ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
วันที่ [[9 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1945]] กองทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศสอย่างหลวม ๆ ตั้งแต่ปลายปี [[ค.ศ. 1940]] ได้เข้าปลดอาวุธฝรั่งเศสทั่วอินโดจีน และให้เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสลาออกจากตำแหน่งการปกครอง<ref name="Lol4">ธิบดี บัวคำศรี. ''ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา''. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 87</ref> รวมทั้งมีการติดอาวุธให้แก่ชาวกัมพูชา และปลุกกระแสชาตินิยมต่อต้านฝรั่งเศสมาใช้เพื่อทานการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่คาดว่าจะเกิดในปีนั้น<ref name="Lol4"/> โดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงออกมาประกาศเอกราชและยกเลิกสนธิสัญญาและพันธะกรณีทั้งปวงที่มีต่อฝรั่งเศสออกเสีย และสร้างข้อตกลงกับญี่ปุ่นแทน<ref name="Lol4"/>
วันที่ [[9 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1945]] กองทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศสอย่างหลวม ๆ ตั้งแต่ปลายปี [[ค.ศ. 1940]] ได้เข้าปลดอาวุธฝรั่งเศสทั่วอินโดจีน และให้เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสลาออกจากตำแหน่งการปกครอง<ref name="Lol4">ธิบดี บัวคำศรี. ''ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา''. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 87</ref> รวมทั้งมีการติดอาวุธให้แก่ชาวกัมพูชา และปลุกกระแสชาตินิยมต่อต้านฝรั่งเศสมาใช้เพื่อทานการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่คาดว่าจะเกิดในปีนั้น<ref name="Lol4"/> โดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงออกมาประกาศเอกราชและยกเลิกสนธิสัญญาและพันธะกรณีทั้งปวงที่มีต่อฝรั่งเศสออกเสีย และสร้างข้อตกลงกับญี่ปุ่นแทน<ref name="Lol4"/>


ในวันที่ [[9|9 สิงหาคม]]-[[10 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1945]] ได้มีการรัฐประหารต่อต้านกษัตริย์ซึ่งเป็นพวกของ[[เซิง ง๊อก ทัญ]] ขณะที่เซิง ง๊อก ทัญ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนเดียวกัน<ref>Pierre Montagnon, ''La France coloniale'', vol. 2, Pygmalion-Gérard Watelet, 1990, p. 126.</ref>หลังจากการรัฐประหารที่คลุมเครือ และไม่กี่วันต่อมาญี่ปุ่นก็ยอมแพ้แก่สัมพันธมิตรให้หยั่งเสียงการสนับสนุนเอกราช ซึ่งเป็นไปอย่างท่วมท้น แต่ภายหลังนายกเซิง ง๊อก ทัญ ก็ถูกปลดออก และฝรั่งเศสก็กลับมามีอำนาจแทนที่<ref >ธิบดี บัวคำศรี. ''ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา''. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 88</ref>
ในวันที่ [[9|9 สิงหาคม]]-[[10 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1945]] ได้มีการรัฐประหารต่อต้านกษัตริย์ซึ่งเป็นพวกของ[[เซิง งอกทัญ]] ขณะที่เซิง งอกทัญ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนเดียวกัน<ref>Pierre Montagnon, ''La France coloniale'', vol. 2, Pygmalion-Gérard Watelet, 1990, p. 126.</ref>หลังจากการรัฐประหารที่คลุมเครือ และไม่กี่วันต่อมาญี่ปุ่นก็ยอมแพ้แก่สัมพันธมิตรให้หยั่งเสียงการสนับสนุนเอกราช ซึ่งเป็นไปอย่างท่วมท้น แต่ภายหลังนายกเซิง งอกทัญ ก็ถูกปลดออก และฝรั่งเศสก็กลับมามีอำนาจแทนที่<ref >ธิบดี บัวคำศรี. ''ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา''. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 88</ref>


== ตำแหน่งนักการเมือง ==
== ตำแหน่งนักการเมือง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:54, 27 มีนาคม 2556

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
พระวรราชบิดา
ครองราชย์พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
25 เม.ย. 2484-2 มี.ค. 2498
นายกรัฐมนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
2 มี.ค. 2498-5 มิ.ย. 2503
ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา
5 มิ.ย. 2503-18 มี.ค. 2513
19 ส.ค. 2518-2 เม.ย 2519
14 พ.ย. 2534-24 ก.ย. 2536
พระมหากษัตริย์
24 ก.ย. 2536-7 ต.ค. พ.ศ. 2547
พระมหาวีรกษัตริย์
20 ต.ค. 2547-ปัจจุบัน
รัชกาลก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ (ถึงปี พ.ศ. 2484) ;
เจีย ซิม (ถีงปี พ.ศ. 2534)
รัชกาลถัดไปพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต (พ.ศ. 2498) ;
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (พ.ศ. 2547)
ประสูติ31 ตุลาคม พ.ศ. 2465
กรุงพนมเปญ อินโดจีนของฝรั่งเศส
สวรรคต15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (89 ปี)
กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
พระอัครมเหสีสมเด็จพระราชอัคคมเหสี นโรดม มุนีนาถ
พระราชบุตร14 พระองค์
(ดูเพิ่ม...)
(ดูเพิ่ม...)
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
(ราชสกุลนโรดม)
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
พระราชมารดาสมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา
ลายพระอภิไธย

นโรดม สีหนุ (เขมร: នរោត្ដម សីហនុ; นโรตฺฎม สีหนุ ออกเสียง โนโรด็อม สีหนุ[1]) (31 ตุลาคม พ.ศ. 246515 ตุลาคม พ.ศ. 2555) อดีตพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 - 2498 และ พ.ศ. 2536 - 2547 โดยการสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอรสนโรดม สีหมุนี และดำรงพระอิสริยยศเป็นพระมหาวีรกษัตริย์ (พระวรราชบิดา) ในท้ายสุด

พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา, ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา และนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาหลายสมัย กระทั่งบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นนักการเมือง ที่ทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองมากมายที่สุดในโลก (the world's greatest variety of political offices)[2][3][4][5] กล่าวคือ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ 2 สมัย ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ (ดำรงตำแหน่งกษัตริย์โดยไม่ได้รับการบรมราชาภิเษก) 2 สมัย ประธานาธิบดี 1 สมัย นายกรัฐมนตรี 2 สมัย และประมุขแห่งรัฐของรัฐบาลพลัดถิ่นของพระองค์เองอีก 1 สมัย ทั้งนี้พระองค์เป็นหุ่นเชิดของรัฐบาลเขมรแดงช่วงปี ค.ศ. 19751976[6]

พระราชประวัติ

พระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เสด็จพระราชสมภพเมี่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2465 มีพระยศแต่เดิมว่า นักองราชวงศ์นโรดม สีหนุ เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกและพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต ที่ประสูติแต่สมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา พระองค์มีพระอนุชา และพระขนิษฐาต่างมารดา ได้แก่ พระองค์เจ้านโรดม วิชรา, สมเด็จกรมขุนนโรดม สิริวุธ และพระองค์เจ้านโรดม ปรียาโสภณ[7] ที่ประสูติแต่คุณเทพกัญญาโสภา (คิม อันยิป) [8]

สมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส และพระองค์เจ้านโรดม พงางาม พระอัยกาฝ่ายพระชนกของพระองค์ เป็นพระราชบุตรในพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ แต่ต่างมารดากัน โดยสมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส ประสูติแต่คุณจอมเอี่ยมบุษบา สตรีชาวไทยจากสกุลอภัยวงศ์[9] ส่วนพระอัยยิกาฝ่ายพระชนกคือ พระองค์เจ้านโรดม พงางาม ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานวล[9] ดังนั้นพระองค์นับเป็นพระญาติชั้นที่ 3 ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม ผ่านทางคุณจอมเอี่ยมบุษบา ทวดของพระองค์[10][11]

ส่วนพระอัยกาฝ่ายพระชนนีคือ พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กษัตริย์รัชกาลก่อนหน้า ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ส่วนพระอัยยิกาฝ่ายพระชนนีคือ นักองมจะนโรดม กัณวิมานนรลักษณเทวี พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์[12]

พระองค์ได้นิยามตัวตนเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ว่าเป็น "เด็กแก่น"[13] หรือ "เด็กซน"[4][5]

มูลเหตุแห่งการครองราชย์

แม้จะมีการกล่าวกันว่าฝรั่งเศสมีปัจจัยในการเลือกพระองค์ขึ้นครองราชย์ อันเนื่องมาจากพระองค์ได้สืบเชื้อสายจากสองราชสกุล คือ นโรดมจากพระบิดา และสีสุวัตถิ์จากพระมารดา เมื่อเลือกพระองค์เป็นกษัตริย์ก็ถือเป็นการประนีประนอมแก่ทั้งสองราชสกุล และพระองค์ก็ใช้เหตุผลนี้อ้างเช่นกัน[14] แต่ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะมีเชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากทั้งสองราชสกุล และอยู่ใกล้การสืบสันตติวงศ์มากกว่าพระองค์ด้วยซ้ำ[15] เช่น สมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์[16] และพระองค์เจ้านโรดม นรินทเดช ผู้นำคณะเสรีภาพ ก็เคยเป็นตัวเลือกของฝรั่งเศสในการสืบราชสมบัติต่อพระบาทสมเด็จสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์[17] เป็นต้น

ในช่วงที่ฝรั่งเศสอ่อนแอหลังจากความพ่ายแพ้ต่อเยอรมันในปี ค.ศ. 1940[18] และการที่ฝรั่งเศสยอมโอนอ่อนให้ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งกองทหารในอาณานิคมอินโดจีนปลายปีเดียวกัน ตามด้วยการไกล่เกลี่ยสงครามฝรั่งเศสกับไทยช่วงต้นปี ค.ศ. 1941 ซึ่งลงเอยด้วยการเสียดินแดน[18] จนในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 ฝรั่งเศสก็ยอมให้ทหารญี่ปุ่น 8,000 นาย เข้ามาตั้งในกัมพูชา[18] แม้ฝรั่งเศสจะประนีประนอมกับกัมพูชา แต่กระนั้นก็มิได้ลดความเข้มงวดลงนัก โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อเป็นเครื่องมือต่อการธำรงอำนาจของตนต่อไป[18]

ครองราชย์ครั้งแรก

หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ฝรั่งเศสจึงส่งราชสมบัติไปยัง นักองราชวงศ์นโรดม สีหนุ เชื้อพระวงศ์หนุ่มที่กำลังศึกษาอยู่ในลีเซ Chasseloup-Laubat ในไซ่ง่อน นักองราชวงศ์นโรมดม สีหนุ จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 ทำให้การสืบราชสันตติวงศ์ของกัมพูชากลับมายังสายของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ หรือนักองราชาวดีอีกครั้งหนึ่ง[19] ด้วยฝรั่งเศสมั่นใจอย่างยิ่งยวดว่าจะสามารถคุมสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ได้[18]

ต้นรัชกาล ผู้ที่ทรงอำนาจเหนือกว่าพระองค์กลับเป็น ออกญาวังวรเวียงชัย (จวน) เสนาบดีผู้ภักดีต่อการปกครองของฝรั่งเศส พระองค์เคยกล่าวถึงเขาว่า "[เป็น] ราชาองค์น้อย ๆ อย่างแท้จริง ทรงอำนาจดุจเรสิดังสุเปริเออร์ [Residents-Supérieur]"[20][21] แต่เขาก็พ้นจากตำแหน่งหลังการครองราชย์ของพระองค์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ฝรั่งเศสเอาใจยุวกษัตริย์พระองค์ใหม่ แม้ฝรั่งเศสจะเหลือขุนนางที่ภักดีต่อตนบ้าง เช่น จวน ฮล บุตรของออกญาวังวรเวียงชัย แต่ก็ไม่ทรงอิทธิพลเท่าบิดา[16]

อย่างไรก็ตามช่วงที่พระองค์ครงราชย์นั้นเป็นช่วงที่มีการต่อต้านฝรั่งเศสและเกิดกระแสชาตินิยม แต่ฝรั่งเศสก็ยังมีความสามารถที่จะปกป้องระบบการปกครองของตน ดังเมื่อเกิดการประท้วงในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1942 เนื่องจากการที่ฝรั่งเศสจับกุมพระภิกษุรูปหนึ่งในข้อหาวางแผนรัฐประหารโดยมิให้ลาสิกขาเสียก่อน ฝรั่งเศสจึงใช้กำลังสลายกลุ่มผู้ชุมนุมกว่าพันคนอย่างรวดเร็ว[22] และช่วงปี ค.ศ. 1940 ก็มีการชุมนุมเรียกร้องเอกราชที่พระตะบองนำโดยปก คุณ (วิบูล ปกมนตรี) และรัฐบาลไทยในช่วง ค.ศ. 1940-1948 ก็ต่างสนับสนุนทุน, ฐาน และอื่น ๆ แก่เขมรอิสระ จึงมีการติดอาวุธต่อสู้กับฝรั่งเศสแถบชายแดนไทยอยู่เนือง ๆ[23] แต่ภายหลังเมื่อรัฐบาลไทยยุติการสนับสนุนเขมรอิสระจึงแตกเป็นหลายกลุ่ม เช่น ฝ่ายซ้ายเข้ากับเวียดมินห์ ส่วนฝ่ายขวาก็ทำการต่อต้านฝรั่งเศสและสีหนุ เป็นอาทิ[23]

วันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1945 กองทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศสอย่างหลวม ๆ ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1940 ได้เข้าปลดอาวุธฝรั่งเศสทั่วอินโดจีน และให้เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสลาออกจากตำแหน่งการปกครอง[24] รวมทั้งมีการติดอาวุธให้แก่ชาวกัมพูชา และปลุกกระแสชาตินิยมต่อต้านฝรั่งเศสมาใช้เพื่อทานการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่คาดว่าจะเกิดในปีนั้น[24] โดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงออกมาประกาศเอกราชและยกเลิกสนธิสัญญาและพันธะกรณีทั้งปวงที่มีต่อฝรั่งเศสออกเสีย และสร้างข้อตกลงกับญี่ปุ่นแทน[24]

ในวันที่ 9 สิงหาคม-10 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ได้มีการรัฐประหารต่อต้านกษัตริย์ซึ่งเป็นพวกของเซิง งอกทัญ ขณะที่เซิง งอกทัญ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนเดียวกัน[25]หลังจากการรัฐประหารที่คลุมเครือ และไม่กี่วันต่อมาญี่ปุ่นก็ยอมแพ้แก่สัมพันธมิตรให้หยั่งเสียงการสนับสนุนเอกราช ซึ่งเป็นไปอย่างท่วมท้น แต่ภายหลังนายกเซิง งอกทัญ ก็ถูกปลดออก และฝรั่งเศสก็กลับมามีอำนาจแทนที่[26]

ตำแหน่งนักการเมือง

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุขณะเสด็จเยือนโรมาเนียใน พ.ศ. 2515 กับประธานาธิบดีแห่งโรมาเนีย นิโคไล เชาเชสกู (ซ้าย) และ สมเด็จพระราชอัคคมเหสี นโรดม มุนีนาถ (กลาง)

ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2498 ให้แก่พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระราชบิดา เพื่อทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา

เมื่อทรงเวนราชสมบัติถวายพระราชบิดา ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์ที่พระมหาอุปยุวราชในพระนามสมเด็จพระนโรดมสีหนุ เมื่อพระราชบิดาเสด็จสุรคตใน พ.ศ. 2503 ก็ได้มีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ขึ้น มีสมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์มุนีเรศเป็นองค์ประธาน ต่อมา สมเด็จพระนโดมสีหนุตัดสินพระทัยให้มีตำแหน่งประมุขของรัฐขึ้นมาแทนที่พระมหากษัตริย์ โดยพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งนั้น แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงอยู่โดยมีพระราชชนนีของพระองค์เองเป็นพระนิมิตรูปหรือสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์

สมเด็จพระนโรมดมสีหนุได้ตั้งพรรคการเมืองสังคมราษฎร์นิยมขึ้นมาเพื่อลงเลือกตั้งใน พ.ศ. 2498 โดยทรงชนะการเลือกตั้ง และได้ทรงบริหารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบ้าง ประมุขแห่งรัฐบ้างไปอีกถึง 15 ปี และที่สำคัญคือทรงเป็น "สมเด็จโอว" หรือ "สมเด็จพ่อ" ของประชาชนชาวกัมพูชานั่นเอง

พ.ศ. 2513 สมาชิกสภาแห่งชาติลงมติปลดสมเด็จพระนโรดมสีหนุออกจากตำแหน่งประมุขรัฐขณะเสด็จเยือนต่างประเทศ แผนการรัฐประหารครั้งนี้นำโดยนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์สิริมตะและมีลอน นอลเป็นผู้ลงนามประกาศสบับสนุนการปลดพระองค์ในสภาแห่งชาติ และมีการสถาปนาสาธารณรัฐกัมพูชาขึ้น


ตำแหน่งพระวรราชบิดา

หลังจากความวุ่นวายทางการเมืองหลายปี เมื่อมีการสถาปนาราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นมาใหม่ ทรงครองราชสมบัติครั้งที่สองเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2536 ทรงสละราชสมบัติเมี่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ขณะทรงมีพระชนมพรรษา 82 พรรษา และทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น "พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดา เอกราช บูรณภาพดินแดน และความเป็นเอกภาพแห่งชาติเขมร"

สวรรคต

ภาพเครื่องบินที่นำพระบรมศพกลับสู่กัมพูชา

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระมหาวีรกษัตริย์ เสด็จสวรรคตด้วยพระอาการพระหทัยวาย ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หลังจากที่ทรงพระประชวรด้วยพระโรคมะเร็งในพระอันตะ, เบาหวาน และความดันโลหิตสูง[27][28] สิริรวมพระชนมายุได้ 89 พรรษา[29]

ในกัมพูชามีการลดธงครึ่งเสาและงดงานรื่นเริงทั่วประเทศ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี กษัตริย์องค์ปัจจุบัน, พระมหาวีรกษัตรีย์นโรดม มุนีนาถ พระวรราชมารดา และสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อรับพระศพพระวรราชบิดามายังพระบรมราชวังในราชอาณาจักรกัมพูชา (เขมร: ព្រះបរមរាជាវាំងនៃរាជាណាចក្រកម្ពុជា) [30] และหลังจากนี้จะมีการตั้งพระบรมศพไว้เป็นเวลา 3 เดือนก่อนที่จะมีพระราชพิธีปลงพระศพซึ่งจะกระทำตามอย่างโบราณราชประเพณีเช่นเดียวกับงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต ในปี พ.ศ. 2503[31]

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย[32] ส่วนยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ได้แสดงความเคารพพระบรมศพด้วย[33]

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ริ้วขบวนอัญเชิญพระบรมศพเข้าสู่พระบรมราชวัง
พระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ชาวกัมพูชานับแสนคนร่วมแสดงความอาลัยแน่นตลอดเส้นทางก่อนเคลื่อนพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระวรราชบิดา และอดีตกษัตริย์แห่งกัมพูชา พระบรมศพของพระองค์ถูกอัญเชิญจากพระบรมมหาราชวังไปยังพระเมรุซึ่งสร้างขึ้นตามราชประเพณี โดยมีการยิงสลุต 101 นัด และเคลื่อนขบวนพระบรมศพเพื่อให้พสกนิกรได้มีโอกาสถวายความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย[34]

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพถูกจัดขึ้นในเวลา 16.00 นาฬิกา ของวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[35] ถือเป็นงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์กัมพูชาในรอบ 52 ปี[36] พระราชพิธีเสร็จสิ้นลงในเวลา 18.30 นาฬิกา[37] ในการนี้มีชาวกัมพูชาร่วมแสดงความไว้อาลัยเป็นจำนวนมากซึ่งคาดว่าอาจมีมากถึง 6 แสนคน[38] รวมทั้งผู้แทนจาก 16 ประเทศก็ได้เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย[37]

ส่วนพระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐินั้นมีขึ้นในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน พระบรมราชสรีรางคารส่วนหนึ่งจะถูกอัญเชิญไปลอยในจุดบรรจบของแม่น้ำโขง, แม่น้ำบาสัก และแม่น้ำโตนเลสาบ[36] ส่วนพระสรีรางคารอีกส่วนจะถูกอัญเชิญไปยังพระบรมมหาราชวังเพื่อบรรจุในพระบรมโกศ[35] ซึ่งตั้งเคียงข้างโกศพระอัฐิของพระองค์เจ้าหญิงคันธาบุปผา พระราชธิดา[39]

อนึ่งในพระราชพิธีดังกล่าวมีธรรมเนียมปฏิบัติปลีกย่อยต่าง ๆ ล้วนคล้ายคลึงกับพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในไทยทั้งราชรถและธรรมเนียมการแห่ เพียงแตกต่างเป็นบางประการเท่านั้น อาทิ ชาวกัมพูชาสวมชุดไว้ทุกข์สีขาวตามธรรมเนียมชาวเอเชียอาคเนย์ ขณะที่ไทยสวมชุดดำไว้ทุกข์ตามธรรมเนียมตะวันตก, ชาวกัมพูชาทั้งชายและหญิงยังมีการโกนหัวไว้ทุกข์ขณะที่ไทยยกเลิกธรรมเนียมดังกล่าวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และที่บรรจุพระศพเป็นโลงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขณะที่ไทยเป็นโกศแบบโถยอดที่มีลักษณะกลมเป็นทรงสูง[36][40] เป็นต้น

บทบาททางการเมือง

กระแสชาตินิยม

กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร

ในช่วงพระองค์ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรียาวนานจนถึงประมุขแห่งรัฐช่วงแรก เพื่อนโยบายชาตินิยมและคะแนนเสียงของพระองค์[41] จึงได้มียกประเด็นกรณีพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหาร[42] ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก รอยต่อของจังหวัดพระวิหาร และจังหวัดศรีสะเกษของไทย กัมพูชาได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (หรือ ศาลโลก) อ้างกรรมสิทธิเหนือเขาพระวิหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502[43] และศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา[43]

ระหว่างนั้น กัมพูชาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตของไทย[41] ในปลายปี พ.ศ. 2501 แต่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2502 ก็กลับมามีความสัมพันธ์กันใหม่ ก่อนที่จะตัดความสัมพันธ์อีกครั้งในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2504[43]

จากเหตุการณ์ดังกล่าวชาวไทยในยุคนั้นจึงมองพระองค์อย่างไม่เป็นมิตรนัก[41] ทั้งยังได้ตั้งคำถามล้อเลียนว่า สีอะไรเอ่ยคนไทยเกลียดมากที่สุด ? คำตอบคือ "สีหนุ"[4][5][44]

นโยบายต่อชาวเกาะกงเชื้อสายไทย

สืบเนื่องจากความขัดแย้งกับในจากกรณีปราสาทเขาพระวิหาร[42] ประกอบกับการที่พระองค์น่าจะมีความระแวงไทยสูง[45] ในปี พ.ศ. 2506 รัฐบาลกัมพูชาได้ออกกฎห้ามชาวเกาะกงพูดภาษาไทย ห้ามมีเงินไทย และห้ามมีหนังสือไทยไว้ในบ้าน หากเจ้าหน้าที่ค้นพบจะถูกทำลายให้สิ้นซาก โดยเฉพาะหากพูดภาษาไทยจะถูกปรับคำละ 25 เรียล และเพิ่มขึ้นเป็น 50 เรียลในปีต่อมา[42][46]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 พระองค์ได้ประกาศว่า ทรงพบเอกสารคอมมิวนิสต์ที่เกาะกง โดยบางชิ้นเป็นภาษาไทย ทำให้พระองค์มีพระราชวินิจฉัยว่าเขมรแดงได้รับคำสั่งจาก "นาย" ต่างประเทศ เพื่อปลุกระดมให้คนเขมรแปลกแยกจากสังคม [พรรคสังคมราษฎร์นิยม พรรคที่พระองค์จัดตั้งขึ้น] และพระองค์[45]

ความสัมพันธ์เมื่อครานั้นของไทยกับกัมพูชา ปรากฏในหนังสือชุด สามเกลอ-พล นิกร กิมหงวน ของ ป.อินทรปาลิต ตอน "เขมรแหย่เสือ" ได้เขียนลงบทนำตอนหนึ่ง ความว่า[43]

"...คนไทยที่มีเชื้อชาติไทยสัญชาติเขมร และชาวเขมรในเกาะกง หรือจังหวัดใกล้เคียงกับจังหวัดตราดและจันทบุรี ถูกรัฐบาลเขมรกดขี่ข่มเหงรีดนาทาเร้นด้วยประการต่าง ๆ จึงอพยพเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อนโรดม สีหนุ ทราบข่าวนี้ ก็สั่งให้กองทัพเรือจับชาวประมงในน่านน้ำไทย ยึดเรือและนำตัวไปกักขังไว้ ปฏิบัติต่อคนไทยที่ถูกคุมขังอย่างโหดเหี้ยมทารุณราวกับสัตว์ป่า ชาวประมงหลายคนต้องเสียชีวิตเพราะถูกทารุณ เพราะอดอาหาร หรือเจ็บป่วยก็ไม่ได้รับการรักษาพยาบาล..."

ในเหตุการณ์ช่วงนั้นจา เรียง อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งกัมพูชาได้ทำการบันทึกไว้ว่า ช่วงปี พ.ศ. 2509 มีชาวเกาะกงเชื้อสายไทยถูกสังหารไปราว 160 คน[45] ส่วนจรัญ โยบรรยงค์ ที่ได้รวบรวมบันทึกของชาวเกาะกงเชื้อสายไทย และนำมาเขียนเป็นหนังสือ "รัฐบาลทมิฬ" ได้อ้างอิงคำพูดของลอน นอล เมื่อครั้งทำงานใกล้ชิดกับสีหนุ และเดินทางมาประชุมที่เกาะกงความว่า "...คนไทยเกาะกง แม้ว่าจะสูญหายตายจากไปสักห้าพันคน ก็ไม่ทำให้แผ่นดินเขมรเอียง"[47] ผลที่ตามมาจากเหตุการณ์ครั้งนี้คือมีคนเชื้อสายไทยจำนวนมากอพยพออกจากเกาะกงไปจังหวัดตราดของไทย[48] และเกิดปัญหาสถานะบุคคลจนถึงปัจจุบัน[49][50]

ชีวิตส่วนพระองค์

ด้านดนตรี

งานทางด้านดนตรี พระองค์ทรงรอบรู้เรื่องดนตรีเป็นอย่างดีและทรงดนตรีได้หลายชนิด เช่น แซ็กโซโฟน, คราริเน็ต, แอกคอร์เดียน และเปียโน

พระองค์ได้พระราชนิพนธ์เพลงเป็นจำนวนมากทั้งแบบขับร้องและบรรเลง[51] โดยทรงประพันธ์เพลงเป็นภาษาเขมร, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และละตินไว้หลายเพลง[44] อาทิ ราตรีนี้ได้พบพักตร์ (Reatry Baan Joub peak) ซึ่งเป็นเพลงยอดนิยมและได้รับการขับร้องหลายเวอร์ชัน[51] และ บุปผาเวียงจันทน์ พระราชทานแด่หม่อมมุนีวรรณ หม่อมชาวลาวที่พระองค์โปรดปราน และถือเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงมากเพลงหนึ่ง[52] นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดปรานร้องเพลงต่างชาติเพื่อสร้างความบันเทิงแก่แขกต่างประเทศ ทั้งนี้พระองค์โปรดเพลงไทยของสวลี ผกาพันธุ์ และเพลงไทยอื่น ๆ อาทิ รักคุณเข้าแล้ว, ฝัน ฝัน[44] และ เพลงรักเธอเสมอ[53]

เมื่อครั้งที่พระองค์พำนักอยู่ที่เปียงยางและปักกิ่ง ได้ประพันธ์เพลงเปียงยาง และเพลงคิดถึงจีน (Nostalgie de la Chine) เป็นของขวัญมิตรภาพให้กับผู้นำประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งสองประเทศ[44]

ด้านภาพยนตร์

พระองค์ทรงโปรดการภาพยนตร์ และการกำกับยิ่ง พระองค์ทรงกำกับเขียนบทและเป็นพระเอกในภาพยนตร์เรื่อง เงามืดอังกอร์ นอกจากนี้ยังสร้างภาพยนตร์เรื่อง ป่าสำราญ, เจ้าชายน้อย และ สายันต์[44] ซึ่งนักแสดงนำในภาพยนตร์ที่สีหนุกำกับนั้นคือโรล็อง เอง อดีตทูตกัมพูชาประจำไทยและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นน้องของพระองค์เจ้านโรดม มารี รณฤทธิ์ ภรรยาตามกฎหมายในสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีและเป็นโอรสคนที่สองของสีหนุ[44] และภาพยนตร์เรื่อง Ombre sur Angkor ซึ่งพระองค์ได้แสดงเองโดยคู่กับพระชายาโมนิก พระภรรยาองค์สุดท้าย[54] นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่อง ระบำเทพมโนรมย์ (La Forêt Enchantée) ได้ออกฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมอสโกครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2510[55][56]

แม้ผลงานของพระองค์จะเป็นภาพยนตร์รัก ๆ ใคร่ ๆ ทั่วไป แต่สิ่งที่พระองค์ได้สอดแทรกผ่านบทภาพยนตร์ทั้งฉากในการถ่าย รวมไปถึงมุมกล้อง ล้วนเป็นสิ่งที่พระองค์ต้องการสื่อสารความเป็นกัมพูชาทั้งศิลปวัฒนธรรม รวมไปถึงแง่มุม ความคิด และวิวทิวทัศน์ภายในประเทศของพระองค์สู่สายตาอารยะประเทศผ่านโลกของแผ่นฟิลม์อย่างแยบคาย[51] ดังปรากฏในพระราชดำรัสตอนหนึ่ง ความว่า

"ผู้กล่าวถึงข้าพเจ้าว่าสร้างแต่หนังรัก หากที่จริงแล้วเป็นเพียงฉากหน้า ในการนำผู้คนให้หันมาสนใจกัมพูชา ไม่เพียงเห็นภาพของวัดวาอารามเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงวิธีคิด และวิถีชีวิตของพวกเราชาวกัมพูชา เช่นเดียวกับปัญหาที่พวกเรากำลังประสบ"

ทั้งนี้พระองค์ได้ผลักดันจัดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติขึ้น ณ กรุงพนมเปญ[44] ครั้งนั้นนอกจากผู้รับเชิญมางานภาพยนตร์นานาชาติพนมเปญมีทั้งผู้กำกับและนักแสดงชั้นนำจากฮ่องกง ไต้หวันและยุโรปแล้ว ยังสามารถดึงเอาประธานจัดงานภาพยนตร์เมืองคานส์มาร่วมงานได้[44]

ด้านอาหาร

แม้พระองค์จะกล่าวว่าพระองค์เป็น "ชาตินิยม" ก็ตาม[44] กระนั้นพระองค์โปรดปรานอาหารฝรั่งเศสอย่างยิ่ง และกระยาหารแทบทุกมื้อที่เสวยล้วนเป็นอาหารฝรั่งเศส[44] แม้กระทั่งอาหารไทยซึ่งคล้ายกับอาหารเขมรนั้นได้เคยจัดถวายบนเรือขณะล่องแม่น้าเจ้าพระยานั้น พระองค์ก็มิได้แตะต้องเลย อีกทั้งตรัสว่า "หากเป็นไปได้ ทุกมื้อเสิร์ฟเป็นอาหารฝรั่งเศสยิ่งดี"[44]

ทั้งนี้พระองค์ทรงประกอบอาหารฝรั่งเศสด้วยพระองค์เองบ่อย ๆ ทรงคิดสูตรตำรับ "ไก่ไวน์แดง" และได้รับคำชื่นชมด้านรสชาติ[44]

พระปรมาภิไธย

ก่อนเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามเดิมคือ "นักองราชวงศ์นโรดม สีหนุ"[16]

ต่อมาเมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยว่า "พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ราชหริวงศ์ อุภโตสุชาติ วิสุทธิวงศ์ อัคคมหาบุรุษรัตน์ นิกโรดม ธัมมิกมหาราชาธิราช บรมนาถ บรมบพิตร พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี"[note 1]

ภายหลังเมื่อสละราชสมบัติในปี พ.ศ. 2547 แล้ว จึงทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น พระมหาวีรกษัตริย์ โดยทรงได้รับการเฉลิมพระนามว่า "พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดาเอกราช บูรณภาพดินแดน และความเป็นเอกภาพแห่งชาติเขมร" [note 2]

หลังการเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระบรมปัจฉามรณนาม (พระนามหลังเสด็จสวรรคต) ของสมเด็จพระราชบิดาว่า "พระกรุณา พระบรมรัตนโกศ" เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[57][58] ซึ่งเทียบกับภาษาไทยคือ "พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ"[59]

พระราชบุตร

พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระชันษา
นักนางพัต กันฮอล (ค.ศ. 1920 - 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969) อภิเษก: ค.ศ. 1942 / ภายหลังทรงหย่า
สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี ค.ศ. 1943 ยังทรงพระชนม์ 81 พรรษา
สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ค.ศ. 1944 ยังทรงพระชนม์ 80 พรรษา
พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี (26 มกราคม ค.ศ. 1929 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1974) อภิเษก: ค.ศ. 1942 / หย่า: ค.ศ. 1951
สมเด็จบรมเรียมนโรดม ยุวนาถ ค.ศ. 1943 ยังทรงพระชนม์ 80 พรรษา
พระองค์เจ้านโรดม ระวีวงศ์สีหนุ ค.ศ. 1944 ค.ศ. 1973 †29 พรรษา
สมเด็จพระมเหศวรนโรดม จักรพงศ์ ค.ศ. 1945 ยังทรงพระชนม์ 78 พรรษา
พระองค์เจ้านโรดม สุริยเรืองสี ค.ศ. 1947 ค.ศ. 1976 †29 พรรษา
พระองค์เจ้านโรดม คันธาบุปผา ค.ศ. 1948 ค.ศ. 1952 †4 พรรษา
พระองค์เจ้านโรดม เขมานุรักษ์สีหนุ ค.ศ. 1949 ค.ศ. 1975 †33 พรรษา
พระองค์เจ้านโรดม ปทุมบุปผา ค.ศ. 1951 ค.ศ. 1976 †25 พรรษา
พระองค์เจ้านโรดม เทเวศนรลักษณ์ อภิเษก: ค.ศ. 1943
พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีเกสร พระนามเดิม พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ นรลักษณมุนีเกสร (6 เมษายน ค.ศ. 1929 - 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946) อภิเษก: ค.ศ. 1944
พระองค์เจ้านโรดม นรทีโป (พระโอรสบุญธรรม) ค.ศ. 1946 ค.ศ. 1976 †30 พรรษา
สมเด็จพระราชกนิษฐานโรดม นรลักษมิ์ (29 กันยายน ค.ศ. 1927 - ไม่มีข้อมูล) อภิเษก: ค.ศ. 1946 ทางการ: 4 มีนาคม ค.ศ. 1955
นักนางหม่อมมุนีวรรณ พรรณีวรมัน เดิม มะนีวัน พานีวง (1934 - 19 เมษายน ค.ศ. 1975) อภิเษก: ค.ศ. 1949
พระองค์เจ้านโรดม สุเชษฐาสุชะตา ค.ศ. 1953 ค.ศ. 1975 †22 พรรษา
สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี ค.ศ. 1955 ยังทรงพระชนม์ 68 พรรษา
สมเด็จพระราชอัคคมเหสีนโรดม มุนีนาถ เดิม ปอล โมนิก อิซซี (18 มิถุนายน ค.ศ. 1936 - ปัจจุบัน) อภิเษก: ค.ศ. 1952 ทางการ: ค.ศ. 1955
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ค.ศ. 1953 ยังทรงพระชนม์ 70 พรรษา
สมเด็จพระนโรดม นรินทรพงษ์ ค.ศ. 1954 ค.ศ. 2003 †49 พรรษา

