อักษรกืออึซ
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก อักษรเอธิโอปิก)
อักษรกืออึซ | |
---|---|
ชนิด | |
ช่วงยุค |
|
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | ภาษากลุ่มเซมิติกเอธิโอเปีย (เช่น ภาษากืออึซ, ภาษาอามารา, ภาษาทือกรึญญา, ภาษาทือเกร, ภาษาแฮแรรี เป็นต้น), Blin, Meʼen, Oromo และAnuak |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบลูก | Amharic alphabet, และภาษาอื่นๆ ในเอธิโอเปียและเอริเทรีย |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Ethi (430), Ethiopic (Geʻez) |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Ethiopic |
ช่วงยูนิโคด |
|
อักษรกืออึซ (Ge'ez) หรือ อักษรเอธิโอเปีย พัฒนามาจากอักษรซาบาเอียน จารึกอักษรนี้ พบครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 43 โดยเริ่มแรกมีแต่พยัญชนะ เริ่มมีสระเมื่อประมาณพ.ศ. 1900 ในรัชกาลของกษัตริย์อีซานา
ลักษณะ
[แก้]เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน เครื่องหมายแต่ละตัว แสดงเสียงสระประสมกับพยัญชนะ เครื่องหมายพื้นฐาน มีวิธีใช้หลายวิธี เพื่อแสดงเสียงสระต่างๆ ไม่มีระบบถ่ายเสียงเป็นอักษรโรมันที่แน่นอน
ใช้เขียน
[แก้]- ภาษากืออึซ ภาษาคลาสสิกของชุมชนชาวคริสต์และชาวยิว ในเอธิโอเปีย ใช้ในทางศาสนา
- ภาษาอามารา ภาษาประจำชาติของเอธิโอเปีย มีผู้พูด 27 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคกลางตอนเหนือ และมีผู้พูดภาษานี้ในอียิปต์ อิสราเอล และสวีเดน
- ภาษาอัฟกัน โอโรโม เป็นภาษาตระกูลคูซิติก มีผู้พูด 17 ล้านคนในเอธิโอเปีย เคนยา โซมาเลีย และอียิปต์ เขียนด้วยอักษรละติน ตั้งแต่พ.ศ. 2534
- ภาษาทือกรึญญา เป็นภาษาตระกูลเซมิติก มีผู้พูด 6.9 ล้านคน ในเอริเทรีย เอธิโอเปีย และอิสราเอล
- ภาษาบิเล็นหรือบลิน เป็นภาษาตระกูลคูซิติก มีผู้พูด 70,000 คน ในเอริเทรีย
- ภาษาเมเอ็น เป็นภาษาตระกูลนีโล-ซาฮารัน มีผู้พูด 56,600 คน ในเอธิโอเปีย
ยูนิโคด
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ↑ Himelfarb, Elizabeth J. "First Alphabet Found in Egypt", Archaeology 53, Issue 1 (Jan./Feb. 2000): 21.
- ↑ Daniels, Peter T.; Bright, William, บ.ก. (1996). The World's Writing Systems. Oxford University Press, Inc. pp. 89, 98, 569–570. ISBN 978-0-19-507993-7.
- ↑ Gragg, Gene (2004). "Geʽez (Aksum)". ใน Woodard, Roger D. (บ.ก.). The Cambridge Encyclopedia of the World's Ancient Languages. Cambridge University Press. p. 431. ISBN 978-0-521-56256-0.