นิโคไล เชาเชสกู
นิโคไล เชาเชสกู Nicolae Ceaușescu | |
---|---|
![]() | |
เชาเชสกูในปี ค.ศ. 1965 | |
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม ค.ศ. 1965 – 22 ธันวาคม ค.ศ. 1989 | |
ก่อนหน้า | กีออร์เก กีออร์กีอู-เดจ |
ถัดไป | ไม่มี; คอมมิวนิสต์ล่มสลาย |
ประธานาธิบดีโรมาเนีย คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มีนาคม ค.ศ. 1974 – 22 ธันวาคม ค.ศ. 1989 | |
ถัดไป | แนวร่วมปลดปล่อยโรมาเนีย |
ประธานคณะมนตรีแห่งรัฐ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม ค.ศ. 1967 – 22 ธันวาคม ค.ศ. 1989 | |
ก่อนหน้า | ชีวู ชตอยคา |
ถัดไป | ไม่มี; คอมมิวนิสต์ล่มสลาย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 มกราคม ค.ศ. 1918 สกอร์นีเชสตี ราชอาณาจักรโรมาเนีย |
เสียชีวิต | 25 ธันวาคม ค.ศ. 1989 (71 ปี) ตีร์โกวิชเต สาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย |
สาเหตุการเสียชีวิต | การประหารชีวิตด้วยการยิงเป็นชุด |
พรรค | พรรคคอมมิวนิสต์ (1932-1989) |
ลายมือชื่อ | ![]() |
นิโคไล เชาเชสกู (โรมาเนีย: Nicolae Ceauşescu, ออกเสียง: [nikoˈla.e tʃe̯a.uˈʃesku] ( ฟังเสียง); 5 กุมภาพันธ์ [ตามปฎิทินเก่า: 23 มกราคม] ค.ศ. 1918[1] – 25 ธันวาคม ค.ศ. 1989) เป็นนักการเมืองและเผด็จการคอมมิวนิสต์ชาวโรมาเนีย ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนียระหว่างค.ศ. 1965 ถึง 1989 เป็นผู้นำในระบอบคอมมิวนิสต์คนที่สองและคนสุดท้ายของประเทศโรมาเนีย เขายังเป็นประมุขแห่งรัฐตั้งแต่ปีค.ศ. 1967 ในตำแหน่งประธานคณะมนตรีแห่งรัฐ และหลังปีค.ศ. 1974 ในตำแหน่งประธานาธิบดี เชาเชสกูถูกโค่นล้มและถูกยิงประหารชีวิตในช่วงการปฏิวัติโรมาเนียเมื่อค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก
ประวัติ[แก้]
นิโคไลเกิดในหมู่บ้านขนาดเล็กชื่อ สกอร์นีเชสตี (Scornicești) เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 เป็นบุตรคนที่สามในจำนวนเก้าคนของครอบครัวชาวไร่ยากจนเคร่งศาสนา บิดาของเขามีที่ดินขนาดยี่สิบไร่ใช้ปลูกผักและเลี้ยงแกะ นิโคไลหาแบ่งเบาภาระครอบครัวใหญ่ของเขาด้วยการช่วยตัดเสื้อ[2] นิโคไลศึกษาที่โรงเรียนของหมู่บ้านจนถึงอายุสิบเอ็ดปี แล้วจึงย้ายไปยังกรุงบูคาเรสต์ เหตุผลของการย้ายไม่เป็นที่แน่ชัด บางสำนักข่าวระบุว่าเขาหนีจากความเข้มงวดของครอบครัว

ที่กรุงบูคาเรสต์ เขาทำงานในโรงงานรองเท้าอเล็กซันดรู ซันดูเลสกู (Alexandru Săndulescu) สมาชิกคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งขณะนั้นถือเป็นพรรคการเมืองนอกกฎหมาย และแล้วเชาเชสกูก็เข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆของพรรคคอมมิวนิสต์ (เข้าเป็นสมาชิกในค.ศ. 1932) เนื่องจากเชาเชสกูอายุยังน้อย จึงไม่ได้รับมอบหมายหน้าที่สำคัญ เชาเชสกูถูกจับกุมครั้งแรกในค.ศ. 1933 ขณะมีอายุสิบห้าปี ฐานทะเลาะวิวาทบนท้องถนนในช่วงการนัดหยุดงาน และถูกจับกุมอีกหลายครั้งจากการทำกิจกรรมสังคมนิยม[3] และกลายเป็นหนึ่งในนักกิจกรรมคอมมิวนิสต์ที่ทางการจับตามอง
ครองอำนาจ[แก้]
ภายหลังประเทศโรมาเนียตกอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบคอมมิวนิสต์เมื่อค.ศ. 1947 เชาเชสกูได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตร, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อมาในค.ศ. 1952 ได้เป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ต่อมาเมื่อนายกีออร์เก กีออร์กีอู-เดจ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย ถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1965 เชาเชสกูได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คนที่สอง
ช่วงแรกของการครองอำนาจ เชาเชสกูมีนโยบายต่อต้านอิทธิพลของสหภาพโซเวียต ทำให้เขาได้รับความนิยมจากชาวโรมาเนียและจากชาติตะวันตก เขาอนุมัติกฎหมายเซ็นเซอร์สื่อและประกาศว่าโรมาเนียจะยุติบทบาทในกติกาสัญญาวอร์ซอ แต่ยังคงสถานะสมาชิกภาพอยู่ เขาประณามอย่างเปิดเผยต่อการบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอในค.ศ. 1968 ซึ่งส่งผลให้ความนิยมของเขาพุ่งสูง เชาเชสกูมีความทะเยอทะยานนำพาประเทศโรมาเนียเป็นมหาอำนาจของยุโรป นโยบายของเขาด้านเศรษฐกิจ, การต่างประเทศ และกิจการในประเทศต่างถูกออกแบบมาเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น[4] เชาเชสกูดำเนินนโยบายต่างประเทศเข้าหาสหรัฐและชาติยุโรปตะวันตก โรมาเนียกลายเป็นประเทศแรกในกติกาสัญญาวอร์ซอที่ยอมรับอิทธิพลของเยอรมนีตะวันตกและเข้าร่วมกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ต่อมาในค.ศ. 1971 โรมาเนียกลายเป็นสมาชิกในความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ประเทศโรมาเนียกับประเทศยูโกสลาเวียเป็นเพียงสองชาติในยุโรปตะวันออกที่เข้าร่วมความตกลงทางการค้ากับประชาคมเศรษฐกิจยุโรปก่อนการล่มสลายของกลุ่มตะวันออก[5] ซึ่งในค.ศ. 1973 เชาเชสกูเป็นผู้นำชาติยุโรปตะวันออกคนแรกที่ได้ต้อนรับการมาเยือนของประธานาธิบดีสหรัฐ

แม้ว่าเชาเชสกูมีนโยบายออกห่างโซเวียตและเข้าหาชาติเสรี แต่ในเวลาไม่กี่ปี รัฐบาลของเขากลายเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จและถูกกล่าวขานว่าเป็นรัฐบาลกดขี่ที่สุดในประเทศกลุ่มตะวันออก หลังค.ศ. 1971 เขาเริ่มออกโฆษณาชวนเชื่อและจัดตั้งลัทธิเชิดชูท่านผู้นำ มีรูปภาพของเขาติดอยู่ในทุกสถานที่ ตำรวจลับและฝ่ายความมั่นคงดำเนินการสอดแนมมวลชนและปราบปรามฝ่ายต่อต้าน มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการควบคุมคุกคามสื่อมวลชน
ความล้มเหลวในการร่วมทุนด้านกิจการน้ำมันในทศวรรษที่ 1970 นำไปสู่การพุ่งทะยานของหนี้ต่างประเทศ ส่งผลให้ในปีค.ศ. 1982 ประธานาธิบดีเชาเชสกูสั่งการให้รัฐบาลประกาศใช้มาตรการรัดเข็มขัดในประเทศโรมาเนีย คริสต์ทศวรรษ 1980 เพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อหาเงินมาใช้หนี้ต่างประเทศ คุณภาพชีวิตของชาวโรมาเนียตกต่ำลงอย่างมาก
ถูกโค่นอำนาจ[แก้]
22 ธันวาคม ค.ศ. 1989 เชาเชสกูกล่าวสุนทรพจน์โฆษณาความสำเร็จของระบอบคอมมิวนิสต์ต่อฝูงชนราวหนึ่งแสนคนที่อาคารพรรคคอมมิวนิสต์ในกรุงบูคาเรสต์อย่างเช่นทุกครั้ง เมื่อกล่าวสุนทรพจน์ได้แปดนาที มวลชนเริ่มส่งเสียงโห่และร้องตะโกน เขาชูมือเพื่อปราม ความสงบกลับคืนมาอีกครั้ง เขาเริ่มกล่าวสุนทรพจน์ต่อ สีหน้าตื่นตระหนกของเขาตอนถูกโห่และตะโกนใส่ถูกถ่ายทอดสดไปทั่วยุโรปตะวันออก[6] แต่แล้วเหตุการณ์ก็เริ่มควบคุมไม่ได้ เกิดเสียงปืนดังขึ้น เขาเข้าไปหลบภายในอาคารและประกาศกฎอัยการศึก มีการชุมนุมใหญ่ที่จัตุรัสมหาวิทยาลัยและถูกปราบปรามโดยกำลังตำรวจ มีผู้ถูกจับกุมหลายร้อยคน
