ข้ามไปเนื้อหา

ทวิภพ (ภาพยนตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทวิภพ
ใบปิดภาพยนตร์อย่างเป็นทางการ
กำกับสุรพงษ์ พินิจค้า
เขียนบทสุรพงษ์ พินิจค้า
วิมล ศิริไพบูลย์
นักแสดงนำวนิดา เฟเวอร์
รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง
พิเศก อินทรครรชิต
พีรุตม์ ตุลานันท์
วันฉาย ไทย:
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ความยาว130 นาที [1]
ประเทศ ไทย
ภาษาไทย
ฝรั่งเศส
อังกฤษ
ทุนสร้าง100 ล้านบาท

ทวิภพ เป็นภาพยนตร์ไทยแนวแฟนตาซีอิงประวัติศาสตร์ ปี 2547 กำกับโดย สุรพงศ์ พินิจค้า เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ที่ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของทมยันตีต่อจากฉบับปี 2533 นำแสดงโดยฟลอเรนซ์ เฟเวอร์ในการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอในบทมณีจันทร์ หญิงสาวร่วมสมัยที่ย้อนเวลากลับไปยังสยามในศตวรรษที่ 19 ผ่านกระจก และกลายเป็นพยานถึงการต่อสู้ของประเทศในการต่อต้านการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส

ภาพยนตร์ผลิตโดย ฟิล์มบางกอก ใช้งบประมาณมากที่สุดสำหรับภาพยนตร์ไทยในขณะนั้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านรายได้ แต่ได้รับการยอมรับว่าเป็นก้าวสำคัญในกระแสการพัฒนาภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ไทยและการมีส่วนสนับสนุนวาทกรรมเรื่องความเป็นไทย[2] อยู่ในรายชื่อมรดกภาพยนตร์ของชาติครั้งแรกของหอภาพยนตร์ ประจำปี 2554[3]

เรื่องย่อ

[แก้]

มณีจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษระดับ 6 สาขาประวัติศาสตร์ ประจำกงสุลไทยนครปารีส ถูกเรียกตัวด่วนในคืนนั้น ในฐานะตัวแทนผู้เกี่ยวข้องกับประเทศสยาม อันเป็นที่มาของบันทึกนั้น วัวอิยา ถูกจัด ระดับความสำคัญเพียง “นิยายไร้สาระ” แต่ในความคิดของ มณีจันทร์ มันเป็นสิ่งที่น่าค้นหา …เธอได้ล่วงล้ำเข้าไปในดินแดนแห่งความลับที่ถูกกำหนดไว้จากบันทึกนี้ ดินแดนที่เธอไม่เชื่อว่าเป็นจริงเมื่อแยกจากโลกปัจจุบัน ..หญิง สาวต้องกลับประเทศไทยด้วยเหตุผลบางประการ

ที่บ้านเกิดในเมืองไทย มณีจันทร์ สับสนและแยกแยะไม่ออกว่า ตัวเธออยู่ในความเป็นจริงอันใด.. “วันนี้คืออดีตของพรุ่งนี้ ? หรือ วันนี้คืออนาคตของเมื่อวาน ?” “มณีจันทร์” จะอยู่ในตำแหน่งไหนของตัวเธอเอง หลายครั้งที่เธอคิดอยู่เสมอว่า เธอเป็นต้นเหตุของบันทึกเสียเองหรือไม่ ? และการเดินทางครั้งใหม่ของ มณีจันทร์ ก็เริ่มขึ้น

วนิดา เฟเวอร์ ในภาพยนตร์

เมื่อภาวะสมดุล ความจริงกึ่งฝัน นำ มณีจันทร์ สู่ดินแดนที่แปลกหน้าทีละน้อย ดินแดนนั้นคือบ้านเกิดเมืองนอนของเธอนั่นเอง แต่เธอเป็นคนแปลกหน้าของที่นั่น…เธอได้กลับไปสู่บ้านเมืองของเธอเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว กลับไปสู่ “สยาม” แห่งการเริ่มต้นของอารยธรรมใหม่ กลับไปสู่ รัชสมัยพระจอมเกล้าฯ ยุคแห่งการเอาตัวให้รอดจากการล่าอาณานิคมของตะวันตก ยุคที่ต้องยอมรับว่า “ภาษาอังกฤษคือภาษาอนาคต”

“การกลับไปได้เห็น” ของมณีจันทร์เหมือนความฝันที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า “ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้าน” ก็ยังเป็นสิ่งเตือนใจเสมอ ..แต่ที่ไหนล่ะคือบ้านที่แท้จริงของเธอ ? ที่ใดคือปัจจุบันของเธอ ? ความรักอยู่ที่ภพไหน ?

การเสียดินแดนครั้งสำคัญที่สุดในสยาม หรือ “วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112”..คือบทสุดท้ายของเรื่องราว รวมทั้งเป็นวิกฤตสำคัญของเธอด้วย เหตุการณ์ที่ปากน้ำ ใน “วิกฤต ร.ศ. 112” ทำให้มณีจันทร์ต้องเสียสละความรัก เพื่อ คงอดีตที่ถูกต้องไว้ มณีจันทร์ ได้เข้าใจว่า “ความทุกข์ที่เกิดจากความรัก ไม่ใช่เพราะมันจากไป หากแต่เพราะมันยังอยู่ต่างหาก”

เบื้องหลังการถ่ายทำ

[แก้]

ในการถ่ายภาพยนตร์เรื่องทวิภพใช้เวลาถ่ายทำทั้งหมด 2 ปีกว่าโดยการวิจัยประมาณ 1 ปีและการถ่ายทำ 6-7 เดือน

  • ฉากเรือรบ สมัยรัชกาลที่ 5 สร้างโมเดลปากน้ำ เตรียมไว้สำหรับถ่ายฉากยุธนาวีขนานย่อส่วนของจริงลงมาถึง 5 เท่าใช้งบประมาณ 1 ล้านบาท
  • ฉากเต้นรำฝรั่งเศส ใช้เวาลาถ่ายติดกันถึง 2 วัน 2 คืนเริ่มตั้งแต่ 18:00 น. - 06:00 น. [4]

นักแสดง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.nangdee.com/title/html/m23.html
  2. Harrison, Rachel V. (2010). "Mind the Gap: (En)countering the West and the Making of Thai Identities on Film". ใน Harrison, Rachel V.; Jackson, Peter A. (บ.ก.). The Ambiguous Allure of the West: Traces of the Colonial in Thailand. Hong Kong University Press.
  3. "รายชื่อภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 1 ปี 2554". www.fapot.org. Film Archive (Public Organization). สืบค้นเมื่อ 18 December 2018.
  4. http://www.siamzone.com/movie/m/912/trivia