ชรินทร์ นันทนาคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เพลงเรือนแพ)
ชรินทร์ นันทนาคร
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดมัย วัฒนธานินทร์[1]
ชื่ออื่นชรินทร์ งามเมือง
เกิด1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 (91 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม
คู่สมรสสปัน เธียรประสิทธิ์[2]
เพชรา เชาวราษฎร์
บุตร3 คน
อาชีพนักร้อง, นักแสดง, ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นสิบสองนักสู้ (2502), เรือนแพ (2504)
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2541 - สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)
ThaiFilmDb

ชรินทร์ นันทนาคร[3] (เกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476) เป็นศิลปินนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวไทย ได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล - ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2541 สมรสครั้งที่สองกับนางเอกภาพยนตร์ เพชรา เชาวราษฎร์

ชรินทร์ นันทนาคร เป็นผู้ริเริ่มร่วมสร้างสรรค์เพลง สดุดีมหาราชา ซึ่งส่งผลให้ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ "สังข์เงิน" สาขาใช้ศิลป์สร้างสรรค์ให้เกิดความรักชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์

ชรินทร์ นันทนาคร ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ขับร้องเพลงไทยสากลผสมผสานกับเพลงไทยเดิม มีท่วงทำนองสูงต่ำเอื้อนด้วยน้ำเสียงที่มีเสน่ห์ชวนฟัง ออกเสียงอักขระได้ชัดเจน มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงประมาณ 1,500 เพลง

ประวัติ[แก้]

ชรินทร์ ศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย จบมัธยมการศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ กรุงเทพมหานคร เริ่มฝึกหัดร้องเพลงกับ ไสล ไกรเลิศ และเริ่มร้องเพลงสลับละครเวทีเรื่อง นางไพร เมื่อ พ.ศ. 2492 ด้วยเพลงดวงใจในฝัน และเริ่มบันทึกแผ่นเสียงจำหน่ายเป็นครั้งแรก และตามด้วยเพลง อิเหนารำพัน เมื่อ พ.ศ. 2494 จากนั้นย้ายกลับไปเชียงใหม่ ทำงานที่บริษัทกมล-สุโกศล สาขาเชียงใหม่ แล้วสำนักงานใหญ่เรียกมาทำงานที่กรุงเทพฯ ทำตำแหน่งแผนกบัญชี แผนกต่างประเทศ ไปจนถึงแผนกแผ่นเสียง จากนั้นทำงานเป็นเลขานุกรมที่องค์การยูซ่อม (USOM)[4]

ผลงานของชรินทร์ นันทนาคร ที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่นิยมสูงสุด ได้แก่ เพลงเรือนแพ, มนต์รักดอกคำใต้, หยาดเพชร, อาลัยรัก, ทาษเทวี, เด็ดดอกรัก, ผู้ชนะสิบทิศ, ที่รัก, นกเขาคูรัก, แสนแสบ, ท่าฉลอม, สักขีแม่ปิง, ทุยจ๋าทุย, เพราะขอบฟ้ากั้น ฯลฯ ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำจากเพลง อาลัยรัก ก่อนจะผันไปเป็นผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เมื่อ พ.ศ. 2508 มีผลงานในฐานะผู้ผลิตภาพยนตร์ทั้งหมดกว่า 19 เรื่อง โดยมีภาพยนตร์เรื่อง รักข้ามคลอง ที่ทำรายได้สูงที่สุด และภาพยนตร์ แผ่นดินแม่ ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของประเทศไทยที่สร้างในระบบ 70 มม. แต่หลังจากนั้นก็เลิกทำหนังไปเหตุเพราะวงการหนังที่เปลี่ยนไปจึงเกิดความเบื่อ

ในปี พ.ศ. 2531 คุณวิเชียร อัศว์ศิวะกุล เจ้าของค่ายนิธิทัศน์โปรโมชั่น ติดต่อให้มาร้องเพลงและออกอัลบั้มชุด เรือนแพ เป็นอัลบั้มแรก นับจากนั้นจึงยึดอาชีพนักร้องมาถึงปัจจุบัน

ชรินทร์ นันทนาคร ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า "นันทนาคร" ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้ให้ความรื่นรมย์แก่ชาวเมือง" ชรินทร์ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล - ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2541

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ชรินทร์สมรสครั้งแรกกับ สปัน เธียรประสิทธิ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของปองทิพย์ ภรรยาของสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์[5] ชรินทร์และสปันมีบุตรสาวสองคนคือ ปัญญ์ชลี (สมรสกับ เศรณี เพ็ญชาติ[5] เป็นมารดาของ ปวริศา เพ็ญชาติ) และปัญชนิตย์ เธียรประสิทธิ์ (สมรสกับชาวต่างชาติ เป็นมารดาของ ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์)

ต่อมาชรินทร์ได้หย่าขาดสปัน และได้สมรสใหม่กับ เพชรา เชาวราษฎร์ อดีตนักแสดงชาวไทย มีบุตรด้วยกัน 1 คน แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก

ผลงานแสดงภาพยนตร์[แก้]

  • สาวน้อย (2501)
  • สิบสองนักสู้ (2502)
  • เงิน เงิน เงิน (2508)
  • เพื่อนรัก (2509)
  • ละครเร่ (2512)
  • สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
  • เรือมนุษย์ (2513)
  • รักเธอเสมอ (2513)
  • หวานใจ (2513)
  • คนใจบอด (2514)
  • น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)

ผลงานการสร้างภาพยนตร์[แก้]

"ชรินทร์ นันทนาคร" และ "รวงทอง ทองลั่นธม" ในฉากภาพยนตร์ไทยเรื่อง "สวรรค์วันเพ็ญ" พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ชรินทร์กำกับการแสดง และเป็นผู้อำนวยการสร้าง

ผลงานการสร้างภาพยนตร์ในนาม นันทนาครภาพยนตร์[แก้]

  • เทพบุตรนักเลง (2508)
  • ลมหนาว (2509)
  • แมวไทย (2511)
  • สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
  • รักเธอเสมอ (2513)
  • น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)
  • แผ่นดินแม่ (2518)
  • ลูกเจ้าพระยา (2520)
  • ไอ้ขุนทอง (2521)
  • เพลงรักดอกไม้บาน (2522)
  • แผ่นดินแห่งความรัก (2523)
  • รักข้ามคลอง (2524)
  • รักมหาสนุก (2525)
  • บ้านน้อยกลางดง (2526)
  • บ้านสีดอกรัก (2527)
  • ผู้การเรือเร่ (2528)
  • ลูกทุ่งฮอลิเดย์ (2529)
  • ฟ้าสีทอง (2530)
  • ผู้พันเรือพ่วง (2530)
  • คุณจ่าเรือแจว (2531)

ผลงานกำกับภาพยนตร์[แก้]

  • สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
  • รักเธอเสมอ (2513)
  • น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)
  • แผ่นดินแม่ (2518)
  • ลูกเจ้าพระยา (2520)
  • ไอ้ขุนทอง (2521)
  • เพลงรักดอกไม้บาน (2522)
  • แผ่นดินแห่งความรัก (2523)
  • รักข้ามคลอง (2524)
  • รักมหาสนุก (2525)
  • บ้านน้อยกลางดง (2526)
  • บ้านสีดอกรัก (2527)
  • ผู้การเรือเร่ (2528)
  • ลูกทุ่งฮอลิเดย์ (2529)
  • ฟ้าสีทอง (2530)
  • ผู้พันเรือพ่วง (2530)
  • คุณจ่าเรือแจว (2531)

ผลงานเพลง[แก้]

ภาพปกแผ่นเสียงลองเพลย์ไทยตรามงกุฎ ของห้างแผ่นเสียงคาเธ่ย์ ที่ขายดีที่สุดในปี พ.ศ. 2503 - 2504 วาดปกโดย สมบูรณ์สุข นิยมศิริ (ศิลปินแห่งชาติ)
  • อัลบั้ม ในฝัน อัศจรรย์แห่งรัก (2546)
  • อัลบั้ม คู่เคียงสำเนียงรัก (2547)
  • อัลบั้ม เม็ดทราย สายนํ้า ความรัก (2548)
  • อัลบั้ม รักษ์เพลงไทย (2551)
  • อัลบั้ม กล่อมแผ่นดิน (2552)
  • อัลบั้ม อมตะเพลงหวานกลางกรุง (2554)
  • อัลบั้ม ที่สุดของชรินทร์ (2555)

คอนเสิร์ต[แก้]

คอนเสิร์ตเดี่ยว[แก้]

