มหา'ลัย เหมืองแร่
มหา'ลัย เหมืองแร่ | |
---|---|
โปสเตอร์ | |
กำกับ | จิระ มะลิกุล |
เขียนบท | นวนิยาย: อาจินต์ ปัญจพรรค์ บทภาพยนตร์: จิระ มะลิกุล |
บทภาพยนตร์ | จิระ มะลิกุล |
อำนวยการสร้าง | จิระ มะลิกุล ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ ยงยุทธ ทองกองทุน |
นักแสดงนำ | พิชญะ วัชจิตพันธ์ ดลยา หมัดชา สนธยา ชิตมณี นิรันต์ ชัตตาร์ แอนโทนี โฮวาร์ด กูลด์ จุมพล ทองตัน จรัล เพ็ชรเจริญ |
ผู้บรรยาย | พิชญะ วัชจิตพันธ์ |
กำกับภาพ | ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ |
ตัดต่อ | ปาน บุษบรรณ |
ดนตรีประกอบ | อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ / Wild At Heart |
ผู้จัดจำหน่าย | จีทีเอช |
วันฉาย | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 |
ความยาว | 111 นาที |
ภาษา | ไทย |
ทุนสร้าง | 70 ล้านบาท |
ทำเงิน | 30 ล้านบาท |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
มหา'ลัย เหมืองแร่ เป็นภาพยนตร์ไทยระดับงานคุณภาพที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2548 เขียนบทและกำกับโดย จิระ มะลิกุล จากหนังสือรวมเรื่องสั้น ชุด เหมืองแร่ ของอาจินต์ ปัญจพรรค์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้งบประมาณสร้างสูงถึง 70 ล้านบาท แต่ถึงแม้จะล้มเหลวด้านรายได้ ฉาย 10 วันได้รายได้เพียง 19 ล้านบาท [1] แต่ก็สามารถคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมถึง 3 สถาบันจากรางวัลสุพรรณหงส์[2] ชมรมวิจารณ์บันเทิง[3] และคมชัดลึก อวอร์ด[4]
เนื้อเรื่องย่อ
[แก้]พ.ศ. 2492 อาจินต์ ปัญจพรรค์ วัย 22 ปี นิสิตชั้นปีที่สองจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกรีไทร์ออกจากมหาวิทยาลัย เขาเดินทางไปภาคใต้ อาศัยรถขนหมูจากภูเก็ต มุ่งหน้าไปทำงานที่เหมืองกระโสม ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา หลังจากได้พบและสัมภาษณ์งานกับ นายฝรั่ง (Anthony Howard Gould) เขาได้ฝึกงาน ติดตามนายฝรั่ง และทำงานใช้แรงงานแทนคนงานของเรือขุดสายแร่ดีบุก ณ ที่นี้ ชีวิตของอดีตนักศึกษาชั้นปี 2 จากมหาวิทยาลัยดัง ได้เริ่มชีวิตปี 1 ใน มหา'ลัย เหมืองแร่ แล้ว
นักแสดง
[แก้]- พิชญะ วัชจิตพันธ์ รับบท อาจินต์
- ดลยา หมัดชา รับบท ละเอียด
- สนธยา ชิตมณี รับบท ไอ้ไข่
- นิรันต์ ชัตตาร์ รับบท พี่จอน
- แอนโทนี โฮวาร์ด กูลด์ รับบท นายฝรั่ง
- จุมพล ทองตัน รับบท โกต้อง
- จรัล เพ็ชรเจริญ รับบท ตาแดง
- ศรชัย จุลลางกูร รับบท พี่ก้อง
- สุทธิพงษ์ นุ้ยสุชล รับบท พี่เหวง
เพลงประกอบ
[แก้]- You Are My Sunshine ของ Jimmie Davis
- Short Trip Home ของ Edgar Mayer
- เสียงครวญจากดวงใจ คำร้อง / ทำนอง และต้นฉบับขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธุ์
- บุรงกากราตุอา ทำนองโดย ชัยภัค ภัทรจินดา (นิก กอไผ่)
เกร็ดภาพยนตร์
[แก้]- เพลงประกอบภาพยนตร์ You are my sunshine เป็นเพลงเก่าตั้งแต่ ค.ศ. 1931 [5] แต่งโดยจิมมี เดวิส และชาร์ลส มิตเชล เป็นเพลงประจำรัฐลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา ทีมงานสร้างซื้อลิขสิทธิ์มาบรรจุในภาพยนตร์ด้วยราคาแพง[6]
- เดิมอาจินต์ ปัญจพรรค์ ตั้งใจว่าจะไม่ขายลิขสิทธิ์เรื่องนี้เพื่อมาสร้างเป็นภาพยนตร์อย่างเด็ดขาด เพราะไม่ต้องการให้ใครนำมาสร้างเป็นหนังแอ็กชั่น แต่ในที่สุดก็ยอมขายลิขสิทธิ์ให้จิระ เป็นผู้กำกับ เมื่อจิระบอกว่า ผมไม่เคยคิดว่าหนังแอ็กชั่น จะหมายถึงคนชกกันแค่นั้น ฝนตก 7 วัน 7 คืน ก็สามารถเป็นหนังแอ็กชั่นได้
- บทภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มเขียนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 และหาสถานที่ถ่ายทำไล่ตั้งแต่ภูเก็ตขึ้นมาถึง พังงา ที่ อ.เมือง อ.ตะกั่วทุ่ง อ.ท้ายเหมือง ขึ้นมาเรื่อยๆจนมาสรุปเป็นที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ให้ไปฉายในสาขา A Window on Asian Cinema เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปี เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 6-14 ตุลาคม พ.ศ. 2548 [7]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนภาพยนตร์ไทยเข้าชิงรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 78 สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม [8]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ในปี พ.ศ. 2556 ร่วมกับภาพยนตร์ไทยอีก 24 เรื่อง [9]
รางวัล
[แก้]ปี | รายการ | รางวัล/สาขา | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผล |
---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2549 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | พิชญะ วัชจิตพันธ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | สนธยา ชิตมณี | ชนะ | ||
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม | นเรศ สราภัสสร , ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา | ชนะ | ||
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม | อภิญญา ชวรางกูร | ชนะ | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เอก เอี่ยมชื่น | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 14 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | จรัล เพ็ชรเจริญ | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ | ชนะ | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ปาน บุษบรรณ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม | อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ , Wild At Heart | ชนะ | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เอก เอี่ยมชื่น | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 4 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | พิชญะ วัชจิตพันธ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | สนธยา ชิตมณี | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ | ชนะ | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เอก เอี่ยมชื่น | ชนะ | ||
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม | นเรศ สราภัสส ,ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 3 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | สนธยา ชิตมณี | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 3 | กำกับภาพยอดเยี่ยม | ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ | ชนะ |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม | อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ , Wild At Heart | ชนะ | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เอก เอี่ยมชื่น | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลคมชัดลึก ครั้งที่ 3 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.siamzone.com/movie/m/2918/trivia
- ↑ ผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2548
- ↑ รายชื่อผู้ได้รับรางวัลจากชมรมวิจารณ์บันเทิง ปี 2548
- ↑ "ผลรางวัล "คม ชัด ลึก อวอร์ด" ครั้งที่ 3 ประจำปี 2548". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-10. สืบค้นเมื่อ 2015-12-20.
- ↑ http://www.ziplo.com/Sunshine.html
- ↑ อีกครั้งกับ.. "มหา'ลัยเหมืองแร่" ..You Are My Sunshine
- ↑ http://entertain.teenee.com/thaistar/420.html
- ↑ เหมืองแร่ฯ ชิงออสการ์ "เก้ง" ไม่กล้าหวังถึงรางวัล[ลิงก์เสีย]
- ↑ "มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ ๓". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-17. สืบค้นเมื่อ 2015-12-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- มหาลัย เหมืองแร่ (2005) ที่สยามโซน
- มหา'ลัย เหมืองแร่ (2005) pantip.com