วัยอลวน
วัยอลวน | |
---|---|
กำกับ | เปี๊ยก โปสเตอร์ |
ผู้ช่วยผู้กำกับ | บุญญรักษ์ นิลวงศ์ |
เขียนบท | บุญญรักษ์ นิลวงศ์ |
นักแสดงนำ | ไพโรจน์ สังวริบุตร ลลนา สุลาวัลย์ จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา ศิริวรรณ ทองแสง สมควร กระจ่างศาสตร์ สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย นัฐกานต์ เศรษฐบุตร |
กำกับภาพ | โชน บุนนาค |
ตัดต่อ | ประลอง แก้วประเสริฐ |
ดนตรีประกอบ | ชัยรัตน์ เทียบเทียม |
บริษัทผู้สร้าง | เปี๊ยกโปสเตอร์ฟิล์ม |
ผู้จัดจำหน่าย | ไฟว์สตาร์ |
วันฉาย | 19 กันยายน พ.ศ. 2519 |
ความยาว | 122 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ต่อจากนี้ | รักอุตลุด (2520) ชื่นชุลมุน (2521) วัยอลวน 4 (2548) |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
วัยอลวน เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2519 กำกับโดยเปี๊ยก โปสเตอร์ จากบทประพันธ์ของ บุญญรักษ์ นิลวงศ์ เจ้าของเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในหนัง ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้กำกับด้วย
วัยอลวนเป็นภาพยนตร์วัยรุ่นเรื่องแรก ๆ ที่เปลี่ยนแนวทางของภาพยนตร์สมัยนั้น ที่พระเอกจะต้องเป็นสุภาพบุรุษหน้าตาดี ร่างกายกำยำ ชำนาญศิลปะการต่อสู้ ผู้กำกับเลือกใช้ไพโรจน์ สังวริบุตร นักแสดงหน้าใหม่รูปร่างผอมเกร็ง ท่าทางยียวนกวนประสาท มารับบทพระเอก
การที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉีกแนวไปจากเรื่องอื่น ทำให้ในระยะแรกภาพยนตร์เรื่องนี้ขายไม่ได้ ไม่มีโรงภาพยนตร์ใดยอมซื้อเรื่องนี้ไปฉาย ประกอบกับช่วงนั้นเพิ่งเกิดความรุนแรงในเหตุการณ์ 6 ตุลาได้ไม่นาน แต่จากการจัดกิจกรรมของผู้ฉาย จัดรอบพิเศษให้กับนักเรียน ทำให้เกิดกระแสบอกต่อ [1] ประกอบกับมีเพลงประกอบที่ได้รับความนิยม คือเพลง สุขาอยู่หนใด น่ารัก ร้องและเล่นกีตาร์โดย ชัยรัตน์ เทียบเทียม [2] ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีรายได้สูงสุด ถึง 8 ล้านบาท และมีการสร้างภาคต่อ คือ รักอุตลุด ฉายในปี พ.ศ. 2520 และ ชื่นชุลมุน ฉายในปี พ.ศ. 2521
จากความนิยมของภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้ชื่อเล่น ตั้ม และ โอ๋ เป็นที่นิยมมากในสมัยนั้น [3]
ในปี พ.ศ. 2530 ได้มีการสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ทางช่อง 3 นำแสดงโดย ตฤณ เศรษฐโชค, เพ็ญพิสุทธิ์ คงสมุทร, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, สมควร กระจ่างศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2548 วัยอลวน ได้กลับมาฉายอีกครั้งในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok Film เมื่อวันที่ 17 มกราคม[4] และวันที่ 8 พฤษภาคม และ 13 พฤษภาคม [5] เป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ภาคต่อ วัยอลวน 4 : ตั้ม-โอ๋ รีเทิร์น ผลงานกำกับโดย ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์
ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็นหนี่งในภาพยนตร์ไทย 100 เรื่องที่คนไทยควรดู [6] และหนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติครั้งที่ 3 [7][8]
เรื่องย่อ
[แก้]ตั้ม (ไพโรจน์ สังวริบุตร) เด็กหนุ่มจากจังหวัดเพชรบูรณ์ เข้ากรุงเทพโดยมุ่งมั่นจะสอบเข้าเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่สอบเข้าไม่ได้ เลยเบนเข็มเข้าเรียนคณะนิติศาสตร์แทน พร้อมกับรับสอนหนังสือพิเศษหารายได้
นายเมศ (สมควร กระจ่างศาสตร์) เจ้าของบ้านที่ตั้มเช่าอยู่ มีลูกสาวอยู่สองคน คือ อ้อ (จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา) และ โอ๋ (ลลนา สุลาวัลย์) คุณพ่อหวงลูกสาวมาก คอยกีดกันไอ้หนุ่มจากบ้านนอกต่าง ๆ นานา เป็นไม้เบื่อไม้เมากันถึงขนาดตั้มประกาศว่า ผมต้องเอาลูกสาวบ้านนี้มาทำเมียให้ได้!
เดิมตั้มตั้งใจจะจีบอ้อ นิสิตใหม่จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นแฟน แต่ต้องมาคอยสอนหนังสือพิเศษให้โอ๋ เด็กสาวแก่นแก้ว ขี้เอาแต่ใจ เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยความสนิทสนมและเห็นอกเห็นใจ (ท่ามกลางการกีดกันจากคุณพ่อ) ก็ค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นความรัก
นักแสดงนำ
[แก้]- ไพโรจน์ สังวริบุตร รับบท ตั้ม
- ลลนา สุลาวัลย์ รับบท โอ๋
เพลงประกอบ
[แก้]ภาพยนตร์ที่เพลงประกอบที่มีชื่อเสียง 2 เพลง คือ
- สุขาอยู่หนใด ขับร้องโดย ชัยรัตน์ เทียบเทียม แต่งโดย ปิยะพล เอนกบุณย์ [9]
- น่ารัก ขับร้องโดย ชัยรัตน์ และ สุภาภรณ์ เทียบเทียม (น้องสาวของชัยรัตน์) แต่งโดย สุนทรสิงห์ วัชรเสถียร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-08-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-12. สืบค้นเมื่อ 2007-08-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-30.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-08-05.
- ↑ โครงการ ๑๐๐ หนังไทยที่คนไทยควรดูในมิติภาพยนตร์ยังให้เกิดปัญญา[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศขึ้นทะเบียนภาพยนตร์ไทย 25 เรื่อง เป็นมรดกชาติ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติครั้งที่ ๓
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2007-08-05.
- ตั้ม กับ โอ๋ วัยรุ่นไทย ยุคปี 2519[ลิงก์เสีย] จาก OKNation
- รำลึก...วัย (เคย) อลวน
- เสียงบรรยาย โดยผู้กำกับเปี๊ยก โปสเตอร์ และฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์ และคำบรรยายจากดีวีดี วัยอลวน 4