สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ
สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ | |
---|---|
พระรูปใน ค.ศ. 1953 | |
ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์กัมพูชา | |
ดำรงตำแหน่ง | 6 เมษายน – 13 มิถุนายน ค.ศ. 1960 |
ก่อนหน้า | จวบ แฮล (ในฐานะรักษาการประมุขแห่งรัฐ) |
ถัดไป | จวบ แฮล (ในฐานะรักษาการประมุขแห่งรัฐ) |
นายกรัฐมนตรี | ดูรายชื่อ |
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา คนที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ตุลาคม ค.ศ. 1945 – 15 ธันวาคม ค.ศ. 1946 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ |
ก่อนหน้า | เซิน หง็อก ถั่ญ |
ถัดไป | นักองค์มจะสีสุวัตถิ์ ยุตติวงศ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 6 เมษายน – 13 มิถุนายน ค.ศ. 1960 | |
นายกรัฐมนตรี | ดูรายชื่อ |
รัฐมนตรีว่าการ | สัก สุตสคาน |
ประสูติ | 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1909 พนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา อินโดจีนของฝรั่งเศส |
สิ้นพระชนม์ | กันยายน ค.ศ. 1975 (65 ปี) พนมเปญ กัมพูชา |
พระชายา | ปก รอเซตเต วานิ |
พระบุตร | นักองค์มจะสีสุวัตถิ์ รัตนะ นักองค์มจะสีสุวัตถิ์ รักษ์มณี นักองค์มจะสีสุวัตถิ์ มุนีโสวัตถิ์ นักองค์มจะสีสุวัตถิ์ พงษ์มณี |
ราชวงศ์ | ตรอซ็อกผแอม |
ราชสกุล | สีสุวัตถิ์ |
พระราชบิดา | พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ |
พระราชมารดา | สมเด็จพระอัครมเหสี มหากษัตรีย์ นโรดม กานวิมาน นรลักข์เทวี |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
อาชีพ | ทหาร นักการเมือง |
พรรคการเมือง | สังคมราษฎรนิยม (ค.ศ. 1955–1970) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
แผนก/ | กองทัพฝรั่งเศส กองทัพกัมพูชา |
ชั้นยศ | พลเอก |
การยุทธ์ | สงครามโลกครั้งที่สอง |
สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ (เขมร: ស៊ីសុវត្ថិ មុន្នីរ៉េត; อังกฤษ: Sisowath Monireth) ประสูติเมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 เป็นนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาระหว่างที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสระหว่าง 17 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2489 พระองค์เป็นเชื้อพระวงศ์ในราชสกุลสีสุวัตถิ์ผู้มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ แต่ฝรั่งเศสเลือกนักองค์ราชวงศ์ นโรดม สีหนุ พระภาคิไนย ให้ขึ้นครองราชย์สมบัติแทน
พระองค์เสด็จไปเรียนวิชาทหารที่ประเทศฝรั่งเศส และทรงอาสาเข้าร่วมรบกับกองทัพฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งเยอรมันยึดฝรั่งเศสได้ พระองค์จึงเดินทางกลับกัมพูชา[1] กลุ่มลูกเสือระยะเริ่มต้นในกัมพูชาที่เรียกว่า "องค์การเขมรกายาฤทธิ์" (เขมร: អង្គការខេមរកាយារិទ្ធិ Ankar Khemarak Kayarith) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 โดยสมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ ทรงเป็นผู้นำควบคู่กับเตม อิม และปก เทียม ในช่วงแรกนี้ กิจการลูกเสือได้แพร่หลายไปยังหลายจังหวัด
เมื่อฝรั่งเศสกลับมายังกัมพูชาอีกครั้งเมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง พระองค์อยู่ในฝ่ายที่เห็นว่าควรจะยอมฝรั่งเศสโดยไม่ต้องต่อต้าน[1] พระองค์ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและได้จัดตั้งกองทัพกัมพูชาตามแบบการทหารสมัยใหม่ ภายใต้ความยินยอมของฝรั่งเศสที่กลับเข้ามายึดครองกัมพูชาอีกครั้ง ต่อมาจึงเป็นกองกำลังผสมฝรั่งเศส-เขมรในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489[2] พระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องการเหตุการณ์รัฐประหารต่อต้านสถาบันกษัตริย์ใน พ.ศ. 2488 สมเด็จพระนโรดม สีหนุจึงขอให้พระองค์ลดบทบาททางการเมืองลง[1] หลังจากพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระองค์ได้เป็นประมุขรัฐในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่าง 6 เมษายน ถึง 13 มิถุนายน พ.ศ. 2503
พระองค์เป็นที่ปรึกษาทางทหารให้แก่สมเด็จพระนโรดม สีหนุระหว่าง พ.ศ. 2506-2513 หลังรัฐประหาร ใน พ.ศ. 2513 พระองค์ถูกฝ่ายของลน นล คุมขังระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2516 ในเหตุการณ์พนมเปญแตกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 พระองค์เสด็จมาถึงสถานทูตฝรั่งเศสเพื่อขอลี้ภัยแต่ถูกปฏิเสธ[3] พระองค์ถูกเขมรแดงประหารชีวิตในเดือนกันยายน พ.ศ. 2518
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ธิบดี บัวคำศรี. ประวัติศาสตร์กัมพูชา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. เมืองโบราณ. 2555
- ↑ http://lcweb2.loc.gov/cgi-bin/query/r?frd/cstdy:@field(DOCID+kh0160)
- ↑ (ฝรั่งเศส) Philippe Broussard, « Le jour où la France céda aux Khmers rouges », dans L'Express, 12 mai 2009 [1] เก็บถาวร 2016-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน