ภาษาทือเกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาทือเกร
ትግሬ / ትግረ / ትግራይት / ኻሳ[1]
ประเทศที่มีการพูดเอริเทรีย
ภูมิภาคแคว้นอันเซอบา, แคว้นกัช-บาร์คา, แคว้นเซอเมนาวีเกอยือห์บาห์รี
ชาติพันธุ์ชาวทือเกร
จำนวนผู้พูด1 ล้านคน  (2563)[2]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่นMansa (Mensa), Habab, Beni-Amir, Semhar, Algeden, Senhit (Ad-Tekleis, Ad-Temariam, Bet-Juk, Marya Kayah)
ระบบการเขียนอักษรกืออึซ (ชุดตัวหนังสือทือเกร), อักษรอาหรับ
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน เอริเทรีย
 ซูดาน
รหัสภาษา
ISO 639-2tig
ISO 639-3tig
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาทือเกร (ทือเกร: ትግሬ หรือ ትግረ) หรือที่ผู้พูดภาษานี้ในเอริเทรียนิยมเรียกว่า ภาษาทือกรายึท (ትግራይት) เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันในภูมิภาคจะงอยแอฟริกาและเป็นภาษากลุ่มเซมิติกภาษาหนึ่งที่ชาวทือเกรในเอริเทรียใช้พูดเป็นภาษาหลัก[3] เชื่อกันว่าภาษาทือเกรและภาษาทือกรึญญาเป็นภาษาที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ใกล้ชิดที่สุดกับภาษากืออึซซึ่งยังคงใช้เป็นภาษาพิธีกรรมของคริสตจักรเทอวาฮือโดออร์ทอดอกซ์เอริเทรียและคริสตจักรเทอวาฮือโดออร์ทอดอกซ์เอธิโอเปียในปัจจุบัน ภาษาทือเกรมีคำศัพท์คล้ายคลึงกับภาษากืออึซร้อยละ 71 และมีคำศัพท์คล้ายคลึงกับภาษาทือกรึญญาร้อยละ 64[2]

ณ พ.ศ. 2540 มีผู้พูดภาษาทือเกรประมาณ 800,000 คนในเอริเทรีย[2] ชาวทือเกรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันตกของเอริเทรีย แต่ก็มีบางกลุ่มที่อาศัยอยู่ในที่สูงทางภาคเหนือของเอริเทรียไปจนถึงพื้นที่ที่อยู่ติดกันในซูดานรวมทั้งชายฝั่งทะเลแดงของเอริเทรียทางทิศเหนือของเมืองซูลา ใน พ.ศ. 2560 มีผู้พูดภาษาทือเกรในซูดาน 19,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภูมิภาคโตการ์และกาโรรา[2]

ชาวทือเกรเป็นกลุ่มชาติพันธุ์คนละกลุ่มกับชาวทือกรึญญาในเอริเทรียและชาวทือกรัยในเอธิโอเปียซึ่งพูดภาษาทือกรึญญาและอาศัยอยู่ถัดไปทางทิศใต้ ภาษาทือกรึญญาค่อนข้างแตกต่างจากภาษาทือเกรแม้จะมีชื่อคล้ายคลึงกันก็ตาม

อ้างอิง[แก้]

  1. "Tigre alphabet and pronunciation". Omniglot. สืบค้นเมื่อ 16 June 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Tigre at Ethnologue (25th ed., 2022)
  3. "Tigre language". Bratannica Encyclopaedia.