เศรษฐกิจจีน
เศรษฐกิจจีน | |
---|---|
เซี่ยงไฮ้ ศูนย์กลางการเงินของจีน | |
สกุลเงิน | หยวนเหรินหมินปี้ (CNY) = 0.148 USD[1] |
ปีงบประมาณ | ปีปฏิทิน |
ภาคีการค้า | WTO, APEC, G-20 เป็นต้น |
สถิติ | |
จีดีพี | 12.40 ล้านล้านดอลลาร์ (ราคาตลาด; ปี 2560)[2] 23.57 ล้านล้านดอลลาร์ (PPP; 2017)[1] |
จีดีพีเติบโต | 6.9% (2560)[3] |
จีดีพีต่อหัว | 8,836 ดอลลาร์ (ราคาตลาด; 2560)[1] 17,002 ดอลลาร์ (PPP; 2560)[1] |
ภาคจีดีพี | เกษตรกรรม: 8.6%, อุตสาหกรรม: 39.8%, บริการ: 51.6% (2016)[4] |
เงินเฟ้อ (CPI) | 1.4% (2558)[5] |
ประชากรยากจน | 11.1% มีรายได้น้อยกว่า 3.10 ดอลลาร์/วัน[6] (2556; ธนาคารโลก) |
จีนี | 46.2 (2558) |
แรงงาน | 803.6 ล้านคน (ที่ 1; 2560)[7] |
ภาคแรงงาน | เกษตรกรรม: 29.5%, อุตสาหกรม: 29.9%, บริการ: 40.6% (2557) |
ว่างงาน | 3.97% (Q1 ปี 2560)[8] |
อุตสาหกรรมหลัก |
|
อันดับความคล่องในการทำธุรกิจ | 78 (2560)[9] |
การค้า | |
มูลค่าส่งออก | 2.26 ล้านล้านดอลลาร์ (2560)[10] |
สินค้าส่งออก |
|
ประเทศส่งออกหลัก | |
มูลค่านำเข้า | 1.84 ล้านล้านดอลลาร์ (2560)[10] |
สินค้านำเข้า |
|
ประเทศนำเข้าหลัก | |
FDI | 1.354 ล้านล้านดอลลาร์ (2559)[11] |
หนี้ต่างประเทศ | 1.42 ล้านล้านดอลลาร์ (31 มี.ค. 2560)[12] |
การคลังรัฐบาล | |
หนี้สาธารณะ | 16.1% ของจีดีพี (ประเมินปี 2559)[13] |
รายรับ | 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ (ประเมินปี 2559) |
รายจ่าย | 2.7 ล้านล้านดอลลาร์ (ประเมินปี 2559) |
อันดับความเชื่อมั่น | |
ทุนสำรอง | 3 ล้านล้านดอลลาร์ (เม.ย. 2560)[17] |
แหล่งข้อมูลหลัก: CIA World Fact Book หน่วยทั้งหมด หากไม่ระบุ ถือว่าเป็นดอลลาร์สหรัฐ |
เศรษฐกิจจีนเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยม เป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดอันดับสองของโลกตามจีดีพีราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจใหญ่เติบโตเร็วสุดของโลกก่อนปี 2558 โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 10% ในช่วงกว่า 30 ปี เนื่องจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และการเมืองของเศรษฐกิจกำลังพัฒนาของจีน ภาครัฐของจีนจึงมีสัดส่วนเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าภาคเอกชนที่กำลังเฟื่องฟู สำหรับรายได้ต่อหัวนั้น ประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 71 ตามจีดีพี (ราคาตลาด) และที่ 78 ตามจีดีพี (PPP) ในปี 2559 จากข้อมูลของ IMF ประเทศจีนมีทรัพยากรธรรมชาติประเมินมูลค่า 23 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจำนวนนี้กว่า 90% เป็นถ่านหินและโลหะหายาก
ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจการผลิตและผู้ส่งสินค้าออกรายใหญ่สุดของโลก มักได้รับขนานนามเป็น "โรงงานของโลก" ประเทศจีนยังเป็นตลาดผู้บริโภคเติบโตเร็วสุดของโลก และผู้นำสินค้าเข้ารายใหญ่สุดอันดับสองของโลก ประเทศจีนเป็นผู้นำเข้าสุทธิซึ่งผลิตภัณฑ์บริการ ในปี 2559 ประเทศจีนเป็นประเทศการค้าใหญ่สุดอันดับสองของโลกและมีบทบาทเด่นในการค้าระหว่างประเทศ และเข้าร่วมองค์การและสนธิสัญญาการค้าเพิ่มขึ้นในปีหลัง ๆ ประเทศจีนเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกในปี 2544 ประเทศจีนยังมีความตกลงการค้าเสรีกับหลายชาติ รวมทั้งอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน เกาหลีใต้และสวิสเซอร์แลนด์ มณฑลในแถบชายฝั่งของจีนมีแนวโน้มกลายเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่วนบริเวณในแผ่นดินยังด้อยพัฒนากว่า
