ลอง โบเรต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลอง โบเรต
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2516 – 17 เมษายน พ.ศ. 2518
ก่อนหน้าอิน ตัม
ถัดไปแปน โนต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 มกราคม พ.ศ. 2476
จังหวัดกันดาล
เสียชีวิต17 เมษายน พ.ศ. 2518 (42 ปี)
พนมเปญ
ถูกเขมรแดงประหารชีวิตหลังพนมเปญแตก

ลอง โบเรต (Long Boret หรือ Long Boreth) เป็นนักการเมืองกัมพูชาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่าง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ถึง 17 เมษายน พ.ศ. 2518 เขาได้พยายามที่จะเจรจาสันติภาพกับเขมรแดงระหว่างสงครามกลางเมืองกัมพูชา ในที่สุด เขาถูกเขมรแดงประหารชีวิต

ประวัติ[แก้]

โบเรตเกิดที่เกียนสวายในจังหวัดกันดาล เมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของลอง เมียสและเนียง เอง บุตเขาเข้าศึกษาที่ Lycée Sisowath ในพนมเปญระหว่าง พ.ศ. 2489 – 2495[1] จากนั้นได้ไปเรียนที่ฝรั่งเศสในช่วง พ.ศ. 2496 – 2498 แล้วจึงกลับสู่กัมพูชา

โบเรตเริ่มเล่นการเมืองใน พ.ศ. 2501 โดยได้รับเลือกตั้งจากจังหวัดสตึงเตรง[2] และได้เป็นเลขาธิการแห่งรัฐเกี่ยวกับกิจการแรงงานและสังคม และได้รับเลือกตั้งอีกใน พ.ศ. 2505 ในช่วงนี้ เขามีชื่อเสียงในการเขียนนิยายโรแมนติก[3] เขาได้เป็นเลขาธิการทั่วไปทางด้านการเงินแต่เพราะนโยบายที่ไปคนละทางกับพระนโรดม สีหนุเกี่ยวธนาคารแห่งชาติและการค้ากับต่างประเทศ ทำให้เขาถูกบังคับให้ลาออกเมื่อ พ.ศ. 2506 แต่ยังคงเป็นส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2509 หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2513 เขาได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงข่าวสารเมื่อ พ.ศ. 2514 – 2515 และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศระหว่างพ.ศ. 2515-2516

ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โบเรตได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากอิน ตัม และในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2517 เขาได้เป็นหนึ่งในสี่ของคณะกรรมการสูงสุดที่ประกอบไปด้วยโบเรต ลน นล พระสีสุวัตถิ์ สิริมตะและโซสทีน เฟอร์นานเดซ ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2518 เขาพยายามเจรจากับเขมรแดงที่กรุงเทพแต่ไร้ผล[4]

ลอง โบเรตยังคงอยู่ในสำนักงานจนกระทั่งเขมรแดงเข้าสู่พนมเปญเมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2518[5] ทั้งที่เขามีชื่ออยู่ในบัญชีดำของพระนโรดม สีหนุ นายพลสัก สุตสคานกล่าวว่าโบเรตตัดสินใจอพยพออกจากเมืองในเช้าวันที่ 17 เมษายน[6][7] แต่เขาและครอบครัวของเขาไม่สามารถขึ้นไปบนเฮลิคอปเตอร์เที่ยวสุดท้ายได้[8]" ผู้ที่เห็นเขาครั้งสุดท้ายคือซิดนีย์ ชานเบิร์ก และดิธ ปรานที่ด้านนอกสถานทูตฝรั่งเศส[9] หลังจากนั้นไม่นาน กอย ทวน รองหัวหน้าผู้บัญชาการทหารของเขมรแดงได้สั่งให้ประหารชีวิต ลน นนและเจ้าหน้าที่รัฐบาลคนอื่น วิทยุเขมรแดงกล่าวว่าเขาถูกประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ[10] แต่แหล่งอื่น ๆ กล่าวว่าเขาและพระสีสุวัตถิ์ สิริมตะถูกยิงเป้า[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Thompson LC. Refugee Workers in the Indochina Exodus, 1975-1982. Jefferson, N.C.: McFarland & Co, 2010, p. 37.
  2. LA CONSTRUCTION DU CAMBODGE EN DEBAT (1954-1959)
  3. Corfield JJ. The history of Cambodia. Santa Barbara, Calif.: Greenwood Press, 2009, p. 64.
  4. "Long Boret" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-08-03.
  5. Interviewed by Charles Stuart Kennedy on September 6, 2000: John Gunther Dean on his experience as US Ambassador to Cambodia, 1974-75, p. 27.
  6. Sutsakhan, Lt. Gen. S. The Khmer Republic at War and the Final Collapse Washington DC: U.S. Army Center of Military History, 1987, p. 169. Part 3 เก็บถาวร 2007-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. Swain J. River of Time. London: Heinemann, 1995, p. 135.
  8. Dean, 2000, p. 37.
  9. Sydney Schanberg, The Death and Life of Dith Pran. New York, N.Y., U.S.A.: Penguin, 1985, p. 26.
  10. Becker E. When the War was Over: Cambodia and the Khmer Rouge Revolution. New York: PublicAffairs, 1998, p. 160 & 193: "...Reportedly one of the very first acts of the communists was to behead [Boret] on the lawns of the private Cercle Sportif Country Club."
  11. Jackson KD. Cambodia, 1975-1978: Rendezvous with Death. Princeton, N.J.: Princeton University Press, 1989, p. 184.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]