สภาประชาชนแห่งชาติ

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สภาประชาชนแห่งชาติ

全国人民代表大会
ประเภท
ประเภท
ผู้บริหาร
ประธานฯ
ลี่ จ้านชู (栗战书), พคจ.
ตั้งแต่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2018
เลขาธิการฯ
หยาง เจิ้นอู่ (杨振武), พคจ.
ตั้งแต่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2017
โครงสร้าง
กลุ่มการเมือง
ฝ่ายรัฐบาล 2091 ที่นั่ง
  •   พรรคคอมมิวนิสต์จีน (2,091 ที่นั่ง)

ฝ่ายอื่น ๆ 856 ที่นั่ง

ว่าง (33 ที่นั่ง)

  •   ว่าง (33 ที่นั่ง)
ตั้งแต่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2018 : สมาชิก 2980 คน

สภาประชาชนแห่งชาติ (จีน: 全国人民代表大会) เป็นองค์กรรัฐที่มีอำนาจสูงสุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วยสมาชิก 2,980 ในปี 2018 ซึ่งถือเป็นรัฐสภาที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในโลก[1]

รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐประชาชนจีนบัญญัติว่าสภาประชาชนแห่งชาติเป็นสภาเดี่ยวของประเทศ และมีอำนาจโดยพฤตินัยในการตรากฎหมายและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล, ศาลสูงสุด, คณะกรรมการพิเศษ, สำนักงานอัยการสูงสุด, คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง ตลอดจนเลือกสรรแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ การผ่านมติในเรื่องต่าง ๆ ต้องได้รับเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งหมด สื่อมวลชนนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เรียกสภาแห่งนี้ว่าเป็น "ตรายาง" โดยพฤตินัยของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน

สภาประชาชนแห่งชาติจัดการประชุมใหญ่ราวสองสัปดาห์ในแต่ละปีเพื่อผ่านร่างกฎหมายสำคัญ[2][3] อย่างไรก็ตาม อำนาจของสภาถูกครอบงำโดยคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ (NPCSC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติจำนวน 175 คน คณะกรรมาธิการนี้ทำหน้าที่เป็นเสมือนที่ประชุมชุดเล็ก เพื่อพิจารณาผ่านกฎหมายในยามที่ไม่อยู่ในช่วงการจัดประชุมใหญ่ประจำปี สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติได้รับอนุญาตให้ดำรงตำแหน่งในรัฐบาลและองค์กรอื่นของรัฐควบคู่กันในเวลาเดียวกัน

สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติมาจากการคัดเลือก ดำรงตำแหน่งวาระละห้าปี การจัดประชุมใหญ่ประจำปีจะจัดขึ้นทุกฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งจะดำเนินต่อเนื่อง 10 ถึง 14 วันที่อาคารมหาศาลาประชาชน ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันตกของจัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง สภาชุดแรกจัดประชุมเมื่อปี 1954 มีจำนวนสมาชิกเริ่มแรก 1,226 คน

อ้างอิง

  1. International Parliamentary Union. "IPU PARLINE Database: General Information". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2017. สืบค้นเมื่อ 6 August 2017.
  2. "State Structure of the People's Republic of China". 中国人大网. The National People's Congress of the People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2016.
  3. China's 'two sessions': Economics, environment and Xi's power เก็บถาวร 22 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนBBC