ธงชาติจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน
Flag of the People's Republic of China.svg
ชื่อธง Wǔ Xīng Hóng Qí อู่ซิงหงฉี ("ธงแดงห้าดาว")
การใช้ 110110
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 27 กันยายน พ.ศ. 2492 (73 ปี)[1]
ลักษณะ ธงพื้นสีแดง ที่มุมธงบนด้านต้นธงมีรูปดาวสีเหลือง 5 ดวง ลักษณะเป็นรูปดาวดวงใหญ่ 1 ดวง ล้อมรอบด้วยดาวดวงเล็กอีก 4 ดวง.
ออกแบบโดย เจิงเหลียนซง
Flag of the People's Liberation Army.svg
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ 001000
สัดส่วนธง 2:3 และ 4:5
ลักษณะ ธงพื้นสีแดง ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปดาวสีเหลือง และเส้นตรง 3 เส้น เรียงเป็นอักษรจีนคำว่า "8" และ"1" หมายถึง วันที่ 1 สิงหาคม (เดือน 8) อันเป็นวันก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน.
Naval Ensign of China.svg
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ 000001
สัดส่วนธง 2:3 และ 4:5
ลักษณะ ธงกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ตอนล่างเป็นแถบสีน้ำเงิน 3 ริ้ว แถบสีขาว 2 ริ้ว หมายถึงท้องทะเล.

ธงชาติจีน ในที่นี้หมายถึงธงประจำชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเรียกทั่วไปว่า ธงแดงห้าดาว (จีน: 五星红旗; พินอิน: wǔ xīng hóng qí, อู่ซิงหงฉี) มีต้นแบบมาจากธงชาติจีนที่เจิงเหลียนซง นักเศรษฐศาสตร์และศิลปินชาวรุ่ยอาน ออกแบบและส่งเข้าประกวดต่อสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีน (ซึ่งเป็น 1 ในธง 3,012 แบบที่ส่งเข้าประกวดจากทั่วประเทศ) ภายหลังสภาที่ ปรึกษาทางการเมืองได้ปรับปรุงแบบธงบางประการ และได้ประกาศรับรองแบบธงเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2492 ประกาศใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการในวันสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน พร้อมกันนั้น ยังได้มีการประกาศใช้เพลงชาติ และตราสัญลักษณ์ประจำชาติร่วมกันอีกด้วย

ลักษณะ[แก้]

ธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นสีแดง ที่มุมธงบนด้านต้นธงมีรูปดาวสีเหลือง 5 ดวง ลักษณะเป็นรูปดาวดวงใหญ่ 1 ดวง ล้อมรอบด้วยดาวดวงเล็กอีก 4 ดวง

ประวัติ[แก้]

Zeng Liansong's proposal for the PRC flag.svg Mao Zedong's proposal for the PRC flag.svg
ธงผืนต้นแบบออกแบบโดยเจิงเหลียนซง ธงแม่นำเหลือง รับรองแบบธงโดยเหมา เจ๋อตง

การออกแบบ[แก้]

แบบการสร้างธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ถูกต้อง
ไซซ์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ยาว × กว้าง (ซม.) 288 × 192 240 × 160 192 × 128 144 × 96 96 × 64 66 × 44 45 × 30 30 × 20 21 × 14

สี[แก้]

สีของธงชาติระบุไว้ในเอกสาร "GB 12983-2004: ตัวอย่างสีมาตรฐานของธงชาติ" และประกาศใช้โดย Standardization Administration of China สีอยู่ใน CIE Standard illuminant D65 และ CIE 1964 Supplementary Standard Colorimetric System.[2]

ค่ามาตรฐานความเข้มของโทนสีบนธงชาติ[2]
ผ้าวัตถุดิบ Stimulus ValueY10 ตำแหน่งสี ค่าประมาณ
x10 y10
Synthetic fiber สีแดง 9.4 0.555 0.328 All are
สีทอง 41.2 0.446 0.489
Silk สีแดง 12.3 0.565 0.325
สีทอง 32.4 0.450 0.463
Cotton cloth สีแดง 9.2 0.595 0.328
สีทอง 33.0 0.467 0.463
Sleeve สีขาว 78.0 The stimulus value Y10 must not less than 78

โทนสี[แก้]

Flag of the People's Republic of China.svg แดง ทอง
RGB 222/41/16 255/222/0
เลขฐานสิบหก #de2910 #ffde00
CMYK 0/82/93/13 0/13/100/0
แพนโทน (โดยประมาณ) 485 C Yellow C

ธงในราชการกองทัพ[แก้]

Flag of the People's Liberation Army.svg Ground Force Flag of the People's Republic of China.svg Air Force Flag of the People's Republic of China.svg Naval Ensign of China.svg Rocket Force Flag of the People's Republic of China.svg People's Armed Police Flag.svg
ธงกองทัพปลดปล่อยประชาชน ธงกองทัพบก ธงกองทัพอากาศ ธงกองทัพเรือ ธงหน่วยขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ ธงหน่วยทหารตำรวจ

ความหมาย[แก้]

  • พื้นสีแดง หมายถึง สัญลักษณ์ของการปฏิวัติจีน
  • ดวงดาวสีเหลือง 5 ดวง ซึ่งเรียงกันคล้ายกับลักษณะแผนที่ประเทศจีน หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาวจีนทั้งประเทศ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติจีน
  • ดาวดวงใหญ่ หมายถึง ผู้นำแห่งกิจการงานทั้งปวง ได้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติจีน
  • ดาวดวงเล็ก 4 ดวง มีนัยสำคัญหลายประการ ดังที่เจิงเหลียนซง ผู้ออกแบบธงชาติ ได้อธิบายไว้ดังนี้
    • ประชาชนชาวจีนซึ่งขณะนั้นมีราว 400 ล้านคน
    • ชนชั้นหลักทั้ง 4 ในสังคม คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นเกษตรกร ชนชั้นนายทุนน้อย (หรือเจ้าของกิจการขนาดเล็ก) และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ
    • กำลังสำคัญของประเทศ 4 ฝ่าย ได้แก่ พรรคการเมืองจากมวลชน ประชาชนทุกหมู่เหล่าในสังคม บุคคลจากทุกวงการ ชาวจีนชนเผ่าต่างๆ ทั้ง 56 ชนเผ่าและชาวจีนโพ้นทะเล
    • ประวัติศาสตร์ชนชาติจีนอันยาวนานกว่า 4,000 ปี
  • สีเหลือง หมายถึง ชาวจีนซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มคนผิวเหลือง และประเทศที่มีดินสีเหลืองเป็นผืนแผ่นดินส่วนใหญ่

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "1949年9月27日 中华人民共和国国旗诞生" [September 27, 1949: the Birth of PRC's Flag] (ภาษาจีน). CPC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-06. สืบค้นเมื่อ 2009-11-04.
  2. 2.0 2.1 GB 12983-2004 国旗颜色标准样品 [Standard Color Sample of the National Flag] (ภาษาจีน). Standardization Administration of China. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]