เพื่อเลี่ยงค่าใช้จ่ายทางสังคมและเศรษฐกิจระยะยาวของมลภาวะสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน นิโคลัส สเทิร์นและเฟอร์กัส กรีนแห่งสถาบันวิจัยแกรนแธมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Grantham Research Institute on Climate Change and the Environment) แนะนำว่า เศรษฐกิจจีนควรเปลี่ยนเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำไฮเท็คที่มีการจัดสรรทรัพยากรของชาติไปยังนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนาสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนให้ดีขึ้นเพื่อผลกระทบของอุตสาหกรรมหนักของจีน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการวางแผนของรัฐบาลกลาง ฝันจีนของสี จิ้นผิงอธิบายว่าบรรลุ "สองร้อย" คือ เป้าหมายของจีนทางวัตถุให้กลายเป็น "สังคมกินดีอยู่ดีปานกลาง" ภายในปี 2564 ซึ่งปีครบรอบ 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเป้าหมายการทำให้จีนทันสมัยเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสมบูรณ์ในปี 2592 ซึ่งเป็นปีที่ 100 ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
สากลวิวัฒน์ของเศรษฐกิจจีนยังมีผลกระทบต่อการพยากรณ์เศรษฐกิจปรับเป็นมาตรฐานซึ่งดัชนีผู้จัดการซื้อออกในประเทศจีนอย่างเป็นทางการในปี 2543 ต่อมาในปี 2549 ประเทศจีนเป็นประเทศในทวีปเอเชียประเทศเดียวที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร่วมกับสหรัฐและสหภาพยุโรป) ในปี 2558 ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเศรษฐกิจจีนเติบโต เงินตราเหรินหมินปี้ของจีนก็เติบโตด้วย ซึ่งผ่านกระบวนการที่จำเป็นสำหรับสากลวิวัฒน์ ประเทศจีนริเริ่มการก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชียในปี 2558 การพัฒนาเศรษฐกิจของเซินเจิ้นถูกเรียกว่าเป็นซิลิคอนแวลลีย์แห่งถัดไปของโลก
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "综述:中国2017年GDP破80万亿增6.9% 沪深港股收高". 新浪财经. 1 January 2018.
- ↑ http://www.stats.gov.cn/english/PressRelease/201801/t20180118_1574943.html).
- ↑ "World Bank raises China's 2017 growth forecast, maintains 2018 outlook". South China Morning Post. 19 December 2017.
- ↑ "GDP - Composition, by Sector of Origin". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-11. สืบค้นเมื่อ 20 July 2017.
- ↑ "Inflation in China jumps to 6-month high". National Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 11 January 2013.
- ↑ "World Development Indicators". World Bank. 2015-12-04. สืบค้นเมื่อ 2015-12-04.
- ↑ "Labor force, total". World Bank. สืบค้นเมื่อ 2 September 2016.
- ↑ http://data.stats.gov.cn/english/easyquery.htm?cn=C01
- ↑ "Ease of Doing Business in China". Doingbusiness.org. สืบค้นเมื่อ 23 January 2017.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 "China - WTO Statistics Database". World Trade Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-04. สืบค้นเมื่อ 1 March 2017.
- ↑ "Foreign investment in China - Santandertrade.com". en.portal.santandertrade.com. สืบค้นเมื่อ 2018-01-20.
- ↑ China's external debt expected to grow, risks controllable. China Daily. 01 April 2017
- ↑ [1] เก็บถาวร 2007-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, CIA, accessed on 2015.
- ↑ "Sovereigns rating list". Standard & Poor's. January 26, 2017. สืบค้นเมื่อ 26 September 2017.
On Jan. 26, 2017, S&P Global Ratings affirmed the 'AA-' long-term and 'A-1+' short-term sovereign credit ratings on China. The outlook on the long-term rating remains negative
- ↑ "Moody's downgrades China's rating to A1 from Aa3 and changes outlook to stable from negative". Moody's Investors Service. 2017-05-24. สืบค้นเมื่อ 2017-09-23.
- ↑ "Fitch - Complete Sovereign Rating History". สืบค้นเมื่อ 2013-02-25.
- ↑ "China FX reserves stay above $3 trillion after small March rise". Reuters. 7 April 2017.