กองทัพจรวดกองทัพปลดปล่อยประชาชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพจรวดกองทัพปลดปล่อยประชาชน
中国人民解放军火箭军
จงกั๋วเหรินหมินเจี่ยฟ่างจฺวินหั่วเจี้ยนจฺวิน
เครื่องหมายติดหน้าอกประจำกองทัพ
ประจำการ1 กรกฎาคม พ.ศ. 2509; 57 ปีก่อน
ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ขึ้นต่อ พรรคคอมมิวนิสต์จีน[1]
รูปแบบกองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธี
บทบาทการป้องปรามทางยุทธศาสตร์
กำลังรบ120,000 ทหารประจำการ
ขึ้นกับ กองทัพจีน
กองบัญชาการ แขวงชิงเหอ เขตไห่เตี้ยน กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
สีหน่วย  แดง
  ทอง
  เขียวเข้ม
เพลงหน่วย火箭军进行曲
("มาร์ชกองทัพจรวด")
ยุทธภัณฑ์ขีปนาวุธทิ้งตัว
ขีปนาวุธร่อน
ขีปนาวุธร่อนความเร็วเหนือเสียง
ยานร่อนความเร็วเหนือเสียง (HGV)
ปฏิบัติการสำคัญ
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการพลเอก หวัง โฮ่วปิน
ผู้บังคับการการเมืองพลเอก สฺวี ซีเชิ่ง
เสนาธิการพลเอก ซุน จินหมิง
ผบ. สำคัญพลเอก เว่ย์ เฟิ่งเหอ
เครื่องหมายสังกัด
ธงประจำกองทัพ
ตราสัญลักษณ์
เครื่องหมายติดแขนเสื้อ

กองทัพจรวดกองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLARF; อังกฤษ: People's Liberation Army Rocket Force; จีน: 中国人民解放军火箭军; พินอิน: Zhōngguó Rénmín Jiěfàngjūn Huǒjiàn Jūn) เดิมคือ กองทัพน้อยปืนใหญ่ที่ 2 (จีน: 第二炮兵; อังกฤษ: Second Artillery Corps) เป็นกองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเหล่าทัพที่ 4 ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน และควบคุมคลังแสงขีปนาวุธทางบก ไฮเปอร์โซนิก และขีปนาวุธร่อนทั้งแบบนิวเคลียร์และแบบธรรมดาของจีน สถาปนาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 ปรากฏตัวต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 โดยมีกองบัญชาการตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน

กองทัพจรวดประกอบด้วยบุคลากรประมาณ 120,000 นาย และฐานขีปนาวุธนำวิถี 6 แห่ง (หน่วยระดับกองทัพน้อย หรือหมู่กองทัพโดยประมาณ) ฐานทั้ง 6 แห่งนี้กระจายอยู่ในยุทธบริเวณทั้ง 5 แห่งทั่วประเทศจีน[2][3]

กองทัพจรวดเปลี่ยนชื่อจาก กองทัพน้อยปืนใหญ่ที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559[4][5]

จีนมีคลังแสงขีปนาวุธภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตามการประมาณการของเพนตากอน จีนมีขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยสั้นติดอาวุธแบบธรรมดา 1,200 ลูก ขีปนาวุธทิ้วตัวพิสัยกลางแบบธรรมดา 200–300 ลูก และขีปนาวุธพิสัยปานกลางแบบธรรมดาจำนวนหนึ่ง รวมทั้งขีปนาวุธร่อนแบบยิงจากพื้นดิน 200–300 ลูก หลายสิ่งเหล่านี้มีความแม่นยำอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำให้พวกมันสามารถทำลายเป้าหมายได้แม้จะไม่มีหัวรบนิวเคลียร์ก็ตาม[6] ในปี พ.ศ. 2565 จดหมายข่าวนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ และสหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน (FAS) ประเมินว่าจีนมีหัวรบนิวเคลียร์สำรองอยู่ประมาณ 500 ลูก[7][8]

หน้าที่ ภารกิจ และบทบาท[แก้]

ประวัติ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

ขีปนาวุธประจำการ[แก้]

คำสั่งรบ[แก้]

การสั่งการ การควบคุม และการสื่อสาร[แก้]

ฐานยิงขีปนาวุธเคลื่อนที่[แก้]

รถหัวลาก[แก้]

ปฏิบัติการในซาอุดิอาระเบีย[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The PLA Oath" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-09. สืบค้นเมื่อ 2015-10-30. I am a member of the People's Liberation Army. I promise that I will follow the leadership of the Communist Party of China...
  2. Kristensen, Hans M.; Korda, Matt (2019-07-04). "Chinese nuclear forces, 2019". Bulletin of the Atomic Scientists. 75 (4): 171–178. Bibcode:2019BuAtS..75d.171K. doi:10.1080/00963402.2019.1628511. ISSN 0096-3402.
  3. Mihal, Maj. Christopher J. (Summer 2021). "Understanding the People's Liberation Army Rocket Force Strategy, Armament, and Disposition" (PDF). Military Review (July–August 2021): 24–26 – โดยทาง Army University Press.
  4. "China's nuclear policy, strategy consistent: spokesperson". Beijing. Xinhua. 1 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2016. สืบค้นเมื่อ 29 June 2019.
  5. Fisher, Richard D. Jr. (6 January 2016). "China establishes new Rocket Force, Strategic Support Force". Jane's Defence Weekly. Surrey, England: Jane's Information Group. 53 (9). ISSN 0265-3818. This report also quotes Chinese expert Song Zhongping saying that the Rocket Force could incorporate 'PLA sea-based missile unit[s] and air-based missile unit[s]'.
  6. Keck, Zachary (29 July 2017). "Missile Strikes on U.S. Bases in Asia: Is This China's Real Threat to America?". The National Interest. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 29 June 2019.
  7. Kristensen, Hans M.; Korda, Matt; Reynolds, Eliana (2023-03-04). "Chinese nuclear weapons, 2023". Bulletin of the Atomic Scientists (ภาษาอังกฤษ). 79 (2): 108–133. Bibcode:2023BuAtS..79b.108K. doi:10.1080/00963402.2023.2178713. ISSN 0096-3402.
  8. "Status of World Nuclear Forces". Federation of American Scientists (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). March 31, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-05-29.