ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏบวรเดช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Phisisbunon (คุย | ส่วนร่วม)
เชื่อมโยงหน้า
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| status =
| status =
| combatant1 = รัฐบาล พ.อ.[[พระยาพหลพลพยุหเสนา]]
| combatant1 = รัฐบาล พ.อ.[[พระยาพหลพลพยุหเสนา]]
| combatant2 = พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
| combatant2 = [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]]
| combatant3 =
| combatant3 =
| commander1 = พ.อ.[[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] <br> พล.ต.[[พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค)|พระยาสุรพันธเสนี]]
| commander1 = พ.อ.[[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] <br> พล.ต.[[พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค)|พระยาสุรพันธเสนี]]
| commander2 = พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช <br> พ.อ.[[พระยาศรีสิทธิสงคราม]] {{KIA}}
| commander2 = [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]] <br> พ.อ.[[พระยาศรีสิทธิสงคราม]] {{KIA}}
| commander3 =
| commander3 =
| strength1 =
| strength1 =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:56, 24 มิถุนายน 2563

กบฏบวรเดช

อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ (นิยมเรียกกันว่า อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ) หรือ อนุสาวรีย์ปราบกบฏ
วันที่11 ตุลาคม พ.ศ. 2476
สถานที่
ผล
คู่สงคราม
รัฐบาล พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
พล.ต.พระยาสุรพันธเสนี
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม  
ความสูญเสีย
เสียชีวิตทั้ง 2 ฝั่ง 17 คน

กบฏบวรเดช เกิดขึ้นเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้เสนอ และถูกมองว่าเป็น "คอมมิวนิสต์" ชนวนสำคัญที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ เป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏบวรเดช" โดยในที่สุดฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามคณะกบฏลงได้ ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา

อนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่บริเวณหลักสี่ บางเขน กรุงเทพฯ ที่เรียกกันว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่" นั้น ชื่อจริงคือ "อนุสาวรีย์ปราบกบฏ" หรือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ" ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้น ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช

สาเหตุ

กบฏบวรเดชเกิดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัติ ฤทธิเดช ได้ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เนื่องจากกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" โดยออกเป็นสมุดปกขาว ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดีนี้มีเสนอแนวทางการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก อาทิ เรื่องการถือครองและการเช่าที่ดิน การจัดรัฐสวัสดิการ การแทรกแซงเศรษฐกิจโดยรัฐบาลด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้วยหวังเปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวไร่ชาวนาได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามหลายแนวคิดที่คล้ายกับการปกครองในระบบสังคมนิยมอาจมีผลกระทบต่อพื้นฐานโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงงบประมาณรายจ่ายของประเทศ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวิจารณ์ข้อเสนอของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมอย่างจริงจัง ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรเองก็แตกแยกทางความคิด กระทั่งนำไปสู่การเปิดอภิปรายวิจารณ์ในรัฐสภา ในที่สุดฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อแนวทางดังกล่าวจึงเสนอให้ยกเลิกข้อเสนอนั้น เป็นเหตุให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องถุกกดดันให้ไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว เมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ทำให้คณะราษฎรหลายท่านไม่พอใจพระเจ้าอยู่หัวและพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยเฉพาะฝ่ายทหาร และนำไปสู่การก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดารัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 หลังจากการรัฐประหารพระยาพหลพลพยุหเสนาผู้นำคณะรัฐประหารได้เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม

รถถังวิคเกอร์ขนาด 6 ตัน จอดรักษาการณ์อยู่ในพระนคร
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช

ความวุ่นวายทางการเมืองทั้งหลายมีส่วนทำให้พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช บรรดานายพล และ นายทหารอื่นๆ ที่โดนปลดหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ไม่พอใจรัฐบาลเป็นอันมาก จึงเริ่มก่อกบฏขึ้น โดยนำทหารโคราช (กองพันทหารราบที่ 15, กองพันทหารราบที่ 16, กองพันทหารม้าที่ 4, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 และ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4) ทหารเพชรบุรี (กองพันทหารราบที่ 14), ทหารอุบลราชธานี (กองพันทหารราบที่ 18) เข้ารบ โดยหวังให้ทหารกรุงเทพที่สนิทกับพันเอกพระยาศรีสิทธิสงครามไม่ร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ทหารกรุงเทพหันไปร่วมมือกับรัฐบาลเนื่องจากฝ่ายทหารโคราชยืนยันเอาพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า ซึ่งผิดเงื่อนไขที่ทหารกรุงเทพต้องการ เนื่องจากทหารกรุงเทพนับถือพันเอก พระยาศรีสิทธิสงครามมากกว่า พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของทางฝ่ายกบฏบวรเดชเห็นว่า แท้ที่จริงแล้วการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้นเป็นเพียงแค่การรัฐประหาร (Coup d'état) เท่านั้น มิใช่การปฏิวัติ (Revolution)

การต่อสู้และการปราบปราม

การยิงกันครั้งแรกเริ่มที่ อำเภอปากช่อง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 แล้วมีการจับคนของรัฐบาลเป็นเชลยที่โคราช คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาทางดอนเมืองและยึดพื้นที่เอาไว้ โดยเรียกชื่อคณะตัวเองว่า คณะกู้บ้านเมือง และเรียกแผนการปฏิวัติครั้งนี้ โดยใช้กองกำลังทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ เข้าล้อมเมืองหลวงว่า แผนล้อมกวาง

โดยทางฝ่ายรัฐบาลก็ได้รู้ล่วงหน้าถึงการกบฏครั้งนี้ถึง 2 วัน เมื่อ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีได้ไปตรวจเยี่ยมมณฑลทหารราชบุรี จู่ ๆ นักบินผู้หนึ่งชื่อ เรืออากาศโทขุนไสวมัณยากาศ ได้บังคับเครื่องบินลงจอดที่สนามและได้ยื่นจดหมายฉบับหนึ่งให้แก่ พลตรีพระยาสุรพันธเสนี สมุหเทศาภิบาลมณฑล แล้วแจ้งว่าเป็น สาสน์จากพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นต่อหน้าก็เดาออกทันทีว่าเป็นสาสน์ที่ส่งมาเพื่อเชิญชวนให้ก่อการกบฏ จึงรีบเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในวันรุ่งขึ้นเพื่อดำเนินการต่อต้านทันที

พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ในพื้นที่จังหวัดใหญ่ทหารบกกรุงเทพ[1]ต่อมาในวันเดียวกัน นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้แก้ประกาศกฎอัยการศึกเป็นประกาศกฎอัยการศึกในท้องที่มณฑลกรุงเทพกับมณฑลอยุธยา[2] คณะรัฐบาลแต่งตั้งพันโทหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม - ยศขณะนั้น) เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม พร้อมรถ ปตอ. รุ่น 76 และรถถัง รุ่น 76 บรรทุกรถไฟยกออกไปปราบปรามได้สำเร็จ แต่ต้องเสียพันตรีหลวงอำนวยสงคราม (ถม เกษะโกมล) ผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 8 เพื่อนของหลวงพิบูลสงครามเพราะถูกยิงเข้ามาในรถจักรดีเซลไฟฟ้า

ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาลมาเจรจาให้ฝ่ายกบฏเลิกราไปเสีย และจะขอพระราชทานอภัยโทษให้ แต่ทางฝ่ายกบฏได้จับตัวพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ไว้เป็นตัวประกัน

และในเวลา 12.00 น. ฝ่ายกบฏได้ส่ง นาวาอากาศเอกพระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ นาวาอากาศโทพระยาเทเวศวร อำนวยฤทธิ์ และเรือเอกเสนาะ รักธรรม เป็นคนกลางถือหนังสือของพระองค์เจ้าบวรเดชมาเจรจากับรัฐบาล โดยยืนเงื่อนไขทั้งหมด 6 ข้อ คือ

  1. ต้องจัดการในทุกทางที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน
  2. ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาลต้องเป็นไปตามเสียงของหมู่มาก
  3. ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการทั้งหลายและพลเรือนต้องอยู่นอกการเมือง ตำแหน่งฝ่ายทหารตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือลงไปต้องไม่มีหน้าที่ทางการเมือง
  4. การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งราชการ จักต้องถือคุณวุฒิและความสามารถเป็นหลัก ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมืองเป็นความชอบหรือเป็นข้อรังเกียจในการบรรจุเลื่อนตำแหน่ง
  5. การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ต้องถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือก
  6. การปกครองกองทัพบกจักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้รวมกำลังไว้เฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง
แผนที่แสดงกองกำลังทหารทั้งสองฝ่าย (สีแดง คือ กองกำลังที่สนับสนุนพระองค์เจ้าบวรเดช, สีน้ำเงิน คือ กองกำลังที่สนับสนุนฝ่ายรัฐบาล)
ทหารช่างอยุธยา (สวมหมวกแก๊ป) ตกเป็นเชลยถูกควบคุมโดยทหารม้า ม.พัน 1 ร.อ. ฝ่ายรัฐบาล (สวมหมวกกะโล่) ถือปืนติดดาบปลายปืนอยู่แถวหลัง[3]

ซึ่งคำขอทั้งหมดนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลยืนกรานไม่ยินยอม จึงเกิดการต่อสู้กันของทั้งสองฝ่าย คณะปฏิวัติจึงเคลื่อนกำลังเข้าสู่พระนครทันที โดยยึดพื้นที่เรื่อยมาจากดอนเมืองถึงบางเขน

