ข้ามไปเนื้อหา

หมู่เกาะเซ็งกากุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่เกาะเซ็งกากุ
ที่ตั้งของหมู่เกาะ (ภายในสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง)
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งมหาสมุทรแปซิฟิก
พิกัด25°44′41.49″N 123°28′29.79″E / 25.7448583°N 123.4749417°E / 25.7448583; 123.4749417
การปกครอง
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น

หมู่เกาะเซ็งกากุ (ญี่ปุ่น: 尖閣諸島โรมาจิSenkaku-shotō) หรือ หมู่เกาะเตียวหยู (พินอิน: Diàoyúdǎo) หรือ หมู่เกาะพินนาเคิล (อังกฤษ: Pinnacle Islands) เป็นกลุ่มเกาะร้างขนาดเล็กในทะเลจีนตะวันออก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวัน และทางตะวันตกของเกาะโอกินาวะ อยู่ทางเหนือของปลายตะวันตกสุดของหมู่เกาะรีวกีวของญี่ปุ่น

แผนที่วาดโดยนักเขียนแผนที่ชาวญี่ปุ่น แสดงว่าหมู่เกาะเซ็งกากุ/เตียวหยูเป็นของจีน

หมู่เกาะดังกล่าวเป็นชายแดนนอกชายฝั่งของจีนเพื่อใช้ในการป้องกันโจรสลัดญี่ปุ่น (Wokou) ในระหว่างปี พ.ศ. 1911 – 2454 (ค.ศ. 1368-1911) ซึ่งอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ทั้งนี้ แผนที่แสดงภูมิภาคเอเชียของจีน รวมถึงแผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นโดยนักเขียนแผนที่ชาวญี่ปุ่นในช่วงคริสศตวรรษที่ 18 แสดงว่าหมู่เกาะเซ็งกากุ/เตียวหยู เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน (ขณะที่ ก่อนปี พ.ศ. 2427 ไม่มีข้อมูลอ้างอิงถึงหมู่เกาะดังกล่าวในเอกสารทางการของญี่ปุ่น) ญี่ปุ่นยึดครองหมู่เกาะดังกล่าวในปี พ.ศ. 2438 ตาม การลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ภายหลังจากที่จีนแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง [1] [2]

หมู่เกาะเซ็งกากุอยู่ภายใต้การดูแลของประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองจึงอยู่ในการดูแลของกองทัพสหรัฐอเมริกา หลังการส่งมอบพื้นที่ฐานทัพสหรัฐในหมู่เกาะรีวกีวในปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) [3] จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโอกินาวะ โดยมีการโต้แย้งจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีน ที่อ้างว่าดินแดนนี้เป็นของจีนมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑลอี๋หลาน ของไต้หวัน [4]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. MACROECONOMIC ANALYSIS BRIEFING สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
  2. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แถลงการณ์พ็อทซ์ดัมระบุว่า "อำนาจอธิปไตยญี่ปุ่นจะจำกัด อยู่ที่เกาะฮนชู เกาะฮกไกโด เกาะคีวชู เกาะชิโกกุและเกาะเล็กอื่นๆ ที่เรากำหนด ซึ่ง "เรา" หมายถึงผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองที่พบกันที่กรุงพ็อทซ์ดัม(สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีน) โดยญี่ปุ่นได้ยอมรับเงื่อนไขของประกาศดังกล่าว
  3. Lee, Seokwoo. (2002). Territorial Disputes Among Japan, China and Taiwan Concerning the Senkaku Islands, pp. 10–13., p. 10, ที่กูเกิล หนังสือ
  4. WantChinaTimes.com (8 July 2012). "Former New Taipei councilor explains PRC flag controversy". WantChinaTimes.com. สืบค้นเมื่อ 21 July 2012.