ข้ามไปเนื้อหา

นวน เจีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นวน เจีย
នួន ជា
นวน เจียใน ค.ศ. 2013
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา
สภาผู้แทนราษฎรประชาชนกัมปูเจีย
ดำรงตำแหน่ง
13 เมษายน ค.ศ. 1976 – 7 มกราคม ค.ศ. 1979
ประธานาธิบดีเขียว สัมพัน
รองฌิต เชือน
ผู้นำพล พต (เลขาธิการทั่วไป)
ก่อนหน้าก่อตั้งตำแหน่ง
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีกัมพูชาประชาธิปไตย
รักษาการ
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน ค.ศ. 1976 – 25 ตุลาคม ค.ศ. 1976
ประธานาธิบดีเขียว สัมพัน
ผู้นำพล พต (เลขาธิการทั่วไป)
ก่อนหน้าพล พต
ถัดไปพล พต
รองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์กัมปูเจีย
ดำรงตำแหน่ง
30 กันยายน ค.ศ. 1960 – 6 ธันวาคม ค.ศ. 1981
เลขาธิการทั่วไปตู สามุต
พล พต
ก่อนหน้าก่อตั้งตำแหน่ง
ถัดไปไม่มี ถูกยุบ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เล้า กิมลอน

7 กรกฎาคม ค.ศ. 1926(1926-07-07)
วัดกร จังหวัดพระตะบอง กัมพูชา อินโดจีนของฝรั่งเศส
เสียชีวิต4 สิงหาคม ค.ศ. 2019(2019-08-04) (93 ปี)
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
ที่ไว้ศพศาลานอก จังหวัดไพลิน ประเทศกัมพูชา
เชื้อชาติฝรั่งเศส อินโดจีนของฝรั่งเศส (1926–1941)
 ไทย (1941–1960)
ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา (1960–2019)
พรรคการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (1960–1981)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคคอมมิวนิสต์สยาม[1]
คู่สมรสลี กิมเซ้ง[2]
บุตร4 คน[3]
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นวน เจีย (เขมร: នួន ជា นวน ชา; 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1926 – 4 สิงหาคม ค.ศ. 2019[4]) อาจรู้จักในชื่อ ลอง บุญรอด[5] หรือ ฬง บุนรวต[6] (เขมร: ឡុង រិទ្ធិ ฬง ริทฺธิ; อังกฤษ: Long Bunruot) และมีชื่อภาษาไทยว่า รุ่งเลิศ เหล่าดี[7][8] เป็นนักการเมืองสายคอมมิวนิสต์ของกัมพูชา เป็นผู้นำอันดับสองของเขมรแดงรองจากพล พต จนถูกเรียกกันว่า "พี่ชายหมายเลขสอง"[8] หรือ "พี่รอง"[9]

เขาเป็นที่ต้องการตัวจากสหประชาชาติ เพื่อนำตัวไปดำเนินคดีข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่ศาลพิเศษคดีอาชญากรสงคราม กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา พร้อมกับเอียง ซารี, เขียว สัมพัน และเอียง ธิริทธ์ (เขียว ธิริทธ์) ภริยาของนายเอียง ซารี[10] โดยวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557 นวน เจีย และเขียว สัมพัน ถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต ในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมรกว่าสองล้านคนช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจ[11]

ประวัติ

[แก้]

นวน เจีย หรือ รุ่งเลิศ เหล่าดี เกิดที่จังหวัดพระตะบองช่วงที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย มีชื่อแต่แรกเกิดว่า เล้า กิมลอน (Lau Kim Lorn) เป็นชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว โดยบรรพบุรุษฝ่ายบิดาอพยพมาจากเมืองซัวเถา ทางตอนใต้ของจีน[12] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร และศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมปริญญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[7] และทำงานชั่วคราวที่กระทรวงการต่างประเทศของไทย[13]

นวน เจีย (ค.ศ. 2011)

