ปราโมทย์ โชติมงคล
ปราโมทย์ โชติมงคล | |
---|---|
เกิด | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2486 |
เสียชีวิต | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (78 ปี)[1] โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน |
นายปราโมทย์ โชติมงคล ประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และ กรรมการอิสระ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)[2] อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย อดีตรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย และอดีตเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ประวัติ
[แก้]นายปราโมทย์ โชติมงคล เข้าศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประกาศนียบัตรเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา นอกจากนั้นยังผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารของสำนักงาน ก.พ. หลักสูตร 1 รุ่นที่ 6 และหลักสูตร 2 รุ่นที่ 16 หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 39 นายปราโมทย์เสียชีวิตในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ [3] และในวันที่ 14 สิงหาคม 2564 มีพิธีฌาปนกิจศพ
การทำงาน
[แก้]นายปราโมทย์ โชติมงคล เริ่มรับราชการในสังกัดสภาการศึกษาแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2512 จนกระทั่งได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2528 เป็นผู้ช่วยปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2533 เป็นที่ปรึกษาระดับ 10 และรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2537 และ 2538 ตามลำดับ
ใน พ.ศ. 2543 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2548[4] ซึ่งต่อมาตำแหน่งดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็น "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน[5] สืบต่อจากพลเอกธีรเดช มีเพียร กระทั่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 70 ปี ในปี พ.ศ. 2554
ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งให้เป็น กรรมการอิสระ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ต่อมา ในปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับแค่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กระทั่งพ้นตำแหน่งในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 'ปราโมทย์ โชติมงคล' อดีตปธ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน ถึงแก่อนิจกรรมจากโควิด-19
- ↑ แจ้งกรรมการอิสระเสียชีวิต เก็บถาวร 2021-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ปราโมทย์ โชติมงคล” อดีต ปธ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน เสียชีวิตหลังติดเชื้อโควิด-19 สิริอายุ 80 ปี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๕๘๐, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์