พงศาวลี

เชิงอรรถ

  1. เขียนเป็นอักษรเขมรดังนี้: ព្រះករុណា ព្រះបាទសម្ដេចព្រះ នរោត្ដម សីហនុ រាជហរិវង្ស ឧភតោសុជាតិ វិសុទ្ធពង្ស អគ្គមហាបុរសរតន៍ និករោត្ដម ធម្មិកមហារាជាធិរាជ បរមនាថ បរមបពិត្រ ព្រះចៅក្រុងកម្ពុជាធិបតី พฺระกรุณา พฺระบาทสมฺเฎจพฺระ นโรตฺฎม สีหนุ ราชหริวงฺส อุภโตสุชาติ วิสุทฺธพงฺส อคฺคมหาบุรสรตน์ นิกโรตฺฎม ธมฺมิกมหาราชาธิราช บรมนาถ บรมบพิตฺร พฺระเจากฺรุงกมฺพุชาธิบตี
  2. เขียนเป็นอักษรเขมรดังนี้: ព្រះករុណា ព្រះបាទសម្ដេចព្រះ នរោត្ដម សីហនុ ព្រះមហាវីរក្សត្រ ព្រះវររាជបិតាឯករាជ្យ បូរណភាពទឹកដី និងឯកភាពជាតិខ្មែរ พฺระกรุณา พฺระบาทสมฺเฎจพฺระ นโรตฺฎม สีหนุ พฺระมหาวีรกฺสตฺร พฺระวรราชบิตาเอกราชฺย บูรณภาพทึกฎี นิงเอกภาพชาติขฺแมร

อ้างอิง

  1. รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์, มีนาคม 2551. หน้า 202
  2. "สีหนุ เดอะ ไฟนอล แฟนตาซี "คนการเมือง" ที่สุดในโลก ???" (Press release). มติชน. 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "King Father Sihanouk holds ECCC at bay". The Phnom Penh Post. 7 September 2007. สืบค้นเมื่อ 13 October 2009. King Father Norodom Sihanouk has held so many positions since 1941 that the Guinness Book of World Records identifies him as the politician who has occupied the world's greatest variety of political offices.[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 4.2 "'นโรดม สีหนุ'กษัตริย์เก้าชีวิตแห่งกัมพูชา" (Press release). กรุงเทพธุรกิจ. 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 "นโรดม สีหนุ : กษัตริย์เก้าชีวิตแห่งกัมพูชา" (Press release). คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. Widyono, Benny, Dancing in Shadows: Sihanouk, the Khmer Rouge, and the United Nations in Cambodia (2008), p. 289.
  7. King Family
  8. Ancestry.com. HM King NORODOM SURAMARIT. เรียกดูเมื่อ 20 ตุลาคม 2555
  9. 9.0 9.1 จุลลดา ภักดีภูมินทร์. ‘พระราชวงศ์เขมร’ และ ‘พระราชวงศ์ไทย’ ในสกุลไทย ฉบับที่ 2500 ปีที่ 48 ประจำวันอังคารที่ 17 กันยายน 2545
  10. Soravij. A Regal Princess a Remembered - Her Rayal Highness Princess Bejaratana. เรียกดูเมื่อ 20 ตุลาคม 2555
  11. Sokheounpang. Khmer-Siam Royal Family Tree. เรียกดูเมื่อ 27 มกราคม 2556
  12. Ancestry.com. Neak Ang Mechas Norodom Kanviman Norleak Tevi. เรียกดูเมื่อ 20 ตุลาคม 2555
  13. Voice TV. พลิกปูม'หนุ่มเจ้าสำราญ'ผู้ผันชีวิตเป็น'กษัตริย์สีหนุ'. เรียกดูเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556
  14. John P. Armstrong. Sihanouk Speak, p 40
  15. ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 167
  16. 16.0 16.1 16.2 ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 84
  17. Justin J. Corfield. Khmer Stand Up ! : A History of the Cambodian Government 1970-1975, p 6
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 83
  19. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, ตำนานชื่อบ้านเมือง, สกุลไทย, ฉบับที่ 2604, ปีที่ 50, ประจำวันอังคารที่ 14 กันยายน 2547
  20. Les Paroles de Samdech Preah Norodom Sihanouk. Phnom Penh, Ministry of information : October-December 1967, p 811. Speech on 19 October 1967
  21. Ben Kiernan. How Pol Pot Came to Power, p 30
  22. ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 85
  23. 23.0 23.1 ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 86
  24. 24.0 24.1 24.2 ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 87
  25. Pierre Montagnon, La France coloniale, vol. 2, Pygmalion-Gérard Watelet, 1990, p. 126.
  26. ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 88
  27. Cheang, Sopheng (15 October 2012). "Cambodia's former King Norodom Sihanouk dies at 89". NBC News. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  28. "กัมพูชาร่ำไห้อาลัย กษัตริย์สีหนุ" (Press release). ฐานเศรษฐกิจ. 15 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "Cambodia former king Norodom Sihanouk dies aged 89". BBC News. 15 October 2012.
  30. "Cambodia expresses grieves at the death of King-Father Norodom Sihanouk". China News. 15 October 2012. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  31. "กัมพูชาร่ำไห้อาลัย กษัตริย์สีหนุ" (Press release). ข่าวสด. 16 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. Parliament of Thailand. ในหลวงทรงเศร้าสลดสมเด็จสีหนุพิธีพระศพในพนมเปญ ยิ่งลักษณ์เตรียมบินร่วมไว้อาลัยกษัตริย์กัมพูชา. เรียกดูเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2555
  33. ""ยิ่งลักษณ์" เดินทางไปสักการะ พระศพสมเด็จพระนโรดม สีหนุ" (Press release). มติชน. 19 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "ชาวกัมพูชาหลั่งไหลงานพระราชพิธี "เจ้านโรดมสีหนุ"" (Press release). แนวหน้า. 4 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. 35.0 35.1 "กัมพูชาจะเริ่มพระราชพิธีถวายพระเพลิงสมเด็จพระนโรดม สีหนุ 16.00 น.วันนี้" (Press release). มติชน. 4 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. 36.0 36.1 36.2 กระปุกดอตคอม. พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนโรดม สีหนุ. เรียกดูเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556
  37. 37.0 37.1 "ชาวกัมพูชาหลั่งไหลงานพระราชพิธี "เจ้านโรดมสีหนุ"" (Press release). ข่าวสด. 4 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. CRI Online (28 มกราคม 2556). รัฐบาลกัมพูชาคาดว่าจะมีประชาชน 6 แสนคนเข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ. เรียกดูเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556
  39. "ภาพชุดอลังการ -- เขมรปิดฉากพระราชพิธีอัญเชิญพระโกศเพชร" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 8 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. Voice TV. สำรวจพระราชพิธีออกพระเมรุกษัตริย์นโรดมสีหนุ. เรียกดูเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556
  41. 41.0 41.1 41.2 "มองเจ้านโรดม สีหนุ กษัตริย์กู้ชาติแห่งกัมพูชา" (Press release). ไทยรัฐ. 17 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. 42.0 42.1 42.2 รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ:บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 87
  43. 43.0 43.1 43.2 43.3 รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ:บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 88
  44. 44.00 44.01 44.02 44.03 44.04 44.05 44.06 44.07 44.08 44.09 44.10 44.11 Media Inside Out (10 ตุลาคม 2555). สีหนุ..กษัตริย์หลากสีสัน ในสายตาสื่อ. เรียกดูเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556
  45. 45.0 45.1 45.2 รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ:บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 89
  46. นิติภูมิ นวรัตน์. เขตร์เขมรัฐภูมินทร์. ในเปิดฟ้าส่องโลก, 17 สิงหาคม 2543. เรียกดูเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556
  47. จรัญ โยบรรยงค์. รัฐบาลทมิฬ. กรุงเทพฯ:จิตติกานต์, 2528, หน้า 122
  48. "เส้นทางคืนสัญชาติ (1) ไทยพลัดถิ่น เรื่องราวแสนยาวไกล!" (Press release). เดลินิวส์. 30 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  49. ปัญหาความไร้รัฐของคนเชื้อชาติไทยจากเกาะกง โดยอาจารย์วรรณทนี รุ่งเรืองสภากุล และคุณภิญโญ วีระสุขสวัสดิ์ (๒). เรียกดูเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556
  50. "ผู้อพยพเชื้อสายไทย จ.เกาะกง : เรื่องเล่าบนเส้นทาง พ.ร.บ.สัญชาติ" (Press release). อิศรา. 21 มิถุนายน 2555. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  51. 51.0 51.1 51.2 จุมเรียบซัว: ศิลปะบันเทิงขแมร์ง่ายๆ สบายๆ สไตล์เรา. พระบาทสมเด็จนโรดมสีหนุ เอกอัครศิลปินแห่งกัมพูชา. เรียกดูเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2556
  52. คึกฤทธิ์ ปราโมช. ถกเขมร. พระนคร:ก้าวหน้า, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2506, หน้า 208
  53. โอเคเนชั่น. ใครจะคิด!!! กษัตริย์เขมร...เจ้าสีหนุทรงร้องเพลงไทย "รักเธอเสมอ". เรียกดูเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556
  54. ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 65
  55. "5th Moscow International Film Festival (1967)". MIFF. สืบค้นเมื่อ 2012-12-09.
  56. "Shadow Over Angkor". MTV. สืบค้นเมื่อ 2012-12-12.
  57. http://www.phnompenhpost.com/index.php/2012112960010/National-news/royal-title-given-to-sihanouk.html
  58. รอยยิ้มดีไซน์. สมเด็จแม่ทรงย้ำถึงความสำคัญของการถวายพระบรมปัจฉามรณะนาม. เรียกดูเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556
  59. "นิธิ เอียวศรีวงศ์ : กษัตริย์สีหนุ" (Press release). มติชน. 10 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
(กันยายน 2484 - 2 กันยายน 2498)
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
(สละราชสมบัติ)
ไม่มี นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
(พ.ศ. 2488)
เซิง ง็ก ถัญ
ยึม สมบูรณ์ นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
(พ.ศ. 2493)
สมเด็จกรมหลวงสีสุวัตถิ์ มณีพงษ์
ฮุย กัณธุล นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
(พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2496)
แปน นุต
จันทร์ ณัก นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
(พ.ศ. 2497)
แปน นุต
เลง แงต นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
(พ.ศ. 2498-พ.ศ. 2499)
อุม เฉียง ซุน
อุม เฉียง ซุน นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
(พ.ศ. 2499)
ฆิม ทิต
ฆิม ทิต นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
(พ.ศ. 2499)
ซาน ยุน
ซาน ยุน นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
(พ.ศ. 2500)
ซิม วาร์
ซิม วาร์ นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
(พ.ศ. 2501-พ.ศ. 2503)
โพธิ์ เพรือง
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
(พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา)
ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา
(ไม่ได้ประกอบพิธีราชาภิเษก)

(5 มิถุนายน 2503 - 18 มีนาคม 2513)
เจง เฮง
แปน นุต นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
(พ.ศ. 2504-พ.ศ. 2505)
ญึก ชูลง
ลอน นอล ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา
(ไม่ได้ประกอบพิธีราชาภิเษก)

(พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2519)
เขียว สัมพันธ์
เจีย ซิม
(ประธานสภาแห่งรัฐกัมพูชา)
พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
(สถาปนาราชอาณาจักรใหม่)

(24 กันยายน 2536 - 7 ตุลาคม 2547)
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี