พรจากฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรจากฟ้า
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับจิระ มะลิกุล
นิธิวัฒน์ ธราธร
ชยนพ บุญประกอบ
เกรียงไกร วชิรธรรมพร
เขียนบทยามเย็น
ชยนพ บุญประกอบ
เกรียงไกร วชิรธรรมพร
Still On My Mind
นิธิวัฒน์ ธราธร
พรปีใหม่
จิระ มะลิกุล
นักแสดงนำ
กำกับภาพนฤพล โชคคณาพิทักษ์
ตัดต่อธรรมรัตน์ สุเมธศุภโชค
ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต
ปนายุ คุณวัลลี
ดนตรีประกอบหัวลำโพงริดดิม
Thailand Philharmonic Orchestra
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายจีดีเอช ห้าห้าเก้า
สิงห์ คอร์เปอเรชัน
วันฉาย1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (โรงภาพยนตร์)
31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(ช่องวัน)
1 มกราคม พ.ศ. 2560 (LINE TV และช่องวัน)
31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
(ช่องวัน)
ความยาว144 นาที
ประเทศไทย ไทย
ภาษาไทย
ทำเงิน43 ล้านบาท
ข้อมูลจากสยามโซน

พรจากฟ้า (อังกฤษ: A Gift) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวมิวสิคัล-โรแมนติก-ดราม่า-คอมเมดี้ ผลิตโดยจอกว้างฟิล์ม และจัดจำหน่ายโดยจีดีเอช ห้าห้าเก้า ร่วมกับสิงห์ คอร์เปอเรชัน โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 3 เพลงคือ ยามเย็น (Love at sundown), ในดวงใจนิรันดร์ (Still on my Mind) และ พรปีใหม่ ผ่านการเล่าเรื่องราวของหนุ่มสาว 3 คู่ที่มีลักษณะในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันไป[1]

ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวเข้าฉายอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ตั้งแต่เวลา 14.00-20.00 น. และเข้าฉายอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกผ่านทางช่องวันในเครือของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เวลา 20:30 น.-23:00 น. โดยประมาณ โดยไม่มีโฆษณาคั่น และครั้งที่ 2 ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 14:30-17:00 น. อีกทั้งยังเป็นการฉายทางโทรทัศน์โดยที่การเผยแพร่ในโรงภาพยนตร์ก็ยังดำเนินอยู่[2]

นักแสดงและบทบาท[แก้]

นักแสดงหลัก[แก้]

นักแสดงสมทบ[แก้]

ตอน "ยามเย็น"
ตอน "Still on My Mind"
  • ชัยวัฒน์ จิรวัฒนาการ รับบท ลุงป้อม (พ่อฟา)
  • ภัทรานิษฐ์ ธีระนันทสิทธิ์ รับบท ป้าฟ้า (แม่ฟา)
  • กฤตธวัฒน์ เอกชัย รับบท ปอนด์ (น้องฟา)
  • มาชิดา สุทธิกุลพานิช รับบท ฟา (เด็ก)
  • อุทัย บ้างตำรวจ รับบท แม่ป้าฟ้า
ตอน "พรปีใหม่"
  • ผอูน จันทรศิริ รับบท คุณสุพรรณิการ์ (หัวหน้าของหลงกับคิม)
  • อรุณี บาก้า รับบท คุณอรุณี แบ็กก้า (นักร้องอินเดีย)
  • กิตติพงศ์ ทุมวิภาต รับบท อ.ประกาศ (เล่นทรัมเป็ต)
  • สุพจน์ พงษ์พรรณเจริญ รับบท น้าทุเรียน (เล่นแซ็กโซโฟน)
  • สุพิชา คล้ายอมร รับบท ป้านงพงา (เล่นกลอง)
  • วิวดาว พงษ์เรืองเกียรติ รับบท เจ๊ชฎาพร (เล่นเบส)
  • นลินี ทองแท้ รับบท คุณพี่อ่อนอุษา (เล่นคีย์บอร์ด)
  • อลงกต เอื้อไพบูลย์ รับบท ทิดบุ๊ค (เล่นเพอร์คัชชัน)
  • โอบบุญ แย้มศิริกุล รับบท ตุ๊ดรุ่นใหญ่ (ดรัมเมเยอร์)
  • วัลลภ เจียรสถิตย์ รับบท ป๋าขนุน (เล่นทรอมโบน)
  • อภิศักดิ์ เจือจาน รับบท พี่ยาม (เล่นเพอร์คัชชัน)
  • ขนิษฐา สาครเสถียร รับบท พี่ก้อย (เล่นกีตาร์ไฟฟ้า)
  • สุทธิลักษณ์ ธุวสินธุ์ รับบท คุณสุทธิลักษณ์ (เล่นไวโอลิน)
  • จุฑามณี อินทรภักดี รับบท พนง. ทำความสะอาด 1 (นักร้อง)
  • ศิริวัศยา นนทวัชร์วราพร รับบท พนง. ทำความสะอาด 2 (นักร้อง)
  • ลลิดา ลัดดากลม รับบท พนักงานการเงิน (นักร้อง)
  • ขวัญชนก สำเร็จประสงค์ รับบท โอเปอร์เรเตอร์ (เล่นคาริเน็ต)
  • มานพ แย้มอุทัย รับบท พนักงานชายกลองยาว (ตีกลองยาว)
  • เสริฐ ศิริ รับบท ป๋าเสริฐ (เล่นเบส)
  • จิราภรณ์ รุ่งศรีทอง รับบท คุณกุ่ง (เล่นแซ็กโซโฟน)
  • วรชนก ตันอิสรกุล รับบท คุณเบียร์ (เล่นบาสซูน)
  • วรารัตน์ ปุริโสดม รับบท คุณมะเหมี่ยว (เล่นทรัมเป็ต)
  • ศิริรัตน์ วุฐิสกุล รับบท คุณกิฟท์ (เล่นฟลู้ท)
  • ประภัสสร พวงสำลี รับบท คุณปอม (เล่นฟลู้ท)
  • จิณณวัตร มั่นทรัพย์ รับบท คุณลุง (เล่นทูบา , ซูซาโฟน)
  • วาสินี อภิวัฒนกาลจน์ รับบท คุณวาสินี (เล่นไวโอลิน)
  • เมษ์ศิรินทร์ ศิริตันติธรรม รับบท คุณเมษ์ (เล่นไวโอลิน)
  • ณัฐวุฒิ สุขแสงจันทร์ รับบท คุณติ๊ดตี่ (เล่นแซ็กโซโฟน)
  • วริศรา โพธิ์แก้ว รับบท คุณปุ้ย (เล่นขิม)
  • ปรียสุดา อัครศรีสวัสดิ์ รับบท เลขาสาว
  • สุกัญญา มงคล รับบท คนนำเต้นแอโรบิกส์
  • อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม รับบท พนักงานแอบฟัง
  • นรสิทธิ์ มาศรัตน์ รับบท พิธีกรเปิดคาราโอเกะ
อื่น ๆ
  • นรินทร ณ บางช้าง รับบท แม่นานะ
  • สมพล ชัยสิริโรจน์ รับบท คุณเป้
  • น้ำเพชร ชื่นแพ รับบท นานะ
  • อำนาจ จิวพาริชย์ รับบท พ่อครัวผักบุ้งไฟแดง

เพลงประกอบ[แก้]

คำวิจารณ์และรายได้[แก้]

เดลินิวส์ วิจารณ์ว่า "ทั้ง 3 ตอน ทั้งมุมภาพ องค์ประกอบ การตัดต่อ ตามมาตรฐานของ GDH ด้านการเล่าเรื่องหนังชีวิตนี้จะไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่มากนัก แต่จุดที่น่าชื่นชมของภาพยนตร์เรื่องนี้คือการนำเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาผูกเรื่องราวความสัมพันธ์ของตัวละคร"[3]

ขณะที่ยุทธนา มุกดาสนิท ผู้กำกับภาพยนตร์และนักเขียนบทละครชื่อดัง ได้วิจารณ์ลงในเฟซบุกส่วนตัวว่า "เมื่อคืนตั้งใจดู พรจากฟ้า เพราะเพื่อนๆหลายวัยชมว่าดีนักดีหนา...ดูไปสักครึ่งเรื่องก็เริ่มนั่งไม่ติดแล้ว...ตัดสินใจถูกแล้วที่ไม่ไปดูในโรง!!!...ถ้าแยกเพลงพระราชนิพนธ์ออกไป หนังมีตรงไหนหรือที่เรียกว่าดีนักหนา ทั้งเรื่อง บท โปรดั๊กชั่นและวิธีการนำเสนอ...แต่จะไม่คอมเม้นท์หรอกครับเพราะดูฟรี!!"[4]

สิ้นสัปดาห์แรกของการเข้าฉาย พรจากฟ้า สามารถทำรายได้รวม 14.33 ล้านบาท ติดอันดับ 3 ของบอกซ์ออฟฟิสประเทศไทย[5] สิ้นสัปดาห์ที่สอง ขยับขึ้นติดอันดับ 2 ของบอกซ์ออฟฟิสประเทศไทย ทำรายได้รวม 27.65 ล้านบาท[6] สิ้นสัปดาห์ที่สาม ตกลงมาอยู่อันดับ 3 ของบอกซ์ออฟฟิสประเทศไทย ทำรายได้รวม 36.19 ล้านบาท[7]สิ้นสัปดาห์ที่สี ตกลงมาอยู่อันดับ 5 ของบอกซ์ออฟฟิสประเทศไทย ทำรายได้รวม 41.62 ล้านบาท[8]สิ้นโปรแกรมการฉายในสัปดาห์ที่ห้า ติดอันดับ 9 ของบอกซ์ออฟฟิสประเทศไทย ทำรายได้รวม 43 ล้านบาท[9]

รางวัล[แก้]

ปี พ.ศ. รางวัล สาขา ผล
2560 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 26 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลบันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม ชนะ
รางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ชนะ
รางวัลกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 10 นักแสดงหญิงแห่งปี (นิษฐา จิรยั่งยืน) เสนอชื่อเข้าชิง
ภาพยนตร์แห่งปี ชนะ
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 14 ภาพยนตร์ไทยยอดนิยม ชนะ

อ้างอิง[แก้]

  1. "พรจากฟ้า" หนังโรแมนติกคอเมดี้จาก GDH ที่อยากให้เพลงพระราชนิพนธ์ใกล้ตัวเรายิ่งขึ้น
  2. บันเทิง ต่อหน้า 14, 'จินา'ส่ง'พรจากฟ้า'ฉายช่องวัน ยันหนังยังไม่ออกจากโรง. คมชัดลึกปีที่ 16 ฉบับที่ 5549: วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559
  3. "พรจากฟ้า"ดูแล้วยิ้มทั้งน้ำตา กับความคิดถึงในหลวงร.9
  4. "ผู้กำกับดังเหน็บหนัง "พรจากฟ้า" แรง-ตอกกลับเม้นท์คิดต่าง". คมชัดลึก. 2016-01-03. สืบค้นเมื่อ 2016-01-07.
  5. รายได้หนังประจำสัปดาห์ที่ 1-7 ธันวาคม 2559
  6. รายได้หนังประจำสัปดาห์ที่ 8-14 ธ.ค. 2559
  7. Box Office ในไทยประจำวันที่ 15-21 ธันวาคม 2559
  8. Box Office ในไทยประจำวันที่ 22-28 ธันวาคม 2559
  9. รายได้หนังประจำสัปดาห์ที่ 29 ธ.ค. 2559 - 4 ม.ค. 2560

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]