เสียดาย 2
เสียดาย 2 | |
---|---|
กำกับ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล |
เขียนบท | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล |
อำนวยการสร้าง | สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ |
นักแสดงนำ | มาริสา แอนนิต้า สรพงษ์ ชาตรี สาริน บางยี่ขัน ญาณี ตราโมท อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง |
กำกับภาพ | อานุภาพ บัวจันทร์ |
ตัดต่อ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล |
ดนตรีประกอบ | พิเศษ สังขสุวรรณ |
ผู้จัดจำหน่าย | สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมมิตร โปรดักชั่น |
วันฉาย | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 |
ความยาว | 114 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ก่อนหน้านี้ | เสียดาย |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
เสียดาย 2 (อังกฤษ: Daughter 2) ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2539 นำแสดงโดย มาริสา แอนนิต้า, สาริน บางยี่ขัน, สรพงษ์ ชาตรี, ญาณี ตราโมท, อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง (นักแสดงรับเชิญ) บทภาพยนตร์และกำกับการแสดงโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
เนื้อเรื่อง
[แก้]เสียดาย 2 เป็นเรื่องราวของ โรส (มาริสา แอนนิต้า) เด็กสาวลูกครึ่งไทย-ตะวันตก ในครอบครัวมีอันจะกิน โดยมี ระบิล (สรพงษ์ ชาตรี) พ่อชาวไทย และแม่ชาวต่างประเทศ ที่เป็นครูสอนดนตรีทั้งคู่ วันหนึ่งเธอเคราะห์ร้ายติดเชื้อเอชไอวี จากการรับบริจาคเลือด เธอรู้สึกสับสนหาทางออกไม่ได้จนคิดฆ่าตัวตาย เพราะทั้งเพื่อนฝูงและครอบครัวเริ่มไม่ไว้ใจและทำตัวถอยห่าง จึงหลบหนีออกจากบ้าน แต่เคราะห์ยังดีเธอได้อยู่กับเพื่อนรุ่นพี่ที่เป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เช่นเดียวกัน โดยมี ภาสิณี ศรีคำรุ้ง (อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง) สื่อมวลชนที่สืบเสาะหาข้อมูลเพื่อทำรายการโทรทัศน์เพื่อให้สังคมได้รับรู้ถึงข้อเท็จจริงและเข้าใจผู้ที่ป่วยเป็นโรคร้ายนี้
เบื้องหลังและคำวิจารณ์
[แก้]เสียดาย 2 เป็นภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมเป็นภาคต่อจาก เสียดาย ในปี พ.ศ. 2537 ที่เป็นภาพยนตร์ในแนวสารคดีสะท้อนปัญหาสังคมเกี่ยวกับวัยรุ่นและยาเสพติด แต่ เสียดาย 2 นี้เป็นภาพยนตร์แบบดราม่าทั่วไป และเป็นเรื่องของผู้เป็นโรคเอดส์
เป็นผลงานการแสดงครั้งแรกของ มาริสา แอนนิต้า นางแบบสาวลูกครึ่งไทย-เนเธอร์แลนด์ และเป็นการแสดงอีกครั้งของ สรพงษ์ ชาตรี นักแสดงคู่บารมีของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับและผู้เขียนบท หลังจากแสดงมาแล้วครั้งหนึ่งจาก เสียดาย ในภาคแรก
อีกทั้งยังได้ อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง สื่อมวลชนหญิงที่มีชื่อเสียง เป็นนักแสดงรับเชิญรับบทที่เหมือนกับชีวิตของตนเองจริง ๆ คือ เป็นสื่อมวลชนที่พยายามเสาะหาข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ป่วยเพื่อแพร่ภาพให้สาธารณะได้รับรู้
ภาพยนตร์ได้รับเสียงวิจารณ์ว่าทำได้ดีกว่าภาคแรก ซึ่งบทยังหลวมและไม่สมเหตุสมผลอยู่หลายส่วน และได้รับรางวัลไปหลายรางวัลด้วยกัน โดยเฉพาะรางวัลตุ๊กตาทองสำคัญ ๆ เช่น รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2539 ด้วย
รางวัล
[แก้]- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (รางวัลสุพรรณหงส์)
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง)
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-สรพงษ์ ชาตรี)
- นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-ญาณี ตราโมท)
- นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง)
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล)
- ตัดต่อและลำดับภาพยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล)
- กำกับภาพยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-อานุภาพ บัวจันทร์)
- ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-จันทร์กานต์ เถาวงษ์, วันรัก จันทไพบูลย์ชวลิต )
- แต่งหน้าและแต่งผมยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-นิติพล คำหวล)
- บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-สุรพรหม ภิญโญทรัพย์)
- ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-พิเศษ สังขสุวรรณ)
นอกจากนี้แล้วยังได้เป็นตัวแทนของประเทศไทย เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม ในการประกาศรางวัลครั้งที่ 70 ด้วย แต่มิได้ผ่านเข้าไปถึงรอบสุดท้าย [1]
อ้างอิง
[แก้]- รางวัลพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) 2539 เก็บถาวร 2011-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "44 Countries Hoping for Oscar Nominations". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. 24 November 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1998-02-13. สืบค้นเมื่อ 13 October 2015.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)