  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน คืนฟ้าสวย (2542)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน เพลงรักดอกไม้บาน (2543)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน เมื่อเหมันต์เยือน (2544)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน หยดหนึ่งของกาลเวลา (2545)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน ในฝัน...อัศจรรย์แห่งรัก (2546)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน เดียวดาย...ในทะเลดาว (2547)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน ฤๅ...โลกจะเปลี่ยนไป (2548)
  • ชรินทร์ & BSO อินคอนเสิร์ต ตอน ด้วยปีกแห่งรัก (2549)
  • 1 ทศวรรษ ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน กล่อมแผ่นดิน (2552)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 11 เพชรพร่างกลางกรุง (2553)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 12 ปาฏิหาริย์รัก (2554)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 13 โลกนี้คือละคร (2556)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 14 ขอบฟ้าขลิบทอง (2558)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 15 คืนจันทร์กระจ่างฟ้า (2559)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 16 จากฟากฟ้าสุราลัย...สู่แดนดิน (2560)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 17 รักนั้นคือฉันใด (2561)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 18 แผ่นดินแห่งความรัก (2562)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 19 70 ปีที่โลกไม่ลืม (2563)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 20 มหากาพย์แห่งบทเพลง (2565)

คอนเสิร์ตอื่นๆ[แก้]

  • คอนเสิร์ต เพลงหวานกลางกรุง ตอน เพลงหวานบางขุนพรหม (2552)
  • คอนเสิร์ต ชงโคบานในฤดูหนาว (2553)
  • คอนเสิร์ต ถึงไหนถึงกัน (2554) (แขกรับเชิญ)
  • คอนเสิร์ต เพชรในเพลง (2554)
  • คอนเสิร์ต การกุศล ร้อยดวงใจเพื่อรอยยิ้ม (2555)
  • คอนเสิร์ต The Power Of Love รวมพลังแห่งรัก (2555)
  • คอนเสิร์ต เพชรในเพลง ครั้งที่ 2 (2555)
  • คอนเสิร์ต ฉลอง 75 ปี 6 ล้านกรมธรรม์ (2555)
  • คอนเสิร์ต หีบเพลงชัก...แทนคำรัก สง่า อารัมภีร (2555)
  • คอนเสิร์ต เพลงทำนอง...สองครู (2556)
  • คอนเสิร์ต Master of Voices 3 ศิลปินตำนานเพลงรักแห่งสยาม (2557) (ร่วมกับ สุเทพ วงศ์กำแหง และ ธานินทร์ อินทรเทพ)
  • คอนเสิร์ต รักปักใจ ลินจง (2557)
  • คอนเสิร์ต 100 ปี กาญจนะผลิน (2557)
  • คอนเสิร์ต กล่อมกรุง 2 (2558) (ร่วมกับ สวลี ผกาพันธุ์,สุเทพ วงศ์กำแหง,อรวี สัจจานนท์,ธานินทร์ อินทรเทพ,รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส,เศรษฐา ศิระฉายา และ ศรีไศล สุชาตวุฒิ)
  • คอนเสิร์ต ที่สุดที่ดี เพื่อพี่รี่ สวลี ผกาพันธุ์ 84 ยังแจ๋ว(2558)
  • คอนเสิร์ต มิตรสมาน (2559)
  • คอนเสิร์ต สุเทพโชว์ The Unforgettable (2560) (แขกรับเชิญ)
  • คอนเสิร์ต Master of Voices ตำนานเพลงรัก 3 รุ่น (2561)
  • คอนเสิร์ต ''สองวัยใจเดียวกัน'' ครั้งที่ 2 (2561)
  • คอนเสิร์ต เพื่อพี่รี่ สวลี ผกาพันธุ์ เสียงเพลงอมตะ กับชีวิตดีดีมีคุณภาพ (2561)
  • คอนเสิร์ต Master of Voices เพลงรักจากแม่ (2562) (แขกรับเชิญ)
  • คอนเสิร์ต เพื่อครู ชาลี อินทรวิจิตร & สุรพล โทณะวณิก (2563)
  • คอนเสิร์ต 99 ปี ครูชาลี อินทรวิจิตร เพลงคู่แผ่นดิน หนึ่งในจักรวาล (2564)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ""เพชรา" ในความทรงจำ (ตอนที่ 1)". ผู้จัดการ. 28 กันยายน 2552. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "คู่ร่วมสมรส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-03. สืบค้นเมื่อ 2008-07-16.
  3. "ชรินทร์ นามสกุล นันทนาคร ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น "นันทนาคร" ในปี 2503". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
  4. พิสุทธินี, "ชรินทร์ นันทนาคร", นิตยสารลิปส์ ฉบับปักษ์หลังมกราคม 2553 หน้า 178-185
  5. 5.0 5.1 "สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ หัวเดียวกระเทียมลีบบนถนน คนหน้าหนา?" (Press release). นิตยสารผู้จัดการ. ตุลาคม 2529. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (ประจำปี ๒๕๔๒ ศิลปินแห่งชาติ) เล่ม ๑๑๖ ตอน ๒๑ ข ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒ หน้า ๒๓.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]