มีการวิเคราะห์กันว่า แท้ที่จริงแล้วแผนล้อมกวางนี้ เป็นเพียงแผนขู่ไม่ใช่แผนรบจริง ดั่งบันทึกของหม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน หนึ่งในคณะกบฏที่ได้บันทึกเรื่องราวตอนนี้ไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติของตนเอง ซึ่งได้ตีพิมพ์ออกมาในปี พ.ศ. 2482 ว่าแท้ที่จริงแล้วแผนการจะเริ่มขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2476 โดยจะลงมืออย่างรวดเร็ว แต่เมื่อปฏิบัติจริงกลับถูกเลื่อนออกไปหนึ่งวัน จึงเปิดโอกาสให้ทางฝ่ายรัฐบาลได้มีเวลาตั้งตัวได้ติดและโต้กลับอย่างรวดเร็ว

โดยทางฝ่ายรัฐบาลได้ตั้งกองอำนวยการปราบกบฏขึ้นที่สถานีรถไฟบางซื่อข้างโรงงานปูนซีเมนต์ไทยในปัจจุบัน โดยกำลังทหารปืนใหญ่จากนครสวรรค์ ซึ่งขณะยกกำลังมาเพื่อสมทบกับกำลังฝ่ายปฏิวัตินั้น ได้ถูกกองกำลังฝ่ายรัฐบาลที่สถานีโคกกระเทียมตีสกัดไว้จนถอยร่นกระจายกลับคืนไป ส่วนพระยาเสนาสงคราม แม่กองได้พยายามหนีเล็ดลอดลอบมาสมทบได้ในภายหลัง

กองทหารเพชรบุรี ก็ถูกทหารฝ่ายรัฐบาลที่ราชบุรีตีสกัดกั้นไว้ที่สถานีบ้านน้อย (สถานีเขาย้อย) ไม่สามารถจะผ่านมารวมกำลังกับฝ่ายปฏิวัติได้

ส่วนทางกองทหารจากปราจีนบุรี ไม่มั่นใจว่าฝ่ายกบฏจะได้รับชัยชนะเหนือรัฐบาล จึงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาลทำการปราบปรามฝ่ายปฏิวัติเสียอีกด้วย เหตุการณ์ระส่ำระสายทำให้ฝ่ายปฏิวัติสูญเสียกำลังใจในการสู้รบเป็นอย่างมาก

แต่ทางฝ่ายกบฏก็ยังคงปักหลักต่อสู้อย่างเหนียวแน่น จนถึงวันที่ 14 ตุลาคมสถานีรถไฟหลักสี่ มีกำลังทหารม้าจำนวน 5 กองร้อยของนครราชสีมาประจำแนวรบ แม้จะมีปืนกลอยู่เพียง 5 กระบอกเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ยังสามารถรุกไล่ทหารฝ่ายรัฐบาลถอยร่น จนเข้ายึดคลองบางเขนไว้ได้อีกครั้งหนึ่ง

รุ่งขึ้น วันที่ 15 ตุลาคม ฝ่ายรัฐบาลได้หนุนกำลังพร้อมอาวุธหนักนำขึ้นรถไฟ มีทั้งรถเกราะและปืนกล รุกไล่ฝ่ายปฏิวัติจนเกือบประชิดแนวหน้าฝ่ายปฏิวัติซึ่งเป็นรองทั้งกำลังสนับสนุนและอาวุธต่าง ๆ จำเป็นต้องถอยกลับ

และเมื่อเพลี่ยงพล้ำ ฝ่ายกบฏได้ใช้หัวรถจักรฮาโนแม็กเปล่า ๆ เบอร์ 277 พุ่งชนรถไฟของกองทัพรัฐบาล จนมีทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมากก่อนล่าถอยไปโคราช เช่น พันตรีหลวงกาจสงคราม ก็หูขาดจากการครั้งนี้ โดยคนขับเป็นสารวัตรรถจักรภาคอีสาน กรมรถไฟหลวง ชื่อ อรุณ บุนนาค ซึ่งต่อมาถูกจับและนำส่งตัวไปเกาะตะรุเตา

เมื่อประเมินกำลังการต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลแล้วเห็นว่าฝ่ายตรงข้ามมีกำลังเหนือกว่า เพราะโดนฝ่ายรัฐบาลสั่งให้เอานัดดินออกจากลูกกระสุนปืนใหญ่หมดไปก่อนหน้าที่จะก่อกบฏ พระองค์เจ้าบวรเดชก็สั่งให้ถอยทัพไปยึดช่องแคบสถานีปากช่อง เตรียมการต่อสู้กับรัฐบาลต่อไป ขณะที่เคลื่อนกำลังถอยไปนั้น ก็ได้ทำการระเบิดทำลายสะพานและทางรถไฟเสียหายหลายแห่ง เพื่อเป็นการประวิงเวลาการติดตามรุกไล่ของฝ่ายรัฐบาล

