บูรณ์ ฐาปนดุลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บูรณ์ ฐาปนดุลย์
ผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2558 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ก่อนหน้าผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 (73 ปี)
อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางจิตรา ฐาปนดุลย์[1]

บูรณ์ ฐาปนดุลย์ (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 -) เป็นอดีตผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย และเป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา อดีตประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 9 อดีตประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 3 และอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

ประวัติ[แก้]

บูรณ์ ฐาปนดุลย์ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เป็นชาวอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต[2] จบการศึกษาชั้นมัธยมต้น จากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ปริญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผ่านการอบรมเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมและศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา รวมทั้งรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (MPA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

การทำงาน[แก้]

บูรณ์ ฐาปนดุลย์ เริ่มรับราชการในปี 2523 เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษากระทรวงยุติธรรม จนกระทั่งได้เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนราธิวาส ในปี 2536 จนกระทั่งปี 2551 ได้เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง เคยเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๙ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

ผู้ตรวจการแผ่นดิน[แก้]

บูรณ์ ฐาปนดุลย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย แทนผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ที่พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552

โดยที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 ใช้วิธีลงคะแนนลับก่อนมีมติเห็นชอบให้ นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามมาตร 6 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ประกอบประกาศของ คสช.ฉบับที่ 48/2557 เรื่องการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่าง ด้วยเสียง 143 เสียง ไม่เห็นด้วย 30 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง หลังสภานิติบัญญัติแห่งชาติประชุมลับเพื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินที่มี พลเอก อู๊ด เบื้องบน เป็นประธาน ซึ่งได้ดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงและพบว่า นายบูรณ์ ไม่มีคุณลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 รวมถึงไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เป็นผลเสีย[3]

กระทั่งพ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุครบ 70 ปี และมีการแต่งตั้งคนใหม่มาดำรงตำแหน่งแทน[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
  2. โปรดเกล้าฯ "ศรีราชา" ปธ.ผู้ตรวจฯคนใหม่-"บูรณ์ ฐาปนดุลย์" นั่ง แทน "ผาณิต" จากมติชน ออนไลน์. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558
  3. นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ได้รับความเห็นชอบจาก สนช. ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๒๗๙, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