ข้ามไปเนื้อหา

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:BAY
อุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน ธนาคาร
ก่อตั้งพ.ศ.2488 (79 ปี)
สำนักงานใหญ่1222 ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา และ 550 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
รายได้เพิ่มขึ้น 138,948 ล้านบาท (as of Dec 2023)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 32,929 ล้านบาท (as of Dec 2023)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 2,768,295 ล้านบาท (as of Dec 2023)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 270,789.94 ล้านบาท (as of Dec 2023)[1]
เจ้าของเพิ่มขึ้น 371,454 ล้านบาท (as of Dec 2023)[1]
พนักงาน
กรุงศรีและบริษัทในเครือ 52,146 / ธนาคาร 13,952 (as of Dec 2023)
อันดับความน่าเชื่อถือMoody’s : A3
เว็บไซต์www.krungsri.com

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักในชื่อ “กรุงศรี” เป็นกลุ่มธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของไทยด้านสินทรัพย์ สินเชื่อ และเงินฝาก และเป็นหนึ่งในหกสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ (D-SIB)

กรุงศรีเป็นบริษัทในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) กลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก กรุงศรีให้บริการทางการเงินการธนาคารอย่างครบวงจร ทั้งในด้านสินเชื่อเพื่อรายย่อย การลงทุน การบริหารจัดการกองทุน รวมทั้งผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอันหลากหลายแก่กลุ่มลูกค้าบุคคล ลูกค้า SME และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ผ่านสาขาและช่องทางการขายทั่วประเทศ นอกจากนี้ ปัจจุบันกรุงศรีมีเครือข่ายธุรกิจครอบคลุม 6 ประเทศในอาเซียน ประกอบด้วย สปป.ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และสำนักงานตัวแทนในเมียนมา

ประวัติ

[แก้]

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (หรือ กรุงศรี) เปิดทำการในวันที่ 1 เมษายน 2488 มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนตลาดหัวรอ ตำบลหัวรอ อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาได้เข้ามาก่อตั้งสำนักงานกรุงเทพฯ ณ ถนนราชวงศ์ ตรงข้ามมุมถนนทรงวาด ซึ่งนับเป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญในยุคนั้น

ในปี 2513 อันเป็นวาระครบรอบ 25 ปี การดำเนินกิจการของธนาคารเจริญก้าวหน้าและเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน ธนาคารจึงได้รับพระราชทานครุฑตราตั้ง โดยประดิษฐานไว้ ณ ที่ทำการสำนักงานใหญ่นับเป็นสิริมงคลสูงสุด

ต่อมาธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่มายังถนนเพลินจิต นับเป็นอาคารที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียในขณะนั้น ธนาคารเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน และได้เติบโตอย่างรวดเร็วมาโดยตลอด โดยได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 26 กันยายน 2520

หลังจากนั้น ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ในปี 2536 และทำการย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง สู่อาคารสำนักงานใหญ่สูง 36 ชั้น บนถนนพระรามที่ 3 ในปี 2540

ในเดือนมกราคมปี 2550 จีอี มันนี่ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเพื่อรายย่อยชั้นนำของโลกได้บรรลุข้อตกลงการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจและความเชื่อมั่นในธนาคาร โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับการผสานความสามารถทางธุรกิจของสององค์กร เพื่อให้ธนาคารเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจรชั้นนำของประเทศไทย

ต่อมาในเดือนกันยายน 2555 กลุ่ม GE แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าได้ทำการขายหุ้นสามัญ

ที่ GECIH ถืออยู่ในกรุงศรี จำนวน 461,635,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 7.60 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (6,074,143,747 หุ้น)

โดยเป็นการขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแบบเจาะจงส่งผลให้ GECIH มีสัดส่วนการถือหุ้นสามัญเหลือจำนวน 1,538,365,000

หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 25.33 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (6,074,143,747 หุ้น)

ในปี 2556 ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด (BTMU) ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 100 โดยมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) เป็นกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของกรุงศรีโดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer: VTO) จำนวนทั้งสิ้น 6,074,143,747 หุ้น ราคาหุ้นละ 39 บาท โดยมีระยะเวลารับซื้อเฉพาะวันทำการตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน-13 ธันวาคม 2556 และ GECIH ได้ขายหุ้นสามัญของกรุงศรีที่ถืออยู่จำ นวน 1,538,365,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 25.33 ของจำ นวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ภายใต้กระบวนการ VTO (ราคาเดียวกันกับราคาเสนอซื้อที่กำหนดไว้) ให้กับ MUFG Bank

ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2556 กรุงศรีได้รับรายงานผลการซื้อหลักทรัพย์จาก MUFG Bank ว่ามีผู้ถือหุ้นที่แสดงเจตนาขายหุ้นสามัญของกรุงศรีให้กับ MUFG Bank จำนวน 4,373,714,120 หุ้น (รวม GECIH แล้ว) คิดเป็นร้อยละ 72.01 ของหุ้น ที่จำ หน่ายได้แล้วทั้งหมด ส่งผลให้ MUFG Bank เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของกรุงศรี

ในเดือนกันยายน 2560 กรุงศรีได้รับการคัดเลือกจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็น หนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและมีบทบาทต่อระบบการเงินโดยรวมของประเทศไทย

ชื่อและแบรนด์

[แก้]

หลังจากการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ เรื่องช่วงปี 2543 ซึ่งรวมทั้งการเข้าซื้อกิจการของ GE Money Thailand ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทในเครือ  ในปี 2557 กรุงศรีมีการรีแบรนด์ และเปลี่ยนชื่อแบรนด์สำหรับการสื่อสารว่า “กรุงศรี” พร้อมด้วย Tagline ว่า “เรื่องเงิน เรื่องง่าย” (Make Life Simple) และมีการเปลี่ยนมาใช้ “กรุงศรี” สื่อต่างๆ ด้วย

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 กรุงศรีได้เปิดตัวคำมั่นสัญญาและสโลแกนใหม่ “ชีวิตง่าย ได้ทุกวัน” ซึ่งจะนำไปใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรในเครือกรุงศรี เพื่อต่อยอดแบรนด์กรุงศรีให้สอดคล้องกับบริบทในยุคปัจจุบัน เชื่อมโยงกับความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้า สะท้อนค่านิยมขององค์กร และช่วยผลักดันให้กรุงศรีเดินหน้าไปสู่เป้าหมายการดำเนินธุรกิจทั้งในวันนี้และวันหน้า ที่สำคัญยังเป็นไปตามกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจของกรุงศรีต่อไปอีกด้วย ผ่านจุดยืนของแบรนด์ที่ว่า กรุงศรีจะเป็นพันธมิตรที่มีเครือข่ายระดับโลก ส่งมอบความง่าย ผ่านนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้มีเวลาไปทำในสิ่งที่มีความหมายในทุกช่วงชีวิต

ขอบข่ายการบริการ

[แก้]
  • สาขา ในประเทศ / ต่างประเทศ  590 / 1  สาขา

(สาขาในประเทศ 590 สาขา ซึ่งเป็นสาขาธนาคาร 550 สาขาและสาขากรุงศรีออโต้ 40 สาขา)

(สาขาต่างประเทศ: นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว)

  • สำนักงานตัวแทน (สหภาพเมียนมาร์)  1 แห่ง
  • เครื่องเอทีเอ็ม  5,605 เครื่อง   
  • สำนักแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ  42  แห่ง
  • ศูนย์บริการ Krungsri Exclusive   44  แห่ง
  • ศูนย์บริการ Krungsri The Advisory  6  แห่ง
  • ศูนย์บริการ Private Banking  1 แห่ง
  • ศูนย์ธุรกิจกรุงศรี  61  แห่ง
  • ศูนย์บริการเฟิร์สช้อยส์  89 สาขา + 21,307 ตัวแทนจำหน่าย
  • กรุงศรี ออโต้  8,636 ผู้จำหน่ายรถยนต์
  • สาขา ไมโครไฟแนนซ์ (TIDLOR)  1,430  แห่ง
  • สาขา ธนาคารพาณิชย์ ในต่างประเทศ (HTB)  171  แห่ง
  • เครื่องรูดบัตร (EDC)  51,777 เครื่อง
  • จุดให้บริการผ่านตัวแทนธนาคาร  >161,010 แห่ง
(จุดให้บริการผ่านตัวแทนธนาคาร อาทิ  ไปรษณีย์ไทย ตู้บุญเติม เคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-11 ร้าน Max Mart ในสถานีบริการน้ำมัน PT ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บิ๊กซี ตู้เติมสบายพลัส และบริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด)

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
  • เมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2550 จีอี มันนี่ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเพื่อรายย่อยชั้นนำของโลกได้บรรลุข้อตกลงการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารกรุงศรีอยุธยาซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจและความเชื่อมั่นในธนาคารฯ โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับการผสานความสามารถทางธุรกิจของสององค์กร เพื่อให้ธนาคารฯ เป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจรชั้นนำของประเทศไทย
  • 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ธนาคารฯ เข้าซื้อกิจการบริษัท จีอี แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) (GECAL) เสร็จสมบูรณ์ โดย ณ วันโอนกิจการ GECAL มีสินทรัพย์รวม 78,010 ล้านบาท และเงินให้สินเชื่อสุทธิรวม 75,283 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้พอร์ตสินเชื่อของธนาคารฯ เติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 17 ณ วันโอนกิจการ และต่อมา GECAL เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) (AYCAL)
  • 8 เมษายน พ.ศ. 2552 ธนาคารฯ ดำเนินการเข้าซื้อหุ้นธนาคาร เอไอจี เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) (AIGRB) และบริษัท เอไอจี คาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด (AIGCC) เสร็จสมบูรณ์ ในราคารวม 1,605 ล้านบาท โดยทำให้ธนาคารฯ มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นประมาณ 32,800 ล้านบาท มีฐานสินเชื่อเพิ่มขึ้น 21,900 ล้านบาท เงินฝากเพิ่มขึ้น 18,600 ล้านบาท และมีจำนวนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นประมาณ 222,000 บัตร
  • 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ธนาคารฯ เข้าซื้อกิจการบริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิสเซส จำกัด (CFGS) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ จำกัด เสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ CFGS เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการไมโครไฟแนนซ์โดยเฉพาะสินเชื่อที่ใช้ทะเบียนรถเป็นหลักประกัน มีเครือข่ายสาขากว่า 163 แห่งทั่วประเทศ และเป็นที่รู้จักกันดีในนาม "เงินติดล้อ"
  • 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ธนาคารฯ เข้าซื้อธุรกิจการเงินเพื่อผู้บริโภคของจีอี แคปปิตอล ในประเทศไทย เสร็จสมบูรณ์ การเข้าซื้อครั้งนี้ทำให้ธุรกิจการเงินเพื่อลูกค้ารายย่อยของธนาคารกรุงศรีอยุธยาเติบโตเร็วขึ้น และทำให้สัดส่วนสินเชื่อรายย่อยของธนาคารเพิ่มขึ้นจาก 36% เป็น 42% ของสินเชื่อรวม และจะส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของธนาคารเพิ่มขึ้น ด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และความหลากหลายยิ่งขึ้นในบริการหลักของธุรกิจการเงินเพื่อลูกค้ารายย่อยของธนาคาร การผนวกธุรกิจของจีอี มันนี่ ประเทศไทย เข้ากับธนาคาร ทำให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยากลายเป็นผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยจำนวนบัตรหมุนเวียนในระบบมากกว่า 3 ล้านใบ และให้บริการลูกค้ากว่า 8 ล้านราย
  • ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 ธนาคารกรุงศรีอยุธยารับโอนธุรกิจลูกค้ารายย่อยของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (HSBC) ซึ่งประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัย และธุรกิจเงินฝาก มูลค่าของสินทรัพย์สุทธิประมาณ 3.6 พันล้านบาท ส่งผลให้สินทรัพย์ของกรุงศรีเพิ่มขึ้นจำนวน 17.5 พันล้านบาทหรือเติบโตร้อยละ 1.8 และทำให้สัดส่วนสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นจากระดับ ร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 46 ของสินเชื่อรวม
  • 5 มกราคม พ.ศ. 2558 ธนาคารประสบความสำเร็จในการดำเนินการควบรวมกิจการของธนาคารและบีทีเอ็มยู (BTMU) สาขากรุงเทพฯ ตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ กรุงศรีได้จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 1,281,618,026 หุ้นให้แก่บีทีเอ็มยูเพื่อแลกกับการควบรวมกิจการของบีทีเอ็มยูสาขากรุงเทพฯ
  • 22 เมษายน 2558 กรุงศรีเปิดสำนักงานผู้แทน ณ เมืองย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยมุ่งสนับสนุนลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และลูกค้าธุรกิจ SME ของกรุงศรี เพื่อแสวงหาโอกาสด้านการค้าและการลงทุนในเมียนมาร์
  • 13 กันยายน 2559 กรุงศรีเข้าซื้อ Hattha Kakser Limited ธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ชั้นนำในกัมพูชา เข้าเป็นบริษัทย่อยของธนาคารการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จครั้งสำคัญของกลยุทธ์การขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศและโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของกรุงศรีในธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อยและไมโครไฟแนนซ์
  • 27 มีนาคม 2560 กรุงศรีจัดตั้งบริษัทย่อยใหม่ชื่อ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ประกอบธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital) ภายใต้ขอบเขตและหลักเกณฑ์การกำกับธุรกิจเงินร่วมลงทุน ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้
  • 27 กันยายน 2560 กรุงศรีได้รับการคัดเลือกจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Bank: D-SIB) โดยประเมินจากขนาดสินทรัพย์ ความเชื่อมโยงและบทบาทของกรุงศรีที่มีต่อเสถียรภาพและพัฒนาการของอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
  • ในเดือนสิงหาคม 2563 Hattha Kaksekar Limited สถาบันการเงินประเภทไมโครไฟแนนซ์ที่ได้รับอนุญาตให้ทําธุรกิจระดมเงินฝากในกัมพูชาและเป็นบริษัทย่อยในเครือกรุงศรี กรุ๊ป ได้รับอนุมัติให้ดําเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในกัมพูชาภายใต้ชื่อ Hattha Bank Plc.
  • ในเดือนตุลาคม 2563 กรุงศรีเข้าซื้อหุ้นในอัตราร้อยละ 50.0 ของ SB Finance, Inc. ซึ่งประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยในประเทศฟิลิปปินส์
  • ในเดือนมีนาคม 2566 กรุงศรีเข้าซื้อกิจการของบริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จํากัด (มหาชน) (CNS) และได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จํากัด (มหาชน) (KCS)
  • ในเดือนพฤษภาคม 2566 กรุงศรีเข้าซื้อและรับโอนหุ้นในอัตราร้อยละ 50 ของ SHBank Finance Company Limited (SHB Finance) ในประเทศเวียดนาม
  • ในเดือนมิถุนายน 2566 กรุงศรีเข้าซื้อกิจการของ Home Credit ในประเทศฟิ ลลิปปินส์ ได้แก่ 1) HC Consumer Finance Philippines, Inc. (HCPH), 2) HCPH Financing 1, Inc. (HCPH1), 3) HCPH Insurance Brokerage, Inc. (HCPHI)
  • ในเดือนตุลาคม 2566 กรุงศรีเข้าซื้อกิจการของ Home Credit ในประเทศอินโดนีเซีย

บริษัทย่อย การร่วมค้า และบริษัทร่วม

[แก้]
ธุรกิจ ชื่อบริษัท
สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) (AYCAL)
บริษัท กรุงศรี บริการเช่าสินเชื่อ จำกัด (KLS)
ไมโครไฟแนนซ์ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด มหาชน (TIDLOR)
สถาบันการเงินจุลภาคที่ไม่รับเงินฝาก กรุงศรี จำกัด (KSM)
ธนาคารพาณิชย์ Hattha Bank Plc. (HTB)
ธุรกิจหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS)
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) (KCS)
จัดการการลงทุน   บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (KSAM)
เช่าซื้อลีสซิ่ง   บริษัท อยุธยา ดีเวลลอปเม้นท์ ลีสซิ่ง จำกัด (ADLC)
เทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท กรุงศรี นิมเบิล จำกัด (KSN)
บริหารสินทรัพย์ บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงศรีอยุธยา จำกัด (KAMC)
บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และ สินเชื่อเพื่อการผ่อนชำระ บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด (KCC)
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด (AYCAP)
บริษัท โลตัสส์ มันนี่ เซอร์วิสเซส จำกัด (LMP)
บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด (GCS)
บริการเรียกเก็บชำระหนี้คืน บริษัท โทเทิล เซอร์วิสเซส โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (TSS)
ธุรกิจสนับสนุน   บริษัท รักษาความปลอดภัย สยามเรียลตี้แอนด์เซอร์วิส จำกัด (SRS)
Hattha Servies Co., Ltd. (HSL)
นายหน้าประกันชีวิต บริษัท กรุงศรี เจเนซิส จำกัด (GCS)
บริษัท โลตัสส์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด (LLAB)
นายหน้าประกันวินาศภัย บริษัท กรุงศรี เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด (KGIB)
บริษัท โลตัสส์ เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด (LGIB)
ธุรกิจเงินร่วมลงทุน บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด (KFin)
ธุรกิจสินเชื่อรายย่อย SB Finance, Inc. (SBF)
SHBank Finance Company Limited (SHBF)
HC Consumer Finance Philippines, Inc. (HCPH)
HCPH Financeing 1, Inc. (HCPH1)
HCPH Insurance Brokerage, Inc. (HCPHI)
PT. Home Credit Indonesia (HCID)

โครงสร้างผู้ถือหุ้น

[แก้]
(ณ วันที่ 7 กันยายน 2566 Record Date ล่าสุด)
Shareholder Name Number of shares % of Total shares
1 MUFG Bank, Ltd. 5,655,332,146 76.88
2 บริษัท สตรองโฮลด์ แอสเซ็ทส์ จำกัด 166,536,980 2.26
3 บริษัท ทุนมหาโชค จำกัด 166,478,940 2.26
4 บริษัท จี แอล แอสเซทส์ จำกัด 166,414,640 2.26
5 บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด 166,151,114 2.26
6 บริษัท บีบีทีวี แอสเซตแมเนจเมนท์ จำกัด 163,112,900 2.22
7 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด 160,789,220 2.19
8 บริษัท มหากิจโฮลดิ้ง จำกัด 158,726,810 2.16
9 บริษัท ทุนรุ่งเรือง จำกัด 157,889,440 2.15
10 บริษัท ซุปเปอร์ แอสเซทส์ จำกัด 51,421,714 0.70
11 C.K.R Company Limited 48,528,834 0.66
Other shareholders 294,379,035 4.00
TOTAL 7,355,761,77 100.00

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 งบการเงิน/ประกอบธุระกิจหล้กทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]