กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น
日本国自衛隊
Flag of the Japan Self-Defense Forces.svg
ธงกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น
เหล่า กองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น
Naval flag of ญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
Flag of the กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
กองบัญชาการโตเกียว
ผู้บังคับบัญชา
จอมทัพนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโนบูโอะ คิชิ
ผู้บัญชาการเสนาธิการพลเอก โคจิ ยามาซากิ
กำลังพล
อายุเริ่มบรรจุ18–32ปี มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการเข้ารับราชการทหาร
ประชากร
ในวัยบรรจุ
27,301,443 ชาย, อายุ 18–49 (ปี 2010),
26,307,003 หญิง, อายุ 18–49 (ปี 2010)
ประชากร
ฉกรรจ์
22,390,431 ชาย, อายุ 18–49 (ปี 2010),
21,540,322 หญิง, อายุ 18–49 (ปี 2010)
ประชากรที่อายุถึงขั้น
รับราชการทุกปี
623,365 ชาย (ปี 2010),
591,253 หญิง (ปี 2010)
ยอดกำลังประจำการ247,150 (2018) (ranked 24th)
ยอดกำลังสำรอง56,000 (2018)
รายจ่าย
งบประมาณUS$47.3 พันล้าน (2018)[1]
(ranked 8th)
ร้อยละต่อจีดีพี0.9% (2020)
อุตสาหกรรม
แหล่งผลิตในประเทศ[2]
แหล่งผลิตนอกประเทศ สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร
 เยอรมนี
 อิตาลี
 สวิตเซอร์แลนด์
 ฝรั่งเศส
 สวีเดน[3]
 ฟินแลนด์

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 自衛隊โรมาจิじえいたいทับศัพท์: Jieitai; จิเอไต) หรือ JSDF บางครั้งเรียกว่า JSF หรือ SDF เป็นบุคลากรจากประเทศญี่ปุ่นที่ถูกจัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเพื่อแทนที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกยุบ และฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองญี่ปุ่น ในเวลาหลังสงคราม กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นถูกใช้งานในเฉพาะภายในประเทศมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศอธิปไตยชาติเพียงอย่างเดียวและไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ยกเว้นในสถานการณ์ที่เป็นการป้องกันตนเองในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น แม้อาจมีภารกิจในต่างประเทศในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ แต่ล่าสุดในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ครม.ญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นใหม่สรุปได้ว่า กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นจะสามารถส่งทหารไปปฏิบัติภารกิจการป้องกันตนเองร่วมได้(Collectvie-Self Defence) ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อปกป้องชาติหนึ่งจากการถูกรุกราน โดยญี่ปุ่นจะสามารถไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรใกล้ชิดที่ถูกโจมตีได้ หากการโจมตีนั้นเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของญี่ปุ่นและไม่มีวิธีอื่นในการปกป้องชีวิตชาวญี่ปุ่น

ในด้านการพัฒนาอาวุธ ในรธน.ญี่ปุ่นถูกกำหนดห้ามพัฒนาอาวุธในเชิงรุก ส่วนในด้านการห้ามส่งออกอาวุธนั้น แม้ญี่ปุ่นจะเป็นผู้กำหนดขึ้นเองเมื่อปีพ.ศ. 2510 แต่ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายกฎห้ามส่งออกอาวุธ โดยสามารถส่งออกอาวุธและมีส่วนร่วมในการผลิตอาวุธกับนานาชาติได้ แต่ญี่ปุ่นจะไม่ส่งออกอาวุธให้แก่ประเทศที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง หรืออาจเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติ นอกจากนี้ การจำหน่ายอาวุธก็จะต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมสันติภาพสากลคือต้องเป็นยุทโธปกรณ์ที่ไม่ใช่เพื่อสังหาร และเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของญี่ปุ่นเอง[4][5]

ส่วนในด้านการสนันสนุนกองกำลังต่างชาติ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแก้ไขกฎบัตรว่าด้วยการสนับสนุนต่างชาติ โดยสามารถมอบทุนสนับสนุนภารกิจของกองกำลังต่างชาติที่มิใช่การสู้รบ[6]

ประวัติ[แก้]

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามต่อสหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐเข้ามาควบคุมกำลังทหารของญี่ปุ่น และทำให้ญี่ปุ่นต้องร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่โดยมีข้อห้ามว่า ไม่อนุญาตให้ญี่ปุ่นทำสงครามกับประเทศใด ๆ เลยเว้นแต่กระเพื่อป้องกันประเทศตนเอง ที่สำคัญคือไม่มีศาลทหารและกระทรวงกลาโหม

บุคคลที่เข้ามาทำงานในกองกำลังป้องตนเองพวกเขาจะเรียกตนเองว่าเจ้าหน้าที่กองกำลังป้องกันตนเอง ซึ่งทั้งหมดเป็นพลเรือนมิใช่ทหาร ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะจัดตั้งกระทรวงกลาโหมขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2550 แต่ว่าก็ยังคงชื่อไว้ว่า กองกำลังป้องกันตนเอง

ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ครม.ญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นใหม่ โดยญี่ปุ่นมีสิทธิส่งกำลังทหารไปร่วมรบเพื่อปกป้องชาติพันธมิตร

โครงสร้าง[แก้]

มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังป้องกันตนเอง และในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 ก็ได้มีการจัดตั้งกระทรวงกลาโหมครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[7]

งบประมาณ[แก้]

งบประมาณกลาโหมญี่ปุ่น ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 7ของโลก 4.98 ล้านล้านเยน (ราว 1.39 ล้านล้านบาท)

บุคลากรและองค์กร[แก้]

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น JSDF มีจำนวนบุคลากรในปี ค.ศ. 2005 มีจำนวน 239,430 นาย แบ่งเบ็น

  • กองกำลังป้องกันตนเองทางบกจำนวน 147,737 นาย
  • กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลจำนวน 44,327 นาย
  • กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศจำนวน 45,517 นาย

กำลังพลประจำการ[แก้]

กำลังพลสำรอง[แก้]

เครื่องแบบ[แก้]

การศึกษา[แก้]

วิทยาลัยป้องกันประเทศญี่ปุ่น (National Defense Academy of Japan หรือ "โบเอได") เป็นสถาบันการศึกษาหลักที่ผลิตนายทหารแก่กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นทั้งสามเหล่า นอกจากการเรียนภาษาญี่ปุ่น1ปีแล้ว นักเรียนนายร้อยจะศึกษาที่ NDA 4ปี โดย NDA นี้จะรวมนักเรียนทั้งสามเหล่าทัพ (JGSDF, JMSDF และ JASDF) ไว้ร่วมกันในที่แห่งเดียวที่ NDA นั้นเปิดรับสุภาพสตรีเข้ารับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ชายตั้งแต่ปี 1992โดยมีจำนวนราวร้อยละ10ของนักเรียนทั้งหมด การฝึกศึกษาไม่ต่างกัน พักที่ตึกนอนตึกเดียวกัน (แต่คนละชั้น) แต่เกณฑ์บางอย่างเช่นการทดสอบร่างกายจะต่างกัน

ยุทธภัณฑ์[แก้]

อาวุธประจำกาย[แก้]

มินีแบ-P9
เฮคเลอร์แอนด์คอช-SFP9
โฮวา ไทป์-64
โฮวา ไทป์-89
โฮวา ไทป์-20

อาวุธประจำหน่วย[แก้]

รถถัง ไทป์ 90
รถถัง ไทป์ 10
ปืนครก ไทป์ 99 155 mm
M270 MLRS
เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้นอิสุโหมะ
เรือพิฆาตชั้นคงโง
เรือดำน้ำชั้นโสะอุริวอุ
ยูเอส-2
มิตซูบิชิ เอฟ-2
มิตซูบิชิ เอฟ-15เจ
ล็อกฮีด มาร์ติน เอฟ-35 ไลท์นิง 2
เอ็มไอเอ็ม-104 แพทริออต

ศาลทหาร[แก้]

ความสัมพันธ์ทางทหาร[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. IISS 2019, p. 276.
  2. "Procurement equipment and services". Equipment Procurement and Construction Office Ministry of Defence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-14. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-08-13. สืบค้นเมื่อ 2017-07-23.
  4. http://www.thairath.co.th/content/413940
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-07-02.
  6. http://i-newsmedia.net/out/%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89-%E0%B8%81%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87/
  7. http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000154028[ลิงก์เสีย]