นวน เจีย ได้เริ่มกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย[14] แต่หลังจากนั้นไม่นานหลังเขาทราบข่าวว่าฝรั่งเศสสังหารชาวลาวที่เรียกร้องเอกราช เขาจึงแอบหนีออกจากไทยที่จังหวัดบึงกาฬ ผ่านเข้าแดนลาวที่เมืองปากซัน แล้วไปรับการฝึกโดยเวียดมินห์ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู จนกระทั่งเดินทางถึงกัมพูชาอันเป็นบ้านเกิดในเวลาต่อมา ที่นั่นเขาได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อ นวน เจีย อีกครั้ง[7][8] และได้รับเลือกเป็นรองเลขาธิการพรรคแรงงานกัมพูชา ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา[15] นวน เจียเป็นผู้นำเขมรแดงเพียงคนเดียวที่ไม่ได้จบการศึกษาจากปารีส

นวนเจีย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2019 ที่กรุงพนมเปญขณะอายุได้ 93 ปี[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "NUON Chea". Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2014.
  2. "Provisional Detention Order (Ordonnance de placement en détention provisoire)" (PDF). Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 ตุลาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2009.
  3. Voun, Dara (6 สิงหาคม 2019). "Brother No 2 Nuon Chea's body taken to Pailin". The Phnom Penh Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2019.
  4. "Nuon Chea said to have ordered torture". Associated Press. Tehran Times. 22 กันยายน 2007.
  5. "พลิกปูม..นวน เจีย อดีตผู้นำเขมรแดงจอมโหด เป็นศิษย์เก่าธรรมศาสตร์". 19 กันยายน 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2011.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. รุ่งมณี เมฆโสภณ (มีนาคม 2008). คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์. p. 204. ISBN 978-974-05-7842-0.
  7. 7.0 7.1 7.2 "รู้หรือไม่? "นวน เจีย" จำเลยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมร เคยเรียนมหาวิทยาลัยใดในเมืองไทย". มติชน. 7 สิงหาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2014.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 8.2 "พลิกปูม 'นวน เจีย' อาชญากรสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา เคยเป็นคนไทย?". ไทยพีบีเอส. 7 สิงหาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2014.
  9. "ย้อน 'ตำนานสังหารโหด' - โลกไม่มีวันลืม!! จำคุกตลอดชีวิต 'นวน เจีย-เขียว สัมพัน'". ไทยรัฐ. 8 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2014.
  10. "U.N. court likely to try Khmer Rouge leaders in mid 2011: official+". Associated Press – Kyodo. 7 กันยายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2011.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. "ศาลพิเศษเขมรลงดาบจำคุกตลอดชีวิต 'นวน เจีย-เขียว สัมพัน'". ไทยรัฐ. 7 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2014.
  12. Eiji Murashima (มีนาคม 2009). "The Young Nuon Chea in Bangkok (1942–1950) and the Communist Party of Thailand: The Life in Bangkok of the Man Who Became "Brother No. 2" in the Khmer Rouge" (PDF). Journal of Asia-Pacific Studies. Waseda University (12). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2013.
  13. เออิจิ มูราชิมา (January–March 2011). แปลโดย ปราการ กลิ่นฟุ้ง. "นวน เจียวัยหนุ่ม กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (2485-2493)" (PDF). ฟ้าเดียวกัน. 9 (1): 186–221. ISSN 1685-6880.
  14. Frings, K. Viviane (ตุลาคม 1997). "Rewriting Cambodian History to 'Adapt' It to a New Political Context: The Kampuchean People's Revolutionary Party's Historiography (1979-1991)". Modern Asian Studies. Cambridge University Press. 31 (4): 807–846. doi:10.1017/S0026749X00017170.
  15. Chandler, David P. (Summer 1983). "Revising the Past in Democratic Kampuchea: When Was the Birthday of the Party?: Notes and Comments". Pacific Affairs. University of British Columbia. 56 (2): 288–300. doi:10.2307/2758655.
  16. "Nuon Chea, ideologue of Cambodia's Khmer Rouge, dies at 93". Bangkok Post. 4 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]