ข้ามไปเนื้อหา

ทัชมาฮาล

พิกัด: 27°10′30″N 78°02′31″E / 27.17500°N 78.04194°E / 27.17500; 78.04194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทัชมาฮาล
ที่ตั้งอัคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
พิกัด27°10′30″N 78°02′31″E / 27.17500°N 78.04194°E / 27.17500; 78.04194
พื้นที่17 เฮกตาร์ (42 เอเคอร์)[1]
ความสูง73 เมตร (240 ฟุต)
สร้างเมื่อ1631–1653[2]
สร้างเพื่อพระนางมุมตาซ มหัล
สถาปนิกอูสตัด อะห์เมด ละเฮารี
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมโมกุล
จำนวนนักท่องเที่ยว6,532,366[3] (เมื่อ 2019)
ผู้ดูแลรัฐบาลอินเดีย
เว็บไซต์www.tajmahal.gov.in
ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ
ทัชมาฮาล
ตำแหน่งที่ตั้งทัชมาฮาลในรัฐอุตตรประเทศ
ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ทัชมาฮาล
ทัชมาฮาล (ประเทศอินเดีย)
ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
ทัชมาฮาล
ทัชมาฮาล (ทวีปเอเชีย)
เกณฑ์พิจารณาCultural: i
อ้างอิง252
ขึ้นทะเบียน1983 (สมัยที่ 7th)

ทัชมาฮาล หรือ ตาชมหัล (Taj Mahal แปลว่า มงกุฏของวัง[4][5][6] เป็นอาคารฝังศพสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวงาช้าง ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำทางใต้ของแม่น้ำยมุนา ในเมืองอัคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ทัชมาฮาลเริ่มสร้างขึ้นในปี 1632 โดยจักรพรรดิโมกุล จักรพรรดิชาห์ชะฮัน (ครองราชย์ 1628 ถึง 1658) เพื่อตั้งศพของพระสนมเอก มุมตาช มหัล และเป็นที่ตั้งพระศพของจักรพรรดิชาห์ชะฮันเอง ทัชมาฮาลประกอบด้วยตัวอาคารสุสาน, มัสยิด และเกสต์เฮาส์ รายล้อมด้วยสวน การก่อสร้างทัชมาฮาลสำเร็จสมบูรณ์ในปี 1643 แต่มีการก่อสร้างในเฟสอื่น ๆ ของโครงการที่ดำเนินต่อไปอีกกว่า 10 ปี

ทัชมาฮาล เมื่อปี ค.ศ.2004

ทัชมาฮาลได้รับสถานะเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในปี 1983 ในฐานะ "เพชรน้ำเอกของศิลปะมุสลิมในอินเดีย และเป็นหนึ่งในงานชิ้นเอกที่ได้รับการชื่นชมในระดับสากล" และได้รับการยกย่องโดยหลายบุคคลให้เป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมโมกุล และสัญลักษณ์ของประวัติศาสตร์อินเดียอันร่ำรวย ทัชมาฮาลมีผู้เดินทางมาเยี่ยมเยียนราว 7–8 ล้านคนต่อปีในปี 2007

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Taj Mahal". UNESCO Culture World Heritage Centre, World Heritage List. UNESCO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2016. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016.
  2. DuTemple 2003, p. 32.
  3. India tourism statistics 2019 (PDF) (Report). Ministry of tourism of India. p. 107.
  4. Dehkhoda, Ali Akbar. Dehkhoda Dictionary (online version) (ภาษาเปอร์เซีย). Tehran: Dehkhoda Lexicon Institute & International Center for Persian Studies (University of Tehran). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-15. สืบค้นเมื่อ 2023-02-28.
  5. Wells 1990, p. 704.
  6. Ahmed 1998, p. 94.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]