สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี
นโรดม บุปผาเทวี | |
---|---|
สมเด็จราชบุตรีพระเรียม[ก] | |
ประสูติ | 8 มกราคม พ.ศ. 2486 พนมเปญ กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส |
สิ้นพระชนม์ | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (76 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พระสวามี | หม่อมเจ้านโรดม นรินรติวงศ์ (2502) พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีชีวัน (2502–2505) บรูโน ฌัก ฟอร์ซินแน็ตตี (2507–2510) สมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ชีวันมุนีรักษ์ (2510–2532) แขก วันดี (?–2555)[1] |
พระบุตร | หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีกุสุมะ หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ กัลยาณเทวี แกว จินสิตา ฟอร์ซินแน็ตตี หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ ชีวันฤทธิ์ หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ วชิราวุธ |
ราชวงศ์ | ตรอซ็อกผแอม (สายราชสกุลนโรดม) |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ |
พระมารดา | พาต กาญล |
ศาสนา | พุทธ |
สมเด็จราชบุตรี พระเรียม นโรดม บุปผาเทวี[2] (เขมร: នរោត្ដម បុប្ផាទេវី นโรตฺฎม บุบฺผาเทวี; 8 มกราคม พ.ศ. 2486 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับนักนางพาต กาญล ซึ่งเป็นนางรำหลวง มีพระอนุชาร่วมพระมารดาคือสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ และเป็นพระเชษฐภคินีต่างพระมารดากับพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี
พระประวัติ
[แก้]พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ประสูติแต่พาต กาญล (เขมร: ផាត់-កាញ៉ុល ผาต่ กาญุ่ล) นางรำสามัญชนผู้มีชื่อเสียงในราชสำนัก[3] มีพระอนุชาร่วมพระชนนีคือสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ภายหลังพระชนกและชนนีได้เลิกรากัน พาต กาญลสมรสใหม่กับจาบ ฮวด (Chap Huot) พระองค์จึงมีพี่น้องต่างบิดาอีก 5 คน[4]
สำเร็จการศึกษาจากลีเซพระนโรดม (Lycée Preah Norodom) ในพนมเปญขณะมีพระชันษา 15 ปี พระองค์ถูกส่งไปอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิรีวัฒนา พระอัยยิกา ที่ทรงอุปถัมภ์ระบำเทพอัปสรและคัดเลือกให้พระองค์เป็นนางละครหลวง และได้เป็นตัวชูโรงของคณะ Prima ballerina เมื่อพระชนมายุ 18 พรรษา[5] ถือเป็นการแหวกพระราชประเพณีอย่างยิ่ง ที่นำพระราชนัดดานารีมาเป็นนางละคร[6] ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว พระนางกุสุมะได้พยายามสร้างอัตลักษณ์ทางนาฏศิลป์คือระบำอัปสรา มีการดัดแปลงชุดตามอย่างภาพเทวดาและอัปสรในนครวัด เพื่อปลดเปลื้องอิทธิพลนาฏศิลป์ไทยออก[7]
หลังจากนั้นพระองค์ก็นำคณะละครออกแสดงไปทั่วโลกจนเป็นที่จดจำ[8] และทรงรำหน้าพระที่นั่งในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ รวมทั้งแสดงภาพยนตร์เรื่อง "อัปสรา" ของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ[9]
สิ้นพระชนม์
[แก้]สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวีสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย สิริพระชันษา 76 ปี[10] หลังพระองค์ทรงเข้ารับการรักษาพระอาการประชวรนานกว่าสองสัปดาห์[11] ต่อมาได้มีการอัญเชิญพระศพขึ้นประดิษฐาน ณ วัดปทุมวดีราชวราราม พนมเปญ[12] วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี และพระมหาวีรกษัตรีย์นโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมารดา เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี ณ พระเมรุ วัดปทุมวดีราชวราราม[13]
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่งข้อความพระราชสาส์น แสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยังพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ความว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี แห่งกัมพูชา กรุงพนมเปญ หม่อมฉันและพระราชินีรู้สึกเศร้าสลดใจอย่างยิ่งที่ได้ทราบว่า สมเด็จราชบุตรี พระเรียมนโรดม บุปผาเทวี พระเชษฐภคินีของฝ่าพระบาท สิ้นพระชนม์ หม่อมฉันและพระราชินีขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังฝ่าพระบาท และพระราชวงศ์ ในการสูญเสียครั้งนี้"[14]
พระโอรส-ธิดา
[แก้]สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี เสกสมรสครั้งแรกในปี พ.ศ. 2502 เมื่อมีพระชนมายุ 15 พรรษา โดยพระองค์เสกสมรสทั้งหมด 5 ครั้ง มีพระโอรส-ธิดาทั้ง 5 พระองค์ ได้แก่[15]
- หม่อมเจ้านโรดม นรินรติวงศ์ แต่ไม่มีโอรส-ธิดาด้วยกัน
- พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีชีวัน มีพระธิดา 2 พระองค์ ได้แก่
- หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีกุสุมะ (ประสูติ พ.ศ. 2503)
- หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ กัลยาณเทวี (ประสูติ พ.ศ. 2504)
- บรูโน ฌัก ฟอร์ซินแน็ตตี มีธิดา 1 คน คือ
- แกว จินสิตา ฟอร์ซินแน็ตตี (เกิด พ.ศ. 2508)
- สมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ชีวันมุนีรักษ์ มีพระโอรส 2 พระองค์ ได้แก่[16]
- หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ ชีวันฤทธิ์ (ประสูติ พ.ศ. 2511) อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงต่างประเทศ[17]
- หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ วชิราวุธ (ประสูติ พ.ศ. 2516)
- แขก วันดี ไม่มีโอรส-ธิดาด้วยกัน
การทรงงาน
[แก้]สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวีเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศิลปะและวัฒนธรรมของกัมพูชาในรัฐบาลสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์[18][19] นอกจากนี้ยังทรงเปิดโรงเรียนฝึกโขนละครแก่เยาวชนกัมพูชาที่สนใจ[9]
เชิงอรรถ
[แก้]- หมายเหตุ
ก ลำดับสกุลยศของราชสำนักกัมพูชา "สมเด็จพระราชบุตร/บุตรี" คือพระราชโอรสธิดาของพระเจ้าแผ่นดินกับพระอัครชายา เทียบได้กับ "เจ้าฟ้าชั้นโท หรือชั้นสมเด็จ" ของราชสำนักไทย[20] และ "พระเรียม" เป็นราชาศัพท์เขมร แปลว่า "พี่"[21]
- อ้างอิง
- ↑ CPAFFC Vice President Wang Yunze and His Party in Cambodia and Thailand[ลิงก์เสีย]
- ↑ ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 218.
- ↑ สุภัตรา ภูมิประภาส (20 ตุลาคม 2555). "เรื่องจริงไม่อิงนิยายของราชสำนักกัมพูชา (1): เรื่องเล่าของเจ้าชายน้อย กับชีวิตที่พลัดพราก". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สุภัตรา ภูมิประภาส (30 ตุลาคม 2555). "เรื่องจริงไม่อิงนิยายของราชสำนักกัมพูชา (2): ชายาของพ่อ". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Milton Osborne, Sihanouk, Prince of Light, Prince of Darkness. Silkworm 1994
- ↑ อภิญญา ตะวันออก (4 มกราคม 2560). "สมเด็จพระพี่นาง-ดอกไม้ของทวยเทพ ในรักที่สังเวยแด่…ความอาดูร". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อัตลักษณ์ 'อัปสรา' ในนาฏศิลป์เขมร". มติชนสุดสัปดาห์. 26 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ศิลปวัฒนธรรม และการแสดงของชาติสมาชิกอาเซียน". ASIAN FOCUS. 23 เมษายน 2558. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 9.0 9.1 พรรณิการ์ วานิช (18 ตุลาคม 2556). "โขนเขมร สืบสายนาฏศิลป์ถิ่นสุวรรณภูมิ". วอยซ์ทีวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""เจ้าหญิงนโรดม บุปผา เทวี" สิ้นพระชนม์แล้ว พระชนมายุ 76 พรรษา". มติชนออนไลน์. 18 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี พระราชธิดาสมเด็จสีหนุ สิ้นพระชนม์ที่กรุงเทพ". ข่าวสด. 18 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อัญเชิญพระศพ สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี พระราชธิดาสมเด็จสีหนุ ถึงพนมเปญ". ข่าวสด. 20 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กษัตริย์กัมพูชาเสด็จฯ ไปในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ "พระเชษฐภคินี"". ผู้จัดการออนไลน์. 25 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ในหลวงทรงมีข้อความพระราชสาส์นเสียพระราชหฤทัย "เจ้าหญิงนโรดมบุปผาเทวี" แห่งกัมพูชาสิ้นพระชนม์". ผู้จัดการออนไลน์. 21 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Samdech Reach Botrei Preah Ream Norodom Bopha Devi
- ↑ อภิญญ ตะวันออก (1 กุมภาพันธ์ 2560). "อัญเจียแขฺมร์ : อลวนบุปผารัก "สีโสวัตถิ์-นโรดม"". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เชื้อพระวงศ์เขมรลงสนามฟาดแข้งดาราไทย". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 10 มกราคม 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ดร.สุรินทร์ฯ หารือข้อราชการกับรัฐมนตรีวัฒนธรรมกัมพูชา". อาร์ทีวายไนน์. 4 กุมภาพันธ์ 2543. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""หนึ่งธรรมะ" สองประเทศ ที่ "พนมเปญ"". มติชนออนไลน์. 19 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 395.
- ↑ ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 171.