ข้ามไปเนื้อหา

จักรวรรดิโมกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิโมกุล

سلطنت مغولی هند (เปอร์เซีย)
مغلیہ سلطنت (อูรดู)
พ.ศ. 2069–2083
พ.ศ. 2098–2400
อาณาเขตจักรวรรดิโมกุลในปี พ.ศ. 2243
อาณาเขตจักรวรรดิโมกุลในปี พ.ศ. 2243
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงละฮอร์, เดลี, อัครา, ฟเตหปุระสีกรี
ภาษาทั่วไปฮินดูสตานี
เปอร์เซีย
อาหรับ
ชากาทาย
ศาสนา
อิสลามนิกายซุนนี
ฮินดู
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จักรพรรดิ 
• พ.ศ. 2069–2073
จักรพรรดิบาบูร์
• พ.ศ. 2380–2400
จักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ที่ 2
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
พ.ศ. 2069
• ล่มสลาย
พ.ศ. 2400
พื้นที่
3,000,000 ตารางกิโลเมตร (1,200,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• พ.ศ. 2243
150000000[1]
สกุลเงินรูปี
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิเตมือร์
รัฐสุลต่านเดลี
จักรวรรดิดีซูร์
จักรวรรดิมราฐา
จักรวรรดิดุรรานี
การปกครองของบริษัทในอินเดีย
บริติชราช
ประวัติศาสตร์อิหร่านแผ่นดินใหญ่
Faravahar background
กษัตริย์แห่งเปอร์เชีย
ก่อนยุคใหม่
หลัง อิสลาม
อาณาจักรกาหลิป 637–651
จักรวรรดิอุมัยยะฮ์ 661–750
จักรวรรดิอับบาซียะฮ์ 750–1258
จักรวรรดิทาฮิริยะห์ 821–873
ราชวงศ์อาลาวิยะห์ 864–928
จักรวรรดิซัฟฟาริยะห์ 861–1003
จักรวรรดิซามานิยะห์ 819–999
จักรวรรดิไซยาริยะห์ 928–1043
จักรวรรดิไบอิยะห์ 934–1055
จักรวรรดิกาสนาวิยะห์ 975–1187
จักรวรรดิกอร์ 1149–1212
จักรวรรดิเซลจุค 1037–1194
จักรวรรดิควาเรซเมีย 1077–1231
ราชวงศ์คาร์ติยะห์ 1231-1389
จักรวรรดิข่านอิล 1256–1353
ราชวงศ์มุซาฟฟาริยะห์ 1314–1393
ราชวงศ์จุพานิยะห์ 1337–1357
ราชวงศ์จาไลยิริยะห์ 1339–1432
ราชวงศ์เตมือร์ 1370–1506
คารา โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1407–1468
อัค โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1378–1508
จักรวรรดิซาฟาวิยะห์ 1501–1722*
จักรวรรดิโมกุล 1526–1857
ราชวงศ์โฮทาคิ 1722–1738
จักรวรรดิอาฟชาริยะห์ 1736–1750
* หรือ 1736
ยุคใหม่

จักรวรรดิโมกุล (เปอร์เซีย: سلطنت مغولی هند; อูรดู: مغلیہ سلطنت; อังกฤษ: Mughal Empire) เป็นจักรวรรดิซึ่งปกครองบริเวณอนุทวีปอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19[2] จักรวรรดินี้สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์เตมือร์ เริ่มก่อตั้งอาณาจักรในปี ค.ศ. 1526 ยุครุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักรอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในอนุทวีปอินเดีย นับแต่อ่าวเบงกอลทางตะวันออกไปจนถึง Balochistan ในทางตะวันตก และจากแคว้นแคชเมียร์ทางเหนือไปจนถึงกาเวรีในทางใต้[3] ประชากรของจักรวรรดิในยุคนั้นมีประมาณ 110-150 ล้านคน ดินแดนในครอบครองมีมากกว่า 3.2 ล้านตารางกิโลเมตร[1]

ยุคคลาสสิก ของจักรวรรดินี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1556 ด้วยการขึ้นครองราชย์ของจาลาลุดดิน โมฮัมหมัด อัคบาร์ หรือที่รู้จักในนาม "อัคบาร์มหาราช" ภายใต้การปกครองของอัคบาร์มหาราชนี้ อินเดียเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม รวมถึงมีสันติสุขระหว่างศาสนา อาณาจักรโมกุลยังได้เป็นพันธมิตรกับอาณาจักรฮินดูในราชวงศ์ราชบุตรหลายแห่ง แม้จะยังมีอาณาจักรราชบุตรหลายแห่งแข็งข้อต่อจักรวรรดิโมกุลอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย แต่ในที่สุดก็จำนนต่อจักรพรรดิอัคบาร์[4][5] ยุคทองแห่งสถาปัตยกรรมโมกุลคือยุคของพระเจ้าชาห์เชฮัน จักรพรรดิองค์ที่ 5 ซึ่งได้โปรดให้สร้างอนุสาวรีย์อันงดงามวิจิตรขึ้นจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดานี้คือ ทัชมาฮาลแห่งอัครา รวมไปถึง มัสยิดเพิร์ล, ป้อมแดง, มัสยิดจามา และ ป้อมละฮอร์ จักรวรรดิโมกุลขึ้นถึงจุดสูงสุดในการแผ่ขยายอาณาเขตในรัชสมัยของออรังเซบ ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ที่ร่ำรวยที่สุดและมีอำนาจมากที่สุดของโลก ในช่วงพระชนม์ของพระองค์ จักรวรรดิโมกุลแผ่อาณาเขตไปทางใต้มากกว่า 1.25 ล้านตารางไมล์ และปกครองไพร่แผ่นดินมากกว่า 150 ล้านคน หรือคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรโลกทั้งหมด[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Richards, John F. (March 26, 1993). Johnson, Gordon; Bayly, C. A. (บ.ก.). The Mughal Empire. The New Cambridge history of India: 1.5. Vol. I. The Mughals and their Contemporaries. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 1, 190. doi:10.2277/0521251192. ISBN 978-0521251198. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  2. "The Mughal Empire"
  3. "menloschool.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-25. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.
  4. http://www.columbia.edu/itc/mealac/pritchett/00islamlinks/ikram/part2_11.html
  5. http://www.columbia.edu/itc/mealac/pritchett/00islamlinks/ikram/graphics/india1605.jpg

อ่านเพิ่ม

[แก้]

วัฒนธรรม

[แก้]

สังคมและเศรษฐกิจ

[แก้]
  • Chaudhuri, K.N. (1978), "Some Reflections on the Town and Country in Mughal India", Modern Asian Studies, 12 (1): 77–96, doi:10.1017/s0026749x00008155, JSTOR 311823, S2CID 146558617
  • Habib, Irfan. Atlas of the Mughal Empire: Political and Economic Maps (1982).
  • Habib, Irfan. Agrarian System of Mughal India (1963, revised edition 1999).
  • Heesterman, J.C. (2004), "The Social Dynamics of the Mughal Empire: A Brief Introduction", Journal of the Economic and Social History of the Orient, 47 (3): 292–297, doi:10.1163/1568520041974729, JSTOR 25165051
  • Khan, Iqtidar Alam (1976), "The Middle Classes in the Mughal Empire", Social Scientist, 5 (1): 28–49, doi:10.2307/3516601, JSTOR 3516601
  • Rothermund, Dietmar. An Economic History of India: From Pre-Colonial Times to 1991 (1993)

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

[แก้]

Older histories

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]