The Yan’an Group) เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มจำนวนมากเคยทำงานร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ยังตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเอี๋ยนอันในมณฑลฉ่านซี พวกเขาจึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้นำของจีนมากกว่าที่คิม อิล-ซ็องมี แต่แล้วในปี ค.ศ. 1956 ความเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ก็ล้มเหลวและมีสมาชิกบางส่วนลี้ภัยไปยังจีน เหมาเจ๋อตงจึงส่งจอมพลเผิง เต๋อหวย และจอมพลเนี่ย หรงเจิน (Nie Rongzhen) เดินทางไปเกาหลีเหนือเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1957 เพื่อเจรจาขอให้คิม อิล-ซ็อง รับผู้ลี้ภัยเหล่านี้กลับเป็นสมาชิกพรรคตามเดิม ซึ่งก็สำเร็จเพียงชั่วเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะการแทรกแซงจากจีนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเอี๋ยนอันรวมถึงการที่จีนยังคงทหารเกือบ 500,000 คนเอาไว้ในเกาหลีเหนือหลังสงครามเกาหลีทำให้คิมเกรงว่าจีนอาจเป็นปัจจัยที่บั่นทอนอำนาจทางการเมืองของเขา ดังนั้นในปลายปีนั้นเองเขาได้ทำการกวาดล้างกลุ่มเอี๋ยนอันอีกครั้งและเรียกร้องให้จีนเคารพอำนาจอธิปไตยของเกาหลีเหนือด้วยการถอนทหารออกไป จีนจึงยอมถอนทหารทั้งหมดใน ค.ศ. 1958 เหตุการณ์นี้ทำให้สถานะความเป็นผู้นำของคิมนั้นดูเป็นอิสระจากจีนมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ทหารจีนที่คงอยู่ในเกาหลีเหนือจนถึง ค.ศ. 1958 มีบทบาทสำคัญในการเป็นแรงงานช่วยฟื้นฟูบูรณะเกาหลีเหนือหลังสงคราม และจีนยังให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกาหลีเหนืออีกด้วย เมื่อคิม อิล-ซ็องเดินทางไปเยือนจีนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1953 จีนได้ตกลงให้เงินกู้เป็นจำนวน 800,000,000 หยวน และเงินช่วยเหลือที่จีนให้แก่เกาหลีเหนือใน ค.ศ. 1954 คิดเป็นร้อยละ 3.4 ของงบประมาณของจีนในปีนั้น ต่อมาใน ค.ศ. 1958 จีนยังให้เงินกู้แก่เกาหลีเหนืออีก 25,000,000 เหรียญสหรัฐ และช่วยสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำอึนบ็อง (Unbong) บนแม่น้ำยาลฺวี่อีกด้วย ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าแม้จะมีความขัดแย้งกันในช่วงระหว่างสงครามและหลังสงคราม หากแต่โดยรวมแล้วจีนยังคงต้องการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับเกาหลีเหนือเอาไว้และเกาหลีเหนือก็เล็งเห็นถึงความสำคัญที่ต้องพึ่งพาจีนอย่างมาก

เติ้ง เสี่ยวผิง (ค.ศ. 1976–1989)[แก้]

เหมา เจ๋อตุง ถึงแก่ความตายและในที่สุด เติ้ง เสี่ยวผิง ก็ได้เป็นผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1980 จีนที่ลงทุนเพื่อทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นและใช้นโยบายซึ่งเริ่มต้นติดตามกับแห่งอุตสาหกรรมทำให้จุดมุ่งหมายดีขึ้นที่คอนโทรลการปกครองในเซ็กเตอร์แห่งอุตสาหกรรมบนมรดกของหัวข้อของ เหมา เจ๋อตุง เติ้ง เสี่ยวผิง มีแนวความคิดของพื้นที่ในทางเศรษฐกิจพิเศษโดยใช้ เซินเจิ้นเป็นเขตเศรษฐกิจแรกของประเทศที่ซึ่งลงทุนต่างประเทศจะถูกยอมเพื่อไหลในโดยปราศจากการยับยั้งการปกครองเคร่งครัดและข้อบังคับการวิ่งในระบบทุนนิยมอย่างง่าย เติ้ง เสี่ยวผิง เน้นวางบนอุตสาหกรรมที่สว่างเป็นหินที่ก้าวเพื่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมหนักการสนับสนุนของ เติ้ง เสี่ยวผิง ทำให้เศรษฐกิจจีนดีขึ้นชี้การพัฒนารวดเร็วของเศรษฐกิจจีน

การเติบโตทางเศรษฐกิจภาคใต้ของจีน (ค.ศ. 1989–2002)[แก้]

นำโดยเจียง เจ๋อหมิน เป็นเศรษฐกิจที่เติบโตทั้ง ๆ ที่การห้ามนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศโดยในปี ค.ศ. 1990 เจียง เจ๋อหมิน ทำให้วิสัยทัศน์ของเติ้ง เสี่ยวผิง ที่ไกลกว่าสำหรับระบบสังคมนิยมกับคนจีนในเวลาเดียวกัน เจียง เจ๋อหมินปรับระยะเวลาที่ดำเนินต่อไปขี้นในการรับสินบนทางสังคมผลกำไรเป็นได้ถูกปิดเพื่อทำวิธีสำหรับแข่งขันกันมากขึ้นการลงทุนอย่างภายในและต่างประเทศที่จัดเตรียมไว้พร้อมระบบความผาสุกทางสังคมถูกใส่ในการทดสอบจริงจัง เจียง เจ๋อหมิน ยังเน้นหนักวางบนความก้าวหน้าแบบวิทยาศาสตร์และทางเทคโนโลยีในพื้นที่ เช่น การค้นหาช่องว่างเพื่อทนรับการบริโภคมนุษย์กว้างใหญ่การดึงดูดการสนับสนุนและคำวิจารณ์แพร่หลายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัญหาจริงจังมากเป็นที่ปักกิ่งบ่อย

สาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 2002–ปัจจุบัน)[แก้]

วิกฤตกาลหลักแรกที่จีนเผชิญในศตวรรษที่ 21 เป็นการก่อกำเนิดใหม่ของผู้นำนำโดยหู จิ่นเทา คือสมมุติว่าพลังที่รวมอยู่ด้วยวิกฤตกาลสาธารณสุขสงครามบนความตกใจกลัววาดประเทศแต่ถูกวิจารณ์เป็นข้ออ้างสำหรับการแสดงว่าถูกต้องการติดแสตมป์ออกจากซินเจียง โจรแยกดินแดนทำให้เศรษฐกิจดำเนินต่อไปเพื่อเติบโตในหมายเลขหลักเป็นการพัฒนาของพื้นที่ในถิ่นชนบทกลายเป็นที่สนใจหลักของนโยบายการปกครองในขั้นตอนทีละน้อยเพื่อรวมเป็นปึกแผ่นพลังของเขา หู จิ่นเทา หัวหน้างานสังสรรค์เอาเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการค้าของจีน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Klaus Mühlhahn, Making China Modern: From the Great Qing to Xi Jinping (Harvard UP, 2019) pp 1–20.
  2. Qi'an, Zhang (张启安), Cradle of the Republic: The Chinese Soviet Republic (共和国摇篮: 中华苏维埃共和国), Xi'an: Shaanxi People's Press, 2003 [1]
  3. Shen, Zhihua, บ.ก. (2020). A Short History of Sino-Soviet Relations, 1917–1991. China Connections. doi:10.1007/978-981-13-8641-1. ISBN 978-981-13-8640-4. S2CID 241226106.
  4. "That time Mao declared independence from China". 28 March 2017.
  5. Jonathan Fenby, The Penguin History of Modern China: The Fall and Rise of a Great Power 1850 to the Present (2019).