ธีรเดช มีเพียร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธีรเดช มีเพียร
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
รองประธาน​รัฐสภา​และ​ประธานวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
22 เมษายน พ.ศ. 2554 – 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
(1 ปี 94 วัน)
ก่อนหน้าประสพสุข บุญเดช
ถัดไปนิคม ไวยรัชพานิช
ปลัดกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2543
ก่อนหน้าพลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ถัดไปพลเอก ธวัช เกษร์อังกูร
สมาชิกวุฒิสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มีนาคม พ.ศ. 2483 (84 ปี)[1]
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงกรกช มีเพียร

พลเอก ธีรเดช มีเพียร สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 และ ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมการค้านักธุรกิจกลาง-เล็ก ไทยจีน อดีตสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา (ชุด 2554) และ อดีตประธานวุฒิสภา คนที่ 15 ของไทย อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย อดีตราชองครักษ์พิเศษ[2] และอดีดปลัดกระทรวงกลาโหม รองประธานสถาบันพระปกเกล้า

ประวัติ[แก้]

พล.อ. ธีรเดช มีเพียร เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2483 จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ประกาศนียบัตรนักบินทหาร และประกาศนียบัตรเสนาธิการทหารบก จากประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 34 และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน[แก้]

ราชการทหาร[แก้]

พล.อ. ธีรเดช มีเพียร เคยดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองพันทหารปืนใหญ่ ใน พ.ศ. 2520 เป็นวุฒิสมาชิก ใน พ.ศ. 2522 เป็นเจ้ากรมการข่าวทหาร พ.ศ. 2536 เป็นผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ใน พ.ศ. 2539 และเป็นผู้อำนวยการองค์การทหารผ่านศึก ใน พ.ศ. 2540 จนกระทั่งได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ. 2541[3] จนเกษียณอายุราชการใน พ.ศ. 2543

ผู้ตรวจการแผ่นดิน[แก้]

ต่อมาใน พ.ศ. 2546 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา[4] และเปลี่ยนเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดินคนแรก เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[5] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุครบ 70 ปี ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

สมาชิกวุฒิสภา[แก้]

ใน พ.ศ. 2554 พล.อ. ธีรเดช มีเพียร ได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา[6] และได้รับคัดเลือกเป็นประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 ด้วยเสียงสนับสนุน 94 เสียง[7] ในช่วงปลาย พ.ศ. 2554 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้มีการตั้งฉายาให้กับนักการเมือง ซึ่งพลเอกธีรเดช ได้รับฉายาในครั้งนี้ว่า "นายพลถนัดชิ่ง"[8] จากบทบาทการเลี่ยงตอบคำถามของนักข่าว จนถูกมองว่าเป็นการชิ่งหนี

มกราคม พ.ศ. 2557 ศาลอาญาตัดสินให้พล.อ. ธีรเดช มีเพียร พ้นจากข้อกล่าวหา แต่จากสถานะการณ์ร้อนแรงทางการเมืองทำให้ไม่ได้รับการเสนอข่าวจากสำนักข่าวใด ๆ ในประเทศไทย

การพ้นจากตำแหน่งประธานวุฒิสภา[แก้]

พล.อ. ธีรเดช พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 หลังศาลอาญามีคำสั่งให้ตัดสินจำคุก 2 ปี เนื่องจากเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ขึ้นเงินเดือนให้ตัวเองและคนในวุฒืสภา แต่ทว่าสถานะความเป็นสมาชิกวุฒิสภายังคงดำรงอยู่[9]

พ.ศ. 2556 ศาลอาญาตัดสินยกเลิกคำร้องหลังจากพิจารณาการอุทรณ์

ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประธานวุฒิสภา[ลิงก์เสีย]
  2. ราชองครักษ์พิเศษ
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-09-06.
  5. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา[ลิงก์เสีย]
  7. พล.อ. ธีรเดช มีเพียรได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภาคนใหม่
  8. "สื่อตั้งฉายาสภาผู้แทนฯ เป็น"กระดองปูแดง"/"ปู"เป็นดาวดับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2012-01-07.
  9. เลขาฯ วุฒิสภาแจง “พล.อ. ธีรเดช” พ้นจากตำแหน่งประธานวุฒิสภา[ลิงก์เสีย] จากช่อง 9
  10. พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (คลิกอ่าน 200 รายชื่อ)[ลิงก์เสีย]
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๖, ๙ เมษายน ๒๕๔๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๒๖ ง หน้า ๒๑๔๓, ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๕
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งตวามสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๘ ๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๕๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
ก่อนหน้า ธีรเดช มีเพียร ถัดไป
ประสพสุข บุญเดช
ประธานวุฒิสภา
(22 เมษายน พ.ศ. 2554 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
นิคม ไวยรัชพานิช