พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 18 กันยายน พ.ศ. 2402 พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพพระมหานคร |
สิ้นพระชนม์ | 4 เมษายน พ.ศ. 2449 (46 ปี) วังสวนดุสิต จังหวัดพระนคร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาบัว |
ศาสนา | พุทธ |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา[1] หรือ อรไทยเทพกัลยา[2] (18 กันยายน พ.ศ. 2402 – 4 เมษายน พ.ศ. 2449) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว
หลังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญาสิ้นพระชนม์ลง ได้มีเสียงเล่าลือว่ามีเหตุการณ์แปลก ๆ เกิดขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้นว่า มีเสียงร้องโหยหวนหรือมีการพบเหตุวิญญาณแล้วโจษจันว่าเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญามาขอส่วนบุญส่วนกุศล ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาโปรดเกล้าให้มีการขุดสระน้ำขึ้นภายในพระบรมมหาราชวังเพื่ออุทิศพระราชกุศลพระราชทานแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา ทรงพระราชทานนามว่า "สระพระองค์อรไทยฯ" เพื่อรักษาพระเกียรติยศของพระขนิษฐาและยังประโยชน์แก่ผู้คนทั้งหลาย[3][4]
พระประวัติ
[แก้]พระชนม์ชีพและพระอาการประชวร
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญาเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนนีคือเจ้าจอมมารดาบัว (สกุลเดิม ณ นคร) ธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) กับท่านผู้หญิงอิน[5] พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากพระชนกนาถ[2] มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ[5] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ[6] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์[7] และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์[8]
เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญาเจริญพระชันษาก็ทรงรับราชการภายในพระบรมมหาราชวัง ทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานเช็ดกวาดห้องบนพระที่นั่ง ร่วมกันกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างพระชนนี[9] โดยทั้งสองพระองค์จะแบ่งพื้นที่การดูแลออกเป็นสองส่วน และมีเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาในพระองค์ เฉพาะพระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญาทรงดูแลเจ้าพนักงานทำความสะอาดพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ (ห้องทอง) พระที่นั่งดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์ (ห้องผักกาด) และห้องเสวยโต๊ะกลม[10]
กล่าวกันว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญาทรงประชวรกระเสาะกระแสะ พระพลานามัยไม่สู้สมบูรณ์มานาน ทรงพึ่งวิธีการรักษาทั้งแพทย์สมัยใหม่และไสยศาสตร์ แต่พระโรคหาคลายไม่[11] พระองค์ทรงหมั่นประกอบพระราชกุศลอยู่เสมอหวังให้หายจากพระอาการประชวร เช่น ทรงบริจาคเงินสำหรับสร้างกุฏิถวาย ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหารและวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร[12] ทรงทำพิธีสะเดาะเคราะห์ด้วยพิธีการบำเพ็ญทานสลากท่วมหลังช้างตามวิธีไสยศาสตร์อย่างโบราณ ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เจ้ากรมราชพิธีกระทรวงวัง ความว่า "อรทัยขอยืมช้างใส่ฉลาก จะขอให้มายืนที่ประตูศรีสุดาวงศ์ ให้จัดมาให้ตามประสงค์ จะยืนแห่งใดเมื่อใดให้พูดกับกรมมรุพงษ์"[3] ก่อนสิ้นพระชนม์ พระองค์นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินส่วนพระองค์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อโปรดให้จัดการพระศพ[13]
สิ้นพระชนม์
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญาสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 09.45 น. ของวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2449 ณ พระตำหนักภายในวังสวนดุสิต[11] ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานน้ำสรงพระศพ ทรงสวมพระชฎาพระราชทาน พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศกุดั่นน้อยทรงพระศพ ประดิษฐานบนชั้นแว่นฟ้า 2 ชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องสูงตามพระเกียรติยศ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2449[14] พระอัฐิบรรจุไว้ในโกศทอง ประดิษฐาน ณ หอพระนาก[15] มีการเล่าลือกันว่าการสิ้นพระชนม์นี้เกิดจากการอัตวินิบาตกรรมในเขตพระราชฐาน และยิ่งโจษขานมากขึ้นในหมู่ชาววัง ว่ามีผู้ได้ยินเสียงโหยหวนในยามวิกาล รวมทั้งมีผู้พบเห็นวิญญาณ โดยเฉพาะวันพระหรือวันถือศีล[4] จึงคาดกันไปว่าคงเป็นวิญญาณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญามาร้องขอส่วนบุญ[3] เหล่าพราหมณ์หลวงและโหรหลวงทั้งหลายต่างแนะนำกันว่าต้องกระทำการบางอย่างเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ดวงพระวิญญาณไปผุดไปเกิด[4]
เรื่องราวดังกล่าวได้เข้าไปถึงพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะถือเป็นเรื่องเสื่อมเสียพระเกียรติยศและอัปมงคล สร้างความหวาดกลัวในหมู่ชาววัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้มีการบำเพ็ญกุศลถวายสังฆทาน และขุดสระน้ำอุทิศส่วนกุศล พระราชทานนามว่า "สระพระองค์อรไทยฯ" ในการบำเพ็ญพระราชกุศลดังกล่าวได้จัดอย่างครึกครื้น มีเจ้านายฝ่ายในเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก มีการลอยสลากลงในสระเป็นกุศลทาน แล้วให้ข้าหลวงและเจ้าพนักงานมาตักสลากกันคนละลูก[3] หลังการสมโภชเสร็จสิ้น เรื่องผีที่เล่าลือกันของชาววังจึงยุติลง[4]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท[16] |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า[16] |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- 18 กันยายน พ.ศ. 2402 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 4 เมษายน พ.ศ. 2449 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา[17][18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2442 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[1]
- พ.ศ. 2447 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[2]
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)
พระอนุสรณ์
[แก้]- สระพระองค์อรไทยฯ – เป็นสระน้ำภายในพระบรมมหาราชวัง ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ขุด เพื่ออุทิศพระกุศลและยังประโยชน์แก่ชาววัง[3][4]
- สะพานอรไทย – เป็นสะพานข้ามคลองเปรมประชากรบริเวณที่บรรจบกับคลองผดุงกรุงเกษม ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบยุโรป เพื่ออุทิศพระกุศลแก่พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา[19]
- ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา ภายในพระบรมมหาราชวัง – เดิมเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ปัจจุบันใช้เป็นหอสมุดมหามงคล
- ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา ภายในพระราชวังดุสิต – เดิมเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ปัจจุบันเป็นสถานที่จัดแสดงพระภูษาในรัชกาลที่ 5 และผ้าไหมจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ[19]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "การพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สำหรับตระกูลพระจุลจอมเกล้าแลถวายบังคมพระบรมรูป" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (34): 498. 19 พฤศจิกายน 2442. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2018-12-07.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 570. 6 พฤศจิกายน 2447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2012-12-16.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย (31 มกราคม 2560). "พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา (สระพระองค์อรทัย)". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 รัตนะ ปาริฉัตร (17 พฤศจิกายน 2560). "สระน้ำพระองค์อรทัย ผันน้ำจากเจ้าพระยา ใช้สอยในวังหลวง". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 56. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2018-12-06.
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 61. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2018-12-06.
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 74. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2018-12-06.
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 76. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2018-12-06.
- ↑ จงจิตรถนอม ดิศกุล, หม่อมเจ้า. บันทึกความทรงจำของหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล. กรุงเทพฯ : วัชรินทร์การพิมพ์, 2522, หน้า 11
- ↑ จงจิตรถนอม ดิศกุล, หม่อมเจ้า. บันทึกความทรงจำของหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล. กรุงเทพฯ : วัชรินทร์การพิมพ์, 2522, หน้า 14
- ↑ 11.0 11.1 "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (2): 41. 8 เมษายน 2449.
- ↑ "การพระราชกุศลสตมาหสมัยและศราชพรตในพระศพพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (17): 389. 22 กรกฎาคม 2449.
- ↑ "การพระเมรุวัดเทพศิรินทราวาศ งานที่ 2 พระศพพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (45): 1152. 3 กุมภาพันธ์ 2449.
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 65. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2018-12-06.
- ↑ "การพระราชกุศลสัตมวาร วันพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (45): 1155. 3 กุมภาพันธ์ 2449.
- ↑ 16.0 16.1 คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 22-23.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (ก): 1. 30 ตุลาคม 2453.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 154. 30 กรกฎาคม 2454.
- ↑ 19.0 19.1 ปิ่นอนงค์ ปานชื่น (24 ธันวาคม 2556). "สะพานเก่า เล่าเรื่อง". กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประชุมนิทานพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 ภาค 2 (PDF). พระนคร: รุ่งเรืองธรรม. 2505. p. ไม่มีเลขหน้า.