เจง เฮง
เจง เฮง | |
---|---|
ឆេង ហេង | |
![]() | |
ประมุขแห่งรัฐสาธารณรัฐเขมร | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม 1970 – 10 มีนาคม 1972[1] (1 ปี 153 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ลอน นอล สีสุวัตถิ์ สิริมตะ |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ลอน นอล (ในฐานะ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเขมร) |
ประมุขแห่งรัฐรัฐกัมพูชา | |
รักษาการ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม 1970 – 9 ตุลาคม 1970 (202 วัน) | |
กษัตริย์ | สีสุวัตถิ์ กุสุมะ |
นายกรัฐมนตรี | ลอน นอล |
ก่อนหน้า | นโรดม สีหนุ |
ถัดไป | ตนเอง ในฐานะ ประมุขแห่งรัฐสาธารณรัฐเขมร |
ประธานรัฐสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 1969–1970 | |
นายกรัฐมนตรี | ลอน นอล |
ถัดไป | เอก ยิ อึน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 มกราคม ค.ศ. 1910 ตาแก้ว กัมพูชา อินโดจีนของฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | มีนาคม 15, 1996 พอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน ประเทศสหรัฐ | (86 ปี)
เจง เฮง (เขมร: ឆេង ហេង; 10 มกราคม พ.ศ. 2460 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2539)[2] เป็นนักการเมืองชาวเขมรในครอบครัวที่เป็นชนชั้นกลาง เคยเป็นประมุขของประเทศระหว่าง พ.ศ. 2513 – พ.ศ. 2514
เฉิงเฮงเริ่มจากเป็นนักธุรกิจและเจ้าของที่ดิน[3] เริ่มเล่นการเมืองในระบอบสังคมของพระเจ้านโรดม สีหนุเมื่อ พ.ศ. 2501 และเป็นเลขาธิการแห่งรัฐด้านเกษตรกรรมเมื่อ พ.ศ. 2504 – 2505 ได้เป็น ส.ส.พรรคสังคมสำหรับตาคเมา ใน พ.ศ. 2505 แต่พ่ายแพ้ให้กับแก้ว ซานใน พ.ศ. 2509 ได้เป็น ส.ส. อีกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2510 ในพนมเปญ และได้เป็นประธานสมัชชาแห่งชาติใน พ.ศ. 2513 หลังเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2513 เมื่อ ลน นล นายกรัฐมนตรีและพระสีสุวัตถิ์ สิริมตะ รองนายกรัฐมนตรีได้ล้มล้างอำนาจของสีหนุ เฮงได้เป็นประมุขรัฐจนกระทั่งมีการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นตำแหน่งโดยพิธีการ เพราะอำนาจส่วนใหญ่อยู่ในมือของลน นลตามที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน พระนโรดม สีหนุที่อยู่ระหว่างการลี้ภัยได้ประณามว่าเขาเป็นหุ่นเชิดที่ไร้ความสำคัญ
ต่อมา ลน นลได้ใช้วิกฤติการณ์ทางการเมืองปลดเฮงออกจากประมุขรัฐ และขึ้นเป็นประมุขรัฐเองใน พ.ศ. 2515 ใน พ.ศ. 2516 หลังจากที่สหรัฐกดดันลน นลให้มีความร่วมมือทางการเมืองที่กว้างขึ้น เฮงได้เป็นรองประธานของสภาการเมืองสูงสุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารประเทศ แต่ลน นลก็ยังพยายามรวบอำนาจในการบริหารอยู่
ใน พ.ศ. 2518 เมื่อเขมรแดงเข้าล้อมพนมเปญ เฮงเป็นหนึ่งในชื่อที่ถูกประกาศว่าเป็นคนทรยศ 7 คน (ที่เหลือคือ ลน นล, อิน ตัม, พระสีสุวัตถิ์ สิริมตะ, ลอง โบเรต, ซ็อสแตน เฟร์นันเดซ และเซิน หง็อก ถั่ญ) ซึ่งจะถูกประหารทันทีที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะ เฮงออกจากประเทศเมื่อ 1 เมษายน โดยเดินทางไปปารีส จากนั้น เข้าร่วมกับกลุ่มของซอน ซาน หลังการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพปารีส เมื่อ พ.ศ. 2534 เฮงกลับสู่กัมพูชา เล่นการเมืองโดยจัดตั้งพรรคแนวร่วมสาธารณรัฐแต่ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536[3] เขาเสียชีวิตเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lentz, Harris M. (4 February 2014). Heads of States and Governments Since 1945. Routledge. ISBN 9781134264971.
- ↑ Lentz, Harris M. (4 February 2014). Heads of States and Governments Since 1945. Routledge. ISBN 9781134264971.
- ↑ 3.0 3.1 Cheng Heng เก็บถาวร 2011-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, AFEAK, accessed 26-09-09
ข้อมูล
[แก้]- Corfield, J. Khmers Stand Up! A History of the Cambodian Government, 1970-1975, Monash Asia Institute, 1994
- 梁明 (Liang, Ming), "高棉華僑概況 (Overview of the Khmer Chinese)–海外華人青少年叢書", 1988, 华侨协会总会主编–正中书局印行
- Shawcross, W. Sideshow: Kissinger, Nixon, and the Destruction of Cambodia, Simon & Schuster, 1979
- Norodom Sihanouk, My War with the CIA, Random House, 1973