การปราบปรามประชาชนทำให้เหตุการณ์ลุกลามไปในหลายเมืองใหญ่ทั่วประเทศ รัฐมนตรีกลาโหม-วาซีลี มีเลีย (Vasile Milea) เสียชีวิตอย่างปริศนา ทางการประกาศว่ามีเลียฆ่าตัวตาย หลังจากนั้น ประธานาธิบดีเชาเชสกูประกาศเป็นผู้นำกองทัพด้วยตนเอง ทหารจำนวนมากเชื่อว่ารัฐมนตรีกลาโหมถูกฆาตกรรม จึงพากันย้ายข้างมาเข้ากับฝ่ายประชาชนปฏิวัติ ถึงจุดนี้ นายทหารระดับสูงเห็นว่าเชาเชสกูหมดความชอบธรรมและไม่ต้องการรับใช้รัฐบาลเชาเชสกูอีกแล้ว เชาเชสกูดิ้นรนครั้งสุดท้ายโดยการออกมาเกลี้ยกล่อมฝูงชนที่หน้าอาคารแต่ถูกขว้างปาสิ่งของใส่ และแล้วเขาก็ตัดสินใจหลบหนีด้วยเฮลิคอปเตอร์
ถูกประหารชีวิต[แก้]
เชาเชสกูและพวกหนีออกจากเมืองหลวงโดยเฮลิคอปเตอร์ ฝ่ายปฏิวัติประกาศชัยชนะและประกาศจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกาล เมื่อเฮลิคอปเตอร์ของเชาเชสกูไปถึงบริเวณเมืองตีมีชวาราก็จำเป็นต้องร่อนลงจอดและทิ้งเครื่องไว้เนื่องจากกองทัพประกาศให้ทั้งประเทศเป็นเขตห้ามบิน เชาเชสกูถูกตำรวจจับกุมและส่งตัวให้แก่กองทัพ ในวันคริสมาสต์ เขาเข้ารับการพิจารณาคดีโดยศาล ตามคำสั่งของของแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ (คณะรัฐบาลเฉพาะกาล) ศาลพิพากษาว่าเขามีความผิดฐานยักยอกเงินรัฐและกระทำพันธฆาต เขาถูกประหารชีวิตด้วยการยิงโดยแถวทหาร[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Ceauşescu, între legendă şi adevăr: data naşterii şi alegerea numelui de botez". Jurnalul Național. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 8 September 2016.
- ↑ Gruia, Cătălin (29 July 2013). The Man They Killed on Christmas Day. United Kingdom: Createspace Independent Pub. p. 42. ISBN 978-1492282594.
- ↑ Gruia, p. 43
- ↑ Crampton, Richard Eastern Europe In the Twentieth Century-And After, London: Routledge, 1997 page 355.
- ↑ Martin Sajdik, Michaël Schwarzinger (2008). European Union enlargement: background, developments, facts. New Jersey, USA: Transaction Publishers. p. 10. ISBN 978-1-4128-0667-1.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Sebetsyen, Victor (2009). Revolution 1989: The Fall of the Soviet Empire. New York City: Pantheon Books. ISBN 978-0-375-42532-5.
- ↑ "Nicolae Ceaușescu". Biography.com.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: นิโคไล เชาเชสกู |
![]() |
วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ นิโคไล เชาเชสกู |
![]() |
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |
- Nicolae Ceaușescu's last speech in public
- Romania's Demographic Policy
- Gheorghe Brătescu, Clipa 638: Un complot ratat ("A failed scheme") (In Romanian)
- Death of the Father: Nicolae Ceaușescu Focuses on his death, but also discusses other matters. Many photos.
- วิดีโอ ที่ยูทูบ, Video of the trial and execution of Nicolae and Elena Ceaușescu.
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |