การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546
การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามอิรัก | |||||||
จากซ้ายไปขวา: เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ; ยานพาหนะทหารสหรัฐอยู่ในพายุทราย; ทหารสหรัฐดูสิ่งก่อสร้างที่ถูกเผาที่ซะมาวะฮ์; ประชาชนชาวอิรักฉลองในช่วงที่อนุสาวรีย์ซัดดัม ฮุสเซนถูกโค่น | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ฝ่ายสัมพันธมิตร: กลุ่มทหารจาก: |
![]() | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อะฮ์เหม็ด ญะละบี |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
|
Mehdi Army: 1600–2800 | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
สัมพันธมิตร: ถูกฆ่า 214 นาย[17] ตาย 238 นาย, บาดเจ็บ 1,000+ นาย |
โดยประมาณ: 30,000 นาย[ต้องการอ้างอิง] 7,600–11,000 นาย (ผลสำรวจและรายงานเป็น 4,895–6,370 นาย)[20][21] 13,500–45,000 นาย (หน่วยทหารรอบแบกแดด)[22] รวม: ถูกฆ่า 7,600–8,000 นาย | ||||||
ประชาชนในอิรักโดยประมาณ: |
การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 (19 มีนาคม – 1 พฤษภาคม 2546) เป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่เรียกว่า สงครามอิรัก หรือปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก ซึ่งกำลังผสมอันประกอบด้วยทหารจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลียและโปแลนด์บุกครองอิรักและโค่นรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซนภายในปฏิบัติการรบหลักนาน 21 วัน ระยะบุกครองประกอบด้วยสงครามรบตามแบบซึ่งจบลงด้วยการยึดครองกรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรัก โดยกำลังผสม
สี่ประเทศที่สนับสนุนกำลังพลระหว่างระยะบุกครองเริ่มต้น ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคมถึง 9 เมษายน 2546 ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา (148,000), สหราชอาณาจักร (45,000), ออสเตรเลีย (2,000) และโปแลนด์ (194) อีก 36 ประเทศเข้าร่วมในผลตามหลัง ในการเตรียมการบุกครอง ทหารสหรัฐ 100,000 นายประชุมกันในคูเวตจนถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์[24] สหรัฐอเมริกาเป็นกำลังบุกครองส่วนใหญ่ แต่ยังได้รับการสนับสนุนจากทหารนอกประจำการชาวเคิร์ดในเคอร์ดิสถานอิรัก
ประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช และนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โทนี แบลร์ กล่าวถึงเหตุผลสำหรับการบุกครองว่า "เพื่อปลดอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงของอิรัก, เพื่อยุติการสนับสนุนการก่อการร้ายของซัดดัม ฮุสเซนตามที่มีการกล่าวหา และเพื่อปลดปล่อยชาวอิรัก"[25] อย่างไรก็ดี อดีตหัวหน้าที่ปรึกษาต่อต้านการก่อการร้ายต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ ริชาร์ด เอ. คลาร์กเชื่อว่าบุชเข้าดำรงตำแหน่งพร้อมแผนการบุกครองอิรัก[26] ส่วนแบลร์ระบุว่า สาเหตุคือ ความล้มเหลวของอิรักในการฉวย "โอกาสสุดท้าย" ในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ เคมีและชีวภาพของตนเองตามที่ถูกกล่าวหา ซึ่งทางการสหรัฐและอังกฤษเรียกว่าเป็น ภัยคุกคามทันด่วนและทนไม่ได้ต่อสันติภาพโลก[27] ในปี 2548 หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกาออกรายงานระบุว่า ไม่พบอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในอิรัก[28]
ในเดือนมกราคม 2546 การสำรวจความคิดเห็นของซีบีเอสพบว่า ชาวอเมริกัน 64% สนับสนุนการปฏิบัติทางทหารต่ออิรัก อย่างไรก็ดี 63% ต้องการให้บุชหาทางออกทางการทูตมากกว่าการทำสงคราม และ 62% เชื่อว่าภัยคุกคามอันเนื่องมาจากการก่อการร้ายต่อสหรัฐจะเพิ่มขึ้นเพราะสงคราม[29] การบุกครองอิรักได้รับการคัดค้านอย่างแข็งขันจากพันธมิตรดั้งเดิมของสหรัฐ รวมทั้งรัฐบาลฝรั่งเศส เยอรมนี นิวซีแลนด์และแคนาดา[30][31][32] ผู้นำของชาติเหล่านี้แย้งว่าไม่มีหลักฐานอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในอิรัก และการบุกครองอิรักจะไม่ได้รับความชอบธรรมในบริบทของรายงานคณะตรวจสอบอาวุธทั้งในส่วนของคณะผู้ตรวจสอบอาวุธเคมี ชีวภาพและพาหะนำส่งของสหประชาชาติ (UNMOVIC) เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2546 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ หนึ่งเดือนก่อนการบุกครอง มีการประท้วงทั่วโลกต่อต้านสงครามอิรัก รวมทั้งการชุมนุมกว่าสามล้านคนในกรุงโรม ซึ่งบันทึกสถิติโลกกินเนสส์บันทึกไว้ว่าเป็นการชุมนุมต่อต้านสงครามที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมี[33] นักวิชาการฝรั่งเศส Dominique Reynié ระบุว่า ระหว่างวันที่ 3 มกราคมถึง 12 เมษายน 2546 มีประชาชน 36 ล้านคนทั่วโลกเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านสงครามอิรักเกือบ 3,000 ครั้ง[34]
ก่อนหน้าการบุกครองมีการโจมตีทางอากาศต่อทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงแบกแดดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2546 วันรุ่งขึ้น กำลังผสมได้เริ่มบุกครองเข้าสู่จังหวัดบาสราจากจุดระดมพลใกล้กับพรมแดนอิรัก-คูเวต ขณะที่กองกำลังพิเศษโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบกจากอ่าวเปอร์เซียเพื่อยึดบาสรา และบ่อปิโตรเลียมที่อยู่โดยรอบ กองทัพบุกครองหลักเคลื่อนเข้าไปในอิรักตอนใต้ ยึดครองพื้นที่นั้นและรบในยุทธการนาซิริยาห์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม การโจมตีทางอากาศขนานใหญ่ทั่วประเทศและต่อระบบบัญชาการและควบคุมของอิรักทำให้กองทัพฝ่ายป้องกันโกลาหลและไม่อาจต้านทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันที่ 26 มีนาคม กองพลน้อยพลร่มที่ 173 โดดร่มลงใกล้กับนครคีร์คูกทางเหนือ ซึ่งพวกเขาเข้าร่วมกับกำลังกบฏชาวเคิร์ดและดำเนินการปฏิบัติหลายครั้งต่อกองทัพอิรักเพื่อยึดครองส่วนเหนือของประเทศ
ทัพผสมหลักเคลื่อนตัวต่อไปยังใจกลางอิรักและพบกับการต้านทานเพียงเล็กน้อย ทหารอิรักส่วนใหญ่พ่ายแพ้อย่างรวดเร็วและกรุงแบกแดดถูกยึดครองเมื่อวันที่ 9 เมษายน ปฏิบัติการอื่นเกิดขึ้นต่อวงล้อมกองทัพอิรักรวมทั้งการยึดคีร์คูกเมื่อวันที่ 10 เมษายน และการโจมตีและยึดทิกริตเมื่อวันที่ 15 เมษายน ประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน และผู้นำส่วนกลางหลบซ่อนตัวหลังกำลังผสมสำเร็จการยึดครองประเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม มีการประกาศยุติปฏิบัติการรบหลัก อันเป็นการยุติของขั้นบุกครองและการเริ่มต้นของขั้นการยึดครองทางทหาร จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 มีรายงานว่า ยอดพลเรือนเสียชีวิตอยู่ที่ 36,533 คน และการศึกษาดังกล่าวศึกษาเฉพาะพื้นที่อิรักส่วนที่มิใช่ของชาวเคิร์ด[35]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Graham, Bradley (7 เมษายน 2003). "U.S. Airlifts Iraqi Exile Force For Duties Near Nasiriyah". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 สิงหาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2009.
- ↑ John Pike (14 March 2003). "Free Iraqi Forces Committed to Democracy, Rule of Law – DefenseLink". Globalsecurity.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2009. สืบค้นเมื่อ 13 September 2009.
- ↑ "Deploying the Free Iraqi Forces – U.S. News & World Report". Usnews.com. 7 April 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2004. สืบค้นเมื่อ 9 December 2015.
- ↑ Kim Ghattas (14 เมษายน 2003). "Syrians join Iraq 'jihad'". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2011.
- ↑ "Arab volunteers to Iraq: 'token' act or the makings of another Afghan jihad?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2011.
- ↑ Ephraim Kahana, Muhammad Suwaed (2009). The A to Z of Middle Eastern Intelligence. Scarecrow Press. p. 208. ISBN 978-0-8108-7070-3.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Security Council endorses formation of sovereign interim government in Iraq; welcomes end of occupation by 30 June, democratic elections by January 2005". United Nations. 8 มิถุนายน 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2017.
- ↑ "Archived copy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2009. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Katzman, Kenneth (5 กุมภาพันธ์ 2009). "Iraq: Post-Saddam Governance and Security" (PDF). fpc.state.gov/. Congressional Research Service. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2014.
In the war, Iraq's conventional military forces were overwhelmed by the approximately 380,000-person U.S. and British-led 30-country18 "coalition of the willing" force, a substantial proportion of which were in supporting roles.
- ↑ "A Timeline of Iraq War, Troop Levels". Huffington Post. Associated Press. 15 เมษายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2014. สืบค้นเมื่อ 23 February 2014.
- ↑ Australian Department of Defence (2004). The War in Iraq. ADF Operations in the Middle East in 2003 เก็บถาวร 9 ตุลาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Page 11.
- ↑ Isaac J. Peltier. "Surrogate Warfare: The Role of U.S. Army Special Forces" (PDF). p. 2. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2013. สืบค้นเมื่อ 21 February 2013.
- ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 August 2011. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Toby Dodge (16 พฤศจิกายน 2002). "Iraqi army is tougher than US believes". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2012.
- ↑ "IRAQ: Iraq's Prewar Military Capabilities". Council on Foreign Relations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2018. สืบค้นเมื่อ 14 December 2018.
- ↑ "Foreign Irregulars in Iraq". www.washingtoninstitute.org. 10 April 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 3 April 2019.
- ↑ "Iraq Coalition Casualties: Fatalities by Year and Month" เก็บถาวร 6 กุมภาพันธ์ 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน iCasualties.org. Retrieved 1 November 2009.
- ↑ icasualties Iraq Coalition Casualties: U.S. Wounded Totals เก็บถาวร 24 ธันวาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Willing to face Death: A History of Kurdish Military Forces – the Peshmerga – from the Ottoman Empire to Present-Day Iraq (page 67) เก็บถาวร 29 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Michael G. Lortz
- ↑ 20.0 20.1 "The Wages of War: Iraqi Combatant and Noncombatant Fatalities in the 2003 Conflict". Commonwealth Institute of Cambridge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2009. สืบค้นเมื่อ 13 September 2009.
- ↑ "Wages of War – Appendix 1. Survey of reported Iraqi combatant fatalities in the 2003 war". Commonwealth Institute of Cambridge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2009. สืบค้นเมื่อ 13 September 2009.
- ↑ "Body counts". By Jonathan Steele. The Guardian. 28 May 2003.
- ↑ Iraq Body Count project เก็บถาวร 9 พฤศจิกายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Source of IBC quote on undercounting by media is Press Release 15 :: Iraq Body Count.
- ↑ "U.S. has 100,000 troops in Kuwait". CNN. February 18, 2003.
- ↑ "President Discusses Beginning of Operation Iraqi Freedom".
- ↑ Andrew Buncombe, "Richard Clarke: 'Iraq could be much more of a problem for America than if Saddam had stayed in power', The Monday Interview: Former White House security chief", The Independent, Washington, June 14, 2004.
- ↑ "President Bush Meets with Prime Minister Blair". Georgewbush-whitehouse.archives.gov. 2003-01-31. สืบค้นเมื่อ 2009-09-13.
- ↑ "CIA's final report: No WMD found in Iraq - Conflict in Iraq - MSNBC.com". Msnbc.msn.com. April 25, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-23. สืบค้นเมื่อ 2008-09-01.
- ↑ "Poll: Talk First, Fight Later" เก็บถาวร 2007-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. CBS.com, Jan. 24, 2003. Retrieved on April 23, 2007.
- ↑ Joint Declaration by Russia, Germany and France on Iraq France Diplomatie February 10, 2003
- ↑ NZ praised for 'steering clear of Iraq war The Dominion Post December 7, 2008
- ↑ Beltrame, Julian (March 31, 2003). "Canada to Stay out of Iraq War". Maclean's. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 19 January 2009.
- ↑ "Guinness World Records, Largest Anti-War Rally". Guinness World Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-04. สืบค้นเมื่อ 2007-01-11.
- ↑ Callinicos, Alex (March 19, 2005). "Anti-war protests do make a difference". Socialist Worker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-21. สืบค้นเมื่อ 2007-01-11.
- ↑ Wanniski, Jude (August 21, 2003). "Civilian War Deaths in Iraq". wanniski.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากrel="nofollow" แหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-11. สืบค้นเมื่อ August 9, 2006.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help)
- CS1 maint: uses authors parameter
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่มีนาคม 2019
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือตั้งแต่มีนาคม 2019
- สงครามอิรัก
- การบุกครอง
- การบุกครองโดยออสเตรเลีย
- การบุกครองโดยโปแลนด์
- การบุกครองโดยสหราชอาณาจักร
- การบุกครองโดยสหรัฐ
- การบุกครองอิรัก
- ความสัมพันธ์สหรัฐ–อิรัก
- จอร์จ ดับเบิลยู. บุช