ข้ามไปเนื้อหา

การสงครามกองโจร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทหารกองโจรสเปนเมื่อครั้งฝรั่งเศสสมัยนโปเลียนบุกในปี 1808 นับเป็นครั้งแรกที่ใช้คำว่า guerrilla

การสงครามกองโจร หรือ การรบแบบกองโจร[1] (อังกฤษ: guerrilla warfare) เป็นการสงครามนอกแบบรูปแบบหนึ่ง ซึ่งพลรบกลุ่มเล็ก เช่น พลเรือนติดอาวุธและหน่วยทหารหน่วยเล็ก ๆ ที่ไว้วางใจได้ ใช้ยุทธวิธีทางทหาร เช่น การซุ่มโจมตี (ambush) การก่อวินาศกรรม (sabotage) การตีโฉบฉวย (raid) การจู่โจมแบบไม่ให้ตั้งตัว (surprise attack) และการเคลื่อนที่พิเศษเพื่อพิชิตกองทัพตามแบบที่ใหญ่กว่าและเคลื่อนที่ได้น้อยกว่า หรือโจมตีเป้าหมายที่อ่อนแอกว่า และถอนตัวในทันทีโดยที่ศัตรูไม่ทันได้ตั้งตัวและจะทำให้โดนกองทัพใหญ่ที่ตามมาข้างหลังถล่มได้ ในอดีต เช เกบารา ใช้วิธีกองโจร โดยพลพรรคเป็นชาวนา และโค่นล้มบาสติสตาในโบลิเวียได้สำเร็จ[2]

ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี

[แก้]

ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีหลักของการสงครามกองโจร มีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับการใช้การโจมตีขนาดเล็ก, ใช้กองกำลังเคลื่อนที่ได้ง่ายปะทะกองกำลังขนาดใหญ่ที่เทอะทะ กองกำลังกองโจรส่วนใหญ่หรือทั้งหมดจัดอยู่ในหน่วยเล็ก ๆ ที่ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของประชาชนในท้องถิ่น กลวิธีคือ กองทัพกองโจรทำการโจมตีซ้ำห่างจากศูนย์กลางของฝ่ายตรงข้ามโดยความหนักเบา กับเจตนาในการรักษาจำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายของตนเองให้น้อยที่สุด และพยายามทำให้ข้าศึกอ่อนกำลังอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้อาจยั่วยุศัตรูให้เข้าสู่การตอบโต้ที่โหดร้าย และทำลายล้างมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ทั้งผู้สนับสนุนของพวกเขาโกรธและเพิ่มการสนับสนุนกองโจร ในที่สุดก็บังคับให้ศัตรูถอนตัว

  1. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". Longdo Dict. กรุงเทพฯ: เมตามีเดีย เทคโนโลยี. 2001-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
  2. หนังสือ เช ยังไม่ตาย กนกพงศ์ สงสมพันธุ์