แพรดำ
แพรดำ | |
---|---|
กำกับ | รัตน์ เปสตันยี |
เขียนบท | รัตน์ เปสตันยี |
อำนวยการสร้าง | รัตน์ เปสตันยี |
นักแสดงนำ | รัตนาวดี รัตนาพันธ์ ทม วิศวชาติ เสณี อุษณีษาณฑ์ ถวิล วรวิบูลย์ ศรินทิพย์ ศิริวรรณ จมื่นมานพนริศน์ พิชิต สาลีพันธิ์ จุรัย เกษมสุวรรณ |
กำกับภาพ | รัตน์ เปสตันยี เอเดิ้ล เปสตันยี |
ตัดต่อ | รัตน์ เปสตันยี |
ดนตรีประกอบ | ปรีชา เมตไตรย์ คณะดุริยประณีต |
ผู้จัดจำหน่าย | หนุมานภาพยนตร์ |
วันฉาย | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2504 |
ความยาว | 129 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
แพรดำ เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2504 ฟิล์ม 35 มม. สี เสียง ซีนีมาสโคบ สร้างโดย หนุมานภาพยนตร์ เขียนบทและกำกับภาพยนตร์โดย รัตน์ เปสตันยี นำแสดงโดย รัตนาวดี รัตนาพันธ์ เป็นบุตรสาวคนโตของ รัตน์, ทม วิศวชาติ, เสณี อุษณีษาณฑ์, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ เป็นภาพยนตร์อาชญกรรมที่ถือได้ว่าเป็นฟิล์มนัวร์เรื่องแรกของประเทศไทย[1]ผสมผสานองค์ประกอบที่ตีแผ่ให้เห็นด้านมืดของปุถุชนคนธรรมดา วันที่เข้าฉายเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ฉายครั้งแรกที่ เฉลิมกรุง
แพรดำ เป็นภาพยนตร์ที่ รัตน์ เปสตันยี ต้องการสร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ [2] โดยได้ส่งเข้าร่วมประกวดในงาน เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1961 แม้ว่าจะไม่ได้รับรางวัลใด ๆ กลับมา แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากสื่อมวลชนที่ไปร่วมงาน[3] และได้รับรางวัลถ่ายภาพ ในงานประกาศผล รางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี พ.ศ. 2505
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำมาจัดจำหน่ายในรูปแบบดีวีดี โดย มูลนิธิหนังไทย เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ พร้อมกับภาพยนตร์เรื่องอื่นที่ รัตน์ เปสตันยี กำกับ
เรื่องย่อ
[แก้]เรื่องราวของ แพร (รัตนาวดี รัตนาพันธ์) หญิงหม้ายลูกติดที่สวมชุดสีดำเพื่อไว้ทุกข์ให้กับสามีผู้ล่วงลับไปเมื่อสองปีก่อน เธออยู่กับอาของเธอชื่อว่า แดง (ศรินทิพย์ ศิริวรรณ) ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับ ทม (ทม วิศวชาติ) คนคุมไนท์คลับ ชักนำเธอให้เข้าไปพัวพันกับเหตุฆาตกรรม ซึ่ง เสนีย์ (เสณี อุษณีษาณฑ์) เจ้าของไนท์คลับ เจ้านายของทม และทมได้ร่วมกันก่อขึ้น เพื่อความหวังในชีวิตที่ดีขึ้น
ท้ายสุดทมก็พาชีวิตของตัวเองให้ก้าวไปไกลเกินกว่าที่จะกลับในวิถีชีวิตปกติ ซึ่งแทนที่จะช่วยให้ทมและแพร สมหวังในความรักกลับเป็นเหตุให้ความหวังเหล่านั้นหลุดลอยห่างไกลออกไปทุกที และชีวิตของแพรก็ต้องเปลี่ยนไปเมื่อเข้าไปรับรู้การฆาตกรรมที่เกิดขึ้น จนนำไปสู่การลักพาตัวลูกสาวของแพร และสร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงให้กับชีวิตของเธอ เธอจึงได้บวชชี