ฝ่ายปฏิวัติถูกกำลังฝ่ายรัฐบาลติดตามปราบปรามถึงสถานีหินลับ-ทับกวาง และปากช่อง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก พระองค์เจ้าบวรเดชขึ้นเครื่องบินหนีออกนอกประเทศ และฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามฝ่ายปฏิวัติได้สำเร็จในที่สุด

ผลที่เกิดขึ้น

พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)

เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้นายทหารฝ่ายกบฏ ได้แก่ นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ถูกยิงโดยทหารจากกองพันทหารราบที่ 6 นำโดยพันตรีหลวงวีรวัฒน์โยธา เมื่อ 23 ตุลาคม ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม และต่อไปยังประเทศกัมพูชาตามลำดับและกลับมายังประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2491 ขณะที่พระอนุชาของท่าน (หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร) ถูกทหารจับกุม

ภายหลังได้มีการตั้งศาลพิเศษ มีการคุมขังทหารและพลเรือนผู้เกี่ยวข้องกับการกบฏครั้งนี้นับร้อยคนที่เรือนจำบางขวาง แต่ที่ไม่มีการประหารชีวิต เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สละราชสมบัติ ทำให้รัฐบาลต้องอภัยโทษให้บรรดาผู้รับโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต และผู้ได้รับโทษจำคุกก็ได้รับการลดโทษตามลำดับขั้น

รัฐบาลได้จัดให้มีรัฐพิธีให้แก่ผู้เสียชีวิตทั้ง 17 คนคราวปราบกบฏบวรเดช โดยได้จัดสร้างเมรุชั่วคราว ณ ทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง) ซึ่งเดิมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงยินยอมให้ใช้พื้นที่ทุ่งพระเมรุนี้ แต่ทางคณะราษฎรยืนยันที่จะสร้างเมรุชั่วคราวบนทุ่งพระเมรุ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องทรงยินยอม แต่ระบุถ้อยคำด้วยท่วงทำนองว่า “ไม่ได้เป็นพระราชประสงค์”[4] เมรุชั่วคราวอันนี้ถือเป็นเมรุสามัญชนครั้งแรกบนท้องสนามหลวง ซึ่งก่อนหน้านั้นจะใช้เป็นที่ประกอบพิธีสำหรับเชื้อพระวงศ์เท่านั้น[5]

ต่อมาในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฏหรือ “อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ที่บริเวณหลักสี่ บางเขน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สู้รบ เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อเพียงตามแหล่งที่ตั้งว่า “อนุสาวรีย์หลักสี่”[4]

พ.ศ. 2482 นักโทษการเมืองจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์กบฏบวรเดชนี้ พร้อมกับนักโทษการเมืองอีกจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์กบฏนายสิบ ถูกส่งไปกักบริเวณอยู่ที่อ่าวตะโละอุดัง นิคมฝึกอาชีพตะรุเตา เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล[6] ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา

พ.ศ. 2487 ได้มีการปล่อยตัวบรรดาผู้ได้รับโทษกรณีกบฏบวรเดชทั้งหมดออกจากเรือนจำ จากการนิรโทษกรรมโดยคณะรัฐมนตรีชุดนายควง อภัยวงศ์

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/597.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/598.PDF
  3. หน้า 624, เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ โดย นายหนหวย. กรุงเทพ พ.ศ. 2530. พิมพ์และจำหน่ายโดยตนเอง
  4. 4.0 4.1 ประชาไท, ชาตรี ประกิตนนทการ : สถาปัตย์คณะราษฎร บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ย่อหน้า 3,) ประชาไท, 19 กันยายน พ.ศ. 2550
  5. ชาตรี ประกิตนนทการ, เมรุคราวกบฏบวรเดช: เมรุสามัญชนครั้งแรกกลางท้องสนามหลวง, ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2550, สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
  6. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, อุทยานแห่งชาติตะรุเตา, ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดสตูล, เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • นายหนหวย (ศิลปชัย ชาญเฉลิม), เจ้าฟ้าประชาธิปก ราชันผู้นิราศ, โรงพิมพ์วัชรินทร์, 2530
  • ม.จ. พูนพิศมัย ดิสกุล, สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น (ภาคต้น), สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2543
  • โพยม โรจนวิภาต (อ.ก. รุ่งแสง), พ. ๒๗ สายลับพระปกเกล้า พระปกเกล้าฯ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒) พ.ศ. 2547

ดูเพิ่ม

งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง

  • ชานันท์ ยอดหงษ์. (2562). สามัญชนหญิงร่วมปฏิวัติ 2475. Intelligenzia (ฉบับปฐมฤกษ์): 67-86.
  • ณัฐพล ใจจริง. (2559). กบฏบวรเดช: เบื้องแรกปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม 2475. กรุงเทพฯ: มติชน.