ต่อมา เธอได้ออกจากการบวชชีก่อน เพราะลูกของเธอที่ถูกจับนั้นป่วย และเธอกับทมได้ถูกไต่สวนในคดีฆาตกรรม ทมถูกตัดสินประหารชีวิต สุดท้ายเธอได้หันหน้าเข้าหาความสงบจากพระธรรม
นักแสดง
[แก้]- รัตนาวดี รัตนาพันธ์ รับบท แพร
- ทม วิศวชาติ รับบท ทม
- เสณี อุษณีษาณฑ์ รับบท เสนีย์ / เสมา
- ศรินทิพย์ ศิริวรรณ รับบท อาแดง
เพลงประกอบ
[แก้]- กล่อมโลก - ชาลี อินทรวิจิตร
- ขี่ควายชมจันทร์ - เกษม ชื่นประดิษฐ
การสร้าง
[แก้]แพรดำ เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำในระบบฟิล์ม 35 มม. สี เสียงซีนีมาสโคบ ที่ให้ภาพจอกว้างเต็มตา เป็นภาพยนตร์อาชญกรรมที่ถือได้ว่าเป็นฟิล์มนัวร์เรื่องแรกของเมืองไทย ผสมผสานองค์ประกอบที่ตีแผ่ให้เห็นด้านมืดของปุถุชนคนธรรมดา เหนืออื่นใด แพรดำ เป็นภาพยนตร์ที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานระดับคลาสสิก โดยเฉพาะในส่วนของศิลปะหนัง เพื่อพัฒนาเรื่องและสื่อความหมายได้อย่างดีเยี่ยม
รัตนาวดี รัตนาพันธ์ เป็นชื่อในการแสดง ของบุตรสาวคนโตของรัตน์ เปสตันยี แสดงนำเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในบทของ แพร หญิงหม้ายลูกติดที่สวมชุดสีดำเพื่อไว้ทุกข์ให้กับสามีผู้ล่วงลับ ซึ่งเป็นการสร้างบุคลิกที่ชัดเจนแก่ตัวละคร ในช่วงท้ายของเรื่องซึ่งแพรได้หันหน้าเข้าหาความสงบจากพระธรรม และเพื่อจะให้ภาพสร้างจริง ผู้กำกับให้แพนโกนหัวบวชชีจริง ๆ เพื่อเข้าฉากภาพยนตร์
ดีวีดี
[แก้]ภาพยนตร์ แพรดำ ได้นำทำเป็นดีวีดีออกจำหน่าย โดยมี มูลนิธิหนังไทย เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ดีวีดีเรื่องนี้มีราคา 250 บาท ในระบบสีและเสียง มีความยาวของภาพยนตร์อยู่ 129 นาที ดีวีดีเรื่องนี้ถือว่าเป็นหนังอาชญกรรมที่ถือได้ว่าเป็นฟิล์มนัวร์เรื่องแรกๆ ของเมืองไทย สมผสานองค์ประกอบที่ตีแผ่ให้เห็นด้านมืดของปุถุชนคนธรรมดา เหนืออื่นใด แพรดำ เป็นหนังที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานระดับคลาสสิก โดยเฉพาะในส่วนของศิลปะหนัง เพื่อพัฒนาเรื่องและสื่อความหมายได้อย่างดีเยี่ยม
ดีวีดีเรื่องนี้ได้ออกจัดจำหน่ายพร้อมกับดีวีดีเรื่องที่ รัตน์ เปสตันยี กำกับ ในปัจจุบัน ดีวีดีเรื่องนี้จะสามารถสั่งซื้อได้ที่เว็บไซต์ของ มูลนิธิหนังไทย
อ้างอิง
[แก้]- แพรดำ ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- แพรดำ เก็บถาวร 2013-04-15 ที่ archive.today ในเว็บไซต์ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน
- http://www.thaifilmdb.com/th/tt01336
- http://www.siamzone.com/movie/m/2030
- ↑ http://www.thaifilm.com/supportDetail.asp?id=80 เก็บถาวร 2010-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554. กรุงเทพฯ : โพสต์ พับลิชชิง, 2555. 355 หน้า. ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ http://www.thaifilm.com/articleDetail_en.asp?id=40 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน .